Tag: อาการซึมเศร้า

  • ออกกำลังกายพัฒนาสุขภาพ บรรเทาโรคต่าง ๆ ได้

    ออกกำลังกายพัฒนาสุขภาพ บรรเทาโรคต่าง ๆ ได้

    ออกกำลังกายพัฒนาสุขภาพ บรรเทาโรคต่าง ๆ ได้ การหาเวลาการออกกำลังกายวันละ 30 นาที เพียงแต่สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ยังผลให้สุขภาพกายเราดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ช่วยต่อต้านโรคภัยได้หลากหลาย ซึ่งการออกกำลังกายนั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพของคุณดังต่อไปนี้ 1. ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกายออกทางรูขุมขนซึ่งก็คือเหงื่อนั่นเอง ช่วยลดสารพิษตกค้างในร่างกายด้วย 2. ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น กว่าร้อยละ 70 ของคนที่ออกกำลังกายจะนอนหลับได้สนิทกว่าคนที่ไม่ออกกำลังกายเลย ทั้งนี้ควรออกกำลังกายก่อนเวลา 3 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อยค่ะ 3. ช่วยเสริมสร้างความจำ ทำให้ความจำดีขึ้น กระตุ้นความคิดและทำให้สุขภาพจิตดี ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์และโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ได้ 4. ช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดีขึ้น ลดเวลาการย่อยลง ลดความเจ็บปวดจากโรคริดสีดวงทวารและลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้ดี ส่งเสริมให้หลอดเลือดและหัวใจทำงานได้มากขึ้น เพิ่มอัตราการเผาผลาญอาหารด้วย 5. ทำให้มีสุขภาพจิตทีดี ลดความเครียด บรรเทาอาการซึมเศร้าและความวิตกกังวลต่าง ๆ ลดความคิดในการฆ่าตัวตายได้ 6. ช่วยให้กระดูกแข็งแรง มวลกระดูกเพิ่มขึ้นและหนาแน่นขึ้น ลดความเจ็บปวดจากหลังได้ร้อยละ 80 กระตุ้นการทำงานของกระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกรานและกล้ามเนื้อโดยรอบ ช่วยขับของเสียออกจากล้ามเนื้อและกระดูกให้มีความแข็งแรงมากขึ้นได้ 7. ป้องกันโรคหวัด ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวทำงานต่อสู้กับเชื้อโรคได้รวดเร็วและตอบสนองได้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงติดโรคเรื้อรังได้…

  • อยากสุขภาพดี.. ต้องทำเอาเองตั้งแต่วันนี้

    อยากสุขภาพดี.. ต้องทำเอาเองตั้งแต่วันนี้

    อยากสุขภาพดี.. ต้องทำเอาเองตั้งแต่วันนี้ การมีสุขภาพที่ดีนั้นความจริงเป็นเรื่องที่ไม่ต้องพึ่งพาเงินทองเลยนะคะ เป็นเรื่องที่ควรปฏิบัติให้เป็นกิจวัตรเสียด้วยซ้ำไป ซึ่งกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพให้ดีได้ก็คือ “การออกกำลังกาย” นั่นเองค่ะ การออกกำลังกายนี้ทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เหนื่อยอ่อนง่าย ดูอ่อนเยาว์กว่าเดิม ทำให้ระบบอวัยวะต่าง ๆ ทำงานได้ดี ช่วยย่อยอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย ทำให้การไหลเวียนของเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้ดี ช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศ ลดความเครียดทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น บรรเทาอาการซึมเศร้าได้ เยือกเย็นมั่นคงมากขึ้น มีความเชื่อมั่นใจตนเอง และกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งการออกกำลังกายที่ประหยัดที่สุดก็คือการวิ่ง (หรือการเดิน) เพราะทำให้ร่างกายได้แข็งแรงแทบทุกส่วน สิ้นเปลืองเงินทองน้อยที่สุด แล้วยังทำให้ปอดได้รับอากาศบริสุทธิด้วย สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายหรือไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน ควรเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนดังต่อไปนี้ – วางแผนการวิ่งหรือการเดินก่อน ว่าวันนี้จะวิ่งกี่นาที ระยะทางกี่กิโลเมตร – เตรียมเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย ระบายเหงื่อและความร้อนได้ดี และรองเท้าที่สามารถรับแรงกระแทกได้ – ก่อนการลงสนามควรวอร์มอัพก่อนสักห้านาที เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อต่าง ๆ ให้พร้อมกับการเคลื่อนไหว – ท่าวิ่งที่ถูกต้องคือต้องตั้งลำตัวให้ตรง หลังไม่งอ ไม่เกร็ง เป็นธรรมชาติ วิ่งน้ำหนักลงที่ส้นเท้าก่อนแล้วถ่ายไปที่ ปลายเท้าอย่างนุ่มนวล ถ้าวิ่งจิกปลายเท้าจะเจ็บหน้าแข้งและหัวเข่า กำมือไว้หลวม ๆ แกว่งแขนช้าเร็วให้สมดุลกับจังหวะเท้า…

  • ตรวจสอบพฤติกรรมตนเอง ว่าคุณกำลังเป็นโรคซึมเศร้าอยู่หรือเปล่า?!

    ตรวจสอบพฤติกรรมตนเอง ว่าคุณกำลังเป็นโรคซึมเศร้าอยู่หรือเปล่า?!

    ตรวจสอบพฤติกรรมตนเอง ว่าคุณกำลังเป็นโรคซึมเศร้าอยู่หรือเปล่า?! ปัจจุบันนี้โรคซึมเศร้า เริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น แต่ประชากรที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าก็ยังมักจะไม่ทราบว่าตนเองมีอาการของโรคนี้อยู่ มีมากด้วยนะคะเป็นจำนวนถึงร้อยละ 5-7 ของจำนวนประชากรเลยทีเดียว เป็นโรคร้ายแรงที่ให้ผู้ป่วยที่ไม่มากรักษาถึงกับฆ่าตัวตายได้เลยทีเดียว และส่วนหนึ่งของสาเหตุที่สำคัญก็คือมาจากพันธุกรรมด้วย คือหากในครอบครัวหรือพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย คู่แฝดเป็นโรคซึมเศร้าขึ้นมา ก็มักจะมีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมศร้ามากกว่าคนอื่น ๆ ยิ่งถ้าเป็นคู่แฝดกันด้วยแล้ว จะมีโอกาสมากถึงร้อยละ 50 เลยทีเดียว โรคซึมเศร้านี้ไม่จำเป็นว่าชีวิตต้องได้รับความทุกข์เศร้าอะไรก็ป่วยได้ บางคนชีวิตดีทุกอย่าง หน้าที่การงานดี ครอบครัวดี ลูกดี การเงินดี จู่ ๆ ก็เศร้าขึ้นมาได้ ซึ่งก็คือเกิดจากยีนหรือพันธุกรรมนี่แหล่ะ แต่ปัจจัยภายนอกก็มีผลเช่นกัน บางคนมียีนอยู่แล้วมาเจอกับมรสุมชีวิตอีกก็ยิ่งกระตุ้นให้ป่วยได้มากขึ้น แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองเป็นโรคนี้หรือยัง ก็ให้สังเกตจากอาการดังต่อไปนี้ หากมีอาการห้าข้อขึ้นไป ติดต่อกันนานเกินสองอาทิตย์ ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นโรคซึมเศร้าแล้ว – อารมณ์ซึมเศร้า ก้าวร้าว หงุดหงิด – ไม่สนใจสิ่งรอบตัว – รู้สึกไม่ค่อยมีสมาธิทำอะไร – อ่อนเพลีย – ทำทุกอย่างชื่องช้าไปหมด – ทานอาหารมากขึ้นหรือทานน้อยลง – นอนมากขึ้นหรือนอนน้อยลง – ตำหนิตัวเอง…

  • ภาวะซึมเศร้า ทำให้โรคทรุดลง

    ภาวะซึมเศร้า ทำให้โรคทรุดลง

    ภาวะซึมเศร้า ทำให้โรคทรุดลง ภาวะซึมเศร้านั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงและตัวพยากรณ์โรคที่สำคัญของโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมไปถึงโรคอื่น ๆ ด้วย เช่น ภาวะซึมเศร้าจะทำให้เพิ่มโอกาสในอ้วนขึ้นร้อนละ 58 และในทางตรงข้างความอ้วนก็เพิ่มโอกาสซึมเศร้าด้วยร้อนละ 27-55 ภาวะซึมเศร้าเพิ่มโอกาสกล้ามเนื้อตายได้มากกว่าครึ่ง และผู้ที่ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย หากมีอาการซึมเศร้าด้วยจะเพิ่มโอกาสเสียชีวิตได้มากกว่าสองเท่าเลยทีเดียว เมื่อเทียบกับผู้ป้วยที่ไม่เป็นโรคซึมเศร้า การใช้จิตบำบัดจึงช่วยลดความซึมเศร้าได้ดีกว่าการใช้ยาอยู่บ้าง การทำจิตบำบัดง่าย ๆ สำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องนอนอยู่บ้านจนเกิดความรู้สึกหมดหวังแล้วนั้น ลองพูดคุย ชวนคนอื่น ๆ มาเยี่ยมเยียนบ่อย ๆ และสนับสนุนให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเอง ช่วยเหลือผู้อื่นบ้าง หรือหาอะไรให้เขาทำแก้เซ็งแบบที่เขาชอบ บางรายก็ใช้วิธีการนวดกดจุดเพื่อลดปวด และใช้การทำสมาธิบำบัดเข้ามาช่วยด้วย การทำสมาธิบำบัดนั้นจะช่วยลดอการปวดได้ ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวได้ดีขึ้น การทำจิตบำบัดด้วยการทำสมาธิเป็นการเยียวยาตนเอง ทำให้ร่างกายหลังเอนโดรฟีนส์ ทำให้มีความสุขใจมากขึ้น เบิกบาน สดชื่นและมองโลกในแง่ดี อาการซึมเศร้าจะลดลง ความทุกข์ทรมานจะลดลงและเพิ่มภูมิคุ้มกันอีกด้วย ซึ่งการทำสมาธิบำบัดนี้สามารถประยุกต์ใช้ในคนไข้โรคเรื้องรังอื่น ๆ ได้อีกหลายโรค เพียงการหายใจเข้าออก ลึก ๆ ยาว ๆ อย่างน้อยหนึ่งร้อยครั้งในแต่ละวัน ก็ช่วยได้มากแล้ว ยิ่งหากฝึกไปเรื่อย ๆ จะพบว่าจิตใจมีความสบาย ร่างกายมีความเจ็บปวดน้อยลงไปเองจริง ๆ

  • หัวเราะรักษาโรคได้สารพัด ลองดูสิ!!

    หัวเราะรักษาโรคได้สารพัด ลองดูสิ!!

    หัวเราะรักษาโรคได้สารพัด ลองดูสิ!! การอยู่ในบ้านหรือในสังคมที่อุดมความสดชื่น เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะสนุกครื้นเครงนั้น ช่วยให้อารมณ์สดใจ จิตใจมีสุขภาพดีขึ้นได้มากเลยนะคะ ยิ่งโดยเฉพาะในครอบครัวใดที่มีคนที่ป่วยหนักอยู่ การสร้างบรรยากาศที่ดีขึ้นในครอบครัว ช่วยลดความรู้สึกเจ็บปวดลงได้อย่างไม่น่าเชื่อ แต่เราหาเวลาแต่ละวันอยู่ร่วมกัน แล้วผลัดกันเล่าเรื่องราวขำขันแบ่งปันกันฟัง หรือถ้านึกมุขไม่ออกจะเปิดหนังตลก ทอล์คโชว์ขำ ๆ ดูด้วยกันก็ดีเช่นกัน การหัวเราะอย่างเป็นธรรมชาติทำให้ความรู้สึกเกร็งหรือฝืนหมดไป (การรับน้องหรือปฐมนิเทศพนักงานจึงมักเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ เพราะช่วยละลายพฤติกรรมให้เปิดใจเข้าหากันได้มากกว่า) อีกทั้งการหัวเราะยังสร้างบรรยากาศดีขึ้นในบ้าน กระชับความสัมพันธ์ให้ดีขึ้นได้ นอกจากนี้แล้วการหัวเราะมีประโยชน์ดังต่อไปนี้อีกค่ะ – การหัวเราะช่วยลดความเจ็บปวด ร่างกายผ่อนคลายมากขึ้น – รักษาอาการซึมเศร้า ช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเซโรโทนิน และโดปามีนมากขึ้น จิตใจจึงสงบเยือกเย็น – เพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ ที่เห็นได้ชัดก็คือป้องกันโรคหวัดได้ – การหัวเราะช่วยลดน้ำหนัก เพราะการหัวเราะแม้วันละเพียง 1-5 นาทีต่อวัน สักวันละสิบครั้ง จะช่วยลดความอยากอาหาร จึงมีผลต่อการควบคุมน้ำหนัก ซึ่งจะแตกต่างกับความเครียดอย่างสิ้นเชิง ยิ่งเครียดน้ำหนักก็ยิ่งขึ้นเพราะอยากอาหารมากกว่าเดิมนั่นเอง – การเปล่งเสียงหัวเราะช่วยบริหารกล้ามเนื้อหัวใจได้ เหมาะแม้สำหรับผู้ป่วยที่นอนบนเตียงและผู้สูงอายุด้วย – การหัวเราะช่วยบริหารกล้ามเนื้อบนใบหน้า และส่วนอื่น ๆ ที่กระเพื่อมขึ้นลงเวลาหัวเราะ เท่ากับได้บริหารร่างกายเบา ๆ…

  • ระวังโรคไบกอเร็กเซีย – โรคที่คิดว่าตัวเองตัวเล็กเกินไป

    ระวังโรคไบกอเร็กเซีย – โรคที่คิดว่าตัวเองตัวเล็กเกินไป

    ระวังโรคไบกอเร็กเซีย – โรคที่คิดว่าตัวเองตัวเล็กเกินไป นายแพทย์ วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ รองผอ.สำนักยุทธศาสตร์สุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต ได้กล่าวถึงโรคทางจิตชนิดหนึ่งที่อาจจะไม่ค่อยคุ้นหูคนไทยเท่าไรนัก ก็คือโรค ไบกอเร็กเซีย (Bigorexia) หรือโรคที่คิดว่าร่างกายตัวเองเล็กเกินไป เป็นโรคที่ผู้ป่วยมักคิดว่าตัวเองยังมีรางกายที่ไม่กำยำหรือล่ำสันมากพอ จึงมักชอบส่องกระจกบ่อย ๆ ทั้งที่ตัวเองก็มีร่างกายที่กำยำอยู่แล้วทำให้ต้องเข้าฟิตเนส หรือเล่นเวทบ่อย ๆ หากไม่ได้เล่นก็จะเกิดอาการเครียดและซึมเศร้า โดยโรคนี้จะเกิดกับกลุ่มชายวัยรุ่นหรือวัยกลางคน ซึ่งเป็นโรคที่อยู่ในกลุ่มที่คิดว่าตัวเองมีรูปร่างหรืออวัยวะที่ผิดปกติหรือ Body Dsymophic Diorder : BDD มีอาการผิดปรกติต่อการประเมินภาพลักษณ์ของตนเอง หมกมุ่นและย้ำคิดย้ำทำ กับเรื่องของรูปลักษณ์ตัวเอง ทั้งที่มีรูปร่างที่ปกติ แต่ก็สามารถหาจุดตำหนิได้เสมอ จนเกิดความทุกข์ ความเครียดซึมเศร้า จนกระทบต่อการใช้ชีวิต การทำงานและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ ซึ่งข้อสังเกตของผู้ป่วยในกลุ่มนี้ก็คือ 1. มักจะชอบส่องกระจกนาน ๆ แล้วก็หมกมุ่นกับภาพลักษณ์ของตัวเองจนเป็นสุขและสูญเสียความรับผิดชอบในภารกิจส่วนตัว 2. ชอบเอ่ยปากถามถึงรูปร่างหน้าตาของตนเองกับคนอื่นเสมอ แม้คนอื่นจะยืนยันความปกติแต่ก็ไม่เคยเชื่อ และมักจะถามย้ำเสมอ ๆ 3. หมดความมั่นใจในตัวเอง จนไม่กล้าเข้าสังคม มักแยกตัวจากคนอื่น สูญเสียการสร้างสัมพันธ์ภาพกับคนอื่น และสุดท้ายก็คือการโรคซึมเศร้า โดยโรคนี้ยังไม่มีการศึกษาในประเทศไทย แต่ในสหรัฐอเมริกาพบได้มากถึงร้อยละ…

  • การดื่มน้ำอัดลมจะส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้า และในกาแฟมีข้อดีต่อสุขภาพจิต

    การดื่มน้ำอัดลมจะส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้า และในกาแฟมีข้อดีต่อสุขภาพจิต

    การดื่มน้ำอัดลมจะส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้า และในกาแฟมีข้อดีต่อสุขภาพจิต นักวิจัยสหรัฐ ศึกษาในเรื่องนี้พบว่า ผู้ที่ดื่มน้ำอัดลม 4 กระป๋องต่อวันเสี่ยงต่ออาการซึมเศร้ามากกว่าปกติ 30% และหากดื่ม fruit punch ที่มีน้ำตาลมากในประมาณเดียวกัน อัตราความเสี่ยงที่มากกว่าปกติจะเพิ่มเป็น 38% แต่หากเป็นเครื่องดื่มชนิดใช้สารแทนน้ำตาลหรือน้ำอัดลมแบบ Diet ความเสี่ยงจะมากขึ้นอีก นักวิจัยไม่พบความเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างน้ำอัดลมกับอาการซึมเศร้าแต่พอจะสามารถตั้งสมมุติฐานเบื้องต้นได้ว่าผู้นิยมดื่มเครื่องดื่มลักษณะดังกล่าวปริมาณมากมักเป็นโรคเบาหวานและโรคอ้วน ซึ่งเชื่อมโยงกับโรคซึมเศร้า ทั่วโลกมีคนเป็นโรคนี้ 350 ล้านคน และในสหรัฐเองคาดว่ามีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 10% ของประชาการทั้งหมด นอกจากนั้นการศึกษาพบด้วยว่าผู้ดื่มกาแฟวันละ 4 แก้วมีความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าน้อยกว่าคนที่ไม่ดื่ม 10%