Tag: อาการกำเริบ
-
อาหารต้องห้ามของ 10 โรค
—
by
in ข่าวสุขภาพ, ความดันโลหิตสูง, ตับ, ท้องผูก, ริดสีดวงทวารหนัก, สิว, หอบหืด, หัวใจ, เบาหวาน, ไข้หวัด, ไตอาหารต้องห้ามของ 10 โรค อาหารต้องห้ามหรือของแสลง ก็คืออาหารท่านเข้าไปแล้วทำให้อาการกำเริบหรือโรคที่เป็นอยู่หายช้าลง มีพื้นฐานมาจากภูมิปัญญาทางการแพทย์พื้นบ้าน รู้ไว้จะดีกว่านะคะ ..หากเป็นโรคกระเพาะ หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกกาแฟ ชาแก่ ๆ ของทอด อาหารรสเผ็ด หรือมีไขมันสูง อาจทำให้โรคหายยากขึ้น ควรทานอาหารให้ตรงเวลาและเลือกอาหารที่ย่อยง่ายดีกว่า .. หากเป็นไข้ หรือเป็นไข้หวัด เลี่ยงอาหารที่มีความเย็น ของทอด ของมัน ที่ย่อยยาก จะยิ่งทำให้ตัวร้อนขึ้น .. หากเป็นโรคความดันโลหิตสูง หลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมัน และคอเลสเตอรอลสูง เช่น โกโก้ ไข่ปลา ไขกระดูก หมูสามชั้น สุรา แอลกอฮอล์ต่าง ๆ รวมทั้งหลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัดและผลไม้ที่มีความหวานอย่างขนุน ทุเรียน ลำไย ด้วย .. หากเป็นโรคตับหรือถุงน้ำดี เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอลด์ อาหารติดมัน เนื้อสัตว์ติดมัน เครื่องใน ของทอด ของหวานจั เพราะอาจทำให้ประสิทธิภาพของการย่อยอาหารลดลง เพิ่มภาระให้กับตับและถุงน้ำดี ..หากเป็นโรคหัวใจและโรคไต เลี่ยงอาหารที่มีความเค็ม เพราะจะทำให้การไหลเวียนของเลือดช้าลง หัวใจทำงานหนักขึ้น ไตเองก็ต้องขับเกลือมากขึ้น…
-
บำบัดปอดด้วยความร้อน ช่วยลดอาการกำเริบของโรคหอบหืดได้
บำบัดปอดด้วยความร้อน ช่วยลดอาการกำเริบของโรคหอบหืดได้ โดยปกติแพทย์จะแนะนำผู้ป่วยโรคหอบหืดในผู้ใหญ่ ให้พ่นยาขยายหลอดลมวันละครั้งหรือสองครั้ง เพื่อขยายหลอดลมและช่วยลดปริมาณของเสมหะ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยนั้นหายใจได้ง่ายขึ้น ซึ่งวิธีนี้จะใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์แบบพ่น และยังเป็นวิธีที่แพทย์ทั่วโลกแนะนำให้ใช้กัน และยังเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด ถึงแม้อาการยังไม่กำเริบก็ตาม อาการหอบหืดกำเริบเกิดจากหลอดลมในปอดอักเสบและบวม มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดอาการอักเสบนี้ บางอย่างเป็นปัจจัยทางพันธุกรรม บางอย่างเกิดจากสิ่งเเวดล้อม ฝุ่น มลพิษทางอากาศหรือแม้แต่ควันไฟอาจทำให้อาการหอบหืดกำเริบได้ ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง และในช่วงเปลี่ยนฤดูกาลต่างๆ อาจมีปริมาณฝุ่นผงกระจายในอากาศเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยหอบหืดอาจมีอาการกำเริบได้ แต่ปัจจุบันแพทย์ได้คิดค้นวิธีการบำบัด ให้ผู้ป่วยในผู้ใหญ่ใช้ยาพ่นได้น้อยลง โดยการที่ควบคุมขนาดยา และดูความเหมาะสมต่อการใช้ยา กับแต่ละบุคลที่เป็นนั้นๆ จากการสำรวจโดยวิธีการต่างๆ แพทย์ก็ได้พบว่า ผู้ป่วยกลุ่มที่ใช้ยาพ่นเฉพาะตอนอาการหอบหืดกำเริบ ได้ผลในการรักษาดีเท่าๆกับผู้ป่วยกลุ่มอื่น แต่กลับใช้ยาสเตียรอยด์น้อยกว่าถึงครึ่งหนึ่ง ในขณะเดียวกัน การทดลองรักษาผู้ป่วยหอบหืดวิธีใหม่ที่ไม่ใช้ยา เรียกว่าการใช้ความร้อนในกล้ามเนื้อปอด ได้ผลน่าพอใจและสร้างความหวังใหม่แก่ผู้ป่วย การรักษานี้เป็นการบำบัดด้วยความร้อนบริเวณผนังปอดและหลอดลมในปอดเพื่อลดความหนาของกล้ามเนื้อรอบๆหลอดลม ระหว่างการบำบัดหลอดลมด้วยความร้อนนี้ แพทย์จะสอดท่อเข้าไปในหลอดลมผู้ป่วยเพื่อเป็นตัวกระจายความร้อนเข้าไปในกล้ามเนื้อรอบๆหลอดลม ผู้ป่วยต้องพบแพทย์ทั้งหมดสามครั้งและแต่ละครั้งแพทย์จะบำบัดปอดในส่วนที่แตกต่างกันออกไป ผู้ป่วยหลายรายอาการดีขึ้นมากภายหลังพบแพทย์ครั้งที่สอง แต่ด็อกเตอร์คาทรีกล่าวว่านั่นไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยจะหายจากโรค แต่พบว่าอาการกำเริบรุนแรงน้อยลงและระยะเวลากำเริบจะสั้นลงด้วย