Tag: ออทิสซึ่ม
-
นักวิจัยอเมริกันพบว่า หากโปรตีนในรกของมารดาต่ำ อาจส่งผลต่อระบบประสาทของเด็กได้
นักวิจัยอเมริกันพบว่า หากโปรตีนในรกของมารดาต่ำ อาจส่งผลต่อระบบประสาทของเด็กได้ นักวิจัยค้นพบว่า ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ มีระดับโปรตีนในรกอยู่ในระดับต่ำ หรือมีความเครียด อาจส่งผลให้เด็กมีปัญหาทางระบบประสาท หรือสาเหตุของการเกิดโรคออทิสซึ่มและโรคจิตหลอนได้ ทีมนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตี้ออฟเพนซิลเวเนีย รัฐฟิลลาเดลเฟีย เปิดเผยว่าผู้หญิงที่เครียดในขณะกำลังตั้งครรภ์จะส่งผ่านโปรตีนพิเศษชนิดหนึ่งไปสู่ทารกในครรภ์ในระดับต่ำกว่าปกติ ซึ่งมีผลให้เกิดความผิดปกติทางพัฒนาทางสมองในทารก ระดับโปรตีนชนิดนี้ในระดับต่ำที่สุดพบในสายรกของทารกเพศชาย เนื่องจากยีนที่ทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป ยีนเหล่านี้จะปรับเปลี่ยนไปตามสภาวะเเวดล้อมในรกที่ตอบสนองต่อความเครียดที่เกิดขึ้นกับตัวมารดา อาหารที่มารดารับประทาน รวมถึงการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของมารดาและกิจกรรมอื่นๆ สำหรับโรคจิตหลอนเป็นอาการทางระบบประสาทที่ผู้ป่วยสร้างมโนภาพขึ้นมาเอง ส่วนผู้ป่วยโรคออทิสซึ่มมีความผิดปกติในด้านการสื่อสารและการเข้าสังคม ทีมนักวิจัยให้เหตุผลว่ายีนตัวที่มีบทบาทในการเกิดโรคด้อยพัฒนาทางสมองอาจจะเกี่ยวข้องกับโครโมโซมเอ็กซ์ซึ่งเป็นโครโมโซมเพศหญิง ทีมนักวิจัยค้นพบว่าเกิดระดับโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่าโปรตีน OGT ในรกของลูกหนูตัวเมียสูงกว่าในรกของลูกหนูตัวผู้ นอกจากนี้ ระดับโปรตีนตัวนี้ยังมีระดับต่ำในรกของหนูตั้งท้องที่อยู่ในภาวะเครียดเมื่อเทียบกับหนูตั้งท้องที่ปลอดจากความเครียด หัวหน้าทีมวิจัยไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าโปรตีนโอจีทีมีผลกระทบต่อพัฒนาการทางสมองในมนุษย์ แต่ชี้ว่าการตรวจหาระดับของโปรตีนโอจีทีในรกทารกในครรภ์อาจจะช่วยให้ระบุได้ว่าทารกคนไหนมีความเสี่ยงสูงต่อโรคออทิสซึ่มและโรคจิตหลอนที่เป็นผลสืบเนื่องจากความเครียดของมารดาขณะตั้งครรภ์ และ โปรตีนตัวนี้จะช่วยให้แพทย์รู้ว่าทารกคนไหนที่ต้องติดตามดูพัฒนาการเป็นพิเศษ เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กมีความเสี่ยงสูงต่อความบกพร่องเหล่านี้และหาทางแก้ไขปัญหาแต่เนิ่นๆ และในกรณีของโรคออทิสซึ่ม นักวิจัยเเนะนำว่าการแก้ไขปัญหาแต่เนิ่นๆจะเป็นประโยชน์ในการช่วยปรับปรุงความสามารถในการสื่อสารของเด็ก
-
กลุ่มรากหญ้าของเวียดนาม ผลักดันนโยบายเกี่ยวกับโรคออทิสซึ่ม
กลุ่มรากหญ้าของเวียดนาม ผลักดันนโยบายเกี่ยวกับโรคออทิสซึ่ม แม้ว่าจะมีจำนวนโรงเรียนเพื่อเด็กพิเศษเพิ่มมากขึ้นในเวียดนาม รัฐบาลเวียดนามยังไม่มีนโยบายระดับชาติในด้านการบำบัดความบกพร่องของพัฒนาการทางสมองประเภทออทิสซึ่มในเด็ก หรือ เอเอสดี เช่นเดียวกับอีกหลายชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งนี้เวียดนามจัดการประชุมความรู้เรื่องโรคออทิสซึ่มเป็นครั้งแรกเมื่อเร็วๆนี้ หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องหวังว่าการประชุมจะกระตุ้นให้รัฐบาลเวียดนามปรับปรุงนโยบายด้านการศึกษาและการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความบกพร่องด้านพัฒนาการทางสมองต่างๆ เอเอสดี เป็นกลุ่มความผิดปกติของพัฒนาการทางสมองที่ซับซ้อนหลายๆอย่างๆ มีคนเป็นโรคนี้กันหลายสิบล้านคนทั่วโลก เป็นความบกพร่องของพัฒนาการทางสมองส่งผลกระทบต่อความสามารถในการเข้าสังคม การสื่อสารและมักมีพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ ด็อกเตอร์เองกล่าวว่ายอมรับว่าในอดีต ผู้ที่เป็นโรคออทิสซึ่มจะต้องอยู่ในโรงพยาบาลและถูกมองว่าเป็นคนบ้าหรือคนจิตฟั่นเฟือน หากเปรียบเทียบกับปัจจุบัน คนทั่วไปมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคออทิสซึ่มมากขึ้นและมองว่าออทิสซึ่มไม่ใช่โรคจิตร้ายแรง ในการประชุมเกี่ยวกับโรคกลุ่มออทิสซึ่มที่ขึ้นในเวียดนามเป็นครั้งแรกเมื่อเร็วๆนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์อเมริกันพร้อมด้วยบรรดาเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการศึกษาและกระทรวงแรงงานแห่งเวียดนามเข้าร่วมในการประชุมด้วยซึ่งหลายคนหวังว่าจะนำไปสู่การสร้างนโยบายแห่งชาติเพื่อการบำบัดและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโรคนี้ เขากล่าวว่าการอธิบายเกี่ยวกับโรคออทิสซึ่มและผลพวงจากความบกพร่องด้านพัฒนาการทางสมองทำได้ง่ายขึ้นเนื่องจากพ่อแม่ชาวเวียดนามมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะอาการของโรคมากขึ้นกว่าเดิม บรรดาสื่อมวลชนในเวียดนามรายงานว่าพบผู้มีอาการพัฒนาการทางสมองบกพร่องเพิ่มมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ไม่มีใครตอบได้ชัดเจนว่าจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเพราะว่าการวินิจฉัยโรคพัฒนาดีขึ้นหรือว่าคนเป็นโรคนี้เพิ่มมากขึ้นกันแน่