Tag: องค์การอนามัยโลก
-
เที่ยวป่าหน้าฝนระวังไข้มาลาเรีย
เที่ยวป่าหน้าฝนระวังไข้มาลาเรีย ในแต่ละปีนั้นองค์การอนามัยโลกคาดว่ามีผู้ป่วยไข้มาลาเรียถึงกว่าปีละ 500 ล้านคน และเสียชีวิตมากกว่าปีละล้านคน ระบาดสูงสุดในช่วงเดือน เม.ย. ถึง ก.ค. ผู้ที่ชอบไปท่องเที่ยวในป่า หรือแหล่งที่มียุงชุกชุมจึงมักติดเชื้อไข้มาลาเรียได้ง่ายในช่วงนี้ ไข้มาลาเรีย หรือไข้ป่านี้เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัวที่ติดต่อกันโดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะ มักระบาดตามป่าเขา และพบการโรคมาลาเรียนี้ดื้อยามากขึ้นด้วย เมื่อยุงไปกัดคนที่มาเชื้อมาลาเรียเข้าเชื้อก็จะเข้าไปแบ่งตัวในยุง เมื่อไปกัดคนอื่นก็จะถ่ายทอดเชื้อออกไป เมื่อเข้าสู่ร่างกายคนจะเจริญเติบโตในเซลล์ตับและเม็ดเลือดแดง มีระยะฟักตัวประมาณสองอาทิตย์ แล้วจะป่วยไม่สบาย ต่อมาก็จะมีไข้หนาวสั่น ปวดหัว ปวดเมื่อย คลื่นไส้อาเจียน และอาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ร้ายแรงได้ ไม่ว่าจะเป็นมาลาเรียขึ้นสมอง น้ำตาลในเลือดต่ำ เหลืองซีด ปัสสาวะสีดำ ไตวาย ปอดบวมน้ำและเสียชีวิตได้ เพราะการกินยาป้องกันมาเลเรียล่วงหน้านั้นไม่ได้ผล การที่จะเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวในป่าหรือเดินทางศึกษาธรรมชาติจึงควรระมัดระวังตนเองไม่ให้ยุงกัด ด้วยการสวมเสื้อผ้ามิดชิด ทาโลชั่นกันยุงและนอนในมุ้งที่ฉาบน้ำยา หากกลับจากไปเที่ยวแล้วป่วยควรรีบไปพบแพทย์ด่วน และควรปฏิบัติตามแพทย์สั่งและทานยาให้ครบถ้วนด้วย ผู้ที่เพิ่งกลับจากป่าเขามาอย่าเพิ่งบริจาคโลหิตจะดีกว่าเพราะงานบริการโลหิตยังไม่มีวิธีการตรวจเชื้อมาลาเรียได้ และเชื้อมาลาเรียที่ติดมากับโลหิตบริจาคจะสามารถถ่ายทอดไปยังผู้รับโลหิตได้อีกด้วย
-
หลัก 5 อ. ปรับภูมิชีวิต พิชิตมะเร็ง
หลัก 5 อ. ปรับภูมิชีวิต พิชิตมะเร็ง องค์การอนามัยโลก ได้คาดการณ์ไว้ว่าภายในปี 2005-2015 จะมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งเสียชีวิตโดยไม่ได้รักษาราว 84 ล้านคนทั่วโลก โดยในประเทศไทยนั้นมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นทุกปี ทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคถึงปีละเฉลี่ยเกือบสองหมื่นล้านบาท โรคมะเร็งนี้เป็นโรคที่อันตราย ส่วนใหญ่เป็นโรคของภูมิต้านมะเร็งบกพร่อง มีสาเหตุจากความเครียด พักผ่อนน้อย อายุมากขึ้น ไม่ออกกำลังกาย ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ขาดสารอาหารช่วยเพิ่มภูมิต้านทานมะเร็ง กินอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง การสัมผัสกับรังสีชนิดต่าง ๆ ซึ่งผู้ป่วยมะเร็งนี้นอกจากทนทุกข์ทรมานจากภาวะของโรคแล้วยังสูญเสียเงินทองในการรักษาจำนวนมากอีก ผลการรักษาบางครั้งก็ไม่เป็นไปอย่างที่หวัง บางรายก็หายชั่วคราว บางรายก็ได้แค่บรรเทาอาการเท่านั้น ฯลฯ ดังนั้นจะดีกว่าหรือไม่หากเราจะปรับภูมิชีวิตของตัวเราเองเพื่อป้องกันและป้องกันการกระจายตัวของมะเร็ง ลดโอกาสการเป็นมะเร็งซ้ำอีกด้วย ก็คือหลัก 5 อ. อันได้แก่ 1. อาหาร เลือกทานอาหารให้ได้รับสารต้านอนุมูอิสระ และสารอาหารตามที่ร่างกายต้องการทุกอย่าง ตามปริมาณความต้องการของร่างกาย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีความสุ่มเสี่ยงต่อสารเคมี ทานผัก ผลไม้ ถั่ว เห็ดต่าง ๆ เพิ่มภูมิต้านทานการเป็นมะเร็ง และต้านทานเซลล์กลายพันธุ์ได้ด้วย 2. ออกกำลังกาย อย่างน้อยวันละ 30 นาที ด้วยการบริหารลมหายใจ…
-
เลือกกินน้ำมันอย่างไรให้ปลอดภัย
เลือกกินน้ำมันอย่างไรให้ปลอดภัย เพราะการโฆษณาทั้งสื่อทีวีและโทรทัศน์นั้นมีผลต่อการกินอยู่ของเราคนไทยมาก สินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหลายจึงได้นำเอาคอนเซปท์ในเรื่องของคำว่า “เพื่อสุขภาพ” เข้ามาเป็นดึงดูดใจ เช่น น้ำมันพืชที่ไม่มีคอเลสเตอรอล เป็นต้น อาจทำให้คนที่รับชมโฆษณเข้าใจว่าพอไม่มีคอเลสเตอรอลแล้ว สามารถทานเท่าไรก็ได้ ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ แต่ความจริงแล้วนี่เป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะการเลือกใช้น้ำมันพืชในการประกอบอาหารรวมทั้งการเลือกทานอาหารนอกบ้าน ล้วนเป็นปัจจัยในการควบคุมคอเลสเตอรอลทั้งสิ้น จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกและองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติได้แนะนำให้คนเราควรกินไขมันที่ดีต่อสุขภาพ โดยได้พลังงานจากไขมันไม่เกินร้อยละ 30 ของพลังงานทั้งหมดในแต่ละวัน โดยได้จากกรดไขมันอิ่มตัวไม่เกินร้อยละ 10 สำหรับผู้ที่มีร่างกายปกติ และไม่เกินร้อยละ 7 สำหรับคนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจ หรือหากจะคิดให้ง่ายเข้าก็คือทานน้ำมันได้ไม่เกิน 4 ช้อนชาต่อวันนั่นเอง ดังนั้นการเลือกน้ำมันสำหรับปรุงอาหารควรเลือกใช้ดังนี้ – น้ำมันสำหรับการปรุงที่ใช้อุณหภูมิสูง เช่น การผัดไฟแรง การทอด ควรเลือกใช้น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันเมล็ดชา และน้ำมันดอกคำฝอย – น้ำมันสำหรับการปรุงอาหารที่ใช้ความร้อนไม่สูงนักแนะนำเป็น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันดอกทานตะวัน – และน้ำมันสำหรับการปรุงอาหารที่ผ่านความร้อน หรือผ่านความร้อนต่ำ ควรเลือกใช้น้ำมันมะกอก น้ำมันงา น้ำมันมะพร้าว และเนย แม้บนฉลาดของน้ำมันจะเขียนว่ามีคลอเลสเตอรอลต่ำ แต่ความจริงแล้วยังไม่ไขมันทรานส์ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายมากกว่าไขมันอิ่มตัวเสียอีก ซึ่งควรหลีกเลี่ยงมากที่สุด้วยเพราะจะไปเพิ่มคอเลสเตอรอลตัวไม่ดี หรือ LDL ให้มากขึ้น…
-
องค์การอนามัยโลกชี้ มนุษย์มีเซ็กซ์วันละ 100 ล้านครั้ง!!
องค์การอนามัยโลกชี้ มนุษย์มีเซ็กซ์วันละ 100 ล้านครั้ง!! เป็นความจริงค่ะ! ที่ล่าสุดมีผลการศึกษาจากองค์การอนามัยโลก หรือ WHO มาแล้วว่าในหนึ่งวันนั้น มนุษย์ทั่วทั้งโลกมีเซ็กซ์กันถึงวันละ 100 ร้อยล้างครั้ง! ซึ่งจากสถิตินี้ทำให้ทั่วโลกมีการตั้งครรภ์ขึ้นวันละกว่า หนึ่งล้านคน ทำให้ในอนาคตอาจเกิดวิกฤตการณ์มนุษย์ล้านโลก ทรัพยากรไม่พอเลี้ยงหรือดูแลคนทั้งโลกได้ ซึ่งนั่นก็ทำให้ WHO คิดค้นพัฒนาวิธีการคุมกำเนิดให้ดีขึ้น มิแช่นนั้นแล้วในอนาคตอาจเกิดการขาดแคลนทรัพยากรมนุษย์อย่างแน่นอน อีกทั้งยังมีสถิติของประเทศที่มีเซ็กซ์มากที่สุดในโลก ซึ่งวัดจากยอดขายถุงยางอนามัยดูเร็กซ์ พบว่าโดยเฉลี่ยแล้วคนทั่วโลกมีเซ็กซ์กันประมาณ 112 ครั้งต่อปี ประเทศที่ครองแชมป์มีเซ็กซ์มากที่สุดในโลกคือประเทศฝรั่งเศสคือประมาณ 151 ครั้งต่อปี ส่วนคนอเมริกันมีเซ็กซ์เฉลี่ย 148 ครั้งต่อปี ในขณะที่คนไทยมีเพศสัมพันธ์เพียง 69 ครั้งต่อปี หรือประมาณ 1.3 ครั้งต่อสัปดาห์นั่นเอง
-
อาหารเพื่อสุขภาพ หรือ Healthy Food หมายถึงอะไร
อาหารเพื่อสุขภาพ หรือ Healthy Food หมายถึงอะไร ปัจจุบันนี้ที่การดำเนินชีวิตของผู้คนมีความเร่งรีบมากขึ้น ไม่ค่อยมีใครมาทำอาหารทานกันเองสักเท่าไรแล้ว อีกทั้งกระแสอาหารเพื่อสุขภาพมาแรงมากขึ้น อาหารที่จำหน่ายในทั่วโลกและประเทศไทยตอนนี้จึงเน้นอาหารเพื่อสุขภาพ หรือ Healthy Food กันมากขึ้นนั่นเอง แล้วอาหารเพื่อสุขภาพ.. นี่มีความหมายว่าอะไรบ้าง คำ ๆ นี้มีการให้ความหมายไว้อย่างกว้าง ๆ หลายแหล่ง แต่รวม ๆ แล้วก็คล้าย ๆ กันว่า อาหารเพื่อสุขภาพ ก็คือ อาหารที่ดีและมีคุณค่าต่อร่างกาย ไม่มีการปนเปื้อนจากสารเคมี หรือสารที่ไม่ได้มาจากธรรมชาติ รวมไปถึงอาหารที่ปราศจากน้ำตาลหรือปราศจากไขมัน (หรือมีแต่น้อยได้ด้วย) ในด้านขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ระบุไว้ว่า การทานอาหารที่ไม่มีคุณภาพ รวมไปถึงการไม่ออกกำลังกายล้วนเป็นบ่อเกิดของโรคได้ทั้งสิ้น หรืออาจกล่าวได้ว่าสุขภาพที่ดีก็คือการทานอาหารให้ครบห้าดังปิรามิดอาหารนั่นเอง สรุปได้ว่า อาหารเพื่อสุขภาพก็คือ อาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย มีคุณค่าทางโภชนาการ บริโภคแล้วสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ อีกทั้งยังต้อง สะอาด ปลอดสารปนเปื้อน รวมไปถึง มีปริมาณน้ำตาล ไขมัน และโซเดียวแต่น้อย แต่อาหารเพื่อสุขภาพจะเป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากเท่าไรก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยส่วนบุคคลด้วย อาทิเช่น…
-
ยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสอีโบลา พุ่งเป็น 86 รายแล้ว
ยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสอีโบลา พุ่งเป็น 86 รายแล้ว ยอดผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสอีโบลา ในประเทศชายฝั่งทวีปแอฟริกาตะวันตกยังพุ่งไม่หยุด เพิ่มเป็น 86 รายแล้ว องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสไข้เลือดออกอีโบลา ในทวีปแอฟริกาทางตะวันตกเมื่อ 5 เม.ย.ว่า จำนวนผู้เสียชีวิตได้เพิ่มขึ้นเป็น 86 รายแล้ว จากจำนวนผู้ป่วยที่ต้องสงสัยติดเชื้ออีโบลาทั้งหมด 137 ราย ที่น่าวิตกคือ การระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาดำเนินไปอย่างรวดเร็วมาก นับตั้งแต่พบการระบาดในภูมิภาคนี้ครั้งแรกที่เมืองกูเกดัว ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศกินี ใกล้ชายแดนติดกับประเทศเซียร์รา ลีโอน และไลบีเรีย ตามรายงานของ WHO ระบุด้วยว่า มีผู้ป่วยติดเชื้ออีโบลา ในกรุงโกนากรี เมืองหลวงของสาธารณรัฐกินี เสียชีวิตเพิ่มอีก 5 ราย ด้วยเหตุนี้ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทางการกินีต้องรีบแจ้งเตือนประชาชนในเมืองหลวงและเมืองต่างๆ ถึงสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสอีโบลาในเวลานี้ ทั้งนี้ ที่ประเทศไลบีเรีย มีผู้เสียชีวิตจากไวรัสอีโบลา ซึ่งจัดเป็นหน่ึ่งในไวรัสที่อันตรายที่สุดในยุคนี้แล้ว 7 ราย จากจำนวนผู้ป่วยที่ต้องสงสัยติดเชื้อ 14 ราย ขณะที่ประเทศเซียร์รา ลีโอน มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 2 ราย
-
ผลวิจัยชิ้นใหม่ ของโรคเรื้อน อาจนำไปสู่การวินิจฉัยและบำบัดโรคได้แต่เนิ่นๆ
ผลวิจัยชิ้นใหม่ ของโรคเรื้อน อาจนำไปสู่การวินิจฉัยและบำบัดโรคได้แต่เนิ่นๆ องค์การอนามัยโลกเริ่มต้นโครงการกำจัดโรคเรื้อนหรือที่เรียกกันว่าโรค Hansen’s disease แต่องค์การอนามัยโลกรายงานว่าพบผู้ติดเชื้อโรคเรื้อนรายใหม่ทั่วโลกมากกว่าสองแสนสองหมื่นแปดพันรายในปีพุทธศักราช 2553 ทีมนักวิจัยไม่รู้แน่ชัดว่าผู้ป่วยติดเชื้อโรคเรื้อนได้อย่างไร สำหรับเชื้อแบคทีเรียไมโครแบคทีเรียม เลพพรี จะเเพร่เชื้อเข้าในเซลล์ประสาทพิเศษในแขนและขาบางจุดที่ทำหน้าที่แยกสัญญาณกระแสไฟฟ้าจากสมองที่เรียกว่า ชะวานเซลล์ส (Schwann cells) เชื้อแบคทีเรียเข้าไปรบกวนการทำงานของยีนในเซลล์ Schwann และแปรสภาพเซลล์บางตัวเป็นสเต็มเซลล์หรือเซลล์ตั้งต้น ซึ่งเป็นเซลล์ชนิดพิเศษที่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ชนิดต่างๆในร่างกายมนุษย์ได้ ทีมนักวิจัยทดลองฉีดสเต็มเซลล์ที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อโรคเรื้อนเข้าไปในหนูทดลอง เพื่อสังเกตุดูว่าเซลล์ที่เกิดจากการติดเชื้อแปรสภาพไปเป็นเซลล์กล้ามเนื้อชนิดต่างๆได้อย่างไร เซลล์ที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียโรคเรื้อนสามารถแปรสภาพเป็นเซลล์ผิวหนัง ทำให้เกิดลักษณะรูปร่างผิดเพี้ยนซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคเรื้อนหรือไม่ ทางองค์การอนามัยโลก หวังว่าผลการศึกษาครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาวิธีตรวจเลือดที่ช่วยวินิจฉัยและบำบัดโรคเรื้อนได้แต่เนิ่นๆ
-
จีน จับตาดูการระบาดของไข้หวัดนกสายพันธุ์ใหม่ H7N9 อย่างใกล้ชิด
จีน จับตาดูการระบาดของไข้หวัดนกสายพันธุ์ใหม่ H7N9 อย่างใกล้ชิด นับตั้งแต่ไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ แพร่ระบาดในนครเซี่ยงไฮ้ตอนต้นเดือนมีนาคม ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 7 คน จากจำนวนผู้ล้มป่วยที่มีรายงาน 24 คน ทางการจีนได้จับตาดูการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนี้อย่างใกล้ชิด ในขณะที่นักวิจัยกำลังทำงานเพื่อระบุชี้ให้ได้ว่าเชื้อไวรัสที่ว่านี้แพร่ออกไปได้อย่างไร องค์การอนามัยโลก หรือ WHO กล่าวยืนยันในที่ประชุมแถลงข่าวร่วมกับประธานคณะกรรมการอนามัยแห่งชาติและการวางแผนครอบครัวของจีนที่กรุงปักกิ่งเมื่อวันจันทร์ว่า เท่าที่ปรากฎ ผู้ป่วยเป็นไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ค่อนข้างกระจัดกระจาย และอาจคงสภาพเช่นนั้นอยู่ต่อไป เพราะฉะนั้นจึงยังไม่ควรตื่นตระหนกกัน อย่างไรก็ตาม ทางการจีนกำลังจับตาดูโรคนี้อย่างใกล้ชิดหลังจากที่ให้ปิดตลาดสัตว์ปีกที่เซี่ยงไฮ้ในสัปดาห์ที่แล้ว รวมทั้งกำจัดสัตว์ปีกในสต๊อคหลังจากพบเชื้อไวรัสดังกล่าวในนกพิราบที่นั่น และแม้เจ้าหน้าที่ของ WHO จะบอกว่า ไม่ควรตื่นตกใจ Laurie Garrett นักวิจัยอาวุโสทางด้านสาธารณสุขโลกของ Council on Foreign Relations กล่าวเตือนว่า ถ้ายังมีผู้เสียชีวิตจากไวรัสเชื้อพันธุ์ใหม่นี้เพิ่มขึ้นต่อไปอีก ก็อาจจะต้องเริ่มเตรียมตัวจัดการกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นมา โดยยกตัวอย่างไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในปีค.ศ. 2009 ซึ่งทำให้แต่ละประเทศหาทางป้องกันตนเองด้วยการปิดท่าอากาศยาน กักกันตัวคนเดินทาง และกว้านเก็บยาและวัคซีนอย่างไรก็ตาม นักวิจัยของมหาวิทยาลัย Hong Kong พยายามปลอบขวัญกำลังใจของผู้คน ด้วยการประกาศว่าจะกลับไปศึกษาการแพร่ระบาดของปีค.ศ. 2009 เพื่อยืนยันว่า…
-
นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า การสูบบุหรี่แต่เช้า จะมีความเสี่ยงต่อโรคร้ายสูง
นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า การสูบบุหรี่แต่เช้า จะมีความเสี่ยงต่อโรคร้ายสูง บุหรี่มีผลเสียต่อสุขภาพแต่ผลการวิจัยชิ้นใหม่ชี้ว่ายิ่งสูบบุหรี่แต่เช้า ผลเสียต่อสุขภาพจะยิ่งรุนแรงขึ้น องค์การอนามัยโลกรายงานว่าบุหรี่ยังเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตจากโรคร้ายต่างๆ แม้ว่าจะสามารถป้องกันได้ก็ตาม ทางองค์การอนามัยโลกประมาณว่ามีคนเสียชีวิตจากโรคต่างๆจากการบุหรี่ถึงปีละหกล้านรายทั่วโลก ส่วนใหญ่เป็นคนในประเทศรายได้ปานกลางและรายได้น้อย นักวิจัยกล่าวว่า การวิจัยถึงช่วงเวลาของแต่ละวันที่คุณจุดบุหรี่มวนเเรกขึ้นสูบ เป็นตัวช่วยวัดความเสี่ยงของการเกิดโรคจากบุหรี่ได้ หากคุณจุดบุหรี่ขึ้นสูบทันทีหลังจากตื่นนอนก็แสดงว่าคุณติดสารนิโคตินอย่างมาก นิสัยการสูบบุหรี่ตั้งแต่เช้านี้เป็นตัวชี้ที่ดีถึงระดับความสาหัสของการติดบุหรี่ของแต่ละคน วัดได้ดีกว่าการนับจำนวนบุหรี่ที่สูบทั้งหมดในแต่ละวันเสียอีก สารเคมี NNK ตัวนี้ก่อให้เกิดมะเร็งได้ หลังจากที่ร่างกายดูดซึมสารเคมีนี้เข้าไป จะกลายสภาพเป็นสาร NNAL นักวิจัยพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่ทันทีหลังตื่นนอนตอนเช้าจะมีระดับของสารตัวนี้สูงมาก หากมีสารเคมีตัวนี้ในร่างกายปริมาณสูงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งแต่ทีมนักวิจัยยังไม่รู้ว่าความเสี่ยงเพิ่มขึ้นมากแค่ไหนหรือมีวิธีลดความเสี่ยงนี้หรือไม่ เขากล่าวว่าทีมงานยังอยู่ในช่วงต้นของการศึกษาวิจัย แต่พวกเขาพบว่าหากพบสารเคมี NNAL ในปัสสาวะ ก็แสดงว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดมากขึ้น ผลการศึกษานี้มาจากการประมวลข้อมูลจากการศึกษาผู้สูบบุหรี่สองพันคน ราวสามสิบเปอร์เซ็นต์ของผู้สูบบุหรี่เหล่านี้บอกว่าเริ่มสูบบุหรี่มวนแรกของวันในช่วงห้านาทีหลังตื่นนอน อีก 30 เปอร์เซ็นต์บอกว่าสูบบุหรี่มวนแรกภายในช่วง 6 ถึง 30 นาทีหลังจากตื่นนอน
-
WHO จับตาดูผู้ป่วยและเสียชีวิตด้วย Coronavirus สายพันธุ์ใหม่ ที่เชื่อกันว่าเกี่ยวกับโรค SARS
WHO จับตาดูผู้ป่วยและเสียชีวิตด้วย Coronavirus สายพันธุ์ใหม่ ที่เชื่อกันว่าเกี่ยวกับโรค SARS องค์การอนามัยโลก เฝ้าจับตามองไวรัส Coronavirus สายพันธุ์ใหม่ในตะวันออกกลาง ที่ได้คร่าผู้คนไปทั่วโลกเมื่อปี 2003 ไป 800 คน ซึ่งแพทย์และนักวิจัยค้นพบว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้คือชนิดที่คล้ายกับไข้หวัด SARS แพทย์กล่าวว่า ตอนนี้กำลังจับตามองในเรื่องของการแพร่เชื้อไวรัสนี้อยู่ แต่ก็ยังไม่พบว่าเชื้อไวรัสนี้สามารถแพร่สู่คนได้อย่างไร แต่ได้สมมุติฐานในเรื่องนี้ไว้ว่า ผู้ป่วยที่ติดเชื้อนั้น คงได้ไปสัมผัสกับสัตว์ที่ติดเชื้อกันมา โดยที่ไม่ได้ตั้งใจ แต่เท่าที่รู้ก็คือ เชื้อไวรัสนี้สามารถแพร่เข้าสู่คนได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ และแม้จำนวนผู้ป่วยจะยังไม่มาก นายแพทย์ผู้นี้บอกว่าไม่ควรวางใจ และเปรียบเทียบให้ฟังว่า ไข้หวัดใหญ่โดยทั่วไป ซึ่งผู้คนนับล้านๆคนติดเชื้อนั้น อัตราการเสียชีวิตน้อยมาก ไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ Mers มีผู้เสียชีวิต 30 คนจากจำนวนผู้ป่วย 50 คน หรือราวๆ 60% ซึ่งนับว่าสูงมาก ดังนั้นองค์การอนามัยโลกจึงได้เฝ้าจับตามองในเรื่องนี้ เพื่อจะได้หาทางควบคุม และแนวทางป้องกัน ร่วมมือกับแพทย์ช่วยหาวิธีการรักษา และยาต้านไวรัส ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีใช้ในทางการรักษา แต่มั่นใจว่าในอนาคตจะสามารถค้นพบวิธีป้องกันและยารักษา ยาต้านไวรัสได้อย่างแน่นอน