Tag: หูชั้นกลางอักเสบ

  • การป้องกัน…ไข้หวัดในเด็กเล็ก

    การป้องกัน…ไข้หวัดในเด็กเล็ก

    การป้องกัน…ไข้หวัดในเด็กเล็ก โรคหวัดเป็นโรคติดเชื้อที่เด็ก ๆ เป็นกันมากที่สุด ยิ่งอยู่ในวัยที่ต้องเข้าไปอยู่ในเนอสเซอรี่ โรงเรียนอนุบาลทั้งหลายแล้ว ยิ่งติดต่อกันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เด็กบางคนเป็นหวัดแทบทุกเดือน เพราะเชื้อไวรัสที่ทำให้เป็นหวัดได้นั้นมีมากกว่าสองร้อยชนิด อาการของเด็กที่เป็นหวัดนั้น โดยมากจะมีอาการ คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ ไอ มีไข้ ปวดศีรษะ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเด็ก ๆ อย่างใกล้ชิดด้วยการให้เด็กจิบน้ำอุ่นบ่อย ๆ กินอาหารเหลวหรืออาหารที่ย่อยง่าย หากยังกินนมแม่อยู่ก็ให้ดูดนมบ่อยขึ้น ดูแลน้ำมูกให้จมูกโล่ง ให้เด็กได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ให้เด็กปิดปากเวลาไอหรือจาม และแยกเด็กออกจากเด็กปกติเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อด้วย รวมไปถึงต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นหูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ หรือแม้กระทั่งปอดบวม ซึ่งหากเกิดความผิดปกติได้แก่ มีไข้สูงเกินกว่าสองวัน เด็กร้องกวนโยเย เจ็บหู ไอมากหรือไอเสียงก้อง หายใจแรงจนซี่โครงบุ๋ม หรือหายใจถี่เร็ว ควรรีบพบแพทย์ เพื่อป้องกันอันตราย ในระยะนี้คุณพ่อคุณแม่ควรพาเด็กมาหาหมอตามนัดและให้ลูกทานยาให้ครบ อย่าหยุดยาเองโดยพละการ ไม่ใช่เห็นว่าอาการทุเลาแล้วจึงหยุดยาเอง ทำแบบนี้เป็นอันตรายมากเพราะจะทำให้ติดเชื้อแทรกซ้อนอื่นได้ง่าย และทำให้ดื้อยาด้วย และที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือการป้องกันเด็กมิให้เป็นไข้หวัดเสียตั้งแต่แรก ได้แก่การดูสุขภาพของเด็กให้แข็งแรง โดย – ทานอาหารให้ครบหมู่และเหมาะสมตามวัยของเด็ก – ปล่อยให้เด็กได้วิ่งเล่นกลางแจ้งเพื่อเป็นการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ – ให้เด็กได้เข้านอนแต่หัวค่ำและนอนหลับอย่างพอเพียงทุกวัน…

  • ดูแลลูก ๆ ให้ห่างไกลจากโรคหูอักเสบในฤดูฝนนี้

    ดูแลลูก ๆ ให้ห่างไกลจากโรคหูอักเสบในฤดูฝนนี้

    ดูแลลูก ๆ ให้ห่างไกลจากโรคหูอักเสบในฤดูฝนนี้ ในช่วงหน้าฝนจะเป็นฤดูที่เด็ก ๆ มักมีความเสี่ยงเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบมากกว่าฤดูอื่นของประเทศไทย ซึ่งมักมาพร้อมกับโรคหวัดในหน้าฝน  หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจทำให้ลุกลามจนกลายเป็นโรคหูหนวกได้ในอนาคต  กลุ่มที่น่าเป็นห่วงก็คือเด็กที่อายุน้อยกว่า 3 ขวบ จากสถิติแล้วกว่าร้อยละ 80 นั้นเคยเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต ซึ่งสาเหตุของโรคหูชั้นกลางอักเสบนี้เกิดจากการติดเชื้ไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย แล้วเกิดการอักเสบและบวมแดงของแก้วหู  จนเกิดเป็นน้ำหรือหนองในเยื่อแก้วหู  บางรายที่รุนแรงก็ทำให้เยื่อแก้วหูฉีกขาดได้  เด็กที่มีความเสี่ยงมากนอกจากจะเป็นเด็กที่อายุน้อยกว่า 3 ขวบแล้ว ยังเป็นเด็กที่อยู่ในโรงเรียนอนุบาล หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก รวมไปถึงเด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้ ไม่แข็งแรง ป่วยง่าย ติดเชื้อโรคหวัด คออักเสบ หรือโพรงจมูกอักเสบมาจากเพื่อน ๆ  ช่วงที่ติดต่อกันได้ง่ายก็คือหน้าฝน ที่ทำให้เยื่อบุในท่อยูสเตเชี่ยนที่เชื่อมต่อระหว่างูไปยังคอและโพรงจมูกเกิดการบวมและคั่งน้ำ  ทำให้เกิดแรงดันในหูมากขึ้น จนเชื้อแพร่กระจายเข้าสู่หูชั้นกลางได้ง่ายขึ้นนั่นเอง ส่วนมากอาการเหล่านี้จะดีขึ้นในระยะไม่เกิน 5 วัน  แต่ในรายที่รุนแรงเชื้ออาจเข้าไปยังสมองทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือฝีในสมอง  ซึ่งนอกจากนี้หากเชื้อพลัดหลงเข้าไปในกระแสเลือดยังทำให้เกิดโรคติดเชื้อในกระแสเลือดได้อีก  หากลุกลามไปยังปอดก็ทำให้ปอดอักเสบรุนแรงได้  ซึ่งการรักษาจะยิ่งยุ่งยากมากขึ้นและเด็กบางรายก็มีโอกาสเสียชีวิตด้วย การป้องการเชื้อเหล่านี้เป็นเรื่องที่ผู้ปกครองและคุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจให้มาก  การป้องกันตั้งแต่ทารกก็คือให้ลูกกินนมแม่เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง  ทานอาหารที่เหมาะสมกับภัย และเสริมภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีนให้ครบ  รวมไปถึงวัคซีนไอพีดีพลัสปอด-หูอักเสบ  ซึ่งช่วยป้องกันโรครุนแรงอันกได้แก่ โรคไอพีดี ปอดบวม โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคติดเชื้อในกระแสเลือดแล้วยังช่วยป้องกันการเกิดโรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็กเล็กด้วย สำหรับในฤดูฝนนี้คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเด็ก…

  • การรักษาโรคภูมิแพ้ และทางเดินหายใจ

    การรักษาโรคภูมิแพ้ และทางเดินหายใจ

    การรักษาโรคภูมิแพ้ และทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้นั้น เป็นโรคที่สมัยนี้คนรุ่นใหม่ที่อาศัยอยู่ท่ามกลางมลพิษเริ่มเป็นกันมากขึ้น โรคภูมิแพ้เป็นภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายมีปฏิกิริยากับ “สารก่อภูมิแพ้” เช่น ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ หรือขนสัตว์ชนิดต่าง ๆ ฯลฯ จนร่างกายปล่อยสารที่เรียกว่าฮิสตามีนอกมา จึงทำให้เยื่อบุของร่างกายนั้นเกิดอาการระคายเคืองขึ้น ซึ่งอาการหลัก ๆ ของผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจก็คือ มีน้ำมูกใส จาม คัดจมูก คันจมูก บางท่านก็มีอาการของไซนัสอักเสบ และมีอาการที่ดวงตาด้วย เช่น คันตา ตาแดง ขอบตาคล้ำ หรือบางคนก็มีอาการที่หูก็คือหูอื้อ หรือหูชั้นกลางอักเสบได้ด้วย ซึ่งการจะหลีกเลี่ยงอาการภูมิแพ้ได้นั้น ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าเราแพ้อะไรบ้าง ซึ่งวิธีการที่จะรู้ได้ก็คือการทดสอบภูมิแพ้ โดยแพทย์จะทำการหยดน้ำยาสลัดจากสารก่อภูมิแพ้บนผิวหนังของเราแล้วใช้เข็มสะกิดที่ผิวหนัง ซึ่งการทดสอบนี้จะไม่เจ็บและจะทราบผลภายในระยะเวลาแค่ 15 นาทีเท่านั้น และเมื่อเราได้ทราบแล้วว่าเราแพ้สารอะไร ก็จะช่วยให้เราหลีกเลี่ยงสารก่ออาการแพ้นั้นได้ดียิ่งขึ้น ในส่วนของการรักษาและดูแลตนเองร่วมกันทั้งแพทย์และผู้ป่วยจะเป็นดังต่อไปนี้ 1. ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่ตนเองแพ้ เช่น หากแพ้ขนสัตว์ก็ไม่ควรเลี้ยงสัตว์ไว้ในบ้าน หรือหากแพ้ไรฝุ่น ก็ไม่ควรปูพรมในห้องนอน หรือควรทำความสะอาดเครื่องนอนด้วยน้ำร้อนทุกสองสัปดาห์ หรืออาจเปลี่ยนไปใช้เครื่องนอนที่สามารถกันไรฝุ่นได้ 2. หากสัมผัสกับสารก่ออาการแพ้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ให้ทานยาแก้แพ้พวกยาแอนตี้ฮิสตามีนบางชนิด แต่ก็อาจทำให้มีอาการง่วงนอน คอแห้ง ปากแห้ง หรือปัสสาวะลำบากได้ด้วย 3.…

  • อาการอักเสบของหูชั้นกลางในเด็ก (Ear Infection)

    อาการอักเสบของหูชั้นกลางในเด็ก (Ear Infection)

    อาการอักเสบของหูชั้นกลางในเด็ก (Ear Infection) อาการหูอักเสบในเด็กนั้นมักจะเกิดกับเด็กเล็กหรือทารกแบะเบาะเป็นส่วนใหญ่  และสาเหตุของอาการนี้ก็ไม่ใช่น้ำเข้าหูด้วย แต่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ลุกลามจากคอและจมูกไปสู่หู  จึงทำให้เกิดเป็นไข้หวัด ต่อมทอนซิลอักเสบและบางรายอาจเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคหัด ไข้หวัดใหญ่ ไอกรน หรืออาการอักเสบเพราะภูมิแพ้ได้ด้วย ซึ่งการจะดูว่าลูกของเรามีอาการหูชั้นกลางอักเสบหรือไม่ก็คือ ให้ดูว่าลูกร้องไห้งอแง มีอาการปวดหู หรือเอามือปัดหูบ่อย ๆ หรือเปล่า  เด็กบางคนอาจมีอาการอาเจียนร่วมด้วย  หากปล่อยไว้อาจจะทำให้เป็นหนองอักเสบ มีกลิ่นเหม็น ทำให้กระดูกสามชิ้นภายในถูกทำลาย หนองจะทะลุแก้วหูออกมาจนกลายเป็นโรคหูน้ำหนวกได้    ส่วนวิธีการป้องกันคือเมื่อเด็ก ๆ เป็นหวัดควรให้ความอบอุ่น หากมีไข้ควรให้ทานยาแก้ปวดลดไข้ และยาแก้หวัดคัดจมูก ซึ่งจะช่วยให้ท่อระหว่างหูและคอระบายความดันได้ดีขึ้น  แต่หากไม่มั่นใจพาลูกไปพบแพทย์จะดีที่สุดค่ะ