Tag: หัวใจวาย

  • วัคซีนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรฉีด

    วัคซีนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรฉีด

    วัคซีนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรฉีด เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และเด็กในครรภ์ คุณผู้หญิงทุกคนที่กำลังตั้งครรภ์ควรได้รับวัคซีนตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ แต่ก็มีบางรายที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนการตั้งครรภ์ หรือได้รับไม่ครบทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคระหว่างการตั้งครรภ์ได้ วัคซีนที่แนะนำให้ฉีดไว้เพื่อป้องกันสุขภาพได้แก่ – วัคซีนป้องกันไอกรน คอตีบ บาดทะยัก แม้ว่าหญิงตั้งครรภ์ผู้นั้นจะเคยได้รับวัคซีนมาก่อนก็ยังต้องฉีดไว้อยู่ดี ซึ่งช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการฉีดเพื่อให้ภูมิคุ้มกันนี้ไปสู่ลูกด้วยก็คือ ในช่วงอายุครรภ์ 27-36 สัปดาห์ เป็นวัคซีนที่มีอยู่ครบในเข็มเดียว สาเหตุที่ต้องฉีดเป็นเพราะว่าขณะนี้โรคคอตีบอาจกลับมาระบาดได้อีก โรคไอกรนเด็กมักจะติดเชื้อมาจากแม่ และบาดทะยักก็ยังเป็นการป้องกันการติดเชื้อระหว่างการตั้งครรภ์และคลอดด้วย – วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เพราะเป็นโรคที่ทำอันตรายกับคนท้องได้มากกว่าคนธรรมดา หากติดเชื้อขึ้นมาจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมากกว่าปกติได้ ทั้งเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ปอดบวม หัวใจวาย 1 เข็มจะป้องกันได้ 1 ปี – วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี เป็นวัคซีนสำคัญที่จำเป็นต้องฉีด หากไม่เคยได้รับวัคซีนเลยหรือเจาะเลือดแล้วไม่มีภูมิต้านทานเลย หญิงตั้งครรภ์จะมีโอกาสเสี่ยงได้ง่าย เช่น ได้รับจากสามีที่เป็นพาหะของโรคไวรัสตับอักเสบบี – หากในบ้านเลี้ยงสัตว์ไว้ ไม่ว่าจะเป็น สุนัข แมว หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ถ้าไม่แน่ใจว่ามีเชื้อพิษสุนัขบ้าหรือไม่ก็ให้ฉีดวัคซีนได้ทันที นอกจากนี้แล้วยังมีวัคซีนอีกหลายชนิดที่อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ไข้สมองอักเสบ หัด คางทูม หัดเยอรมัน โปลิโอ วัณโรค ฯลฯ…

  • ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน

    ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน

    ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่มักเป็นตลอดชีวิต หากปล่อยปละละเลยหรือขาดการดูแล ก็อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงจนรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ รวมไปถึงอาจเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่จะค่อย ๆ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเสื่อมสภาพลงจนเกิดโรคแทรกซ้อนได้ทุกระบบ ซึ่งได้แก่ – หลอดเลือดแดงทั้งเล็กและใหญ่ทั่วร่างกายแข็งและตีบ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เกิดความเสื่อมได้ เช่น จอประสาทตาเสื่อม ตามัว ตาบอด ไตวายเรื้อรัง ประสาทเสื้อ ทำให้มีอาการชาปลายมือปลายเท้า ท้องเดินหรือท้องผูก – โรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง – หน้าซีดเป็นลมเวลาลุกขึ้นยืน – องคชาตไม่แข็งตัว – หลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้หัวใจวายเสียชีวิตได้ – อัมพาต – ความจำเสื่อม – ติดเชื้อได้ง่าย เพราะเบาหวานทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง และอาจติดเชื้อซ้ำซาก เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ช่องคลอดอักเสบ โรคเชื้อราที่ผิวหนัง ฝี พุพอง – การติดเชื้อรุนแรง เช่น กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน ปอดอักเสบ วัณโรค –…

  • เป็นโรคความดันโลหิตสูงต้องลดอาหารเค็มนะ

    เป็นโรคความดันโลหิตสูงต้องลดอาหารเค็มนะ

    เป็นโรคความดันโลหิตสูงต้องลดอาหารเค็มนะ โรคความดันโลหิตสูงคือ โรคที่ผู้ป่วยมีค่าความดันโลหิตเกินกว่า 140/90 ขึ้นไป เป็นฆาตกรเงียบ ผุ้ป่วยมักไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีอาการ อาจมีอาการเตือนบ้างเช่น ปวดมึนท้ายทอย วิงเวียน ปวดหัวตุบ ๆ ยิ่งปล่อยให้เป็นนานเท่าไรก็ยิ่งเป็นอันตรายต่อหลอดเลือดทั่วร่างกายเท่านั้น ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต กล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลัน ไตวาย ฯลฯ ซึ่งมีความอันตรายมาก ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงความดูแลตนเอง ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทานผัก ผลไม้สดไม่หวานและลดอาหารที่มีรสหวานมันเค็ม อีกทั้งยังควรผ่อนคลายความเครียดด้วย อีกสองอย่างที่ควรเลิกอย่างเด็ดขาดเลยก็คือเหล้าและบุหรี่ สาเหตุที่คนป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงควรลดอาหารเค็ม ก็เพราะในเกลือนี้จะมี โซเดียม อยู่มากโซเดียมจะดูดน้ำได้ดี นอกจากพบมากในเกลือแล้ว ยังพบได้อีกใน ผงชูรส สารกันเสีย ผงฟูที่ใส่ในอาหารพวกเบเกอรี่ ขนมปังต่าง ๆ ซึ่งจะสังเกตได้ว่าเวลาทานอาหารเหล่านี้แล้วเรามักหิวน้ำมากนั่นเอง การงดอการเค็มก็เพื่อป้องกันมิให้น้ำคั่งในร่างกายมากขึ้น น้ำเลือดเพิ่มขึ้นแต่หลอดเลือดมีขนาดเท่าเดิม บางคนยังแข็ง ตีบ เปราะอีก อาจทำให้เกิดแรงดันในหลอดเลือดสูงขึ้น จนเส้นเลือดแตกหรือฉีกขาดได้ นอกจากนี้การกินเค็มมากยังทำให้เกิดมะเร็งในกระเพาะอาหารได้อีก ซึ่งการลดโซเดียมในอาหารนี้ก็มีเคล็ดลับง่าย ๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ – ไม่เติมเครื่องปรุงเพิ่มไม่ว่าจะเป็น ผงชูรส น้ำปลา เกลือ…

  • ลดอาหารเค็มป้องกันไตวาย

    ลดอาหารเค็มป้องกันไตวาย

    ลดอาหารเค็มป้องกันไตวาย บทความวันนี้ตอบข้อสงสัยของใครหลายคนที่ติดรสชาติเค็มกันอยู่นะคะ ที่มักจะถามว่ากินเค็มมากจะเป็นโรคไตไหม คำตอบจากหมอก็คือคนทั่วที่กินเค็มมากไปนิดหน่อยก็ยังไม่เป็นไร ไตยังขับเกลือออกได้ แต่หากมีอาการของไตเสื่อมแล้วก็ไม่ควรกินเค็ม ไม่ใช่แค่นี้ แต่คนที่มีอาการความดันโลหิตสูง เบาหวาน ก็ไม่ควรกินเค็มด้วยเหมือนกัน การควบคุมอาหารเค็มสำหรับผู้ป่วยไตเสื่อมนั้น ควรทำอาหารทานเอง หรือบอกแม่ครัวร้านอาหารให้งดเกลือ งดน้ำปลา ตัวผู้ป่วยเองเวลาไปทานอาหารก็ต้องงดการเติมน้ำปลา หรือเครื่องปรุงเวลาทานก๋วยเตี๋ยวด้วย และควรทานแบบแห้งเท่านั้น เพราะในน้ำซุปก๊วยเตี๋ยวก็มีเกลืออยู่มากเช่นกัน ไม่ควรซื้ออาหารสำเร็จรูปมาทาน เพราะอาหารเหล่านี้มีเกลือผสมอยู่มาก หากท่านตรวจพบว่าตนเองเป็นโรคไตเสื่อมอยู่แล้ว ต้องการระมัดระวังการกินอาหาร ควรวางแผนและจัดการดังต่อไปนี้ค่ะ 1. สอบถามแพทย์ผู้รักษาว่าท่านเป็นโรคไตในระดับใดแล้ว สามารถกินอะไรได้บ้าง แล้วมากน้อยขนาดไหน? 2. ควรรู้ไว้ว่าการกินโปรตีนมากเกินไปจะทำให้ไตเสื่อมสภาพได้ กินน้อยไปจะทำให้ขาดอาหาร และเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้อีก 3. การกินเค็มจะทำให้เกิดอาการบวม ความดันโลหิตสูง และหัวใจวายได้ 4. ผู้ป่วยโรคไตสามารถกินผักได้เท่าที่ต้องการ ยกเว้นหมอห้าม 5. แต่สำหรับผลไม้ อาจต้องจำกัดในรายที่มีอาการไตเสื่อมมาก 6. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ยกเว้นหมอสั่งให้ทาน 7. ดื่มน้ำน้อยทำให้ไตเสื่อม แต่ดื่มน้ำมากทำให้หัวใจวาย ต้องกะปริมาณให้พอดีโดยถามหมอ 8. ไม่ควรทานอาหารแปรรูป อาหารหมักดอง อาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง…

  • โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ เกิดจากการกินดีอยู่ดีเกินไป

    โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ เกิดจากการกินดีอยู่ดีเกินไป

    โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ เกิดจากการกินดีอยู่ดีเกินไป โรคเรื้อรังไม่ติดต่อ คือโรคที่รักษาหายได้ยากหรือรักษาได้ไม่หายขาด ได้แก่โรคในกลุ่ม ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด เบาหวาน และโรคมะเร็ง ซึ่งจากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขในปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยโรคเหล่านี้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลมากขึ้นและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุของโรคเหล่านี้เกิดจากการกินดีอยู่ดีเกินไป ไม่ว่าจะเป็น การชอบกินอาหารรสชาติหวานจัด ไขมันสูง หรือเค็มจัด การขาดการออกกำลังกาย ชอบดื่มเหล้าสูบบุหรี่ และชอบสะสมความเครียดด้วย คนที่มีน้ำหนักเกินจนอ้วนลงพุงนั้น จะมีไขมันสะสมในช่องท้องมาก โดยไขมันเหล่านี้จะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับ ขัดขวางการทำงานของอินซูลินจึงเกิดผลร้ายกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เมื่อมีไขมันในหลอดเลือดก็จะทำให้หลอดเลือดเสื่อมตัวลง เกิดเป็นโรคหลอดเลือดแข็งตัว โรคหัวใจ ทำให้ไตวาย หัวใจวาย จนเป็นอัมพาตหรืออัมพฤกษ์และเสียชีวิตได้ เกณฑ์ในการเป็นโรคอ้วนลงพุงนั้น ให้วัดที่ขนาดรอบเอวโดย ผู้ชายมีเส้นรอบเอวตั้งแต่ 90 เซนติเมตรขึ้นไป และ 80 เซนติเมตรขึ้นไปในผู้หญิง รวมกับปัจจัยเสี่ยงอีก 2 ใน 4 ข้อต่อไปนี้ได้แก่ 1. มีความดันโลหิตตั้งแต่ 130/85 ขึ้นไป หรือทานยาควบคุมความดันโลหิตอยู่ 2. มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารตั้งแต่ 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป 3. มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงกว่า 150…

  • หลีกเลี่ยงโซเดียมในอาหาร หลีกห่างได้หลายโรค

    หลีกเลี่ยงโซเดียมในอาหาร หลีกห่างได้หลายโรค

    หลีกเลี่ยงโซเดียมในอาหาร หลีกห่างได้หลายโรค บรรดาอาหารที่มีรสเค็มจัดทั้งหลายล้วนมีส่วนประกอบของโซเดียมทั้งสิ้น รวมไปถึงอาหารที่ไม่มีรสเค็มแต่มีโซเดียมอย่าง ผงฟู ชูรส เนยเทียม น้ำสลัดต่าง ๆ ก็ด้วยนั้น สร้างปัญหาต่อสุขภาพได้เช่นกันหากบริหารมากเกินพอดี และมีความเสี่ยงทำให้เป็นโรคความดันโลหิตได้ง่าย ทั้งยังทำให้เกิดการสะสมของน้ำตามส่วนต่าง ๆ ทำให้เกิดภาวะบวมน้ำ แล้วยังทำให้เกิดเลือดแข็งตัวได้ง่ายหากมีระดับเกลือแร่ในเลือดสูงเกินไป อันจะนำไปสู่ภาวะไม่ว่าจะเป็นเส้นเลือดในสมองตีบตัน หัวใจวาย ไตวายได้ มีผลการวิจัยพบว่า การกินเกลือแกงมากกว่า หกกรัมหรือ 1 ช้อนชาต่อวัน จะทำให้มีความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงได้ รวมไปถึงมีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารด้วย ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันโรคดังกล่าว เราจึงควรทานอาหารที่มีโซเดียมน้อย ๆ และเค็มน้อย ๆ ด้วย โดยมีเคล็ดลับดังต่อไปนี้ค่ะ 1. ลดการปรุงอาหารด้วยเครื่องปรุงรสต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น กะปิ น้ำปลา ซีอิ๊ว เกลือ ซอส เต้าเจี้ยว ผงชูรส ฯลฯ และชิมก่อนเติมทุกครั้งด้วย รวมทั้งลดการจิ้มน้ำจิ้ม หรือทานน้ำพริก พริกแกงต่าง ๆ เพราะมีเกลืออยู่เยอะมากด้วยเช่นกัน 2. ควรทานอาหารที่ผ่านกระบวนการน้อย ๆ หรืออาหารจากธรรมชาติ…

  • วิธีดูแลตัวเองจากโรคติดต่อไม่เรื้อรัง 5 โรค

    วิธีดูแลตัวเองจากโรคติดต่อไม่เรื้อรัง 5 โรค

    วิธีดูแลตัวเองจากโรคติดต่อไม่เรื้อรัง 5 โรค โรคติดต่อไม่เรื้อรังนั้นมักถูกเข้าใจว่าน่าจะเป็นโรคของประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ความจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ โรคติดต่อไม่เรื้อรัง 5 โรคนี้เป็นปัญหาของประเทศกำลังพัฒนาต่างหาก เพราะขาดความพร้อมในการดูแลรักษาผู้ป่วยจากโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ อีกทั้งยังต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงมากด้วย โรคทั้งห้านี้ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ และโรคมะเร็ง ซึ่งผู้ป่วยโรคเหล่านี้มีอัตราเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี แล้วยังเป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยเป็นอัมพาตหรือพิการเพิ่มขึ้นด้วยนะ สาเหตุของโรคทั้งห้าชนิดนี้ มักเป็นบุคคลที่ชอบทานอาหารหวานจัด เค็ม หรือมีไขมันสูง ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ มีความเครียดมากแล้วไม่ค่อยรู้จักการผ่อนคลายกับทั้งยังขาดการออกกำลังกาย ฯลฯ จึงทำให้เป็นโรคอ้วนตามมา การที่มีไขมันสะสมในช่องท้องมากนี้ ไขมันจะแตกตัวเป็นกรดไขมันจะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับ ส่งผลให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่ดีนัก จึงเป็นต้นเหตุของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต หัวใจวาย ตับวาย ไตวาย และอาจเสียชีวิตได้ หากจะวัดกันที่ดัชนีรอบเอวจะพบว่ารอบเอวที่เพิ่มขึ้นทุก 5 เซนติเมตรจะเพิ่มโอกาสการเป็นโรคเบาหวานสูงขึ้นถึง 3-5 เท่า หมายถึงว่ายิ่งพุงใหญ่เท่าไรก็ยิ่งตายเร็วเท่านั้น โรคเกณฑ์การจำแนกว่าเป็นโรคอ้วนลงพุงของคนไทยก็คือ หากผู้ชายมีรอบเอวเกิน 90…

  • นักวิจัยพบร่องรอยโรคหลอดเลือดแดงตีบตัน ในมัมมี่อายุสี่พันปี

    นักวิจัยพบร่องรอยโรคหลอดเลือดแดงตีบตัน ในมัมมี่อายุสี่พันปี

    นักวิจัยพบร่องรอยโรคหลอดเลือดแดงตีบตัน ในมัมมี่อายุสี่พันปี ทีมนักวิจัยอเมริกัน ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์มัมมี่ทั้งหมด 137 ตัวเพื่อหาร่องรอยของโรคหลอดเลือดแดงอุดตันหรือตีบ และพบว่ามีหลักฐานแน่ชัดที่บ่งบอกว่าอย่างน้อย 1 ใน 3 ของมัมมี่ทั้งหมดในการวิจัยเป็นโรคหลอดเลือดแดงอุดตัน มัมมี่ที่ทีมงานทำการศึกษามาจากอียิปต์และเปรูยุคโบราณ มัมมี่บางส่วนมาจากดินแดนที่กลายเป็นรัฐยูท่า สหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน และอีกจำนวนหนึ่งมาจากหมู่เกาะ Aleutian นอกฝั่งรัฐอลาสก้า ทั้งหมดเป็นมัมมี่จากหลายพื้นที่ในช่วงระยะเวลาทั้งหมดสี่พันปี มีวิถีชีวิตและลักษณะอาหารการกินแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยทั่วไป เราเชื่อว่าโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดมีสาเหตุเกี่ยวข้องกับวิถีีชีวิตสมัยใหม่ของคนในปัจจุบัน เมื่อทีมงานวิเคราะห์มัมมี่จากหมู่เกาะ Aleutian แล้ว พบหลักฐานว่า มัมมี่ 1 ใน 5 มีร่องรอยเป็นโรคหลอดเลือดแดงอุดตัน ทั้งๆ ที่ในอดีตนั้น มัมมี่เหล่านี้มีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมคือเป็นนักล่าสัตว์และเก็บของป่ากินเป็นอาหาร หนึ่งในมัมมี่ที่ศึกษาเป็นผู้หญิงชาวหมู่เกาะ Aleutian มีร่องรอยว่าเป็นโรคหลอดเลือดแดงอุดตันแบบรุนแรง เหมือนกับที่พบในผู้ป่วยในปัจจุบัน ซึ่งต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเพียงวิธีเดียว โรคหลอดเลือดแดงอุดตันอาจทำให้หัวใจวายได้ แต่อาจจะไม่เสมอไป นักวิจัยอเมริกันกล่าวว่าไม่สามารถยืนยันได้เต็มร้อยว่าโรคหลอดเลือดแดงอุดตันที่พบในซากมัมมี่เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตหรือไม่ แต่สมาชิกทีมนักวิจัยท่านหนึ่งได้กล่าวว่า มีบันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในอียิปต์หลายชิ้นที่บรรยายถึงอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินคล้ายๆ กับอาการหัวใจวาย

  • นักวิจัยพัฒนาเจลน้ำชนิดฉีดสำเร็จ เพื่อใช้ซ่อมแซมกล้ามเนื้อหัวใจหลังหัวใจวาย

    นักวิจัยพัฒนาเจลน้ำชนิดฉีดสำเร็จ เพื่อใช้ซ่อมแซมกล้ามเนื้อหัวใจหลังหัวใจวาย

    นักวิจัยพัฒนาเจลน้ำชนิดฉีดสำเร็จ เพื่อใช้ซ่อมแซมกล้ามเนื้อหัวใจหลังหัวใจวาย มีคนหลายล้านคนทั่วโลกที่หัวใจวาย แต่รอดชีวิด อาการหัวใจวายเกิดจากเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเกิดอุดตันทำให้เนื้อเยื่อขาดอ็อกซิเจนและตาย ผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากอาการหัวใจวายครั้งแรก มีความเสี่ยงสูงมากที่จะหัวใจวายได้อีก และมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว และโอกาสเสียชีวิตภายในห้าปีมีสูงมาก ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าคนที่เคยหัวใจวายมาแล้วมีความเสี่ยงสูงที่เกิดหัวใจวายซ้ำรอบสองพราะเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อหัวใจเสียหายและมีโอกาสเสียชีวิตหากหัวใจวายรอบสอง ในการทดลองกับหมู ทีมวิจัยอเมริกันประสบความสำเร็จใช้เจลน้ำจากแผงหัวใจหมูซ่อมเเซมกล้ามเนื้อหัวใจหมูทดลองหลังจากหัวใจวาย หลังจากฉีดเจลเข้าไปในหัวใจหมูแล้ว เจลจะปรับอุณหภูมิไปอยู่ในระดับเดียวกับอุณหภูิมิของร่างกาย แล้วจะเริ่มแปรสภาพเป็นของเหลวกึ่งเจลและก่อตัวเป็นแผงเนื้อเยื่อแผงใหม่ในบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจที่ตาย ช่วยกระตุ้นให้หัวใจสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นทดแทนเซลล์ที่ตายไป มีความนิ่มปกติ ไม่เเข็งเหมือนเซลล์แผลเป็น บรรดาผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าปัญหาเกิดจากการพัฒนาของเนื้อเยื่อแผลเป็นในกล้ามเนื้อหัวใจที่ได้รับความเสียหายจากอาการหัวใจวาย แม้ว่าเเผลเป็นจะช่วยเยียวยาให้แผลหาย แต่แผลเป็นกลับไปทำลายตัวแผงเนื้อเยื่อที่แทรกตัวอยู่ระหว่างเซลล์ในกล้ามเนื้อหัวใจ แผงเนื้อเยื่อหัวใจทำหน้าที่เสริมสร้างเซลล์และกระตุ้นการเติบโตของเซลล์ใหม่ๆในกล้ามเนื้อหัวใจ และ บ่อยครั้งที่วงการแพทย์ใช้วาลว์หัวใจจากหมูในการปลูกถ่ายอวัยวะหัวใจในคนเพราะได้ผล ร่างกายผู้ป่วยไม่ค่อยต่อต้านรุนแรงต่ออวัยวะที่ปลูกถ่าย  

  • หากผู้ป่วยโรคหัวใจ ได้รับประทานยาเพียงมื้อละเม็ด พวกเค้าจะทานยานี้ต่อไปตามที่หมอสั่ง

    หากผู้ป่วยโรคหัวใจ ได้รับประทานยาเพียงมื้อละเม็ด พวกเค้าจะทานยานี้ต่อไปตามที่หมอสั่ง

    หากผู้ป่วยโรคหัวใจ ได้รับประทานยาเพียงมื้อละเม็ด พวกเค้าจะทานยานี้ต่อไปตามที่หมอสั่ง ผู้ป่วยหลายคนที่เป็นโรคหัวใจหรือป่วยด้วยอาการสมองขาดเลือดหล่อเลี้ยงเพราะเส้นเลือดอุดตันจากคอเลสเตอรอล มักไม่รับประทานยาเป็นประจำตามคำสั่งแพทย์โดยผู้ป่วยจำนวนมากเลิกรับประทานยาภายในเวลาสามเดือนหลังจากล้มป่วยเนื่องจากต้องรับประทานยาครั้งละหลายเม็ด ผู้ป่วยหลายคนที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจหรือเสี่ยงที่จะเกิดอาการสมองขาดเลือดหล่อเลี้ยงอาจต้องรับประทานยามื้อละหลายเม็ด ยาเเต่ละเม็ดมีคุณสมบัติต่างกันไป อาทิ เพื่อลดความดันโลหิต บางเม็ดช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และบางคนอาจต้องรับประทานยาช่วยป้องกันหัวใจวายร่วมด้วย ด็อกเตอร์ทอมเป็นหัวหน้าการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ในกลุ่มผู้ป่วยมากกว่าสองพันคน เกือบ 90 % ของผู้ป่วยในการวิจัยล้มป่วยด้วยอาการสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงหรือเข้ารับการผ่าตัดหัวใจ อีกสิบเปอร์เซ็นต์มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะล้มป่วยด้วยอาการทั้งสองอย่างดังกล่าว ครึ่งหนึ่ีงของผู้เข้าร่วมการวิจัยได้รับยาเเบบเม็ดเดียวเรียกว่า โพลีพิล (Polypill) ในการลดระดับคอเลสเตอรอล ลดความดันโลหิตสูงและป้องกันอาการหัวใจวาย ในขณะที่ผู้เข้าร่วมการวิจัยที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งต้องรับประทานยาแบบหลายเม็ดต่อไป ด็อกเตอร์ทอม กล่าวว่าผลการวิจัยที่ได้แสดงให้เห็นผลดีของยารักษาแบบเม็ดเดียวหรือโพลีพิล การทดลองใช้ยาบำบัดเเบบโพลีพิลมีผลดีโดยเฉพาะต่อผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดที่ไม่รับประทานยาตามกำหนด ด็อกเตอร์ทอม กล่าวปิดท้ายว่า ยาโพลีพิลจะมีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาผู้ป่วยไม่รับประทานยาตามคำสั่งแพทย์และช่วยให้การบำบัดโรคมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะในการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่ได้ประโยชน์จากยาขนานนี้มากที่สุดคือผู้ป่วยที่มักไม่รับประทานยาแบบหลายเม็ดตามคำสั่งแพทย์ตั้งแต่ในช่วงต้นๆของการทดลองรักษา