Tag: หัวใจล้มเหลว
-
กินปลาแบบไหนดีต่อสุขภาพ
กินปลาแบบไหนดีต่อสุขภาพ ความจริงแล้ว ปลา เป็นอาหารที่ทานกันมาแต่โบราณ นำมาปรุงอาหารได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นต้ม นึ่ง ย่าง ซึ่งทำให้ร่างกายได้ประโยชน์จากเนื้อปลาได้มากกว่าการนำเอามาทอดน้ำมันแบบอาหารสมัยนี้ แม้แต่ในอเมริกาเองก็เคยมีการศึกษาเรื่องของการกินปลา พบว่าหญิงชาวอเมริกันอายุ 50-79 ปี กว่าแปดหมื่นคน โดยติดตามเป็นเวลาถึง 10 ปี พบว่าการกินปลาอบหรือปลาต้มเป็นอาหารหลักมากกว่าหรือเท่ากับ 5 มื้อต่ออาทิตย์ จะช่วยลดโอกาสการเป็นภาวะหัวใจล้มเหลวตามมาถึงร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับการกินน้อยกว่า 1 มื้อต่อเดือน แต่ในด้านผู้หญิงที่กินปลาทอดเป็นอาหารหลักมากกว่าหรือเท่ากับ 1 มื้อต่ออาทิตย์ กลับจะเป็นการเพิ่มโอกาสการมีภาวะหัวใจล้มเหลวถึงร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับการกินน้อยกว่า 1 มื้อต่อเดือน ดังนั้นการกินปลานั้นเป็นเรื่องที่ดีต่อสุขภาพแน่นอน ยิ่งกินมากก็ยิ่งลดโอกาสภาวะหัวใจหัวเหลวได้ แต่ต้องเป็นปลาที่ปรุงให้สุกด้วยการต้ม นึ่ง ปิ้ง ไม่ใช่ปลาทอดที่อาจทำให้ร่างกายได้รับไขมันมากเกินไปจนเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคต่าง ๆ มากมายได้ การกินปลาให้ได้สุขภาพดีจึงควรหันไปกินแบบโบราณ ก็คือการปรุงปลาให้สุกโดยไม่ใช่น้ำมัน กินแนมกับน้ำพริก หรือผักต้ม ผักสดก็ได้ สัปดาห์ละ 2-3 มื้อก็เพียงพอแล้ว ไม่ว่าจะเป็นปลาทะลหรือปลาน้ำจืดก็มีประโยชน์เหมือนกันทั้งสิ้นค่ะ
-
หลักการใช้ชีวิตที่ดี เพื่อดูแลความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน
หลักการใช้ชีวิตที่ดี เพื่อดูแลความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน เพราะการใช้ชีวิตในรูปแบบปัจจุบัน ทั้งโภชนาการที่ล้นเกิน และอบายมุขทั้งหลาย ทำให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้นทุกปีกว่าปีละเกือบล้านคน โรคนี้ทำให้เส้นเลือดแข็งตัว มีความยืดหยุ่นน้อยลง ความเร็วของการไหลเวียนโลหิต ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หลอดเลือดสมองแตกหรือหลอดเลือดสมองตีบ และอาจมีโอกาสเป็นโรคไตวายได้ โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่อาจทำลายชีวิตคนได้ตลอดเวลา เราจึงควรดูแลร่างกายตัวเองแต่เนิ่น ๆ ดังนี้ หลักข้อแรก ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน ควรรักษาค่าดัชนีมวลกายไว้อยู่ระหว่าง 18.5-22.9 กิโลกรัม/ตารางเมตร หลักข้อที่สอง ทานอาหารและเลือกทานเฉพาะที่ดีต่อสุขภาพ ได้แก่การกินอาหารที่มีปริมาณสัดส่วนสารอาหารที่พอเพียงต่อร่างกาย ลดอาการที่มีรสชาติหวาน ทานแป้งและน้ำตาลแต่พอดี ลดอาหารที่มีไขมันสูง เพิ่มสัดส่วนของผักและผลไม้ที่มีรสหวานให้น้อยลง ทานธัญพืชให้เป็นประจำ รวมไปถึงการกินอาหารที่รสเค็มอาหารที่ปรุงด้วยเกลือ ซีอิ๊วน้ำปลา กะปิ ปลาร้า ให้น้อยลง และไม่ควรปรุงอาหารเพิ่มเองด้วย หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป ไม่ว่าจะเป็นอาหารกระป๋อง ขนมกรุบกรอบ ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ ไก่ทอด แฮม เบคอน หากต้องการปรุงรสอาหารเพิ่มแนะนำให้เติมมะนาว พริก น้ำส้มสายชูหมัก เครื่องเทศหรือสมุนไพร แทนเครื่องปรุงรสเค็มทั้งหลาย และลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่และไม่ควรอยู่ในที่ที่มีแต่ควันบุหรี่ด้วย หลักข้อที่สาม ขยับเขยื้อนเนื้อตัวอยู่ตลอดเวลา หันมาเดินให้มากขึ้น…
-
ดูแลหัวใจของคุณ…ให้ดีนะ
ดูแลหัวใจของคุณ…ให้ดีนะ โรคที่เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งก็คือโรคหัวใจนั่นเองค่ะ แล้วก็ยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วย ซึ่งในประเทศไทยนั้นมีคนตายจากกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด ทั้งโรคหัวใจขาดเลือด หัวใจล้มเหลว หลอดเลือดสมองและความดันโลหิตสูง ฯลฯ และแต่ละปียังเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างน่ากลัวอีกด้วยค่ะ ซึ่งสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้น เกิดจากการที่ผนังด้านในของหลอดเลือดมีไขมันมาพอกตัวจนหนาขึ้น หลอดเลือดจึงขาดความยืดหยุ่น แข็งตัวขึ้น การไหลเวียนของเลือดจึงลดลง จึงทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง รวมไปถึงการสูบบุหรี่และสูดควันจากผู้อื่น การดื่มเหล้าและมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานก็เป็นสาเหตุด้วยเช่นกัน และเพื่อหัวใจที่จะมีสุขภาพแข็งแรงไปนาน ๆ เราจึงควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้ – ทานโปรตีนที่ไขมันต่ำ ทั้งเนื้อปลาและถั่ว ทานปลาและผลไม้รสไม่หวานให้บ่อย ๆ – อย่าทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและอาหารสำเร็จรูปที่มีส่วนผสมของโซเดียม(เกลือ) มากนัก – ไม่ควรปรุงอาหารมากเกินไปนัก ทานแต่รสที่พอเหมาะ ไม่ควรทานหวาน มัน เค็ม เผ็ดมากเกิน – เลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน เครื่องดื่มชูกำลังทั้งหลาย – ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน และกินให้น้อยกว่าพลังงานที่ใช้หากมีน้ำหนักตัวเกิน – คุมรอบพุงให้ดี เพศชายไม่เกิน 90 เซนติเมตรและเพศหญิงไม่เกิน 80 เซนติเมตร – หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอวันละครึ่งชั่วโมง อาทิตย์ละ 3-4…
-
ดูแลพ่อแม่ ผู้เฒ่าผู้แก่ในบ้านให้ดีก่อนเกิดอันตราย
ดูแลพ่อแม่ ผู้เฒ่าผู้แก่ในบ้านให้ดีก่อนเกิดอันตราย เวลาผ่านไปเร็วนะคะ แป๊บ ๆ เราก็โตกันเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้ว และในทางเดียวกันพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ของเราก็แก่ลงไปด้วยเช่นกัน หันไปดูแลท่านกันหน่อยนะคะว่าสุขภาพท่านเป็นอย่างไรบ้าง แม้จะไม่มีโรคร้ายปรากฎออกมาให้เห็นแต่การที่ท่านอายุมากขึ้นแล้ว ก็อาจต้องการความเชื่อเหลือดูแลอยู่บ้างแล้วล่ะค่ะ ลองสังเกตดูว่า… 1. ท่านมีน้ำหนักลดลงบ้างหรือไม่ หากจู่ ๆ ก็น้ำหนักลดลงโดยไม่มีสาเหตุ แสดงว่าอาจมีบางอย่างผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคขาดสารอาหาร ซึมเศร้า ความจำเสื่อม โรคมะเร็งหรือหัวใจล้มเหลว ควรพาไปพบแพทย์ตรวจสุขภาพให้เป็นประจำนะคะ 2. ดูว่าชีวิตประจำวันท่านเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ เช่น ยังมีแรงอาบน้ำแปรงฟันเองหรือเปล่า มีแรงทำกับข้าว หรือแต่งเนื้อแต่งตัวอยู่หรือเปล่า หรือยังทำงานบ้านอยู่เหมือนเดิมได้หรือเปล่า 3. ลองสังเกตการณ์เดินของท่านดูว่ายังเดินเป็นปกติหรือเปล่า สามารถเดินไกล ๆ ไหวหรือเปล่า หรือต้องใช้ไม้เท้าช่วยพยุง 4. อีกทั้งยังควรสังเกตในบ้านด้วยว่ายังเรียบร้อยอยู่หรือไม่ เช่น หลอดไฟขาดเปลี่ยนหรือเปล่า หญ้าตัดหรือไม่ หนังสือพิมพ์หน้าบ้านเก็บหรือเปล่า จานไม่ได้ล้างหลาย ๆ วันเพราะอะไร เครื่องใช้ไฟฟ้าเปิดทิ้งไว้บ่อย ๆ หรือเปล่า เป็นต้น เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติก็ได้ 5. ท่านยังสามารถเดินขึ้นลงบันไดชันๆ…
-
นักวิจัย ม.ฮาร์เวิร์ด ค้นพบโปรตีนในเลือด ช่วยรักษาอาการหัวใจล้มเหลวได้
นักวิจัย ม.ฮาร์เวิร์ด ค้นพบโปรตีนในเลือด ช่วยรักษาอาการหัวใจล้มเหลวได้ นักวิจัย ม.ฮาร์เวิร์ด ชี้ สามารถค้นพบวิธีใหม่ที่อาจใช้รักษาอาการหัวใจล้มเหลวเมื่อคนเราแก่ตัวลง โดยนักวิจัยใช้สารโปรตีนที่พบในเลือดของหนูทดลองตัวที่ยังเยาว์วัย ในการกระตุ้นให้หัวใจของหนูทดลองตัวที่แก่กว่าทำงานได้ดียิ่งขึ้น นายแพทย์ Richard Lee และนักวิจัยที่ม.Harvard ในรัฐแมสซาชูเสตต์ ค้นพบโปรตีนชนิดหนึ่งเรียกว่า GDF-11 ซึ่งเป็นหนึ่งในโปรตีนจำเป็น 35 ชนิดที่เกี่ยวข้องกัยการพัฒนาของทารกในครรภ์มารดา โดยสัตย์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ยังเยาว์วัยต่างมีโปรตีนที่ว่านี้ในระดับสูงในกระแสเลือด และจะลดลงเมื่อแก่ตัวลง อาการหัวใจล้มเหลวเป็นอาการที่เกิดกับคนสูงอายุจำนวนหลายล้านคนทั่วโลก เป็นโรคที่อันตรายถึงแก่ชีวิตและปัจจุบันยังไม่มีแนวทางรักษาที่มีประสิทธิภาพ อาการนี้เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้นเมื่อแก่ตัวลง ทำให้ไม่สามารถปั๊มเลือดที่มีอ๊อกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ทั่วร่างกายได้ดีเท่าที่ควร อวัยวะที่อยู่ไกลหัวใจจึงขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงจนอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต นักวิจัยทดสอบกับหนูทดลองที่อายุราว 2 ปีและมีอาการของโรคหัวใจล้มเหลว โดยต่อระบบการไหลเวียนเลือดของหนูตัวนั้นเข้ากับหนูทดลองที่อายุน้อย เพื่อให้หนูอายุมากตัวนั้นได้รับโปรตีน GDF-11 ในระดับสูงเหมือนกับหนูอายุน้อยๆ หลังจากทำวิธีนี้ติดต่อกันราว 10 สัปดาห์ นักวิจัยพบว่าหนูอายุมากมีอาการของโรคหัวใจล้มเหลวลดลง อีกทั้งอวัยวะต่างๆก็ดูจะเยาว์วัยแข็งแรงขึ้นด้วย และทำให้อวัยวะของหนูอายุ 2 ปีมีลักษณะแทบไม่ต่างจากหนูทดลองอายุ 2 เดือนรายงานที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Cell ชิ้นนี้ระบุด้วยว่า สารโปรตีน GDF-11 นอกจากจะช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงแล้ว ยังอาจช่วยให้เนื้อเยื่อส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต เช่นกล้ามเนื้อหุ้มโครงกระดูกและไขสันหลัง มีความแข็งแรงเหมือนกลับสู่วัยหนุ่มสาวอีกครั้ง อย่างไรก็ตามงานวิจัยชิ้นนี้ยังคงอยู่ในช่วงศึกษาทดลองเท่านั้น
-
ทีมนักวิจัยอเมริกัน ทดลองบำบัดโรคหัวใจล้มเหลว ด้วยยีน
ทีมนักวิจัยอเมริกัน ทดลองบำบัดโรคหัวใจล้มเหลว ด้วยยีน ทีมนักวิจัยอเมริกันวางแผนจะทดลองทางคลินิคเพื่อทดสอบการบำบัดโรคหัวใจล้มเหลววิธีใหม่ด้วยยีนโดยการบำบัดแบบใหม่นี้จะช่วยลดขนาดหัวใจที่พองโตลงมาและช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น คนที่หัวใจล้มเหลวจะขาดยีนที่ทำงานได้อย่างเต็มที่ เรียกว่ายีน sumo-1 ซึ่งเป็นยีนที่ช่วยในการควบคุมระดับเเคลเซี่ยมที่ไหลเวียนเข้าออกในเซลล์ในห้องหัวใจที่เป็นตัวปั๊มเลือดไปทั่วร่างกาย ในการทดลองหลายหนกับสุกรทดลองที่เป็นโรคหัวใจล้มเหลว นายแพทย์โรคหัวใจ โรเจอร์ ฮัจจาร์ แห่งวิทยาลัยการแพทย์เม้าท์ไซไน (Mount Sinai School of Medicine) ในมหานครนิวยอร์ค ค้นพบว่า การถ่ายยีน sumo-1 เพียงครั้งเดียวเข้าไปในหัวใจสุกร ช่วยให้หัวใจของสัตว์ทดลองทำงานได้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อาการหัวใจล้มเหลวเป็นสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งของความเจ็บป่วยและการเสียชีวิตทั่วโลก หัวใจล้มเหลวเป็นอาการที่หัวใจอ่อนแรงและพองโตขณะที่ต้องทำงานหนักเพื่อปั๊มเลือดให้ไหลเวียนไปทั่วร่างกายอย่างเพียงพอ อาการหัวใจวาย อาการความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษา หรือ อาการหลอดเลือดอุดตันจากไขมันเส้นเลือด อาจกลายเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหัวใจล้มเหลวได้ ผู้ป่วยส่วนมากจะเสียชีวิตภายในห้าปีหลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยด้วยโรคหัวใจล้มเหลว ที่ศูนย์วิจัยโรคหัวใจที่วิทยาลัยการแพทย์เม้าท์ไซไนได้ค้นพบยีนอีกตัวหนึ่งที่เรียกว่า SERCA2 ที่ทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของเเคลเซี่ยมในเซลล์หัวใจเช่นกัน การทดลองรักษาโรคหัวใจล้มเหลวในคนด้วยการบำบัดดัวยยีน SERCA2 ได้ผลดีคล้ายกับการบำบัดด้วยยีน sumo-1 แพทย์เชื่อว่าการถ่ายยีนทั้งสองตัวเข้าไปในหัวใจผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวพร้อมๆกันอาจจะช่วยให้ได้เกิดผลดีแก่ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นสองเท่าตัว ในการบำบัดหัวใจล้มเหลวด้วยยีนวิธีใหม่นี้ ทีมนักวิจัยจะใช้เชื้อไวรัสไข้หวัดธรรมดาที่ไม่เป็นอันตรายเป็นพาหะนำยีน sumo-1กับยีน SERCA2 เข้าไปสู่หัวใจของผู้ป่วย