Tag: หัวใจขาดเลือด

  • ลดเค็มลงครึ่งหนึ่งจะได้ไหม?

    ลดเค็มลงครึ่งหนึ่งจะได้ไหม?

    ลดเค็มลงครึ่งหนึ่งจะได้ไหม? ในปัจจุบันนี้คนไทยเรามีสติถิการเป็นโรคความดันโลหิตสูงถึงกว่า 12 ล้านคน เป็นโรคไต 8 ล้านคน โรคหัวใจขาดเลือด 7.5 แสนคน รวมถึงโรคหัวใจขาดเลือดหรืออัมพฤกษ์ อัมพาตที่มีสาเหตุมาจากการกินอาหารที่มีรสเค็มหรือมีโซเดียมสูงมาก ทำร้ายร่างกายได้ในระยะยาว ซึ่งจากการสำรวจพบว่าคนไทยบริโภคเกลือหรือโซเดียมสูงเกินกว่าที่แนะนำต่อวันถึงสองเท่าตัว หรือประมาณ 5,000 มิลลิกรัมต่อวันเลยทีเดียว ซึ่งมักอยู่ในรูปของเครื่องปรุงรสต่ง ๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำปลา ซีอีว ผงชูรส เกลือ กะปิ เครื่องแกง น้ำปลาร้า ผงฟู ฯลฯ อาหารที่เป็นนิยมและมีโซเดียมอยู่มากมักไม่ใช่อาหารสดแต่จะเป็นอาหารปรุงสำเร็จ หรืออาหารแปรรูป ไมว่าจะเป็น อาหารกระป๋อง อาหารดองเค็ม ตากแห้ง แช่อิ่ม บะหมี่วอง กุนเชียง ลูกชิ้น ไข่เค็ม ขนมถุง ขนมปัง ฯลฯ แม้แต่กับข้าวสำเร็จที่ขายก็ยังมีโซเดียมสูงมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นแกงไตปลา ไข่พะโล้ คั่วกลิ้ง แม้แต่ในอาหารจานเดียวอย่าง ข้าวหน้าเป็ด ข้าวขาหมู ข้าวคลุกกะปิ ข้าวมันไก่ ก็มีโซเดียมต่อจานตั้งแต่ 1,000-2,000 มิลลิกรัมเลยนะคะ…

  • โรคหัวใจขาดเลือด มีอาการอย่างไรบ้าง?

    โรคหัวใจขาดเลือด มีอาการอย่างไรบ้าง?

    โรคหัวใจขาดเลือด มีอาการอย่างไรบ้าง? โรคหัวใจขาดเลือด นั้น คืออาการที่หัวใจไม่ได้รับโลหิตที่มีออกซิเจนอย่างพอเพียง ก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดที่เรียกว่า หัวใจขาดเลือด (angina) ซึ่งมีสาเหตุมาจากการกระตุกในหลอดเลือดหัวใจ อาการดังกล่าวเป็นการเตือนว่าหัวใจต้องการออกซิเจนมากขึ้นนั่นเอง ซึ่งอาการที่แสดงถึงโรคหัวใจขาดเลือดของแต่ละคนจะแตกต่างกันไป เช่น – เจ็บ ปวดหรือรู้สึกไม่สบาย – แน่นท้อง – เป็นตะคริว – ชา – หายใจลำบาก จุกเสียด – แน่นหน้าอก – ร้อน – เหงื่อแตก – วิงเวียนศีรษะ อาการดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในบริเวณหน้าอก ไหล่ หลังส่วนบน แขน คอ ในลำคอ หรือกราม เป็นต้น และอาจเกิดขึ้นได้ในช่วงเวลาที่รู้สึกเครียด ขณะที่ใช้แรงมากในการทำกิจกรรมหรือหลังอาหารมื้อหนัก ๆ อย่าละเลยโรคหัวใจขาดเลือด การพักผ่อนและการรักษาด้วยยา เป็นวิธีที่ช่วยลดอาการหัวใจขาดเลือดอย่างได้ผล