Tag: หอบ

  • ทำความรู้จักกับโรคหอบจากอารมณ์

    ทำความรู้จักกับโรคหอบจากอารมณ์

    ทำความรู้จักกับโรคหอบจากอารมณ์ คุณผู้อ่านเคยเห็นไหมคะที่บางมีพอมีเรื่องขัดใจหรือมีความเครียดขึ้นมาก็มักมีอาการหอบใจหอบลึก มือเท้าเกร็งจีบเหมือนเป็นตะคริว บ้างก็แน่นิ่งไม่พูดจา บ้างก็เอะอะโวยวายเหมือนคนเสียสติ ทำให้ญาติพี่น้องคนรอบข้างตกใจได้ บ้านนอกบางชุมชนก็เข้าใจว่านี่คืออาการผีเข้า ไปทำพิธีไล่ผีกันวุ่นวาย ความจริงแล้วกลุ่มอาการเช่นนี้แพทย์จะเรียกว่า กลุ่มอาการระบายลมหายใจเกิน หรือ โรคหอบจากอารมณ์ นั่นเองค่ะ โรคหอบจากอารมณ์นี้เกี่ยวข้องกับปัญหาจิตใจและอารมณ์ไม่มีอันตรายใด ๆ แก้ไขและรักษาได้ พบได้ในคนทุกวัย โดยเฉลี่ยแล้วร้อยละ 6-10 ของประชากรจะเป็นโรคนี้ แต่จะพบในผู้หญิงได้มากกว่าผู้ชายถึงสองเท่า พ่อแม่หรือลูกของคนที่เป็นมักจะมีแนวโน้มเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป แต่ยังไม่พบว่าเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางพันธุกรรม โรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ใจ แต่มีแนวโน้มว่ามีการหายใจด้วยการกล้ามเนื้อหน้าอกหายใจแทนการใช้กระบังลมและกล้ามเนื้อหน้าท้อง การหายใจจึงไม่มีประสิทธิภาพ มักจะมีความไวต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ความเครียด ความเจ็บปวดรุนแรง ทำให้ผู้ป่วยหอบ หายใจลึก หายใจเร็ว ร่างกายขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาเกินไป เลือดกลายเป็นด่าง แคลเซียมในเลือดต่ำ เกิดความผิดปกติของร่างกายหลายระบบพร้อมๆ กัน ผู้ป่วยที่เป็นแบบเฉียบพลันจะมีอาการหายใจลึก หายใจถี่หรือทั้งสองอย่าง มักเกิดหลังจากมีเรื่องกระทบกระเทือนทางอารมณ์ บางรายเกิดจากการเจ็บปวดรุนแรง อาจปวดหัว เวียนหัว อ่อนเพลีย ใจสั่น เจ็บหน้าอก แน่นอึดอัดในหน้าอก ชารอบปาก ชาปลายมือปลายเท้า มีลมในท้อง ท้องอืดเฟ้อ เอะอะโวยวาย สับสน…

  • ทุกฝ่ายควรร่วมมือกันเอาชนะ…โรคหอบหืดในเด็ก

    ทุกฝ่ายควรร่วมมือกันเอาชนะ…โรคหอบหืดในเด็ก

    ทุกฝ่ายควรร่วมมือกันเอาชนะ…โรคหืดในเด็ก ปัจจุบันนี้มีเด็กป่วยด้วยโรคหอบหืดเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี บางรายก็กลับมาเข้าโรงพยาบาลซ้ำ ๆ ด้วยโรคเดิมบ่อย ๆ โรคหืดนี้หากจะให้เด็กมีอาการดีขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือกันในการดูแลทั้งแพทย์ พยาบาล ผู้ปกครองและตัวเด็กเองด้วย – ในส่วนของแพทย์ควรให้ผู้ป่วยทุกคนมีสมุดบันทึกประจำตัว จดบันทึกอาการทุกวัน เช่น วันนี้เป็นหวัดหรือไม่ หอบหรือไม่ หรือขาดโรงเรียนเพราะหอบหรือไม่ มาพ่นยาที่ห้องฉุกเฉอนกี่ครั้ง ซึ่งญาติหรือผู้ปกครองของผู้ป่วยต้องช่วยกรอกด้วย – แพทย์ควรซักประวัติผู้ป่วยให้แน่ชัด ไม่ว่าจะเป็น มีคนสูบบุหรี่ในบ้านหรือไม่ ชอบเล่นกับหมาแมว หมอนข้าง ตุ๊กตายัดนุ่นหรือเปล่า มีญาติสายตรงเป็นโรคอยู่แล้วหรือไม่ สิ่งแวดล้อมภายในบ้านเอื้อให้เกิดการกำเริบของโรคหรือเปล่า – ด้านของเภสัชกรควรสอนให้ผู้ป่วยหรือญาติพ่นยาให้ได้จริง ๆ บางคนเอาไปแล้วก็ไม่พ่น หรือพ่นไม่เป็น อีกทั้งในเด็กเล็กควรใช้กรวยที่เรียกว่า spacer ต่อเข้ากับกระบอก ก็จะช่วยได้มาก เภสัชกรควรให้ผู้ป่วยหรือผู้ปกครองพ่นให้ดูให้แน่ใจว่าพ่นเองเป็นจริง ๆ – ญาติ ๆ และผู้ปกครองควรจัดสิ่งแวดล้อมและดูแลเรื่องอาหาร และพฤติกรรมให้เหมาะสม จัดให้เด็กได้ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ ไม่ให้เหนื่อยเกินไป, พาเด็กมาหาหมอตามนัด, ดูแลให้เด็กกินยาหรือพ่นยาอย่างต่อเนื่อง จัดบ้านให้ปราศจากฝุ่น ควันบุหรี่ อย่าให้อากาศเย็นเกินไป – ควรมีการจัดกลุ่มแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันระหว่างผู้ดูแลเด็กผู้ปกครอง เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์แนะนำกันเอง ซักถามและให้ความช่วยเหลือ เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ป่วยและทีมรักษา…

  • สังเกตโรคร้ายให้ดี คุณอาจเป็น “ปอดบวม”

    สังเกตโรคร้ายให้ดี คุณอาจเป็น “ปอดบวม”

    สังเกตโรคร้ายให้ดี คุณอาจเป็น “ปอดบวม” โรคที่มักเกิดขึ้นในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง และมีฝนตกหนักก็คือ โรคปอดบวมนั้นเอง ซึ่งกรมควบคุมโรคได้เปิดเผยว่าโรคปอดบวมนี้ คร่าชีวิคคนไทยเป็นอันดับหนึ่งถึงร้อยละ 78 เลยทีเดียว ซึ่งวิธีการสังเกตว่าตนเองหรือคนที่รักเป็นโรคปอดบวมแล้วหรือยัง ให้สังเกตอากาศดังต่อไปนี้ค่ะ 1. เป็นไข้ตัวร้อน และเมื่อเป็นแล้วมักจะไม่ค่อยลด 2. ไอมาก ไอหนัก ไอถี่ขึ้นเรื่อย ๆ 3. หายใจหอบหนัก หายใจไม่ทั่วท้อง หายใจไม่ทัน 4. ลักษณะของน้ำมูกจะเปลี่ยนสีไปจากเดิม คือจากใส ๆ เป็นสีขุ่นข้นและสีเขียว ยิ่งโดยเฉพาะหากเป็นลูกเล็ก ๆ ที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ ให้สังเกตว่าหากเด็กมีอาการไข้สูง ซึม ไม่กินน้ำหรือกินนม รวมทั้งไอมีเสมหะ หายใจหอบเร็ว หรือหายใจมีเสียงวี๊ด หรือหายใจจนกระทั่งชายโครงบุ๋มลง ขอให้รีบนำเด็กไปพบแพทย์ทันที เพื่อรักษาแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่อาการจะทรุดตัวลงอย่างรวดเร็ว และอาจทำให้เสียชีวิตได้