Tag: หลอดเลือดสมองแตก

  • ป้องกันตัวเองจากอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต

    ป้องกันตัวเองจากอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต

    ป้องกันตัวเองจากอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต ทุกปีจะมีคนเสียชีวิตจากอาการอัมพาตถึงกว่าปีละหกล้านคน มากกว่าการตายจากโรคเอดส์ วัณโรคและมาเลเรียรวมกันเสียอีก เฉพาะในประเทศไทยเองมีคนตายจากโรคหลอดเลือดสมองโดยเฉลี่ยถึงวันละเกือบ 40 ราย หากคุณไม่อยากเป็นหนึ่งในนั้น ก็ควรมาทำความรู้จักกับโรคนี้และหาวิธีป้องกันไว้ก่อนดีกว่า โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคหลอดเลือดสมองนี้เป็นโรคที่เกิดจากการที่สมองได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ ทำให้สูญเสียการควบคุมการทำงานของร่างกาย แบ่งออกเป็นหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน และอีกชนิดก็คือหลอดเลือดสมองแตก ผู้ที่มีความเสี่ยงมากก็จะเป็นในกลุ่มผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง มีกรรมพันธ์เป็นโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มคนอ้วน ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย รวมไปถึงผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำและผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วย ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่กล่าวมานี้ควรใส่ใจสุขภาพให้มากขึ้น จะป้องกันได้กว่าร้อยละ 80 ควรปฏิบัติตามดังต่อไปนี้ 1. ควบคุมน้ำหนักตัวอย่าให้อ้วนเกินมาตรฐาน โดยให้มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ที่ 18.5-22.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร 2. ลดอาหารหวาน มัน เค็ม แล้วทานผักและผลไม้ไม่หวาน รวมไปถึงธัญพืชต่าง ๆ ให้มากขึ้น 3. หากตนเองเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือโรคอื่น ๆ ก็ควรเข้ารับการตรวจรักษาจากแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำ 4. ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง อาทิตย์ละ 3-4 วัน 5. งดการดื่มเหล้า และการสูบบุหรี่ รวมไปถึงควันบุหรี่มือสองด้วย…

  • โรคลมปัจจุบัน หรืออัมพาตครึ่งซีกจะป้องกันได้อย่างไร

    โรคลมปัจจุบัน หรืออัมพาตครึ่งซีกจะป้องกันได้อย่างไร

    โรคลมปัจจุบัน หรืออัมพาตครึ่งซีกจะป้องกันได้อย่างไร โรคลมปัจจุบัน หรือ โรคหลอดเลือดสมอง หรืออาจเรียกว่า โรคลมอัมพาต หรืออัมพาตครึ่งซีกก็ได้นั้น คืออาการที่แขนขาซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรง เป็นอัมพาตขึ้นมาแบบฉับพลัน เมื่อเป็นขึ้นมาควรรีบพาไปโรงพยาบาลโดยด่วน จะช่วยให้หายเป็นปกติหรือลดความรุนแรงของโรคไปได้ โดยโรคนี้นั้นแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน ซึ่งพบได้กว่าร้อยละ 80 และโรคหลอดเลือดสมองแตกพบได้ราวร้อยละ 20 มีภาวะที่อันตรายอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างรวดเร็วได้ แต่ละอาการนั้นมีสาเหตุและอาการที่แตกต่างกัน ได้แก่ 1. โรคหลอดเลือดสมองตีบ มักเป็นผู้ที่มีประวัติเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่จัด ดื่มเหล้า เบียร์ แอลกอฮอล์มาก อายุมาก อ้วนมาก หรือมีกรรมพันธ์โรคนี้อยู่ในครอบครัว จะมีอาการแขนขาชา เกร็งตามแขนขา ตามัว มองเห็นภาพซ้อน พูดไม่ได้ ปากเบี้ยว หรือกลืนไม่ได้ร่วมด้วย บางรายอาจปวดหัว เวียนหัวบ้านหมุน หรือมีอาการสับสนก่อนมีอาการอัมพาตตามมา มักมีอาการที่ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายเพียงซีกเดียว 2. โรคหลอดเลือดอุดตัน ที่เกิดจากลิ่มเลือดลอยไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง จะมีอาการเหมือนข้อแรก ผู้ป่วยอาจมีประวัติเป็นโรคหัวใจหรือเคยผ่าตัดหัวใจมาก่อน 3. หลอดเลือดสมองแตก มักเกิดโดยไม่มีสิ่งบอกเหตุ บางรายอาจเกิดขณะทำงานออกแรงมาก หรือขณะมีเพศสัมพันธ์…

  • หลักการใช้ชีวิตที่ดี เพื่อดูแลความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน

    หลักการใช้ชีวิตที่ดี เพื่อดูแลความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน

    หลักการใช้ชีวิตที่ดี เพื่อดูแลความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน เพราะการใช้ชีวิตในรูปแบบปัจจุบัน ทั้งโภชนาการที่ล้นเกิน และอบายมุขทั้งหลาย ทำให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้นทุกปีกว่าปีละเกือบล้านคน โรคนี้ทำให้เส้นเลือดแข็งตัว มีความยืดหยุ่นน้อยลง ความเร็วของการไหลเวียนโลหิต ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หลอดเลือดสมองแตกหรือหลอดเลือดสมองตีบ และอาจมีโอกาสเป็นโรคไตวายได้ โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่อาจทำลายชีวิตคนได้ตลอดเวลา เราจึงควรดูแลร่างกายตัวเองแต่เนิ่น ๆ ดังนี้ หลักข้อแรก ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน ควรรักษาค่าดัชนีมวลกายไว้อยู่ระหว่าง 18.5-22.9 กิโลกรัม/ตารางเมตร หลักข้อที่สอง ทานอาหารและเลือกทานเฉพาะที่ดีต่อสุขภาพ ได้แก่การกินอาหารที่มีปริมาณสัดส่วนสารอาหารที่พอเพียงต่อร่างกาย ลดอาการที่มีรสชาติหวาน ทานแป้งและน้ำตาลแต่พอดี ลดอาหารที่มีไขมันสูง เพิ่มสัดส่วนของผักและผลไม้ที่มีรสหวานให้น้อยลง ทานธัญพืชให้เป็นประจำ รวมไปถึงการกินอาหารที่รสเค็มอาหารที่ปรุงด้วยเกลือ ซีอิ๊วน้ำปลา กะปิ ปลาร้า ให้น้อยลง และไม่ควรปรุงอาหารเพิ่มเองด้วย หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป ไม่ว่าจะเป็นอาหารกระป๋อง ขนมกรุบกรอบ ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ ไก่ทอด แฮม เบคอน หากต้องการปรุงรสอาหารเพิ่มแนะนำให้เติมมะนาว พริก น้ำส้มสายชูหมัก เครื่องเทศหรือสมุนไพร แทนเครื่องปรุงรสเค็มทั้งหลาย และลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่และไม่ควรอยู่ในที่ที่มีแต่ควันบุหรี่ด้วย หลักข้อที่สาม ขยับเขยื้อนเนื้อตัวอยู่ตลอดเวลา หันมาเดินให้มากขึ้น…

  • ผู้สูงวัยกับโรคพาร์กินสัน

    ผู้สูงวัยกับโรคพาร์กินสัน

    ผู้สูงวัยกับโรคพาร์กินสัน โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่พบได้มากในผู้สูงอายุ ทำให้มีการเคลื่อนไหวได้น้อยลง ช้าลงและร่างกายสั่นเกร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะท้าย ๆ ก็จะมีอาการสมองเสื่อมร่วมด้วยได้ ซึ่งสาเหตุสำคัญของโรคนี้ เกิดจากการลดลงของสารโดพามีนในสมอง เพราะสมองส่วนที่ทำหน้าที่สร้างสารนี้ทำงานน้อยลง สามารถเกิดขึ้นได้เอง และพบได้บ่อยที่สุด อีกทั้งยังมีสาเหตุอื่น ๆเช่น ความผิดปกติในสมองจากหลอดเลือดอุดตัน การกินยาบางชนิด การมีหลอดเลือดสมองแตก ฯลฯ และในอนาคตนั้นสังคมไทยจะเป็นสังคมของผู้สูงวัยมากขึ้น เพราะหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นการที่ผู้หญิงไม่แต่งงานมีมากขึ้นเรื่อย ๆ หรือการมีลูกน้อยลง ผู้สูงวัยจึงจำเป็นต้องพึ่งตนเองให้มากขึ้นด้วยยึดหลัก 3 อ. ได้แก่ 1. อารมณ์และสุขภาพจิต หมั่นออกำลังกายเป็นนิจ เพื่อช่วยให้สุขภาพจิตดี ร่างกายแข็งแรง ทำให้ทรงตัวได้ดี และนอนหลับได้ง่ายขึ้น ป้องกันความเสื่อมของร่างกายในส่วนต่าง ๆ การออกกำลังกายนี้สามารถเลือกได้ตามชอบ ทั้งการเล่นกีฬาและการใช้แรงงานทำงานในชีวิตประจำวัน ควรหมั่นออกกำลังอย่างสม่ำเสมอวันละอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง 2. อากาศและสภาพแวดล้อม อยู่ในที่ที่มีอากาศดี สะอาดปลอดโปร่ง มีลมพัดสบาย หายในได้สะดวก ทำให้ร่างกายและสมองได้รับออกซิเจนได้เต็มที่ ผู้สูงวัยที่อาศัยอยู่ในเมืองควรหาโอกาสไปพักผ่อนต่างจังหวัดตามชนบทหรือชายทะเลบ้าง 3. งานอดิเรก สร้างความเพลิดเพลิน ทำให้ไม่เหงา ไม่ว่าจะเป็นงานที่สร้างรายได้หรือไม่ก็ได้ อาจเป็นการเข้าร่วมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อสังคมก็ได้ ลูกหลานและคนในครอบครัวก็ตาม หากมีเวลาว่างในวันหยุดก็ควรพาผู้สูงอายุในบ้านไปท่องเที่ยวพักผ่อน ผู้ที่อยู่ห่างไกลกัน…

  • ทำความรู้จักกับ…โรคสะเก็ดเงิน

    ทำความรู้จักกับ…โรคสะเก็ดเงิน

    ทำความรู้จักกับ…โรคสะเก็ดเงิน ความจริงแล้วโรคสะเก็ดเงินไม่ได้เป็นโรคติดต่อ และไม่ได้เกิดจากภูมิแพ้ด้วย มักเกิดในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย และกระโดดข้ามไปในช่วงอายุ 40-50 ปี พบได้ทั้งสองเพศพอ ๆ กัน ส่วนสาเหตุของโรคไม่แน่ชัด แต่พบปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ – พันธุกรรมพบได้กว่าร้อยละ 50 – ความเครียดทั้งร่างกายและจิตใจก็กระตุ้นให้เกิดโรคได้ – การติดเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ เกลื้อน – การบาดเจ็ดที่มีลักษณะของการเสียดสีที่ผิวหนัง – ยาบางตัว เช่น ยาต้านอาการซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิต ยาต้านมาลาเรีย ยาแก้ปวดที่ไม่ใช่กลุ่มสเตียรอยด์ และสามารถแบ่งโรคตามลักษณะของอาการได้ดังนี้ 1. โรคสะเก็ดเงินปื้นหนาเป็นเรื้อรัง พบบ่อยที่ข้อศอก หัวเข่า หรือหลังส่วนล่าง 2. โรคสะเก็ดเงินที่ซอกพับ ปื้นมักเรียบ ไม่มีขุย 3. โรคสะเก็ดเงินบริเวณหนังศีรษะ / ฝ่ามือฝ่าเท้า / เล็บ / ช่องปาก 4. โรคสะเก็ดเงินของรูปหยดน้ำ 5. โรคสะเก็ดเงินชนิดเป็นตุ่มหนอง ชนิดผื่นแดง 6.…

  • เส้นเลือดในสมองแตก.. สาเหตุและการป้องกัน

    เส้นเลือดในสมองแตก.. สาเหตุและการป้องกัน

    เส้นเลือดในสมองแตก.. สาเหตุและการป้องกัน อาการอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคหลอดเลือดสมองนั้นเป็นอาการที่ทำให้ ขา แขน หน้าด้านใดด้านหนึ่งเกิดความรู้สึกชา อ่อนแรง ควบคุมไม่ได้ เคลื่อนไหวลำบาก อย่างกะทันหัน สาเหตุก็เกิดจากหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองตีบตัน หรือหลอดเลือดแดงแตกทำให้เนื้อสมองขาดออกซิเจน และอาหาร เนื้อสมองจึงเสียหาย หากไม่รีบรักษาเนื้อสมองจะตาย ทำให้พิการอย่างถาวร ซึ่งสาเหตุได้แก่ 1. หลอดเลือดแดงในสมองตีบแข็งหรือเสื่อม เกิดจากการสะสมของไขมันที่ผนังด้านใน ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแข็ง ขาดความยืดหยุ่น ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญก็คือการทานอาหารที่มีไขมันสูง ไม่ยอมออกกำลังกาย สูบบุหรี่ เป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นต้น 2. หลอดเลือดแดงในสมองแตก เมื่อเลือดออกมากก้อนเลือดจะกดทับเนื้อสมองทำให้ขาดออกซิเจนและขาดอาหาร หากไม่ได้รับการรักษาเนื้อสมองจะตาย ซึ่งปัจจัยเสี่ยงสำคัญคือ อาการความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการควบคุม 3. หลอดเลือดแดงในสมองอุดตัน จากชิ้นของไขมันหรือเลือดที่หลุดลอยออกมา ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือการมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจหรือหัวใจโต เป็นต้น การป้องกันอาการอัมพฤกษ์อัมพาต จากเส้นเลือดในสมองแตกนั้นคุณควรดูแลสุขภาพตนเองดังนี้ – เลิกสูบบุหรี่และเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในสถานที่ที่มีควันบุหรี่ เพราะควันบุหรี่จะทำให้ปริมาณออกซิเจนในหลอดเลือดลดลงทำให้เลือดหนืด การไหลเวียนของเลือดไม่ดี – ลดการดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งหลาย เพราะเป็นต้นเหตุของโรคความดันโลหิตสูง – ทานอาหารเท่าที่พอเหมาะกับความต้องการของร่างกาย…