Tag: หลอดอาหาร
-
บรรเทาอาการกรดไหลย้อนด้วยตัวคุณเอง
บรรเทาอาการกรดไหลย้อนด้วยตัวคุณเอง เคยเป็นบ้างหรือเปล่าคะ “แสบร้อนบริเวณหน้าอกหลังทานอาหารหรือกำลังนอนหลับ” อาหารเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือดแต่อย่างใด แต่เกิดจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาบริเวณคอหอยและหน้าอก และมักจะเป็นในเวลากลางคืน ส่วนสาเหตุนั้นก็เกิดจากการที่กล้ามเนื้อหูรูดบริเวณท้ายของหลอดอาหารทำงานผิดปกติ กรดจึงไหลย้อนจากกระเพาะขึ้นมาสู่หลอดอาหาร กล้ามเนื้อของกระเพาะอาหารบีบตัวช้ากว่าปกติ ทำให้อาหารเคลื่อนตัวได้ช้า กรดจึงไหลย้อนขึ้นมาจากกระเพาะมากกว่าปกติ แล้วยังมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น แสบร้อนกลางอก หรือ HeartBurn ไอแห้ง ๆ ตอนกลางคืน เรอเปรี้ยว กลืนลำบาก เสียงแหบ อาเจียน เจ็บคอ น้ำหนักลด ฯลฯ เมื่อได้พบแพทย์แล้วได้ถูกบ่งชี้ว่าคุณเป็นโรคกรดไหลย้อนอย่างชัดเจน จะทำการรักษาด้วยการใช้ยาลดกรด ช่วยลดอาการแสบร้อนกลางอก และบรรเทาอาการจากกรดไหลย้อนได้ ยาลดกรดจะลดปริมาณของกรดในกระเพาะอาหารและเพิ่มการเคลื่อนตัวของระบบทางเดินอาหาร วิธีนี้ได้ผลดีในผู้ที่มีอาการไม่รุนแรง หรือแสบร้อนกลางอกเป็นครั้งคราว ถ้าอาการของคุณบ่งชี้ว่าเป็นภาวะกรดไหลย้อนอย่างชัดเจนจะทำการรักษาโดยใช้ยาลดกรดซึ่งต้องมีคุณสมบัติในการรักษาอาการแสบร้อนกลางอก และเป็นยาที่มีประสิทธิภาพบรรเทาอาการจากกรดไหลย้อนได้ เพื่อลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหารและเพิ่มการเคลื่อนตัวของระบบทางเดินอาหาร ในการกำจัดกรดซึ่งจะช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหารใช้ได้ผลดีในผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงหรือมีอาการแสบร้อนหน้าอกเป็นครั้งคราว แล้วยาลดกรดยังช่วยดูดซับแก๊สในกระเพาะอาหาร ลดการเรอเปรี้ยวและความดันในท้อง และนอกจากนี้แล้ว เรายังควรดูแลตัวเองด้วยการปฏิบัติตามหลักดังต่อไปนี้ค่ะ ควรปรับพฤติกรรมการกินอาหารให้ทานเป็นมื้อเล็ก ๆ วันละ 4-6 มื้อ หัดเคี้ยวอาหารให้ละเอียด ๆ เพื่อลดภาระของกระเพาะอาหาร ไม่ควรทานอาหารทอด อาหารที่มีรสชาติจัดจ้าน หรืออาหารที่มีไขมันสูง ไม่ควรสวมเสื้อผ้าที่คับแน่นเพราะจะเป็นการเพิ่มแรงดันในช่องท้องกรดก็อาจจะไหลย้อนกลับขึ้นมาได้อีก…
-
พึงระวัง..อาหารบางชนิดทำระบบย่อยคุณมีปัญหา!
พึงระวัง..อาหารบางชนิดทำระบบย่อยคุณมีปัญหา! – อาหารที่มีรสเปรี้ยว หรือมีกรดมากอย่างน้ำอัดลม น้ำมะนาว น้ำส้ม ความเป็นกรดจะระคายเคืองหลอดอาหาร แล้วยังอาจทำให้เกิดปัญหาท้องอืดท้องเฟ้อด้วย – ช็อกโกแลตอาจทำให้คุณเกิดปัญหาโรคกรดไหลย้อนได้ หากทานเล็กน้อยก็อาจไม่มีปัญหาอะไร แต่เกิดปัญหาเพราะคุณทานช็อกโกแลตมากเกินไป เพราะช็อกโกแลตทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัวออก กรดในกระเพาะจึงไหลย้อนกลับขึ้นมาที่หลอดอาหารได้ – กะหล่ำปลี และบร็อกโคลี่ดิบ ๆ ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารได้ แต่ผักสองชนิดนี้มีประโยชน์มาก และมีเส้นใยอาหารมากอีกด้วย แต่ควรปรุงให้สุกก่อนจะดีกว่า – มันบดและไอศกรีม ทำให้มีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก ท้องอาจจะอืดหรือคุณอาจจะผายลมไม่หยุดได้ ซึ่งหมายความว่าร่างกายคุณอาจจะแพ้แลกโทส แต่แม้คุณจะไม่แพ้ อาหารทั้งสองอย่างนี้หากทานมากไปก็อาจอ้วนเพราะไขมันสูงได้ – นักเก็ตไก่ หรือไก่ชุบแป้งทอด หากเป็นเนื้อไก่ล้วนมันยังเป็นของที่ย่อยง่าย แต่เมื่อไรที่นำไปคลุกแป้ง มันจะกลายเป็นอาหารขยะ ย่อยยาก มีไขมันสูง สร้างปัญหาให้กับกระเพาะและระบบย่อยอาหารทั้งหมด ยังไม่รวมว่ากินมากแล้วอ้วนด้วยนะคะ – หัวหอมที่ไม่สุก เพราะในหัวหอมดิบนั้นมีไฟโตนิวเทรียนต์ จึงอาจทำให้ปวดท้องได้ แม้จะมีประโยชน์ต่อร่างกายและดีต่อหัวใจ ทางแก้ไขก็คือควรทานหัวหอมดิบและหัวหอมสุกผสมกันจะดีกว่า – หากคุณทานถั่วบ่อย ๆ ก็คงไม่ค่อยเป็นปัญหาอะไรนัก แต่หากคุณไม่ได้ทานบ่อย ๆ ร่างกายคุณก็อาจขาดเอนไซม์สำหรับการย่อยถั่ว ผลก็คือเมื่อทานเข้าไปแล้วจะเกิดแก๊สแล้วก็ท้องอืดได้ง่ายค่ะ – หมากฝรั่งปราศจากน้ำตาล…
-
โรคกรดไหลย้อน อาการ การรักษา วิธีป้องกัน
โรคกรดไหลย้อน อาการ การรักษา วิธีป้องกัน โรคกรดไหลย้อน (Gastro-esophageal Reflux Disease, GERD) คือภาวะของการที่มีกรด หรือ น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นมาที่บริเวณหลอดอาหาร เนื่องจากหลอดอาหารนั้นเป็นอวัยวะที่ไม่ทนต่อกรดได้ จึงทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร โดยปกติแล้วหลอดอาหารจะทำการบีบตัวไล่อาหารลงไปสู่ด้านล่าง และหูรูด จะทำหน้าทีป้องกันการไหลย้อนกลับของน้ำย่อย กรด หรืออาหารต่างๆ ไม่ให้ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร พบได้ในคนทั่วไป ทุกกลุ่ม ทุกช่วงอายุ แต่จะพบได้มากในคนอ้วน หรือสูบบุหรี่ และการไหลย้อนของกรด ถ้ามีมาก อาจไหลออกนอกหลอดอาหาร อาจทำให้มีผลต่อกล่องเสียง ลำคอ หรือปอดได้ ซึ่งหากละเลยไม่ไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษา อาจทำให้เรื้อรังกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ ภาวะของโรคกรดไหลย้อน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ – ระดับแรก ผู้ป่วยมีภาวะกรดไหลย้อนบ้างในบางครั้ง เป็นบ้างไม่เป็นบ้าง แล้วก็หายไป ไม่มีผลต่อสุขภาพมากมาย (Gastro-Esophageal Reflux : GER) – ระดับสอง ผู้ป่วยจะมีอาการกรดไหลย้อนขึ้นมาเฉพาะที่บริเวณหลอดอาหาร (Gastro-Esophageal Reflux Disease :…