Tag: หลอดลมอักเสบเรื้อรัง

  • คุณเป็นโรคหอบหืดหรือเปล่า?

    คุณเป็นโรคหอบหืดหรือเปล่า?

    คุณเป็นโรคหอบหืดหรือเปล่า? โรคหอบหืด เป็นการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ทำให้หลอดลมเกินการหดเกร็ง มีอาการบวมของเยื่อบุหลอดลม มีมูกหลั่งในหลอดลมมาก ทำให้หลอดลมตีบแคบลง ส่งผลให้หลอดลมของผู้ป่วยตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ได้ไวกว่าปกติ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคหืดหรือยัง ก็ให้ลองสังเกตตัวเองดูนะคะว่ามีอาการดังต่อไปนี้บ้างหรือเปล่า – หายใจมีเสียงวี๊ดในอก ฟังคล้ายเสียงนกหวีด – ไอมาก และเป็นมากในช่วงกลางคืน – แน่นหน้าอก หายใจลำบาก และจะมีอาการแน่นหน้าอกเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นได้แก่ ขนสัตว์ต่าง ๆ, กลิ่นสเปรย์ หรือน้ำหอม, ละอองเกสรดอกไม้, เชื้อรา, ไรฝุ่น, ควันบุหรี่, อากาศที่เปลี่ยนแปลงไป, ยาบางชนิดเช่น แอสไพริน, มีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว, ออกกำลังกายหนัก, เป็นหวัดเกินกว่า 10 วัน หากคุณมีอาการดังเกล่าวแม้เพียงข้อใดข้อหนึ่ง ให้รีบปรึกษาแพทย์โดยด่วนเพราะอาจมีเกณฑ์ว่าคุณจะเป็นโรคหืดได้ ในส่วนของการรักษาโรคนี้ในปัจจุบันนั้น โดยหลักจะให้ยาที่ไปลดการอักเสบของหลอดลม เมื่อหลอดลมหายอักเสบก็จะมีอาการหอบหืดน้อยลงไปด้วย ยาลดการอักเสบที่สำคัญก็คือ ยาพ่นสเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบของหลอดลม มีความปลอดภัยเพื่อฉีดพ่นในปริมาณที่ต่ำมาก จึงไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะอื่น ๆ และยังมียาฉีดเพื่อบรรเทาอาการ แต่จะใช้เมื่อมีอาการเท่านั้น

  • พิษภัยจากโรคถุงลมปอดโป่งพอง

    พิษภัยจากโรคถุงลมปอดโป่งพอง

    พิษภัยจากโรคถุงลมปอดโป่งพอง บุหรี่เป็นพิษต่อร่างกาย ทำให้เกิดโรคจากปอดที่เรียกว่า “โรคถุงลมปอดโป่งพอง” ได้ง่าย พบมากในผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 45-65 ปีขึ้นไป มักสูบบุหรี่กันมานานกว่า 10 ปี จนในที่สุดปอดก็พิการ ทำให้เกิดอาการเหนื่อยหอบง่าย ติดเชื้อที่ปอดซ้ำซาก นอกจากบุหรี่แล้ว ก็ยังมีสาเหตุอื่นด้วยได้แก่ มลพิษในอากาศ ควันไฟหุงต้มอาหารที่ก่อไฟในที่ขาดอาการถ่ายเท เป็นต้น อาการของโรคถุงลมปอดโป่งพอง ก็คือ ระยะแรกจะมีอาการหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ไอหนัก ไอมีเสมหะเป็นแรมเดือนแรมปี ไอหรือขาดเสมหะในคอหลังจากตื่นนอนตอนเช้า และไอถี่ขึ้นเป็นตลอดทั้งวัน เสมหะช่วงแรงจะมีสีขาวและกลายเป็นเหลืองหรือเขียว มีไข้หรือหอบเหนื่อยเป็นครั้งคราว หากผู้ป่วยยังไม่เลิกสูบบุหรี่ ก็จะยิ่งมีอาการเหนื่อยง่ายมากขึ้น แม้เวลาเดิน พูด หรือทำกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ และหากเป็นเช่นนี้ต่อไป จะรุนแรงขึ้นจนแม้อยู่เฉย ๆ ก็เหนื่อยหอบ เพราะถุงลมปอดพิการอย่างรุนแรง ไม่สามารถแลกเปลี่ยนอากาศนำออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้แล้ว ในระยะสุดท้ายผู้ป่วยจะเบื่ออาหาร จนน้ำหนักลด หอบตลอดเวลา และทุกข์ทรมานมาก การรักษาโรคถุงลมปอดโป่งพองนั้น แพทย์จะรักษาตามความรุนแรงของโรค โดยทั่วไปจะให้ยาขยายหลอดลมเพื่อสูดพ่น ต่อมาก็อาจจ่ายเป็นยาสเตียรอยด์ชนิดสูดพ่นด้วย หากมีการติดเชื้อก็จะให้ยาปฏิชีวนะ สำหรับรายที่หอบรุนแรง ปอดอักเสบแพทย์ก็จะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาลเพราะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ต้องให้ออกซิเจน โรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง…