Tag: หลอดลมอักเสบ

  • ผู้ป่วยหอบหืดควรหลีกเลี่ยงสาเหตุกระตุ้นอาการดังนี้

    ผู้ป่วยหอบหืดควรหลีกเลี่ยงสาเหตุกระตุ้นอาการดังนี้

    ผู้ป่วยหอบหืดควรหลีกเลี่ยงสาเหตุกระตุ้นอาการดังนี้ 1. สารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ละอองหญ้า วัชพืช ละอองเกสรดอกไม้ ไรฝุ่นตามที่นอน เฟอร์นิเจอร์ หรือของเล่นตุ๊กตาที่ทำจากนุ่นหรือมีขน เชื้อรา แมลงสาบรวมไปถึงสัตว์เลี้ยงในบ้าน อาหารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นนมวัว ไข่ กุ้ง หอย ปลา ปู งา ถั่วเหลือง สีผสมอาหาร สารกันบูด ฯลฯ 2. สารเคมีและควันระคายเคืองต่าง ๆ เช่น ควันบุหรี่ ท่อไอเสีย ควันธูป ฝุ่นละออง สเปรย์ ยาฆ่าแมลง อากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลัน หรืออากาศเย็นๆ กลิ่นฉุนต่าง ๆ ฯลฯ 3. อย่าปล่อยให้ตัวเองป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็น หวัด ไข้หวัด ทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ 4. หากต้องการออกกำลังกาย ควรสูดพ่นยาขยายหลอดลมก่อนสักครึ่งชั่วโมงป้องกันอาการกำเริบ 5. หลีกเลี่ยงความเครียดต่าง ๆ 6.…

  • คุณเป็นโรคหอบหืดหรือเปล่า?

    คุณเป็นโรคหอบหืดหรือเปล่า?

    คุณเป็นโรคหอบหืดหรือเปล่า? โรคหอบหืด เป็นการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ทำให้หลอดลมเกินการหดเกร็ง มีอาการบวมของเยื่อบุหลอดลม มีมูกหลั่งในหลอดลมมาก ทำให้หลอดลมตีบแคบลง ส่งผลให้หลอดลมของผู้ป่วยตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ได้ไวกว่าปกติ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคหืดหรือยัง ก็ให้ลองสังเกตตัวเองดูนะคะว่ามีอาการดังต่อไปนี้บ้างหรือเปล่า – หายใจมีเสียงวี๊ดในอก ฟังคล้ายเสียงนกหวีด – ไอมาก และเป็นมากในช่วงกลางคืน – แน่นหน้าอก หายใจลำบาก และจะมีอาการแน่นหน้าอกเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นได้แก่ ขนสัตว์ต่าง ๆ, กลิ่นสเปรย์ หรือน้ำหอม, ละอองเกสรดอกไม้, เชื้อรา, ไรฝุ่น, ควันบุหรี่, อากาศที่เปลี่ยนแปลงไป, ยาบางชนิดเช่น แอสไพริน, มีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว, ออกกำลังกายหนัก, เป็นหวัดเกินกว่า 10 วัน หากคุณมีอาการดังเกล่าวแม้เพียงข้อใดข้อหนึ่ง ให้รีบปรึกษาแพทย์โดยด่วนเพราะอาจมีเกณฑ์ว่าคุณจะเป็นโรคหืดได้ ในส่วนของการรักษาโรคนี้ในปัจจุบันนั้น โดยหลักจะให้ยาที่ไปลดการอักเสบของหลอดลม เมื่อหลอดลมหายอักเสบก็จะมีอาการหอบหืดน้อยลงไปด้วย ยาลดการอักเสบที่สำคัญก็คือ ยาพ่นสเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบของหลอดลม มีความปลอดภัยเพื่อฉีดพ่นในปริมาณที่ต่ำมาก จึงไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะอื่น ๆ และยังมียาฉีดเพื่อบรรเทาอาการ แต่จะใช้เมื่อมีอาการเท่านั้น

  • ในฤดูหนาว ผู้สูงวัยควรระวังสุขภาพให้มาก

    ในฤดูหนาว ผู้สูงวัยควรระวังสุขภาพให้มาก

    ในฤดูหนาว ผู้สูงวัยควรระวังสุขภาพให้มาก แม้จะเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี แต่ในช่วงหน้าหนาวที่อากาศเปลี่ยนแปลงก็ไม่ควรประมาท แต่ควรรักษาร่างกายให้อบอุ่นไว้ตลอดเวลายิ่งหากไปท่องเที่ยวในที่เย็น ๆ ด้วยแล้ว ควรเตรียมอุปกรณ์กันหนาวให้ครอบครัน และปรึกษาแพทย์ก่อนไปด้วยนะคะ ระหว่างฤดูหนาวนี้ควรดื่มน้ำให้ได้วันละสองลิตรเพื่อป้องกันผิวแห้ง และนอนหลับให้เพียงพอ ทานอาหารร้อน ๆ รักษาความอบอุ่นของร่างกายไว้ด้วย โรคภัยและความเจ็บป่วยที่ผู้สูงวันต้องระวังเป็นพิเศษได้แก่ 1. โรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคติดต่อทางเดินหายใจทั้งหลาย ที่อาจลุกลามไปสู่อาการปอดอักเสบ หรือหลอดลมอักเสบได้ จึงไม่ควรอยู่ในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่านและอับชื้น ล้างมือบ่อย ๆ เพื่อลดการรับเชื้อ ควรงดสูบบุหรี่ไปเลยเพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเดินหายใจได้ ไม่ควรคลุกคลีกับเด็กหรือผู้ป่วยคนอื่น ๆ ยิ่งหากเป็นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ควรฉีดวัคซีนป้องกันไว้ก่อนจะดีกว่าค่ะ 2. เนื่องจากผู้สูงวัยจะมีไขมันใต้ผิวหนังน้อย ผิวจึงแป้ง เป็นผื่นอักเสบและลอกคันได้ง่าย ยิ่งเป็นฤดูหนาวที่อากาศแห้ง ผิวจะยิ่งสูญเสียความชุ่มชื้นได้ง่าย ไม่ควรอาบน้ำอุ่นจัดเพราะจะยิ่งชะล้างไขมันออกไปมากขึ้น ควรรักษาความอบอุ่นร่างกายไว้ สวมเสื้อผ้าหนา ๆ ไม่ควรอาบน้ำนานเกินไป ทาผิวด้วยโลชั่นหรือน้ำมันบำรุงผิวหลังอาบน้ำทุกครั้ง เพื่อรักษาความชุ่มชื้น และควรเลือกผลิตภัณฑ์ทาผิวที่มีความอ่อนโยนด้วย ควรทาบ่อย ๆ หากรู้สึกว่าผิวแห้ง เพื่อป้องกันผิวหนัง และทาลิปมันบำรุงผิวริมฝีปากไว้ด้วย ทาบ่อยได้ตามต้องการค่ะ 3. ในช่วงหน้าหนาว หากผู้สูงวัยไม่ค่อยออกกำลังกาย การกินอาหารที่ไขมันสูงเข้าไป หัวใจจะทำงานหนักมากยิ่งขึ้นในช่วงฤดูหนาว…

  • 5 กลุ่มโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน

    5 กลุ่มโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน

    5 กลุ่มโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน เพราะในหน้าฝนมีอุณหภูมิที่เริ่มเย็นลง กับมีความชื้นในอากาศที่สูงขึ้น ด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเช่นนี้ ทำให้มีหลายโรคที่ระบาดขึ้นได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งโรคดังกล่าวก็ได้แก่ 5 กลุ่มโรคต่อไปนี้ทำควรป้องกันการติดต่อมากเป็นพิเศษ 1. กลุ่มโรคทางเดินอาหาร ทั้งท้องร่วง ไทรอยด์ บิด อาหารเป็นพิษ เกิดจากการทานอาหารที่มีเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำ อาจมีไข้และปวดบิดในท้อง หากติดเชื้อบิดก็อาจถ่ายเป็นมูกหรือมีเลือดปนออกมากับอุจจาระได้ จึงควรระวังการทานอาหารมากเป็นพิเศษ ควรทานอาหารที่สุกใหม่ ๆ และใช้ช้อนกลางด้วย 2. กลุ่มโรคติดเชื้อทางเยื่อบุผิวหนังหรือบาดแผล ที่พบได้บ่อยก็โรคฉี่หนู อาการจะมีไข้สูง ปวดหัวมาก มักปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่องและโคนขาอย่างรนแรง ตาแดง มักเกิดในที่น้ำท่วม ผู้ที่บ้านมีหนูมาก ชาวไร่ชาวสวน ผู้ที่ทำงานกับการแช่น้ำ ในที่เฉอะแฉะ หรือผู้ที่ทำงานลอกท่อระบายน้ำ ทำงานเหมืองแร่ โรงฆ่าสัตว์ คนงานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ ฯลฯ 3. กลุ่มโรคทางเดินหายใจ ได้แก่ หวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม รวมไปถึงโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีแหล่งแพร่ระบาดจากสัตว์ปีก ซึ่งเชื้ออาจข้ามสายพันธุ์กับเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในหน้าฝนได้ 4.…

  • สารพิษที่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายจากบุหรี่

    สารพิษที่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายจากบุหรี่

    สารพิษที่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกายจากบุหรี่ เหตุผลที่การสูบบุหรี่เป็นการทำลายสุขภาพนั้นก็เป็นเพราะว่าในควันบุหรี่ประกอบไปด้วยสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และมีสารก่อมะเร็งไม่ต่ำกว่า 42 ชนิด ซึ่งสารสำคัญที่อันตรายมากได้แก่ – คาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นสารที่ทำให้เม็ดเลือดไม่สามารถจับออกซิเจนได้เท่ากับเวลาปกติ หากได้รับมากเกินไปจะทำให้ขาดออกซิเจน มึนงง วิงเวียน เหนื่อยง่าย ตัดสินใจช้าและทำให้เกิดโรคหัวใจได้ – นิโคติน เป็นสารระเหยในบุหรี่ มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดการหลั่งอิพิเนฟริน จึงทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วและไม่เป็นจังหวะ หลอดเลือดที่แขนขาหดตัว ทำให้มีไขมันในเส้นเลือดเพิ่มขึ้น ซึ่งก้นกรองที่บุหรี่ไม่ได้ช่วยกรองนิโคตินให้ลดลงแต่อย่างใดเลย – ทาร์ หรือน้ำมันดินนี้จะเป็นคราบข้นเหนียวสีน้ำตาลแก่จากการเผาไห้ของกระดาษและใบยาสูบ เป็นสารก่อมะเร็งหลายชนิด และกว่าครึ่งของน้ำมันดินจะจับที่ปอดทำให้ไอเรื้อรัง มีเสมหะ ในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดนั้นกว่าร้อยละ 90 เป็นผลมาจากการสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่มากเกินวันละ 1 ซองนั้นจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าปกติถึง 5-20 เท่าเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคทางเดินหายใจ ไอเรื้อรัง ไอถี่จนนอนไม่ได้ สารทาร์ยังทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง ทำให้หายใจขัดและหอบ และอาจทำให้เสียชีวิตได้ ไม่เพียงเท่านั้น การสูบบุหรี่ยังทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ได้อีก ไม่ว่าจะเป็นโรคกระเพาะอาหาร ความดันโลหิตสูง ตับแข็ง โรคปริทนต์ โพรงกระดูกอักเสบ หลอดลมอักเสบ โรคหัวใจ…

  • แม้จะเป็นการสูบบุหรี่อย่างฉลาดแต่ก็ทำลายสุขภาพอยู่ดี

    แม้จะเป็นการสูบบุหรี่อย่างฉลาดแต่ก็ทำลายสุขภาพอยู่ดี

    แม้จะเป็นการสูบบุหรี่อย่างฉลาดแต่ก็ทำลายสุขภาพอยู่ดี ก่อนที่จะไปพูดถึงเรื่องของการสูบบุหรี่ เราควรมาทำความเข้าใจกันถึง เรื่องของระบบการหายใจของเราก่อนดีกว่า ทางเดินหายใจส่วนบนนั้นประกอบไปด้วยส่วนของ จมูก โพรงอากาศข้างจมูกและคอหอย ส่วนทางเดินหายใจส่วนล่างนั้นประกอบไปด้วย กลอ่งเสียง หลอดลมใหญ่ในคอ หลอดลมที่มีขนาดลดหลั่นกันลงมา และถุงลม เวลาที่เราหายใจเข้าไปตามปกติจะมีอาการเข้าประมาณประมาณร้อยละ 70 สู่ถุงลมเพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซ ส่วนอีกร้อยละ 30 ที่เหลือจะอยู่ในหลอดลม ทั้งควันและฝุ่นละอองต่าง ๆ ที่หายใจเข้าไปจะอยู่ในบริเวณหลอดลม ซึ่งจะขับสิ่งที่คั่งค้างออกโดยมีเมือกและขนเล็ก ๆ ดักจับเอาไว้ หากมีมากก็จะไอออกมาเป็นเสมหะ ซึ่งควันและฝุ่นละอองบางอย่างอาจตกค้างอยู่ในหลอดลมฝอยทำให้เกิดการอักเสบอ่อนเรื้อรัง ต่อมมูกก็จะโตขึ้นและหลั่งมูกมากขึ้น ทำให้หายใจไม่สะดวก เรียกว่าภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจเรื้อรัง ทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซมีปัญหา จนเกิดภาวการณ์หายใจล้มเหลวได้ คนที่สูบบุหรี่ทั้งหมดจะหายใจออกจนสุดแล้วจึงเริ่มสูดควันที่มีอากาศปนอยู่เข้าไปในหลอดลมอย่างทั่วถึง ยิ่งสูดลึกก็ยิ่งอันตรายได้มาก ยิ่งกลั้นไว้แล้วค่อย ๆ ระบายออกช้า ๆ ควันบุหรี่จะจับผนังหลอดลมนานขึ้นด้วย ซึ่งเทคนิคการสูบบุหรี่อย่างฉลาดก็คือการหายใจเข้าตามปกติแล้วค่อยสูบบุหรี่ วิธีนี้จะทำให้อากาศดีเข้าไปบรรจุอยู่ในปอดและหลอดลมฝอยจนเต็มเหลือที่ไว้ในหลอดลมใหญ่ เมื่อสูดควันเข้าไปจะกระจายไม่ทั่วปอด และจะหายใจออกมาตามปกติทันที จึงทำให้ที่ควันจะอยู่ในหลอดลมสั้นลม นอกจากนี้แล้วยังควรปฏิบัติตามนี้ด้วยได้แก่ – ไม่ควรสูบบุหรี่ในที่อับ เช่น ห้องน้ำ ห้องน้ำ หรือที่มีอาการถ่ายเทก็ตาม ควรสูบในที่โล่งแจ้งเท่านั้น – อย่าสุบบุหรี่เพราะแก้เบื่อ หรือเหงาปากหรือเคยชิน ควรหัดยืดเวลาออกไปเล็กน้อยเรื่อย…

  • หลากหลายวิธีป้องกันตนเองจากโรคทางเดินหายใจ

    หลากหลายวิธีป้องกันตนเองจากโรคทางเดินหายใจ

    หลากหลายวิธีป้องกันตนเองจากโรคทางเดินหายใจ อาการโรคทางเดินหายใจมีหลายโรคค่ะ ไม่ว่าจะเป็น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ฯลฯ เราสามารถหลีกเลี่ยงโรคเหล่านี้ได้ด้วยการดูแลตนเองดังต่อไปนี้ 1. รักษาร่างกายให้อบอุ่นเสมอ ไม่ควรเล่นน้ำหรือแช่น้ำนาน ๆ สวมใส่เสื้อผ้าที่แห้งสนิท ไม่เปียกชื้อ หากเข้าหน้าหนาวควรสวมเสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น 2. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยไข้หวัด หรือผู้ที่ป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ ปิดปากและจมูกด้วยกระดาษทิชชูหรือผ้าปิดปากหากต้องคลุกคลีหรือเข้าใจผู้เป็นโรคชนิดนี้อยู่ และไม่ควรใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกัน 3. ในช่วงที่มีโรคทางเดินหายใจระบาด ควรหมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์เช็ดมือ 4. ในเด็ก ผู้ที่มีโรคประจำตัวและผู้ที่อายุมากว่า 65 ปี รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์ เป็นโรคหัวใจ โรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง เอดส์ โรคอ้วน ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ไว้ด้วย ในส่วนของการรักษาตัวเบื้องต้นหากติดเชื้อโรคทางเดินหายใจเช่นไข้หวัดมาแล้ว ก็คือควรอยู่ห่างจากการอยู่ในที่ชุมชน อย่าคลุกคลีกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดการแพร่เชื้อ แยกเตียงนอนกับลูกหรือสามีภรรรยา ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก หรือหน้ากากอนามัย ไม่ควรไอจามใส่ผู้อื่น ล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ ควรอาบน้ำอุ่น ๆ หรือเช็ดตัวแทน แล้วดื่มน้ำมาก ๆ กินแต่อาหารที่ย่อยง่าย ดื่มน้ำ…

  • พิษภัยจากโรคถุงลมปอดโป่งพอง

    พิษภัยจากโรคถุงลมปอดโป่งพอง

    พิษภัยจากโรคถุงลมปอดโป่งพอง บุหรี่เป็นพิษต่อร่างกาย ทำให้เกิดโรคจากปอดที่เรียกว่า “โรคถุงลมปอดโป่งพอง” ได้ง่าย พบมากในผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 45-65 ปีขึ้นไป มักสูบบุหรี่กันมานานกว่า 10 ปี จนในที่สุดปอดก็พิการ ทำให้เกิดอาการเหนื่อยหอบง่าย ติดเชื้อที่ปอดซ้ำซาก นอกจากบุหรี่แล้ว ก็ยังมีสาเหตุอื่นด้วยได้แก่ มลพิษในอากาศ ควันไฟหุงต้มอาหารที่ก่อไฟในที่ขาดอาการถ่ายเท เป็นต้น อาการของโรคถุงลมปอดโป่งพอง ก็คือ ระยะแรกจะมีอาการหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ไอหนัก ไอมีเสมหะเป็นแรมเดือนแรมปี ไอหรือขาดเสมหะในคอหลังจากตื่นนอนตอนเช้า และไอถี่ขึ้นเป็นตลอดทั้งวัน เสมหะช่วงแรงจะมีสีขาวและกลายเป็นเหลืองหรือเขียว มีไข้หรือหอบเหนื่อยเป็นครั้งคราว หากผู้ป่วยยังไม่เลิกสูบบุหรี่ ก็จะยิ่งมีอาการเหนื่อยง่ายมากขึ้น แม้เวลาเดิน พูด หรือทำกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ และหากเป็นเช่นนี้ต่อไป จะรุนแรงขึ้นจนแม้อยู่เฉย ๆ ก็เหนื่อยหอบ เพราะถุงลมปอดพิการอย่างรุนแรง ไม่สามารถแลกเปลี่ยนอากาศนำออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้แล้ว ในระยะสุดท้ายผู้ป่วยจะเบื่ออาหาร จนน้ำหนักลด หอบตลอดเวลา และทุกข์ทรมานมาก การรักษาโรคถุงลมปอดโป่งพองนั้น แพทย์จะรักษาตามความรุนแรงของโรค โดยทั่วไปจะให้ยาขยายหลอดลมเพื่อสูดพ่น ต่อมาก็อาจจ่ายเป็นยาสเตียรอยด์ชนิดสูดพ่นด้วย หากมีการติดเชื้อก็จะให้ยาปฏิชีวนะ สำหรับรายที่หอบรุนแรง ปอดอักเสบแพทย์ก็จะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาลเพราะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ต้องให้ออกซิเจน โรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง…

  • หัวไชเท้า..กินก็อร่อย แถมเป็นยาได้อีกด้วยนะ

    หัวไชเท้า..กินก็อร่อย แถมเป็นยาได้อีกด้วยนะ

    หัวไชเท้า..กินก็อร่อย แถมเป็นยาได้อีกด้วยนะ พืชผักผลไม้ หรืออาหารที่เราทานกันเป็นประจำ หลายชนิดเลยทีเดียวที่นอกจากมีสารอาหารบำรุงร่างกายให้แข็งแรงแล้ว ก็ยังมีฤทธิ์ทางยาอีกด้วย ซึ่งโดยมากมักเป็นภูมิปัญญาโบราณที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ วันนี้ลองมาดูสรรพคุณทางยาของหัวไชเท้า หาซื้อได้ง่าย ราคาไม่แพง แล้วยังปลอดภัยอีกด้วยค่ะ 1. ตามตำราของอินเดียการทานหัวไชเท้า ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้นแล้วระงับอาการทางประสาทแบบอ่อน ๆ ได้ดี 2. ตามตำราของเกาหลี ส่วนของหัวไชเท้าที่เหมาะนำมาทานเป็นยาก็คือส่วนของหัว ที่มีรสหวานเผ็ด และมีฤทธิ์เย็นเล็กน้อยนั่นเอง ดีต่อปอดและกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหารได้ ลดความดันโลหิต แล้วยังถอนพิษไข้ ละลายเสมหะได้ดี 3. สำหรับผู้สูงอายุที่มีอาการทางหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ไอ แน่นหน้าอก และมีเสมหะมาก หากได้ทานหัวไชเท้าบ่อย ๆ จะช่วยบรรเทาอาการได้ ทั้งยังช่วยบรรเทาโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ รวมทั้งลดความอยากอาหารที่มากเกินควรด้วย 4. หัวไชเท้าที่นำมาสกัด ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย รักษาโรคบิด เลือดกำเดาไหล ปวดศีรษะ ไอมีเสมหะ อาหารไม่ย่อยได้ดี เพียงดื่มหัวไชเท้าสกัดสด ๆ วันละ 30-90 มิลลิกรัม หรือจะนำเอาหัวไชเท้าตากแห้งมาต้มดื่มวันละ 10-30 กรัมก็ได้ผลเช่นเดียวกัน หลังจากนี้ไปเวลาทางหัวไชเท้า เราคงไม่ได้มองเป็นแค่อาหารอร่อย ๆ…

  • บำบัดปอดด้วยความร้อน ช่วยลดอาการกำเริบของโรคหอบหืดได้

    บำบัดปอดด้วยความร้อน ช่วยลดอาการกำเริบของโรคหอบหืดได้

    บำบัดปอดด้วยความร้อน ช่วยลดอาการกำเริบของโรคหอบหืดได้ โดยปกติแพทย์จะแนะนำผู้ป่วยโรคหอบหืดในผู้ใหญ่ ให้พ่นยาขยายหลอดลมวันละครั้งหรือสองครั้ง เพื่อขยายหลอดลมและช่วยลดปริมาณของเสมหะ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยนั้นหายใจได้ง่ายขึ้น ซึ่งวิธีนี้จะใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์แบบพ่น และยังเป็นวิธีที่แพทย์ทั่วโลกแนะนำให้ใช้กัน และยังเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด ถึงแม้อาการยังไม่กำเริบก็ตาม อาการหอบหืดกำเริบเกิดจากหลอดลมในปอดอักเสบและบวม มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดอาการอักเสบนี้ บางอย่างเป็นปัจจัยทางพันธุกรรม บางอย่างเกิดจากสิ่งเเวดล้อม ฝุ่น มลพิษทางอากาศหรือแม้แต่ควันไฟอาจทำให้อาการหอบหืดกำเริบได้ ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง และในช่วงเปลี่ยนฤดูกาลต่างๆ อาจมีปริมาณฝุ่นผงกระจายในอากาศเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยหอบหืดอาจมีอาการกำเริบได้ แต่ปัจจุบันแพทย์ได้คิดค้นวิธีการบำบัด ให้ผู้ป่วยในผู้ใหญ่ใช้ยาพ่นได้น้อยลง โดยการที่ควบคุมขนาดยา และดูความเหมาะสมต่อการใช้ยา กับแต่ละบุคลที่เป็นนั้นๆ จากการสำรวจโดยวิธีการต่างๆ แพทย์ก็ได้พบว่า ผู้ป่วยกลุ่มที่ใช้ยาพ่นเฉพาะตอนอาการหอบหืดกำเริบ ได้ผลในการรักษาดีเท่าๆกับผู้ป่วยกลุ่มอื่น แต่กลับใช้ยาสเตียรอยด์น้อยกว่าถึงครึ่งหนึ่ง ในขณะเดียวกัน การทดลองรักษาผู้ป่วยหอบหืดวิธีใหม่ที่ไม่ใช้ยา เรียกว่าการใช้ความร้อนในกล้ามเนื้อปอด ได้ผลน่าพอใจและสร้างความหวังใหม่แก่ผู้ป่วย การรักษานี้เป็นการบำบัดด้วยความร้อนบริเวณผนังปอดและหลอดลมในปอดเพื่อลดความหนาของกล้ามเนื้อรอบๆหลอดลม ระหว่างการบำบัดหลอดลมด้วยความร้อนนี้ แพทย์จะสอดท่อเข้าไปในหลอดลมผู้ป่วยเพื่อเป็นตัวกระจายความร้อนเข้าไปในกล้ามเนื้อรอบๆหลอดลม ผู้ป่วยต้องพบแพทย์ทั้งหมดสามครั้งและแต่ละครั้งแพทย์จะบำบัดปอดในส่วนที่แตกต่างกันออกไป ผู้ป่วยหลายรายอาการดีขึ้นมากภายหลังพบแพทย์ครั้งที่สอง แต่ด็อกเตอร์คาทรีกล่าวว่านั่นไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยจะหายจากโรค แต่พบว่าอาการกำเริบรุนแรงน้อยลงและระยะเวลากำเริบจะสั้นลงด้วย