Tag: สารตะกั่ว

  • พิษอันตรายจากสารตะกั่ว

    พิษอันตรายจากสารตะกั่ว

    พิษอันตรายจากสารตะกั่ว ตะกั่ว เป็นโลหะชนิดอ่อนที่สามารถพบได้ในธรรมชาติ เป็นโลหะที่มนุษย์สนใจความเป็นพิษของมันมากที่สุด เพราะมีการนำเอาตะกั่วมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมแบตเตอรี่รถยนต์, ตะกั่วอินทรีย์เป็นสารเคมีที่ใช้เติมน้ำมันเบนซิน, อุตสาหกรรมสีและสารเคมี, สารฆ่าแมลงจากตะกั่วอาร์เซนเนทในผสมสีทาอาคาร, สีที่ผสมในของเด็กเล่น, สีสำหรับวาดภาพ, สีที่ใช้พิมพ์ในหนังสือพิมพ์ วารสารต่าง ๆ ฯลฯ ต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้มนุษย์ทุกคนมีโอกาสสัมผัสกับตะกั่วได้แทบทุกวัน นอกจากนี้แล้วยังมีการนำเอาตะกั่วออกไซด์มาใช้เป็นเครื่องสำอางค์ด้วย กองพิษวิทยาเคยตรวจพบแป้งโยตัวเด็กมีตะกั่วปนอยู่ถึงร้อยละ 74 อันตรายต่อเด็กมาก อีกทั้งคนทั่วไปยังได้รับสารตะกั่วจากท่อไอเสียรถยนต์ อาหาร น้ำ สิ่งแวดล้อมอื่นๆ ตะกั่วเป็นโลหะที่ไม่จำเป็นในกระบวนการดำรงชีวิต จึงมีการกำหนดมาตรฐานป้องกันสารตะกั่วปนเปื้อนในอากาศ น้ำและอาหาร เพื่อความปลอดภัยของประชากรหลายประเทศและประเทศไทยด้วย พิษเรื้อรังของตะกั่วนั้นจะแสดงอาการออกมาหลังจากได้รับตะกั่วทีละน้อย อาจใช้เวลาเป็นปีกว่าจะแสดงอาการ ตะกั่วนั้นเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะไปจับกับเม็ดเลือดแดง แทนที่เหล็กซึ่งใช้ในการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้เกิดอาการโลหิตจาง ปริมาณเหล็กในน้ำเหลืองเพิ่มผิดปกติ ตะกั่วบางส่วนจะไปสะสมในกระดูก ทำให้มีอาการปวดตามข้อ กระดูกผุและหักง่าย หากสะสมที่รากฟันทำให้เห็นสีม่วงหรือสีดำที่เหงือก ทำให้ฟันหลุดได้ง่าย นอกจากนี้แล้วยังสะสมในไขมัน ระบบประสาท น้ำเหลือง ตับไต อาการพิษเรื้อรังที่พบได้บ่อย ๆ ก็คือ ปวดท้อง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก…

  • องค์การอนามัยโลก ชี้ให้เห็นถึงความรุนแรงของสารตะกั่ว พร้อมกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องนี้

    องค์การอนามัยโลก ชี้ให้เห็นถึงความรุนแรงของสารตะกั่ว พร้อมกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องนี้

    องค์การอนามัยโลก ชี้ให้เห็นถึงความรุนแรงของสารตะกั่ว พร้อมกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องนี้ องค์การอนามัยโลกชี้ว่าพิษของสารตะกั่วมีผลกระทบทางสุขภาพรุนแรงมากโดยเฉพาะในเด็กโดยมีผู้คนได้รับสารพิษนี้เข้าสู่ร่างกายถึงปีละมากกว่าแสนรายทั่วโลกและอย่างน้อยหกหมื่นคนเป็นเด็ก ผู้เชี่ยวชาญประมาณกันว่ามีคนเสียชีวิตจากพิษสารตะกั่วปีละ 143,000 คนทั่วโลก โดยผู้ได้รับพิษสารตะกั่วรายใหม่เป็นเด็กๆราวหกหมื่นคนต่อปีโดยมีผลกระทบต่อความสามารถทางปัญญาของเด็ก สาเหตุของการได้รับสารตะกั่วส่วนมากเกิดจากการใช้สีทาบ้านที่มีสารตะกั่วผสมอยู่ องค์การอนามัยโลก ถือว่าพิษของสารตะกั่วเป็นหนึ่งในบรรดาสารพิษสิบประเภท อันดับต้นๆที่สร้างปัญหาสาธารณสุข พิษสารตะกั่วน่ากังวลอย่างมาก เนื่องจากกระทบต่อเด็กและทารกในครรภ์ นอกจากนี้ ผู้ใหญ่ยังได้รับสารตะกั่วผ่านการทำงานในโรงงานและสร้างปัญหาใหญ่แก่คนในประเทศกำลังพัฒนา แต่ปัญหานี้ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาเท่านั้น ปัญหาการได้รับสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายเป็นปัญหาใหญ่ในเกือบทุกประเทศ ในบางประเทศ ยังมีการใช้สีทาบ้านที่มีสารตะกั่วผสมอยู่ ทำให้มีบ้าน โรงเรียนและอาการที่ทาด้วยสีที่ผสมตะกั่วเพิ่มจำนวนขึ้นทุกปี แม้เเต่ในประเทศพัฒนา แล้วก็เคยมีการใช้สีทาอาคารบ้านเรือน ที่มีสารตะกั่วปนอยู่เมื่อหลายสิบปีก่อน และหากมีการปรับปรุงตัวบ้านและอาคาร กิจกรรมเหล่านี้จะทำให้สีกลายเป็นฝุ่นผงตะกั่วที่สามารถเข้าไปในร่างกายของผู้คนและของเด็กๆได้ องค์การอนามัยโลก กล่าวว่า การห้ามใช้สารตะกั่วในน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์ช่วยลดจำนวนผู้ที่ได้รับสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายทั่วโลกลง ซึ่งทำให้เชื่อว่าการห้ามนี้มีผลดีและในขั้นต่อไป ทั่วโลกมีบริษัทผู้ผลิตเเละขายเม็ดสีอยู่จำนวนหนึ่งและการแก้ปัญหานี้ น่าจะทำได้ด้วยการกระตุ้นให้บริษัทผู้ผลิตเม็ดสีเหล่านี้ ยุติการใช้สารตะกั่วในการผลิตเม็ดสีและหันไปใช้เม็ดสีที่ไร้สารตะกั่วเพียงอย่างเดียวเท่านั้น และในขั้นต่อไป คือการให้ความรู้แก่ผู้ผสมสี ถึงอันตรายจากสีทาบ้านที่มีส่วนผสมของตะกั่ว เพื่อให้พวกเขาหันไปใช้สีทาบ้านที่ไม่มีตะกั่วผสมและขั้นสุดท้ายคือการกระตุ้นให้รัฐบาลในประเทศ ต่างออกกฏหมายคบคุมดูแลเพื่อห้ามการใช้สารตะกั่วในสีทาบ้านและสีทาตกแต่งต่างๆ อย่างน้อยสามสิบประเทศทั่วโลกได้ยกเลิกการใช้สีทาบ้านผสมตะกั่วในประเทศตนเองเเล้ว องค์การอนามัยโลก โครงการทุนเพื่อสิ่งเเวดล้อมแห่งสหประชาติและโครงการความร่วมมือระดับทั่วโลกเพื่อยุติการใช้สีทาบ้านผสมตะกั่ว (Global Alliance to Eliminate Lead Paint) ได้ร่วมกันตั้งเป้าเอาไว้ว่าจะขยายจำนวนประเทศที่ยกเลิกการใช้สีทาบ้านที่ผสมตะกั่วให้เป็น 70 สิบประเทศภายในอีกสองปีข้างหน้า