Tag: สวดมนต์

  • สวดมนต์ช่วยเยียวยารักษาโรคได้

    สวดมนต์ช่วยเยียวยารักษาโรคได้

    สวดมนต์ช่วยเยียวยารักษาโรคได้ การสวดมนต์นั้นเป็นเครื่องช่วยนำสู่สมาธิได้ ทำให้ผู้สวดจดจ่ออยู่กับบทสวด ใจไม่ฟุ้งไปที่อื่นจึงเกิดสมาธิได้ง่ายมาก เมื่อร่างกายเข้าสู่สมาธิจะหลั่งสารที่กระตุ้นระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้จิตใจและร่างกายมีความผ่อนคลาย สร้างภูมิต้านทานได้ดีขึ้น เมื่อเจ็บป่วยก็จะดีขึ้นตามลำดับ ช่วยบำบัดอาการเจ็บป่วยและเยียวยารักษาโรคได้มากมายไม่ว่าจะเป็น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน ซึมเศร้า มะเร็ง ไมเกรน ออทิสติก โรคอ้วน นอนไม่หลับ พาร์กินสัน ฯลฯ ซึ่งสามารถทำได้หลายแบบได้แก่ 1. สวดมนต์ด้วยตนเอง อาจตื่นมาสวดตอนเช้าหรือก่อนเข้านอน แต่ไม่ควรสวดหลังกินอาหารทันที อาจสวดบทสั้น ๆ ใช้เวลาประมาณ 10-15 นาทีก็จะทำให้ร่างกายหลั่งสารซีโรโทนินออกมา หากสวดบทยาวจะช่วยให้ผ่อนคลายและเกิดความศรัทธา ขณะสวดมนต์ให้หลับตาสวดให้เกิดเสียงดังให้ตัวเองได้ยิน 2. การสวดให้ผู้อื่นฟัง อาจเป็นการฟังพระสวด หรือเปิดเทปฟัง ยิ่งหากผู้สวดมีสมาธิ เสียงจะนุ่มและทุม ทำให้เกิดคลื่นที่ช่วยเยียวยาผู้ฟังได้ แต่หากผู้สวดไม่มีสมาธิหรือไม่มีความเมตตาจะไม่ช่วยเยียวยาอาการป่วยเลย 3. การสวดมนต์ให้แก่ผู้อื่น เป็นการส่งความปรารถนาดีไปสู่ผู้ป่วยจากคลื่นที่เป็นบวก เมื่อเราคิดจะส่งสัญญาณนี้ออกไปสู่ที่ไกล ๆในรูปของคลื่นไฟฟ้า ช่วยเยียวยารักษาผู้อื่นได้ บทสวดมนต์นั้นมีอยู่มากมาย สามารถเลือกบทที่ชอบสวดได้ตามต้องการ เลือกบทที่สวดแล้วสบายใจอย่างอิติปิโสก็ได้ แล้วสวดเท่าอายุ หรือหากต้องการให้ตัวเองหรือผู้อื่นหายเจ็บป่วย นิยมสวดโพชฌงค์เจ็ด ซึ่งมีความแตกต่างจากบทอื่น…

  • แนวทางการรักษาแบบประคับประคอง นอกเหนือจากแพทย์แผนปัจจุบัน

    แนวทางการรักษาแบบประคับประคอง นอกเหนือจากแพทย์แผนปัจจุบัน

    แนวทางการรักษาแบบประคับประคอง นอกเหนือจากแพทย์แผนปัจจุบัน สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว หากพูดถึงเรื่องความตายขึ้นมา ก็มักจะเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงกัน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความกลัวการตาย กลัวความเจ็บปวด กลัวภาวะความโดดเด่นจากความตาย กลัวว่าไม่รู้ว่าตายแล้วไปไหน ดังนั้นจึงมักจะหวังกันว่าเมื่อเวลาเจ็บป่วยใกล้ตายเข้าจริง ๆ แล้วคงจะได้รับการดูแลมิให้ต้องทุกข์ทรมาน แม้แพทย์และพยายามจะมีจรรยาบรรณที่ได้รับการปลูกฝังมาว่าจะดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มความสามารถ แม้หมดหวังกจะคงให้การรักษาต่อไปอย่างประคับประคองแม้จะรู้กันดีกว่าหมดหวังแล้วก็ตาม ซึ่งในปัจจุบันนี้ผู้ป่วยมีสิทธิอีกประการหนึ่งที่สามารถทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์รับการบริการสาธารณสุขเพียงเพื่อยืดชีวิตไว้ในวาระสุดท้าย หรือเพื่อยุติความทรมานจากการเจ็บป่วย ตามมาตรา 12 ของ พรบ.สุขภาพแห่งชาติปี 2550 โดยมีเจตนาให้ผู้ป่วยได้กำหนดชะตาชีวิตของตนเอง เพื่อให้แพทย์และญาติมิตรได้ใช้เวลาที่เหลือในการดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และลดขั้นตอนการรักษาที่ไม่เกิดประโยชน์ นำไปสู่มุมมองใหม่ของการรักษาผู้ป่วยระยะสุดท้ายจากแพทย์และพยาบาลที่มีความเข้าใจเรื่องชีวิตและความตายมากขึ้น จึงได้มีการเชื่อมโยงวิธีการรักษาทางจิตวิญญาณเข้ามา แต่ก็ยังคำนึงถึงวิธีการที่จะบรรเทาไม่ให้ผู้ป่วยได้รับความทุกข์ทรมานอยู่ดี เป็นการรักษาแบบประคับประคองหรือการบำบัด ที่สำคัญ เมื่อพบว่าผู้ป่วยอาจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แล้ว ซึ่งแนวทางการรักษานอกเหนือจากแพทย์แผนปัจจุบันนี้ได้แก่การนำเอาวิทยาการต่างๆ เข้ามาช่วย ไม่ว่าจะป็น การใช้ศิลปะบำบัด การสวดมนต์ ดนตรีบำบัด การฟังธรรม การทำสมาธิ ขึ้นอยู่กับความเชื่อและความศรัทธาของผู้ป่วยในทุกศาสนาให้สามารถยอมรับความจริงของชีวิตยามเมื่อความตายคืบคลานมาเยือนแล้วได้ โดยมีตัวอย่างมาแล้วว่าผู้ป่วยจำนวนหนึ่งสามารถลดความทรมานลงได้เมื่อได้ยินเสียงพระสวด หรือฟังเสียงสวดมนต์ที่ได้เคยสวดประจำ แล้วยังมีการน้อมนำให้ผู้ป่วยได้ขอขมาพระรัตนตรัย พ่อแม่ ผู้มีพระคุณ นำการแผ่เมตตา การให้ผู้ป่วยและญาติมิตรและผู้ที่เกี่ยวข้องได้กล่าวอโหสิกรรมซึ่งกันและการเป็นต้น ความตายนั้นเป็นธรรมดา แต่เมื่อถึงเวลาที่ตนเองต้องเดินทางไกลจริง ๆ แล้ว บางครั้งก็เป็นเรื่องยากที่จะยอมรับได้ จึงจำเป็นที่ผู้รักษาและญาติมิตรต้องส่งผู้ป่วยไปอย่างสงบและทรมานน้อยที่สุดค่ะ