Tag: วัยทอง
-
ผู้หญิงวัยทอง อ้วนง่ายขึ้นนะจ๊ะ
ผู้หญิงวัยทอง อ้วนง่ายขึ้นนะจ๊ะ ในผู้หญิงวัยทองเมื่อฮอร์โมนหมดไปแล้วจะมีอาการหงุดหงิดได้ง่าย อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับและใจสั่น ซึ่งอาการก็ไม่ได้รุนแรงมากนัก แต่สิ่งที่รุนแรงกว่าคือโรคเรื้อรังที่เกิดจากวัยหมดประจำเดือน เกิดจากความชราภาพของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายตามกระบวนการธรรมชาติ ซึ่งฮอร์โมนก็เป็นส่วนหนึ่งด้วย หากร่างกายมีภาวะอ้วนน้ำหนักเกิน ความเสี่ยงก็จะยิ่งสูงขึ้นไปอีกที่จะเป็นโรคความดันโลหิต เบาหวาน ไขมันเลือด โรคมะเร็ง โรคหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาตได้ง่ายมากยิ่งขึ้นด้วย ในช่วงวัยหมดประจำเดือนจึงต้องเป็นช่วงเวลาที่ควบคุมการเพิ่มของน้ำหนักอย่างเข้มงวด เพราะเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุของโรคร้ายแรงที่อาจคร่าชีวิตก่อนวัยอันควรได้ ในวัยอื่นนั้น ปัจจัยที่ทำให้ร่างกายมีความอ้วนน้ำหนักเกินขึ้นอยู่กับการทานอาหารเป็นสำคัญ แต่ในวัยหมดประจำเดือน บางครั้งแม้จะควบคุมอาหารอย่างเต็มที่แล้วก็ยังไม่สามารถควบคุมน้ำหนักไว้ได้ ซึ่งทางที่ดีที่สุดก็คือควรควบคุมไว้ตั้งแต่วัยก่อนหมดประจำเดือน ในสังคมคนเมืองปัจจุบันนี้อาหารการกินกลับเริ่มแย่ลง คนเรากินอาหารฟาสต์ฟู้ดที่มีไขมันสูง ไม่มีคุณค่าทางอาหารมากขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนได้ง่าย จริงอยู่ว่าเราอาจไม่สามารถทำอาหารทานเองได้ทุกมื้อ แต่เป็นไปได้ก็ควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ มีไขมันต่ำ มีรสหวานน้อย ๆ เค็มน้อย ๆ แล้วทานผักผลไม้ให้มากขึ้น ก็จะช่วยลดความเสี่ยงได้ตั้งแต่วัยก่อนหมดประจำเดือน ในส่วนของการออกกำลังกาย อย่างน้อยที่สุดควรให้ร่างกายได้ออกกำลังกายบ้าง แต่ละวันให้มีเวลาเดินเล่นอย่างน้อย 30-60 นาที จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นมาก ควรเดินในเวลาที่มีแดดอ่อน ๆ อย่างช่วงเช้า ช่วงเย็น การตากแดดอ่อน ๆ จะช่วยให้ผิวหนังได้รับวิตามินดี ทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้อีกด้วย เพราะเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันรุดหน้าไปมาก…
-
อาการวัยทองในเพศชายเป็นอย่างไร
อาการวัยทองในเพศชายเป็นอย่างไร ผู้ชายก็มีอาการวัยทองเหมือนกันนะคะ ไม่ใช่แต่ผู้หญิงเท่านั้น ผู้ชายวัยทองนั้นจะอยู่ในกลุ่มอาการที่เรียกว่า aging male syndrome จะเกิดขึ้นในช่วงอายุตั้งแต่ 35-65 ปี แต่จะพบได้บ่อยในช่วง 40-55 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในร่างกายลดต่ำลง ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะมีผลกับแรงขับทางเพศ การผลิตสเปิร์ม การสร้างกล้ามเนื้อและกระดูก บางคนอาจลดลงมาก บางคนก็ลดลงน้อย และมีอาการแสดงออกมาหลายแบบได้แก่ – รู้สึกอ้วนขึ้น มีไขมันมากขึ้น กล้ามเนื้ออ่อนแรง กระดูกเปราะ กระดูกเสื่อม ผมร่วง – ปัสสาวะบ่อยขึ้น – โกรธ หงุดหงิดง่าย – มีความสนใจในเรื่องเพศน้อยลง – มีปัญหาเรื่องความจำและสมาธิ – ความมั่นใจในตัวเองลดลง ขาดพลังในการทำงาน ขาดแรงจูงใจ – นอนไม่หลับ นอนไม่เป็นเวลา นอนน้อยลง อาการเหล่านี้บางคนก็เป็นหลายอาการ บางคนก็เป็นเฉพาะไม่กี่อย่าง และมีความมากน้อยแตกต่างกันไป หากอาการเหล่านี้ทำให้ท่านต้องทุกข์ทรมาน หรือมีผลกระทบกับการใช้ชีวิตและความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ก็ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอรับคำปรึกษานะคะ
-
เร่งสร้างและสะสมมวลกระดูก…ป้องกันโรคกระดูกพรุนกันเถอะ
เร่งสร้างและสะสมมวลกระดูก…ป้องกันโรคกระดูกพรุนกันเถอะ ผู้หญิงที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปแล้ว พบว่ากว่า 1 ใน 3 นั้นมีภาวะกระดูกพรุน ซึ่งก็คือภาวะที่กระดูกความเปราะบางและแตกหักได้ง่าย ส่งผลกระทบที่เลวร้ายต่อการดำเนินชีวิตมาก อาจประสบความทุกข์ทรมานและบางกรณีอาจทำให้เสียชีวิตได้ โรคนี้จึงถือเป็นโรคที่มีความร้ายแรงโรคหนึ่งที่เราจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อป้องกันตนเอง โดยธรรมชาตินั้นร่างกายคนเราจะมีการสร้างสิ่งที่สูญเสียหรือสึกหรอขึ้นมาทดแทนเสมอ แต่หญิงที่สูงอายุ วัยทองที่หมดประจำเดือน ผู้ที่ขาดสารอาหาร ดื่มเหล้าสูบบุหรี่จัด ไม่ออกกำลังกาย หรือใช้ยาสเตียรอยด์เป็นประจำ คนเหล่านี้จะมีสูญเสียมวลกระดูกเร็วกว่าการสร้างขึ้นใหม่ และในที่สุดก็ทำให้กระดูกเปราะบางลงและหักแตกได้ง่ายแม้ได้รับแรงกระแทกเพียงเล็กน้อย สัญญาณเตือนของภาวะกระดูกพรุนอาจสังเกตได้จากร่างกายที่เตี้ยลง ปวดหลังเรื้อรัง หลังค่อม แต่ก็ไม่ทุกราย บางรายไม่มีสัญญาณเตือนเลยจนกระทั่งกระดูกเกิดหักขึ้นมา หากเป็นกระดูกข้อใหญ่หรือสำคัญอย่างกระดูกสะโพก กระดูกสันหลังจะทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน และอาจทำให้ผู้สูงอายุเสียชีวิตได้กว่าร้อยละ 20 หลังจากสะโพกหักได้หนึ่งปี พบว่าผู้ที่ดื่มน้ำอัดลมนั้นมีโอกาสกระดูกพรุนมากกว่าผู้ที่ไม่ดื่มถึงห้าเท่า เพราะในน้ำอัดลมมีทั้งคาเฟอีน กรดฟอสฟอรัส น้ำตาล และโซดาทั้งหลาย เป็นตัวการสำคัญที่เข้าไปขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม กลไกร่างกายต้องดึงแร่ธาตุจำนวนมากออกจากกระดูก น้ำอัดลมจึงเป็นอีกสาเหตุสำคัญของภาวะกระดูกพรุน ในปัจจุบันนี้ยังมีวิธีรักษา ได้แต่เพียงยับยั้งการสูญเสียมวลกระดูกและรักษาไปตามอาการเท่านั้น ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดก็คือควรเร่งสร้างและสะสมมวลกระดูกไว้ตั้งแต่วัยเด็ก ด้วยการดูแลร่างกายดังนี้ 1. ดื่มนมและอาหารที่มีแคลเซียม 2. ออกกำลังกายเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูกไว้เสมอ 3. งดการสูบบุหรี่ 4. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ 5. หมั่นออกไปรับแสงแดดอ่อนตอนเช้าและตอนเย็น เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินดี…
-
การดูแลตนเอง…เพื่อเตรียมรับสภาวะวัยทอง
การดูแลตนเอง…เพื่อเตรียมรับสภาวะวัยทอง ช่วงวัยทอง คือ ช่วงวัยที่อยู่ระหว่างวัยเจริญพันธุ์ และวัยชรา ร่างกายจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงด้วยการเสื่อมสภาพลง ไม่ว่าจะเป็น รังไข่ที่เริ่มเสื่อมลง การสร้างฮอร์โมนก็จะค่อย ๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ จนกว่ารังไข่จะหยุดทำงาน ประจำเดือนจึงค่อยๆ หมดลงอย่างถาวร ช่วงระยะนี้จะมีอายุไม่เกิน 50 ปี โดยเฉลี่ย หากประจำเดือนหมดก่อนอายุ 45 ปีถือว่าหมดเร็ว แต่หากหมดหลังอายุ 55 ปีถือว่าหมดช้า ทั้งสองกรณีมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น และมีปัญหาต่อสุขภาพด้านอื่น ๆ ด้วย อาการวัยทอง จะเกิดกับผู้หญิงที่หมดประจำเดือนโดยมีอายุเฉลี่ยประมาณ 50 ปี มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ร้อนวูบวาบบริเวณหน้าอก ลำคอ ใบหน้า ใจสั่น นอนไม่หลับ เหงื่อออก ความต้องการทางเพศลดลง ฯลฯ แต่หากมีการเตรียมตัวดูแลสุขภาพอย่างดี ตั้งแต่อายุเข้าสู่วัยทอง ก็จะทำให้คุณภาพการใช้ชีวิตดีขึ้นมาก หลักการดูแลตนเองเพื่อรับมือกับอาการวัยทองได้แก่ 1. ดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน อย่างปล่อยให้อ้วนหรือผอมเกินไป หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสู หวานจัด หรือเค็มจัด ทุกมื้อทานอาหารที่มีประโยชน์ และให้หลากหลาย…
-
การดูแลสุขภาพของสาวใหญ่วัย 40 ปีขึ้นไป
การดูแลสุขภาพของสาวใหญ่วัย 40 ปีขึ้นไป หญิงสาวที่อายุเข้า 40 ปีขึ้นไปนั้นจะเริ่มมีภาวะที่ขาดฮอร์โมนเพศหญิงจึงส่งผลกระทบอย่างมากต่อร่างกาย จิตใจ อารมณ์ รวมทั้งเกิดอาการต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ที่พบเห็นได้บ่อย ๆ ก็ได้แก่ – ประจำเดือนมาไม่คงที่ บางช่วงก็มาแบบถี่ ๆ บางทีก็ทิ้งช่วงหลายเดือน สลับกับมาสม่ำเสมอ บางคนก็มีเลือดออกแบบแปลก ๆ อาจมามากสลับกับปกติ หรือมีห้วงเวลาที่แปรปรวน ร้อนวูบวาบ และจะมีความเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในระยะ 2-3 ปีแรกที่ประจำเดือนหมด โดยอาจมีเวลาที่สั้นยาวแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่จะเบาบางลงในระยะเวลาประมาณ 1-2 ปี – นอนไม่หลับ หรือนอนหลับยาก ตื่นบ่อย ตื่นกลางดึก ตื่นเช้ากว่าปกติ หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า – ปัญหาของช่องคลอดที่เกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง จึงทำให้เนื้อเยื่อของผนังช่องคลอดบางลง มีความยืดหยุ่นและสารหล่อลื่นลดลง เมื่อร่วมเพศจึงรู้สึกแสบ เจ็บไม่ค่อยสะดวกนัก – เมื่อเข้าสู่วัยทอง การผลิตคอลลาเจนก็จะลดลงด้วย ผิวหนังของสาววัยหมดประจำเดือนจึงเริ่มบางลง ยืดหยุ่นตัวลดลง ผิวแห้งและเห็นรอยเหี่ยวย่นมากขึ้น – ภาวะกระดูกพรุน…
-
สาววัยทองและอาหารที่เหมาะสมกับร่างกาย
สาววัยทองและอาหารที่เหมาะสมกับร่างกาย ผู้ที่มีอายุเข้าวัยทองหรือมีอายุตั้งแต่ 40-45 ปี อันเป็นรอยต่อระหว่างช่วงวัยกลางคนและวัยชรานั้น หลายคนจะมีความเปลี่ยนแปลงในทั้งร่างกายและจิตใจอันมีสาเหตุมาจากการลดลงของการผลิตฮอร์โมนเพศในผู้หญิง ซึ่งสิ่งที่ร่างกายแสดงออกมานั้นจะทำให้รู้สึกไม่ค่อยสบายตัวเท่าไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประจำเดือนที่ไม่สม่ำเสมอ บางเดือนก็มากเกินพอดี หงุดหงิดแต่ก็เหนื่อยง่าย เหงื่อมักออกจนชุ่มตัวในเวลากลางคืน ร้อนวูบวาบ นอนไม่ค่อยหลับ หรือหลับได้ยาก ขี้โมโห ขี้ลืม ฉี่บ่อย ยิ่งเวลาไอหรือจามก็อาจเล็ดออกมา อีกทั้งช่องคลอดยังแห้ง ปวดแสบปวดร้อนหรือเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ รวมไปถึงในระยะยาวอาจมีอาการของโรคกระดูกพรุน โรคหลอดเลือดหัวใจและไขมันในเลือดสูงด้วย ซึ่งได้มีนักวิจัยได้ทำการค้นพบว่า หญิงที่อายุเข้าสู่วัยทองนี้เมื่อได้ทานอาหารที่มีโปรตีนจากถั่วเหลือจำนวน 25 กรัมเป็นเวลา 3 เดือนแล้ว ผลที่จะได้สามารถลดระดับของ LDL ในเลือดได้ถึง 18% และค่าของไขมันดี ๆ หรือ HDL เพิ่มขึ้นถึง 20% ทำให้อาการวัยทองดังกล่าวข้างต้นลดลงได้ หญิงวัยทองจึงมีสุขภาพกายและจิตที่ดีขึ้น ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าผู้ที่กำลังจะเข้าสู่ช่วงอายุวัยทองนี้ควรทานอาหารที่ประกอบด้วยถั่วเหลืองเป็นส่วนสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น นมถั่วเหลือง เต้าหู้ชนิดต่าง ๆ ไส้กรอกเจ หรือเนื้อสัตว์เทียมที่ทำจากถั่วเหลือง ไอศกรีมที่ทำจากถั่วเหลือง คัสตาร์ด หรือขนมที่มีไส้ถั่วเหลือง เป็นต้น นอกจากนี้แล้วสาวที่อายุเข้าวัยทองยังควรดูแลร่างกายดังต่อไปนี้ด้วย – ทานอาหารอย่างหลากหลาย เลือกทานโปรตีนที่มีไขมันต่ำ…