Tag: ล้างไต

  • อันตรายของมะเฟืองที่มีต่อผู้ป่วยโรคไต

    อันตรายของมะเฟืองที่มีต่อผู้ป่วยโรคไต

    อันตรายของมะเฟืองที่มีต่อผู้ป่วยโรคไต การกินมะเฟืองมากเกินไป มีผลต่อร่างกายถึงขั้นทำให้ไตวายเฉียบพลันได้ ซึ่งนี่เป็นข้อมูลจาก รศ.นพ. ม.ล. ชาครีย์ กิติยากร ซึ่งเป็นอายุรแพทย์หน่วยโรคไต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้กล่าวว่า ปัจจุบันนี้มีบทความที่เผยแพร่ผ่านเสื่อต่าง ๆ มากมาย ชักชวนให้มากินมะเฟืองสดกัน โดยระบุว่าช่วยรักษาโรคและลดน้ำตาลในเลือดได้ ทำให้มีผู้คนหลงเชื่อและซื้อมากินกันมากมาย บางคนกินมากจนเกิดผลเสียต่อร่างกาย และที่อันตรายกว่านั้นคือพบผู้ป่วยอยู่ในภาวะไตวายเฉียบพลันเป็นจำนวนมากหลังการกินมะเฟืองสด หรือนำมะเฟือง โดยผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะออกน้อย บวมน้ำ ความดันสูง อ่อนเพลีย น้ำท่วมปอด บางรายอาจมีอาการสะดึก ต้องรักษาด้วยการฟอกเลือดล้างไต หากเป็นผู้ป่วยที่เดิมมีไตปกติอยู่แล้ว ไตจะสามารถกลับมาทำงานตามปกติได้ แต่อาจต้องใช้เวลา 3-4 อาทิตย์ แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยที่มีโรคไตอยู่ก่อน การรักษาอาจทำให้การทำงานของไตดีขึ้นบ้าง แต่ไม่เท่าเดิม อาจต้องได้รับการฟอกไตตลอดไป เพราะว่าในมะเฟืองนั้นมีสารออกซาเลตสูงมาก เมื่อถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกายจะถูกขับออกทางไต ทำให้ไตวายเฉียบพลันได้ และเพราะออกซาเลตไปจับตัวกับแคลเซียมในร่างกายเกิดเป็นผลิตออกซาเลต เมื่อตกผลึกเป็นจำนวนมากในเนื้อไตก็จะทำให้เกิดการอุดตัน ไตสูญเสียการทำงานหรือไตวายได้ในที่สุด นอกจากนี้ยังทำให้พิษต่อระบบประสาท ทำให้สมองบวม ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ สะอึก อาเจียน แล้วตามด้วยภาวะซึมและชักได้ จนตอนนี้ก็มีรายงานพบผู้ป่วยเสียชีวิตจากการกินมะเฟืองไปแล้วด้วย พิษจากการกินมะเฟืองนั้นไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง – ความแข็งแรงของผู้ป่วย หากเป็นผู้ป่วยโรคไตอยู่แล้วอาจเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้…

  • ใช้ชีวิตอย่างไร ไตไม่วาย

    ใช้ชีวิตอย่างไร ไตไม่วาย

    ใช้ชีวิตอย่างไร ไตไม่วาย มีคนจำนวนไม่น้อยไม่ทราบว่าทำไมตนจึงเป็นโรคไตวายระยะสุดท้ายได้ แต่คนที่เป็นโรคที่อาจเกิดความเสี่ยงไตวายนั้น ทั้งโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน จำเป็นต้องมาพบแพทย์เพื่อรับยาเป็นประจำตามที่หมอพยาบาลแนะนะ ก็คงจะปลอดจากโรคไตได้ แต่ก็มีบางท่านที่สุขภาพแข็งแรงมาก ซ้ำยังเป็นนักกีฬา ไม่เคยเจ็บป่วยมาก่อน ฯลฯ ไม่ได้แปลว่าท่านจะไม่ได้ป่วย ท่านอาจมีโรคไตซ่อนอยู่ในตัวก็ได้ ทางที่ดีควรปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ดีกว่าค่ะ 1. ตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี ด้วยการตรวจหาระดับครีอะตินีนด้วย ซึ่งจะบอกได้ว่าเป็นโรคไตหรือไม่ หากมีความผิดปกติก็แพทย์จะแนะนำให้ตรวจซ้ำและตรวจเพิ่มเติมส่วนอื่น ๆ ด้วย 2. ดูแลสุขภาพตัวเอง ด้วยการกินอาหารที่มีคุณค่า ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ 3. งดการสูบบุหรี่ และลดปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ หลีกเลี่ยงสารเสพติดทุกชนิดด้วย 4. หากร่างกายแสดงสัญญาณเตือน ก็ควรรีบไปหาหมอเพื่อการตรวจ 5. ระวังอย่าให้ท้องเสีย เพราะผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีอาการท้องเสียโดยเฉพาะถ่ายเป็นน้ำมาก ๆ จะทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างรวดเร็ว จึงเกิดอาการไตวายเฉียบพลันต้องล้างไต แต่บ่อยครั้งที่ไตไม่ฟื้นอีกเลยผู้ป่วยต้องล้างไตไปตลอดชีวิต 6. อย่าซื้อยากินเอง 7. อย่ากินยาซ้ำซ้อน บางท่านไปหาหมอหลายคลินิกก็ได้ยาแก้ปวดคล้ายๆ กันมาหลายยี่ห้อ กินเข้าไปพร้อมกันจะเกิดผลเสียอย่างร้ายแรง และอย่าเก็บยาเก่าไว้กิน ยกเว้นได้นำไปให้หมอตรวจดูแล้วบอกว่ากินต่อไปได้เท่านั้น 8. อย่าหลงคำโฆษณาด้วยการกินอาหารเสริม บางอย่างมีเกลือผสมอยู่มากเกินไปอาจทำให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ หากไม่ต้องการเป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย…

  • 8 โรคต้องระวัง เมื่อเข้ารับบริการ ขูดหินปูน

    8 โรคต้องระวัง เมื่อเข้ารับบริการ ขูดหินปูน

     8 โรคต้องระวัง เมื่อเข้ารับบริการ ขูดหินปูน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผยว่าหากที่ต้องการเข้ารับการขูดหินปูน เป็นผู้ป่วยด้วยโรค 8 โรคนี้จำเป็นต้องแจ้งทันตแพทย์ก่อนทุกครั้งก่อนรับการทำฟันหรือขูดหินปูนก็คือ กลุ่มที่เป็นโรคเลือดออกง่ายและหยุดไหลยาก ได้แก่ 1. โรคเกล็ดเลือดต่ำหรือโรคลูคีเมีย อาจมีจ้ำเลือดหรือจุดเลือดออกตามร่างกายร่วมด้วย 2. โรคไตและผู้ที่มีประวัติเคยล้างไต เพราะจะได้รับยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด 3. ผู้ที่มีประวัติการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจและการใช้ยาละลายลิ่มเลือด รวมไปถึงกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มที่อาจแสดงอาการในระหว่างการทำฟัน ได้แก่ 1. โรคหัวใจอาจมีอาการเจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย ใจสั่น 2. โรคหอบหืดอาจมีอาการหอบเหนื่อย ต้องมียาพ่นประจำ และได้รับยา Steriod 3. โรคลมชักและโรคความดันโลหิตสูง 4. โรคเบาหวานเพราะมีผลกระทบทำให้แผลหายยาก เหล่านี้จำเป็นต้องแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบก่อนเผื่อในกรณีที่อาการกำเริบจะได้ช่วยเหลือได้ทันการณ์ อีกทั้ง ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย ยังเปิดเผยอีกว่าการขูดหินปูนหรือหินน้ำลายนี้ก็เพื่อป้องกันอาการเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ได้ ด้วยการใช้เครื่องมือขจัดหินปูนที่มีความสั่นสะเทือนทำให้หินปูนหลุดออกมา แล้วใช้เครื่องมือชิ้นเล็กกว่าขูดหินปูนละเอียดอีกครั้ง ซึ่งขั้นตอนนี้อาจทำให้มีเลือดออกได้บ้างเล็กน้อย แต่จะไม่มากจนมีผลใด ๆ ต่อสุขภาพผู้ป่วย ซึ่งหินปูนหรือหินน้ำลายนี้เป็นคราบจุลินทรีย์ที่มีการสะสมของแคลเซียมในน้ำลาย จนแข็งตัวคล้ายหินปูน ที่สะสมเชื้อโรคไว้หลายชนิดอีกทั้งยังเป็นแหล่งผลิตสารพิษที่ทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ได้ การป้องกันการเกิดหินปูนก็คือการจำกัดคราบจุลินทรีย์โดยการแปรงฟันโดยเฉพาะคอฟันให้สะอาดวันละอย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อไม่ให้บริเวณนี้เป็นที่สะสมของคราบจุลินทรีย์จนกลายเป็นหินปูนได้ อีกทั้งยังควรมาตรวจสุขภาพช่องปากทุกปีและหากมีหินปูนก็ควรขูดหินปูนออกอย่างน้อยปีละครั้ง…

  • ความรู้ดีๆ…การรักษาโรคเกี่ยวกับไตด้วยเซซามิน

    ความรู้ดีๆ…การรักษาโรคเกี่ยวกับไตด้วยเซซามิน

    ความรู้ดีๆ…การรักษาโรคเกี่ยวกับไตด้วยเซซามิน การรักษาโรคเกี่ยวกับไตด้วยเซซามิน เนื่องจากขณะนี้มีผู้ที่สอบถามเกี่ยวกับการรักษาโรคเกี่ยวกับไตด้วย “เซซามิน” มาเยอะมาก ผู้เขียนจึงขอรวบรวมคำตอบจาก “รศ.ดร.ปรัชญา คงทวีเลิศ”มาฝากกันนะคะ – มีอาการไตวายเฉียบพลัน ต้องฟอกไตและได้ทำการเปลี่ยนถ่ายไตไปแล้ว ขณะนี้มีอาการติดเชื้อในกระแสเลือด แต่ยังคงพูดคุยกันได้ตามปกติจะสามารถทาน Aimura Sesameal ได้หรือไม่และต้องทานอย่างไร – ตอบ สามารถทานได้โดยทานก่อนอาหารวันละ 2 แคบซูลต่อวันเช้าหรือเย็นก็ได้ แล้วสังเกตดูว่ามีอาการขับพิษหรือไม่ หลังจากนั้นจึงเพิ่มเป็นครั้งละ 2 แคปซูลเช้าและเย็น หรือครั้งละ 2 แคปซูล เช้า กลาง วันและเย็นด้วยก็ได้ – ตอนนี้คุณยายป่วยเป็นโรคไตต้องล้างไต 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หากทานเซซามินจะมีปัญหากับไตหรือไม่ แล้วปลอกแคปซูลจะทำให้เกิดสารตกค้างหรือเปล่า – ตอบ สามารถทานได้โดยการถอดแคปซูลออกแล้วทานแต่เนื้อยาด้านใน ส่วนตัวปลอกแคปซูลทำจาก gelatin การดูแลร่างกายก่อนด้วยการกินอาหารให้เป็นยา ย่อมดีกว่าการกินยาจนเป็นอาหาร ด้วยการดูแลสุขภาพของตนเองและคนที่เรารักด้วย เอมมูร่า เซซามิน ซึ่งได้รับการวิจัยจาก รศ.ดร. ปรัชญา คงทวีเลิศ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่แล้วว่ามีสรรพคุณในระดับชีวโมเลกุลที่ช่วยดูและและส่งเสริมสุขภาพได้เป็นอย่างดี    

  • กรมอนามัย เตือน 8 โรคต้องระวัง เมื่อต้องไปขูดหินปูน

    กรมอนามัย เตือน 8 โรคต้องระวัง เมื่อต้องไปขูดหินปูน

    กรมอนามัย เตือน 8 โรคต้องระวัง เมื่อต้องไปขูดหินปูน กรมอนามัยเผยผู้ป่วย 8 โรคควรระวังพิเศษ หากรับบริการ “ขูดหินปูน” ย้ำต้องแจ้งทันตแพทย์ก่อนทุกครั้ง เตรียมพร้อมรักษาหากอาการกำเริบ… ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การดูแลสุขภาพช่องปากเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการขูดหินปูนหรือหินน้ำลายเพื่อป้องกันเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์ ซึ่งการสำรวจโดยสำนักทันตสาธารณสุข ในปี 2555 พบว่า คนไทยวัยทำงานกว่าร้อยละ 70 มีหินปูนเกาะบนตัวฟัน ต้องได้รับการดูแลโดยการขูดหินปูน ซึ่งการขูดหินปูนทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือขจัดหินปูนแบบที่ทีความสั่นสะเทือนทำให้หินปูนหลุดออก และยังมีเครื่องมือชิ้นเล็ก (Hand instruments) ขูดหินปูนโดยละเอียดอีกครั้ง ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจทำให้มีเลือดออกบ้างตามอาการของเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์ที่ส่วนใหญ่จะมีอาการมากน้อยแตกต่างกันไป แต่จะไม่มากจนมีผลใดๆ ต่อผู้ป่วย “ทั้งนี้ เฉพาะผู้ป่วยบางโรค ที่ต้องระวังและแจ้งทันตเพทย์ก่อนทุกครั้งที่เข้ารับบริการทำฟันหรือขูดหินปูน ซึ่งกลุ่มแรกเป็นกลุ่มโรคที่เลือดออกง่ายและหยุดไหลยาก ได้แก่ โรคเกล็ดเลือดต่ำหรือโรคลูคีเมีย อาจมีจ้ำเลือดหรือจุดเลือดออกตามร่างกายร่วมด้วย โรคไตและผู้ที่มีประวัติเคยล้างไต เพราะจะได้รับยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ผู้ที่มีประวัติการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจและการใช้ยาละลายลิ่มเลือด และกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มที่อาจแสดงอาการในระหว่างการทำฟัน ได้แก่ โรคหัวใจอาจมีอาการเจ็บหน้าอก หอบเหนื่อยใจสั่น โรคหอบหืดอาจมีอาการหอบเหนื่อย ต้องมียาพ่นประจำ และได้รับยา Steriod โรคลมชักและโรคความดันโลหิตสูง และสุดท้าย คือ…