Tag: รักษาวัณโรค

  • ใช้ชีวิตอย่างไรห่างไกลวัณโรค

    ใช้ชีวิตอย่างไรห่างไกลวัณโรค

    ใช้ชีวิตอย่างไรห่างไกลวัณโรค วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่มนุษย์รู้จักมานานนับพัน ๆ ปีแล้ว เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งชื่อว่า มัยโคแบคทีเรีย ทูเบอร์คูโลซิส มีรูปร่างเป็นแท่ง ต้องย้อมสีและส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์เท่านั้นจึงจะมองเห็นได้ สามารถติดเชื้อได้แทบทุกอวัยวะของร่างกาย แต่ส่วนมากจะเกิดขึ้นที่ปอด เชื้อนี้สามารถแพร่กระจายจากได้เวลาผู้ป่วยไอหรือจาม ละอองเสมหะจะฟุ้งกระจาย เมื่อสูดเข้าไปจะเกิดการติดเชื้อและป่วยเป็นวัณโรคได้ วิธีการสังเกตว่าตนเองป่วยเป็นวัณโรคหรือไม่ก็คือ ผู้ป่วยจะมีอาการไอเรื้อรังนานเกินกว่าสองสัปดาห์ มีเสมหะสีเขียวหลืองหรือเสมหะปนเลือด อ่อนเพลีย น้ำหนักลด มีไข้เวลาบ่าย ๆ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที ในด้านของการรักษานั้น เน้นความสม่ำเสมอของผู้ป่วยที่ต้องกินยาให้ตลอดระยะเวลาการรักษา ทั้งยังต้องมีพี่เลี้ยงเป็นเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ และสมาชิกในครอบครัวช่วยดูแลการกินยาของผู้ป่วย พร้อมทั้วให้คำแนะนำและให้กำลังใจ คอยแนะนำในระหว่างที่อาจมีอาการแพ้ยา ให้ผู้ป่วยให้ทานยาได้ตลอดระยะเวลาจนกว่าแพทย์จะสั่งหยุดยาเอง ในระยะแรกที่เข้ารับการรักษาเมื่อกินยาวัณโรคไปแล้ว ประมาณสองถึงสามอาทิตย์อาการจะดีขึ้น แต่ยังไม่หายต้องกินยาต่อไปจนกว่าจะครบหกหรือแปดเดือนจึงจะหายสนิท ในระยะที่กำลังรักษาตัวผู้ป่วยวัณโรค ควรป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ด้วยการปิดปากและจมูกทุกครั้งเวลาไอหรือจาม ไม่บ้วนเสมหะทิ้งบนพื้น แต่ควรบ้วนในภาชนะแล้วนำไปทิ้งในโถส้วม ฝังดิน หรือเผาให้เรียบร้อย แม้โรคนี้จะร้ายแรงแต่ก็สามารถป้องกันได้ด้วย การดูแลเอาใจใส่สุขภาพ จะทำให้ห่างไกลจากวัณโรคและทำให้ผู้ป่วยหายได้เร็วขึ้นด้วยการปฏิบัติตามข้อแนะนำได้แก่ – การกินยาให้หมดทุกเม็ด และไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง – หากมีอาการแพ้ยาควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที – ทานอาหารที่มีประโยชน์ งดการดื่มสุราและสูบบุหรี่ – พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ – พยายามทำใจให้สบายอย่างเคร่งเครียด…

  • โรควัณโรค อาการ การรักษา วิธีป้องกัน

    โรควัณโรค อาการ การรักษา วิธีป้องกัน

    โรควัณโรค อาการ การรักษา วิธีป้องกัน วัณโรค (Tuberculosis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) หรือคนส่วนใหญ่เรียกสั้นๆว่า TB เชื้อวัณโรคนี้จะชอบอยู่ในที่ๆมีออกซิเจนมาก เช่น ในปอด เชื้อวัณโรคจะติดต่อได้ง่ายจากคน ผ่านไปทางละอองเสมหะ หรือการจาม เชื้อวัณโรคที่ตกลงสู่พื้นหรือติดอยู่กับผิวสัมผัสของวัตถุอื่นๆ จะถูกทำลายไปโดยง่ายโดยแสงสว่างและอากาศที่ถ่ายเทสะดวก วัณโรคแพร่ได้ด้วยการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น อยู่อาศัยร่วมบ้านเดียวกัน การที่ผู้ป่วยภูมิต้านทานร่างกายอ่อนแอ เช่น เบาหวาน ติดเชื้อเอชไอวี หรือได้รับยากดภูมิต้านทาน เช่น ยารักษาโรคมะเร็ง หรือยาลูกกลอนที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ จะทำให้มีโอกาสเป็นวัณโรคได้ง่าย  เชื้อนี้จะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการไอติดต่อกันเป็นเวลานานและเกิดแผลในปวดจนทำให้เสียชีวิตได้ การติดเชื้อวัณโรคระยะโรคสงบและระยะป่วยเป็นโรค 1. การติดเชื้อวัณโรคในระยะสงบ หมายถึงการที่คนคนหนึ่งมีเชื้อวัณโรคอยู่ในตัว แต่ไม่เกิดโรคและไม่มีอาการป่วยใดๆ การติดเชื้อในระยะสงบสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของผู้ที่ติดเชื้อยังสามารถควบคุมเชื้อแบคทีเรียได้อยู่ เชื้อแบคทีเรียสามารถอยู่ในร่างกายได้นานหลายปีโดยที่ไม่ทำให้เกิดโรคหรืออาการผิดปกติใดๆ 2. การติดเชื้อระยะป่วยเป็นโรค อาจมีการป่วยเป็นโรคขึ้นมาในภายหลังได้ หากภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เชื้อวัณโรคที่อาศัยอยู่ในร่างกายอาจได้รับการกระตุ้น การกระตุ้นก่อให้เกิดวัณโรคและอาการที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีและเชื้อวัณโรคร่วมกันมีแนวโน้มจะป่วยเป็นวัณโรคมากขึ้น สำหรับในบางคน ระยะป่วยเป็นโรคอาจเกิดขึ้นได้ภายหลังติดเชื้อวัณโรคเพียงไม่กี่สัปดาห์ อาการของผู้ติดเชื้อวัณโรค – ไม่ค่อยมีแรง อ่อนเพลีย – มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง – มีไข้ต่ำๆ มีอาการหนาวสั่น หรือมีอาการเหงื่อออกตอนกลางคืน…