Tag: ยุงลาย
-
ช่วงที่อากาศอบอุ่นขึ้น ให้ระวังไข้เลือดออก
ช่วงที่อากาศอบอุ่นขึ้น ให้ระวังไข้เลือดออก นอกจากช่วงหน้าฝนแล้ว ช่วงที่อากาศอบอุ่นขึ้นอย่างในช่วงหน้าหนาวต่อหน้าร้อนนั้น มีผลต่อการเพิ่มจำนวนยุงลายซึ่งเป็นพาหะของเชื้อไข้เลือดออกอีกด้วยเช่นกัน ในระยะนี้จึงเป็นอีกช่วงหนึ่งที่ควรเฝ้าระวังและกำจัดต้นตอของยุงลาย เพื่อตัดตอนการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออกมากขึ้นในทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะวัยรุ่นเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะป่วยเป็นไข้เลือดออกมากที่สุด เพราะมีพฤติกรรมเสี่ยงในการถูกยุงกัด เช่น การไปนั่งเล่นเกมส์ในร้านอับทึบ หมกตัวอยู่คนเดียวในห้องทึบ ๆ หรืออยู่ในสถานบันเทิงเป็นเวลานาน อีกทั้งในบ้านก็ยังกรุมุ้งลวดทำให้อับลม เมื่อยุงลายเล็ดลอดเข้าไปภายในบ้าน ก็จะพัฒนาตัวเองโดยหาที่วางไข่ตามจุดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคอห่าน ข้อต่อน้ำทิ้ง ใต้ซิงค์หรืออ่างล้างมือ ดังนั้นหากสังเกตได้ว่ามียุงบินในบ้าน ก็เป็นสัญญาณเตือนว่ามีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านแน่นอน ควรรีบกำจัดทันที โดยการล้างภาชนะขังน้ำและควรเทราดซิงค์ด้วยน้ำต้มเดือดทุก ๆ สัปดาห์ด้วย โรคไข้เลือดออกนี้สามารถติดเชื้อได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ถือเป็นโรคที่อาจเป็นอันตรายได้หากไม่ได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์ ดังนั้นการเฝ้าระวังบริเวณบ้านอย่างต่อเนื่องจึงเป็นเรื่องสำคัญค่ะ
-
นอกจากไข้เลือดออก ยังมีโรคชิคุนกุนยา ที่ต้องระวังในฤดูฝนด้วย
นอกจากไข้เลือดออก ยังมีโรคชิคุนกุนยา ที่ต้องระวังในฤดูฝนด้วย ในฤดูฝนของทุกปีนั้น เรามักจะตื่นตระหนักและเฝ้าระวังแต่โรคไข้เลือดออก แต่ความจริงแล้วยังมีอีกหนึ่งโรคที่มีอาการใกล้เคียงกับไข้เลือดออกแล้วยังมียุงลายเป็นพาหะเช่นเดียวกันด้วย โรคนั้นก็โรคชิคุนกุนยานั่นเอง แม้ชื่อจะคล้ายภาษาญี่ปุ่น แต่ความจริงแล้วโรคนี้มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา และชื่อชิคุนกุนยาก็เป็นภาษาของชาวพื้นเมืองของประเทศแทนซาเนียและโมซัมบิกแปลว่า ปวดเข้ากระดูก โดยโรคนี้พบครั้งแรกในประเทศแอฟริกาในปะ 2498 และระบาดไปหลายประเทศ โดยการแพร่เชื้อจากลิงบาบูนสู่คน และคนสู่คน โดยมียุงลายเป็นพายหะของโรค เริ่มระบาดเข้ามาในทวีปเอเชียราวปีด 2506 และยังแพร่กระจายเข้าไปในปากีสถาน สิงคโปร์ และมาเลเซีย โดยสันนิษฐานว่ามีจากการแรงงานชาวอินเดีย ที่มาค้าแรงงานข้ามชาติ อาการของโรคชิคุนกุนยาจะค่อนข้างคล้ายกับไข้เลือดออก คือ มีไข้สูงเฉียบพลัน มีผื่นตามตัว ตาแดง ปวดตามข้อหรือข้ออักเสบ ส่วนมากเป็นข้อเล็ก ๆ เช่น ข้อมือข้อเท้า บางคนก็ปวดมากจนขยับไม่ได้ มักจะหายไปเองใน 1-2 สัปดาห์และสามารถกลับมาเป็นใหม่ได้อีกในป 2-3 สัปดาห์ต่อมา โดยอาการปวดจะเรื้อรังเป็นเดือน แต่ก็ไม่พบว่ามีอาการช็อกหรือรุนแรงหรือมีเลือดออกแต่อย่างใด โรคชิคุนกุนยานี้เคยมีการระบาดมาแล้วในประเทศไทย ยังเป็นโรคที่ไม่มีวัคซีนป้องกันและยารักษาได้ แพทย์จะทำได้เพียงรักษาไปตามอาการเท่านั้น พบมาในฤดูฝนซึ่งเป็นช่วงที่ยุงลายเพิ่มจำนวนขึ้น การป้องกันโรคนี้ที่ดีที่สุดก็คือการเข้าจัดการกับต้นตอของยุงลายก็คือทำลายลูกน้ำยุงลายและป้องกันการกำเนิดเสีย ด้วยปิดภาชนะใส่น้ำด้วยฝาให้มิดชิด รวมไปถึงแทงน้ำ โอ่งน้ำ ถังน้ำ หากไม่คว่ำก็ต้องปิดให้มิด จัดการแหล่งน้ำขังตามธรรมชาติ เปลี่ยนน้ำในแจกันและขารองตู้ทุกอาทิตย์หรือหยอดเกลือป้องกันยุงวางไข่ โรคนี้แม้จะไม่ถึงตายแต่ก็ทำให้ทรมานไม่น้อยเลย…
-
ใครที่ควรช่วยกันป้องกันโรคไข้เลือดออก
ใครที่ควรช่วยกันป้องกันโรคไข้เลือดออก ไข้เลือดออกนั้น ทุกวันนี้ก็ยังไม่มียาใดที่รักษาได้ หรือแม้แต่วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกก็ยังไม่มีเช่นกัน ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดก็คือต้องกำจัดการแพร่พันธุ์ของยุง และคนที่ควรช่วยกันป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ดีที่สุดก็คือตัวเราเองและคนในชุมชนทุกคน ด้วยการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมมิให้เหมาะสมกับการขยายพันธุ์ของยุงต่อไป – จัดการภาชนะที่มีน้ำขังต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกะละมัง บ่อ แทงค์น้ำถังน้ำ ที่อาจจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงได้ ให้จัดการปิดฝาและหมั่นตรวจสอบลูกน้ำยุงลายสม่ำเสมอ – ตรวจสอบรอยรั่วของท่อน้ำ แท่งน้ำเหล่านี้ด้วยว่ามีน้ำรั่วบ้างหรือไม่โดยเฉพาะในหน้าฝน – ขารองโต๊ะ ขารองตู้ทั้งหลาย น้ำในแจกัน ควรเปลี่ยนทุกอาทิตย์ หรืออาจจะผสมทราย เกลือ ลงไปเพื่อป้องกันลูกน้ำ – ตรวจสอบถาดรองน้ำตู้เย็น แอร์ เครื่องทำน้ำเย็น ที่อาจมีน้ำขังอยู่ – ตรวจสอบบริเวณรอบบ้านของตนเองว่ามีแหล่งน้ำขังหรือไม่ แม้แต่ในท่อระบายน้ำบนหลังคาด้วย – ในส่วนของขวดน้ำ กระป๋อง ภาชนะที่เก็บกักน้ำได้อื่น ๆ หากไม่ใช้แล้วให้ใส่ถุงทิ้ง หรือฝังดินไม่ให้น้ำขัง รวมไปถึงยางเก่า ๆ ก็เช่นกันเพราะเป็นแหล่งที่ขังน้ำได้ – รั้วไม้ ต้นไม้ที่มีรูกลวง ให้นำคอนกรีตเทปิดรู ต้นไผ่ต้องตัดตรงข้อพอดี – ควรเลี้ยงปลาในอ่างที่ปลูกต้นไม้ หรือตามแหล่งน้ำธรรมชาติ – ควรสวมเสื้อผ้าที่หนาและมีสีอ่อน ๆ…
-
มาตรการ 7 ป. เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก
มาตรการ 7 ป. เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก เดี๋ยวนี้ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ต่างก็สามารถเป็นโรคไข้เลือดออกได้ทั้งนั้น ยิ่งโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มีฝน ตกๆ หยุด ๆ อย่างต่อเนื่องนี่ ทำให้เกิดน้ำขังทั่วไปทั้งบริเวณบ้านและตามที่สาธารณะต่าง ๆ ยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออกจึงแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว หากบริเวณบ้านหรือในชุมชนเราป่วยเป็นไข้เลือดออกแล้ว ก็ยากจะบอกได้ว่าใครจะเป็นรายต่อไป อาจเป็นญาติพี่น้องหรือตัวเองด้วยก็ได้ หากในระยะที่ฝนตกชุกนี้เราเกิดเป็นไข้ขึ้นมา หากต้องการใช้ยาลดไข้ก็ควรใช้แต่พาตาเซตามอลเท่านั้น หากเป็นยาแอสไพรินอาจทำให้เลือดออกในร่างกายมากขึ้นจนเกิดอาการช็อกได้ แต่ยาพาราเซตตามอลก็ควรใช้แต่พอดี หากไข้ยังไม่ลดก็ควรใช้การเช็ดตัวเข้ามาช่วยหากยังไม่ถึงเวลาทานยา ควรดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำหวาน น้ำเกลือแร่ให้มากเพื่อให้ร่างกายสดชื่นขึ้น ให้ผ็ป่วยได้นอนพักผ่อนมาก ๆ แต่หากมีอาการไข้เกินสองวัน กินอาหารหรือดื่มน้ำได้น้อย อ่อนเพลีย ซึม อาเจียน ปวดท้อง ตัวเย็นผิดปกติ ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาไข้เลือดออกค่ะ และการป้องกันยุงลายนั้นควรได้รับความร่วมมือจากหลาย ๆ ส่วนในชุมชนไปพร้อม ๆ กันจึงจะสามารถป้องกันการระบาดของโรคนี้ได้อย่างดี ซึ่งก็คือมาตรการ 7 ป. ดังต่อไปนี้ 1. ปิดฝาภาชนะทุกชนิดที่เก็บกักน้ำได้ ป้องกันการวางไข่ของยุงลาย 2. ปล่อยปลากินลูกน้ำเช่น ปลาหางนกยูง เพื่อตัดวงจรยุงลาย 3. ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในบ้านและนอกบ้าน ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงได้ 4. ปรับสภาพน้ำด้วยการใช้ทราย น้ำส้มสายชู…
-
การระวังป้องกันและรักษาโรคติดต่อจากยุงในเบื้องต้น
การระวังป้องกันและรักษาโรคติดต่อจากยุงในเบื้องต้น โรคติดต่อจากยุงที่พบมากในภูมิภาคของเรานั้นก็ได้แก่ โรคไข้เลือดออก และไข้มาลาเรีย ยิ่งในฤดูฝนต่อฤดูหนาวแล้วก็ยิ่งพบได้บ่อยด้วย โรคไข้เลือดออกนั้นจะมีอาการไข้สูงตลอดเวลา หน้าแดงตาแดง ปวดท้อง อาเจียน มีผื่นหรือมีจุดจ้ำแดงขึ้นตามตัว ส่วนไข้มาลาเรียนั้น มักจะมีอาการจับไข้หนาวสั่นเป็นบางเวลา ทุกวัน หรือวันเว้นวันก็ได้ บางครั้งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มียุงมากได้ ก็ควรป้องกันตัวเองดังต่อไปนี้ค่ะ – ไม่ควรให้ยุงกัด ไม่ว่าจะเป็นเวลาใดก็ตาม ควรนอนกางมุ้ง สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ห่มผ้าหนา ๆ ใช้กับดักยุง ทายากันยุง หรือใช้ตะไคร้หอม หรือใบกะเพราะดำคั้นน้ำมาทาตามลำตัวเพื่อไล่ยุง – ในบริเวณที่พักอาศัยและในชุมชน ควรกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยการปิดฝาภาชระใส่น้ำ คว่ำหรือทำลายภาชนะที่มีน้ำขัง โรยผงซักฟอกในภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ถาดรองกระถางต้นไม้ จานรองตู้กับข้าง ด้วยอัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำสองลิตร หรือจะปล่อยปลาหางนกยูงหรือปลากัดลงในบ่อน้ำที่ไม่ได้ใช้ดื่มกิน – กำจัดยุงโดยการผสมผงซักฟอก สบู่เหลว แชมพู หรือน้ำยาล้างจาน 1 ช้อนโต๊ะกับน้ำหนึ่งลิตร คนอย่าให้เป็นฟอง แล้วใส่กระบอกฉีดน้ำ ฉีดยุงที่เกาะตามบริเวณบ้าน การเยียวยาเบื้องต้นสำหรับผู้ที่เริ่มเป็นไข้ตัวร้อนแล้ว ก็คือไม่ควรอาบน้ำเย็น ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวแทน…
-
7 มาตรการเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกจากยุงลาย
7 มาตรการ เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกจากยุงลาย ในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี เป็นช่วงที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกสูงมากกว่าในช่วงอื่น เพราะเป็นช่วงฤดูฝนที่เมื่อฝนตกลงมาแล้วมีน้ำขังเฉอะแฉะ ยุงลายจึงบินมาวางไข่ได้มากขึ้น ยิ่งหากมีใครสักคนในชุมชนป่วยเป็นไข้เลือดออกขึ้นแล้ว ก็ยากจะคาดเดาจำนวนผู้ป่วยที่จะเกิดขึ้นตามมาได้ หากในครอบครัวมีผู้ป่วยเกิดเป็นไข้ เมื่อยเนื้อตัวควรใช้ยาลดไข้พาราเซตามอลเท่านั้น หากใช้ยาลดไข้ตัวอื่น และหากผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออก อาจกระตุ้นให้เลือดออกในร่างกายมากขึ้นจนช็อกและอันตรายได้ นอกจากนี้แล้วก็ให้ดูแลเหมือนผู้ป่วยเป็นไข้ทั่วไป แต่หากมีอาการซึม อ่อนเพลีย ปวดท้อง อาเจียนมาก ตัวเย็นผิดปกติ ก็ควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล สิ่งที่สำคัญมากสำหรับการป้องกันโรคไข้เลือดออก ก็คือการดูแลสภาพแวดล้อมมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย โดยการร่วมมือกันระหว่างคนในชุมชน หมู่บ้าน ด้วยมาตรการ 7 ป. ดังต่อไปนี้ 1. ปิดฝาภาชนะที่เก็บน้ำได้ทุกชนิด หากไม่มีฝาก็ให้หาแผ่นไม้หรือวัสดุอื่นใดก็ได้ที่ทนน้ำมาปิดไว้เพื่อป้องกันยุงลายวางไข่ 2. ปล่อยปลากินลูกตามแหล่งน้ำขังเพื่อตัดวงจรยุงลาย เช่น ปลาหางนกยูงเป็นต้น 3. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในหมู่บ้าน ทั้งในบ้านและนอกบ้านไม่ให้มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์เก่า กระป๋อง กระบอกน้ำเก่า ถัง โอ่งเก่า ฯลฯ ควรคว่ำไว้ให้หมด 4. ปรับสภาพของน้ำ เพื่อไม่ให้ยุงมาวางไข่โดยการใส่ทรายอะเบท น้ำส้มสายชู หรือเกลือแกงลงไปในน้ำ 5. เปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้…
-
ป้องกันไข้เลือดออกอย่างมั่นใจ ต้องใช้ 4ป.
ป้องกันไข้เลือดออกอย่างมั่นใจ ต้องใช้ 4ป. เพื่อสภาวะอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป จึงทำให้วงจรของยุงลายซึ่งเป็นพาหะสำคัญของโรคไข้เลือดออก มีระยะที่สั้นลง นั้นจึงทำให้แพร่พันธุ์ได้เร็วมากขึ้น โอกาสในการแพร่เชื้อของยุงก็มากขึ้นไปด้วย จะเห็นได้ว่าเมื่อไรที่ประเทศไทยเข้าสู่หน้าฝน ไข้เลือดออกก็ระบาดอย่างหนัก หากผู้ติดเชื้อเป็นเด็กอายุ 5-14 ปีแล้วล่ะก็ มีความเสี่ยงมากที่จะเสียชีวิต จะเห็นได้ว่าปีหลัง ๆ ที่ผ่านมามีผู้ป่วยเป็นแสนคน และเสียชีวิตกันเป็นหลักพัน และขยายความเสี่ยงออกมาสู่เด็กโตและวัยผู้ใหญ่ก็ป่วยด้วยไข้เลือดออกกันมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งการจัดการกับต้นกำเนิดของยุงลายพาหะของโรคไข้เลือดออกนั้น จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนในชุมชน ให้ลงมือช่วยกันอย่างเอาจริงเอาจังและมีความต่อเนื่อง จึงจะสามารถควบคุมการระบาดได้ โดยอาศัยมาตรการ 4 ป. ดังต่อไปนี้ 1. ปิด คือการใช้ฝาไปปิดภาชนะเก็บน้ำต่าง ๆ ให้หมด ไม่ว่าจะเป็นกระถางต้นไม้ อ่างน้ำ โอ่ง แทงค์เก็บน้ำ ฯลฯ 2. เปลี่ยน คือการหมั่นเปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้ หรือจานรองขาตู้กับข้าว โดยการหมั่นเปลี่ยนทุกอาทิตย์ หรือหยอดเกลือหรือผสมน้ำส้มสายชูลงในน้ำดังกล่าว ป้องกันการวางไข่ของยุงลายได้ 3. ปล่อย ก็คือการปล่อยปลาหางนกยูง ปลาสอด ลงไปในอ่างบัว บ่อน้ำ โอ่งน้ำเพื่อกินลูกน้ำเป็นอาหาร ถือเป็นการตัดตอนการแพร่พันธุ์ของยุงลายไปได้ 4. ปรับปรุง บ้านทุกหลังในหมู่บ้านหรือชุมชน…
-
วิธีป้องกันยุงลายแพร่พันธุ์ ตัดวงจรการระบาดของไข้เลือดออก
วิธีป้องกันยุงลายแพร่พันธุ์ ตัดวงจรการระบาดของไข้เลือดออก การป้องกัน โรคไข้เลือดออก ที่ได้ผลที่สุดนั้นก็คือการป้องกันการแพร่พันธุ์ของยุงลาย แต่ที่ผ่านมายังควบคุมได้ไม่ดีเท่าไรนัก เน้นจากไปเน้นการทำลายยุงลายซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองมาก การควบคุมยุงลายที่ได้ผลต้องทำเป็นวงกว้าง และเน้นที่การควบคุมลูกน้ำเป็นหลัก ควรทำร่วมกันเป็นชุมชนหรือองค์กรด้วย เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของการควบคุมการแพร่พันธุ์ของยุงลาย ดังต่อไปนี้ค่ะ – ตรวจสอบ บ่อน้ำ แทงค์เก็บน้ำ กะละมังหรือภาชนะบรรจุน้ำต่าง ๆ ที่จะเป็นแหล่งที่ยุงมาไข่และเกิดลูกน้ำได้ แหล่งน้ำเหล่านี้ต้องมีฝาปิดและตรวจสอบเสมอ ๆ ว่ามีลูกน้ำหรือไม่ – ตรวจรอยรั่วของท่อน้ำ แทงค์น้ำ หรืออุปกรณ์เกี่ยวกับน้ำด้วยว่ารั่วหรือไม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าฝน – เปลี่ยนน้ำแจกัน ถ้วยรองขาตู้ ซึ่งควรเปลี่ยนทุกอาทิตย์ สำหรับแจกันควรใส่ทรายลงไปด้วย และถ้วยรองขาตู้ควรใส่เกลือด้วยเพื่อป้องกันการเกิดของลูกน้ำ – ถาดรองน้ำตู้เย็นและแอร์ ก็เป็นเพาะพันธุ์ยุงได้เช่นกันหากมีน้ำขังอยู่ – ตรวจสอบรอบบริเวณบ้าน โรงเรียนว่ามีแหล่งน้ำขังหรือไม่ รวมไปถึงรางระบายน้ำจากหลังคาว่ามีแอ่งน้ำขังหรือเปล่า กระป๋อง ขวดน้ำต่าง ๆ ควรเก็บไปทิ้งหรือคว่ำน้ำออกอย่าให้มีน้ำขัง แม้แต่ยางเก่าของรถก็เช่นกัน รั้วไม้และต้นไม้ที่มีรูกลวงควรอุดหรือถมด้วยคอนกรีตให้เต็ม ต้นไผ่ก็ควรตัดตรงข้อพอดีอย่าให้มีน้ำขัง สำหรับแหล่งน้ำตามธรรมชาติควรกลับหรือปิดด้วยคอนกรีตให้เรียบร้อยด้วย และในส่วนของการป้องกันส่วนตัวบุคคล ให้สวมเสื้อผ้าที่หนาพอควร ควรเป็นเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว เด็กนักเรียนหญิงก็ควรสวมกางเกงขายาว แล้วทาสมุนไพรกันยุงตอม เช่น ตะไคร้หรือเปลือกส้ม…
-
หน้าฝน “ป้องกันยุงเกิด.. อย่าให้ยุงกัด” ลดความเสี่ยงไข้เลือดออก
หน้าฝน “ป้องกันยุงเกิด.. อย่าให้ยุงกัด” ลดความเสี่ยงไข้เลือดออก. ฤดูฝนที่กำลังมาเยือนนี้ มีโรคระบาดที่น่าเป็นห่วงมากสำหรับเด็ก ๆ ก็คือ โรคไข้เลือดออกนั่นเอง เป็นโรคที่มักระบาดในช่วงที่มีฝนตกชุกจนเกิดน้ำขังตามภาชนะและสิ่งของต่าง ๆ ที่รองน้ำเก็บไว้โดยไม่เกิดการหมุนเวียนถ่ายเท ยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคนี้จึงแพร่พันธุ์เกิดขึ้นได้มากมาย โดยเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของไข้เลือดออกนี้ชื่อว่า “ไวรัสเดงกี่” ที่จะอยู่ในตัวยุงลายที่ไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก แล้วไปกัดคนอื่น ๆ แพร่เชื้อต่อไปเรื่อย ๆ เพราะยุงตัวเมียที่พกพาไวรัสไปด้วยนี้จะมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 4-6 อาทิตย์ เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อไวรัสเดงกี่นี้ไปแล้วจะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2-7 วัน ผู้ป่วยจึงมักมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน หน้าแดง ตัวแดง ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร มีผื่นหรือจุดแดงตามลำตัว แขนและขา กับทั้งมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน รวมทั้งอาจมีอาการปวดท้อง เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล ถ่ายสีดำได้ รวมไปถึงอาจเกิดอาการช็อกได้อีกโดยให้สังเกตว่าแม้ไข้จะลดแล้ว แต่ผู้ป่วยยังมีอาการซึม ตัวเย็น กระสับกระส่ายปวดท้อง อาเจียนหรือหมดสติอยู่ ทั้งหมดนี้อาจเกิดขึ้นได้หากไม่สังเกตอาการและรักษาไม่ทันการ ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรดูแลเด็กๆ และบุตรหลานอย่างใกล้ชิด หากเด็กมีไข้สูงเฉียบพลัน ควรเช็ดตัวลดไข้และให้ยาลดไข้พาราเซตามอลชนิดน้ำเชื่อมเพื่อให้ทานง่าย และใช้ตามขนาดที่กำหนดทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง เมื่อไข้ลดแล้วจึงหยุดยา (หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพรินเพราะอาจทำให้เกิดอาการช็อกรุนแรงได้)…
-
โฆษกสภา กทม. เผย ปัจจุบันผู้ใหญ่เป็นไข้เลือดออกเพิ่มมากขึ้น
โฆษกสภา กทม. เผย ปัจจุบันผู้ใหญ่เป็นไข้เลือดออกเพิ่มมากขึ้น กทม. ชี้ ผู้ใหญ่ป่วยเป็นไข้เลือดออกมากขึ้น ปัจจุบันไม่ใช่แค่เด็กเล็กที่สามารถติดไข้เลือกออกได้ง่ายเพียงอย่างเดียว เพราะปัจจุบันยุงลายเพิ่มขึ้นหนัก จากบ้านที่มีน้ำขัง หรือตามแหล่งน้ำภายในชุมชน ที่ไม่ได้มีการกำจัดแหล่งกำเนิดของยุงลายอย่างจริงจัง กทม. จึงออกโรงเตือนประชาชนให้ช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลาย ตามบ้านหรือแหล่งน้ำต่างๆภายในบ้าน พลังจากพบผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออกแล้ว 1 ราย เผย สถิติพบผู้ป่วยมีอายุเพิ่มขึ้นจนน่าเป็นห่วง จากเมื่อก่อนคิดว่าเด็กเท่านั้นที่เสี่ยงป่วยโรคนี้ ระบุลูกน้ำยุงลายไม่ได้อาศัยตามแหล่งน้ำนอกบ้านอย่างที่หลายคนเข้าใจ หากแต่อยู่ข้างในบ้านกับคนตลอดเวลา กทม. เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้รับแจ้งว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกแล้วจำนวน 1 ราย ในพื้นที่ห้วยขวาง ทราบชื่อ นางสาวนลิตา ขำหาร อายุ 21 ปี อาศัยอยู่ชุมชนลาดพร้าว 80 โดยเสียชีวิตที่ รพ.พระมงกุฎฯ เมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา จึงเป็นเรื่องที่ผู้บริหารไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรเร่งติดตามสถานการณ์และระดมหน่วยงานในการลงพื้นที่ฉีดพ่นหมอกควัน และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายโดยด่วน อีกทั้งในหลายพื้นที่ยังมีรายงานว่าพบจำนวนยุงลายจำนวนมาก ประชาชนจึงได้ร้องเรียนมายังสมาชิกสภา กทม. เพื่อส่งทีมงานเข้าไปฉีดพ่นหมอกควัน ซึ่งตนได้ส่งเครื่องพ่นจำนวน 5 เครื่อง ลงพื้นที่เพื่อบริการอย่างต่อเนื่องแล้ว แต่ยังพบว่าสถานการณ์ยุงลายยังน่าเป็นห่วงและอาจจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น เพราะไม่อยากให้มีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตซ้ำรอยอีก กทม.…