Tag: ยุง

  • การระวังป้องกันและรักษาโรคติดต่อจากยุงในเบื้องต้น

    การระวังป้องกันและรักษาโรคติดต่อจากยุงในเบื้องต้น

    การระวังป้องกันและรักษาโรคติดต่อจากยุงในเบื้องต้น โรคติดต่อจากยุงที่พบมากในภูมิภาคของเรานั้นก็ได้แก่ โรคไข้เลือดออก และไข้มาลาเรีย ยิ่งในฤดูฝนต่อฤดูหนาวแล้วก็ยิ่งพบได้บ่อยด้วย โรคไข้เลือดออกนั้นจะมีอาการไข้สูงตลอดเวลา หน้าแดงตาแดง ปวดท้อง อาเจียน มีผื่นหรือมีจุดจ้ำแดงขึ้นตามตัว ส่วนไข้มาลาเรียนั้น มักจะมีอาการจับไข้หนาวสั่นเป็นบางเวลา ทุกวัน หรือวันเว้นวันก็ได้ บางครั้งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มียุงมากได้ ก็ควรป้องกันตัวเองดังต่อไปนี้ค่ะ – ไม่ควรให้ยุงกัด ไม่ว่าจะเป็นเวลาใดก็ตาม ควรนอนกางมุ้ง สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ห่มผ้าหนา ๆ ใช้กับดักยุง ทายากันยุง หรือใช้ตะไคร้หอม หรือใบกะเพราะดำคั้นน้ำมาทาตามลำตัวเพื่อไล่ยุง – ในบริเวณที่พักอาศัยและในชุมชน ควรกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยการปิดฝาภาชระใส่น้ำ คว่ำหรือทำลายภาชนะที่มีน้ำขัง โรยผงซักฟอกในภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ถาดรองกระถางต้นไม้ จานรองตู้กับข้าง ด้วยอัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำสองลิตร หรือจะปล่อยปลาหางนกยูงหรือปลากัดลงในบ่อน้ำที่ไม่ได้ใช้ดื่มกิน – กำจัดยุงโดยการผสมผงซักฟอก สบู่เหลว แชมพู หรือน้ำยาล้างจาน 1 ช้อนโต๊ะกับน้ำหนึ่งลิตร คนอย่าให้เป็นฟอง แล้วใส่กระบอกฉีดน้ำ ฉีดยุงที่เกาะตามบริเวณบ้าน การเยียวยาเบื้องต้นสำหรับผู้ที่เริ่มเป็นไข้ตัวร้อนแล้ว ก็คือไม่ควรอาบน้ำเย็น ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวแทน…

  • ป้องกันไข้เลือดออกอย่างมั่นใจ ต้องใช้ 4ป.

    ป้องกันไข้เลือดออกอย่างมั่นใจ ต้องใช้ 4ป.

    ป้องกันไข้เลือดออกอย่างมั่นใจ ต้องใช้ 4ป. เพื่อสภาวะอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป จึงทำให้วงจรของยุงลายซึ่งเป็นพาหะสำคัญของโรคไข้เลือดออก มีระยะที่สั้นลง นั้นจึงทำให้แพร่พันธุ์ได้เร็วมากขึ้น โอกาสในการแพร่เชื้อของยุงก็มากขึ้นไปด้วย จะเห็นได้ว่าเมื่อไรที่ประเทศไทยเข้าสู่หน้าฝน ไข้เลือดออกก็ระบาดอย่างหนัก หากผู้ติดเชื้อเป็นเด็กอายุ 5-14 ปีแล้วล่ะก็ มีความเสี่ยงมากที่จะเสียชีวิต จะเห็นได้ว่าปีหลัง ๆ ที่ผ่านมามีผู้ป่วยเป็นแสนคน และเสียชีวิตกันเป็นหลักพัน และขยายความเสี่ยงออกมาสู่เด็กโตและวัยผู้ใหญ่ก็ป่วยด้วยไข้เลือดออกกันมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งการจัดการกับต้นกำเนิดของยุงลายพาหะของโรคไข้เลือดออกนั้น จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนในชุมชน ให้ลงมือช่วยกันอย่างเอาจริงเอาจังและมีความต่อเนื่อง จึงจะสามารถควบคุมการระบาดได้ โดยอาศัยมาตรการ 4 ป. ดังต่อไปนี้ 1. ปิด คือการใช้ฝาไปปิดภาชนะเก็บน้ำต่าง ๆ ให้หมด ไม่ว่าจะเป็นกระถางต้นไม้ อ่างน้ำ โอ่ง แทงค์เก็บน้ำ ฯลฯ 2. เปลี่ยน คือการหมั่นเปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้ หรือจานรองขาตู้กับข้าว โดยการหมั่นเปลี่ยนทุกอาทิตย์ หรือหยอดเกลือหรือผสมน้ำส้มสายชูลงในน้ำดังกล่าว ป้องกันการวางไข่ของยุงลายได้ 3. ปล่อย ก็คือการปล่อยปลาหางนกยูง ปลาสอด ลงไปในอ่างบัว บ่อน้ำ โอ่งน้ำเพื่อกินลูกน้ำเป็นอาหาร ถือเป็นการตัดตอนการแพร่พันธุ์ของยุงลายไปได้ 4. ปรับปรุง บ้านทุกหลังในหมู่บ้านหรือชุมชน…

  • ไล่ยุงอย่างไร ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายเรา

    ไล่ยุงอย่างไร ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายเรา

    ไล่ยุงอย่างไร ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายเรา ประเทศไทยเป็นประเทศร้อนชื้น จึงมียุงชุมแทบทุกฤดูกาล การกำจัดยุงให้หมดนั้นเป็นเรื่องยาก เพราะร่างกายคนเรานั้นเป็นแหล่งดูดยุงชั้นเยี่ยม จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาจาก เหงื่อ กลิ่นตัว และความร้อน ตลอดจนลมหายใจ ยุงจึงมักตอมคนและสัตว์เลี้ยง อีกทั้งสารเคมีในร่างกายของบางคนยังดึงดูดยุงมากกว่าคนอื่นด้วยก็มี วันนี้เราจึงขอนำสูตรการไล่ยุงหลาย ๆ เพื่อให้ทุกคนลองนำไปเลือกใช้ เพราะวิธีการไล่ยุงวิธีหนึ่งอาจใช้ไม่ได้ผลกับทุกคนก็เป็นได้ แต่ทุกสูตรที่นำมาเสนอในวันนี้รับรองได้ว่าปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายจากสารพิษอย่างแน่นอนค่ะ – หากไปแค้มปิ้งหรือปิกนิกนอกบ้านที่มียุงมาก ให้นำกระเทียมผลซึ่งหาซื้อได้ทั่วไปตามซุปเปอร์มาร์เก็ตมาละลายน้ำ แล้วทาลงบนจุดชีพจรหรือบนใบหน้า แต่ให้ระวังเข้าตา – สำหรับผู้ที่อยู่ในบ้านแต่มียุงมาก ให้ลองนำกระเทียมผงละลายน้ำ ฉีดตามสนามหญ้าและพุ่มไม้ต่าง ๆ เพื่อช่วยไล่ยุง หมั่นทำสองอาทิตย์ต่อหนึ่งครึ่ง หรือฉีดหลังฝนตกจะช่วยลดปริมาณของยุงได้ – นำเอาวานิลลามาทาตามจุดชีพจร หรือแต้มตัวผิวหนังและแต้มลงบนเสื้อผ้า สามารถใช้วานิลลาชนิดเข้มข้ม ผสมน้ำก่อนแล้วค่อยพ่นลงบนผิวก็ได้เช่นกัน – เลือกน้ำมันหอมระเหยกลิ่น ลาเวนเดอร์ ยูคาลิปตัส ตะไคร้ มินท์ มะนาว ส้ม ก็ได้ มาผสมกับแอลกอฮอล์เช็ดแผลหรือน้ำกลั่น แล้วพ่นบนร่างกายหรือเสื้อผ้า หรือใช้เช็ดบริเวณผิวที่โดนยุงตอม – หรือจะเลือกนำเอาน้ำมันหอมระเหย 2-3 หยดผสมกับน้ำมะกอกหรือเบบี้ออยล์แล้วทาผิว ก็ได้เช่นกัน แต่ให้ระวังเข้าตาและปาก…

  • นักวิจัยชี้ว่า การกำจัดลูกยุง LSM จะช่วยควบคุมโรคมาลาเรียได้

    นักวิจัยชี้ว่า การกำจัดลูกยุง LSM จะช่วยควบคุมโรคมาลาเรียได้

    นักวิจัยชี้ว่า การกำจัดลูกยุง LSM จะช่วยควบคุมโรคมาลาเรียได้ การควบคุมมาลาเรียด้วยการจัดการแหล่งตัวอ่อนยุง เป็นการกำจัดลูกยุงก่อนโตเต็มวัยกลายเป็นพาหะของโรค เป็นวิธีที่ได้ผลในการมุ่งเป้ากำจัดลูกยุงในแหล่งน้ำขัง ในขณะเดียวกันการใช้มุงเคลือบยากันยุงกับการฉีดพ่นยาฆ่ายุงเป็นวิธีที่มุ่งเป้าที่ยุงโตเต็มวัยแล้ว การควบคุมลูกยุงน่าจะใช้เป็นวิธีเสริมแก่มาตรการควบคุมมาลาเรียวิธีอื่นๆ แต่ไม่ควรใช้ทดแทนกัน เธอกล่าวว่าการควบคุมลูกยุงน่าจะเป็นวิธีควบคุมมาลาเรียที่มีประสิทธิภาพเหมาะกับสภาพเเวดล้อมในเขตเมือง ยกตัวอย่างว่าการทำลายแหล่งน้ำขังที่เป็นที่อยู่ของลูกยุงเป็นการถาวรด้วยการสูบน้ำทิ้งหรือถมดินหรือขุดลอกระบบท่อน้ำทิ้งเพื่อทำลายที่อยู่ของลูกยุง เป็นการตัดวงจรชีวิตของยุง นอกจากนี้การควบคุมลูกยุงยังสามารถทำได้ด้วยการเติมยาฆ่าลูกยุงลงไปแหล่งน้ำขัง การศึกษาเรื่องนี้หลายชิ้นพบว่าค่าใช่จ่ายในการกำจัดลูกยุงน่าจะพอๆกับค่าใช้จ่ายในการป้องกันยุงด้วยการใช้มุ้งเคลือบยากันยุงและใช้ยาฆ่ายุงพ่นภายในตัวอาคารบ้านเรือน โครงการรณรงค์ปราบปรามมาลาเรีย Roll Back Malaria รายงานว่าค่าใช้จ่ายในการต่อต้านมาลาเรียทั่วโลกอยู่ที่ราว 5 ถึง 6 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี