Tag: ยารักษาโรค

  • ระวังการใช้ยาที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้

    ระวังการใช้ยาที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้

    ระวังการใช้ยาที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้ อันตรายจากการใช้ยานั้นพบได้แทบทุกเพศทุกวัน แม้ว่ายาจะเป็นหนึ่งปัจจัยสี่ก็ตาม แต่หากใช้อย่างพร่ำเพรื่อก็อาจทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ด้วย ซึ่งเกิดได้ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาเกินขนาด การแพ้ยา ดื้อยา และได้รับผลข้างเคียงของยา – ในเด็ก เกิดอันตรายได้แม้จะเป็นยาที่ใช้บ่อยและหาซื้อได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นยาแก้แพ้ที่นิยมใช้เพื่อรักษาหวัด อาจกดการหายใจจนทำให้เสียชีวิตได้หากได้รับยาเกินขนาด หรือแม้แต่แอสไพรินในเด็กก็ยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น เป็นพิษต่อตับและสมองได้ – ในผู้ใหญ่ก็สามารถได้รับอันตรายจากยาได้เช่นกัน เช่น การทานยาพาราเซตามอลร่วมกับการดื่มสุรา หรือทานยามากเกินขนาดจนเป็นพิษต่อตับ รวมไปถึงการทานยาฆ่าเชื้อ (หรือยาแก้อักเสบ) มักจะใช้กันอย่างไม่เหมาะสม ทำให้เสี่ยงต่อการแพ้ยาและดื้อยาได้ด้วย – ส่วนผู้สูงอายุ มักมีโรคภัยมากมายต้องกินยาหลายชนิด จึงมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงได้มากและรุนแรงกว่า เช่น ยาแก้ปวดลดการอักเสบ กลุ่ม NSAID อาจทำให้เกิดแผลและเลือดออกในทางเดินอาหาร หรือไตวายได้ ดังนั้นผู้สูงอายุควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกชนิด – หญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมลูก ยาหลายชนิดสามารถผ่านรก ผ่านน้ำนม ทำอันตรายกับเด็กได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรหรือหาข้อมูลที่น่าเชื่อถือก่อนการใช้ยาทุกชนิด การใช้ยาเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก เพราะผู้ป่วยแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งอายุ โรค และคุณภาพของอวัยวะภายในชิ้นส่วนต่าง ๆ ดังนั้นควรทานยาตามแพทย์สั่งและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดเพื่อลดโอกาสอันตรายจากการใช้ยาได้ค่ะ

  • หลักการใช้ยาอย่างพอเพียงในผู้สูงอายุ

    หลักการใช้ยาอย่างพอเพียงในผู้สูงอายุ

    หลักการใช้ยาอย่างพอเพียงในผู้สูงอายุ ยิ่งอายุมากขึ้น โรคภัยก็เพิ่มมากขึ้น ระบบการทำงานของร่างกายก็เปลี่ยนแปลงไป ร่างกายเสื่อมลง ประสิทธิภาพก็เริ่มถดถอยลง ยาต่าง ๆ เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพื่อประคองร่างกายและรักษาสภาพไว้ให้ดีที่สุด บางคนมีโรคเรื้อรังหลายโรค หาหลายหมอ กินหลายยา ในยาเหล่านี้แม้จะมีคุณอนันต์แต่ก็มีโทษมหันต์ได้ เมื่อกินหลายชนิดรวมกัน บางทีก็ยังทำให้เกิดโรคที่เรียกว่าโรคยาทำได้อีกด้วย การกินยาจึงจำเป็นต้องเลือกกินแต่พอเพียง โดยมีหลักการดังต่อไปนี้ค่ะ 1. กินยาให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น รวมไปถึงจำนวนชนิดของยาและระยะเวลาการใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรผู้สั่งจ่ายด้วยว่า ยาแต่ละชนิดมีข้อบ่งใช้อย่างไร แล้วควรใช้ยาได้นานขนาดไหน อีกทั้งยาบางชนิดนั้นถ้าไม่มีอาการก็ไม่ควรใช้ด้วยค่ะ 2. นำเอายาทั้งหมดที่ผู้ป่วยใช้อยู่ไปให้แพทย์ได้รับรู้ด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายยาซ้ำซ้อน ลดผลเสียของยาและยาตีกัน รวมไปถึงสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อาจส่งผลต่อยาและความรุนแรงของโรคที่เป็นอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไปหาหมอหลาย ๆ คนจะมีโอกาสได้ยาซ้ำซ้อนจนเกินขนาดและเกิดอันตรายได้ 3. การรับยาควรตรวจเช็คยาทุกครั้งทันที เช่น ชื่อผู้ป่วย ชนิดของยา วิธีใช้และข้อควระวังโดยเฉพาะอย่างยิ่งยาใหม่ ๆ ที่ไม่เคยใช้มาก่อน 4. จัดเตรียมทานยาให้พร้อมและให้เป็นเวลาเช่น หักครึ่งเม็ดเอาไว้ หรือกดยาจากเม็ดฟอยด์เตรียมไว้ จัดยาใส่กล่องไว้ตามเวลาเป็นต้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้ทานยาได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน ยาจะได้มีประสิทธิภาพในการรักษาที่ครบถ้วน ในผู้สูงอายุนั้นการใช้ยาจะเป็นการเสี่ยงอันตรายมากกว่าผู้ป่วยในวัยอื่น ๆ จึงควรใช้ยาให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น และควรทำความเข้าใจถึงข้อบ่งใช้ของยา วิธีใช้ที่ถูกต้อง เตรียมความสะดวกต่อใช้กับ รวมไปถึงการให้กำลังใจกับผู้สูงอายุเพื่อการรักษาและคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นสำคัญ…

  • เชื่อได้หรือไม่..ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่าง ๆ ไม่ใช่ยารักษาโรค

    เชื่อได้หรือไม่..ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่าง ๆ ไม่ใช่ยารักษาโรค

    เชื่อได้หรือไม่..ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่าง ๆ ไม่ใช่ยารักษาโรค คุณผู้อ่านหลายท่านคงจะเคยได้ยินข้อความโฆษณาขายอาหารเสริมกันมามากมายแล้ว ไม่ว่าจะเป็น “สุขภาพดีขึ้น ลดความอ้วน ลดน้ำตาล เพื่อคุณและคนที่คุณรัก ผลิตภัณฑ์ของเราได้รับการอนุญาตจาก อย. ปลอดภัย ไม่ใช่ยา คิดค้นโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับโลก แล้วซื้อเลยวันนี้…” หรืออะไรอื่นอีกมากมายบรรยายไม่หมด จนบางครั้งก็อาจทำให้ท่านสนใจหรือเคยหลงเชื่อมาบ้างแล้ว บางยี่ห้อก็โฆษณาด้วยการนำเซเลปที่มีชื่อเสียงหรือคนที่อ้างว่าป่วยเป็นโรคต่าง ๆ มาช่วยกันโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ ว่าดีอย่างนั้นอย่างดี ทานแล้วหายจากโรคหรือมีอาการที่ดีขึ้น ส่วนใหญ่มักขายในรูปแบบของการขายตรงหรือการทำธุรกิจแบบลูกโซ่ก็ได้ มักจะเชิญชวนใหไปร่วมกันประชุมสัมมนาเฉพาะกลุ่ม และโฆษณาตามทีวีอิสระและโซเชียลเนทเวิร์ค โดยรูปแบบการโฆษณาก็มักจะเป็นคำชวนเชื่อให้เกินความจริง ผู้บริโภคโปรดจำเอาไว้ว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นไม่ใช่ยารักษาโรค แต่เป็นเพียงผลิตภัณฑ์ที่ใช้กินนอกเหนือจากการกินอาหารหลักตามปกติ เพื่อเสริมสารอาหารที่ร่างกายขาดไป ในผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงดี ไม่ใช่คนป่วย ก็ไม่จำเป็นต้องกิน รวมไปถึงเด็กและสตรีมีครรภ์ยิ่งไม่ควรให้กินเด็ดขาด ผลิตภัณฑ์ที่มักนำมาโฆษณาเหล่านี้มักจะอยู่ในรูปของสาหร่ายสไปรูลิน่า ไคโตซาน เส้นใยอาหาร น้ำมันปลา ฯลฯ ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลทางการศึกษาหรือผลวิจัยที่น่าเชื่อถือได้มายืนยันว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเหล่านั้น สามารถบำบัดรักษาโรได้ การเลือกซื้อควรฉลากให้เข้าใจก่อนว่ามีส่วนประกอบหรือสารอาหารตรงตามความต้องการหรือไม่ และหากพบเห็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงแล้ว ควรรีบแจ้งเบาะแสได้ที่สายด่วน อย. 1556 ด้วยนะคะ

  • นักวิจัย ศึกษารักษาโรคด้วยสมุนไพร ตามแบบชนเผ่าพื้นเมืองแคลิฟอร์เนีย

    นักวิจัย ศึกษารักษาโรคด้วยสมุนไพร ตามแบบชนเผ่าพื้นเมืองแคลิฟอร์เนีย

    นักวิจัย ศึกษารักษาโรคด้วยสมุนไพร ตามแบบชนเผ่าพื้นเมืองแคลิฟอร์เนีย นักวิจัยบางคนชี้ว่ายาสมุนไพรรักษาโรคเป็นกุญแจสำคัญของยาแผนปัจจุบันแต่ผู้ใช้ควรมีความรู้ในการใช้อย่างถูกต้องเพราะพืชสมุนไพรบางชนิดมีความเป็นพิษ ปกติจะมีคนเดินป่าออกสำรวจเนินเขาหลายๆลูกในอุทยาน Angeles National Forest แต่กลุ่มเดินป่ากลุ่มนี้มีจุดประสงค์ในการเดินเขาครั้งนี้แตกต่างไป พวกเขากำลังเรียนรู้วิธีรักษาโรคด้วยพืชสมุนไพรที่ชาวอเมริกันพื้นเมืองเคยใช้รวมทั้งพืชที่ผู้ตั้งรกรากรุ่นแรกๆชาวสเปนใช้บำบัดอาการเจ็บป่วยต่างๆคุณเจมส์ อดัมส์ สอนวิชาเภสัชศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย Southern California เป็นหัวหน้าทีมเดินป่าหาสมุนไพรครั้งนี้ เขากล่าวว่าศาสตร์แห่งการบำบัดรักษาโรคเริ่มต้นมาจากศาสตร์แห่งการออกไปพูดคุยกับหมอแผนโบราณในท้องถิ่นเพื่อหาข้อมูลว่าพวกเขาใช้พืชสมุนไพรชนิดใดในการรักษาโรคต่างๆ หลังจากนั้นก็ต้องไปเสาะหาพืชสมุนไพรนั้นมาศึกษาในห้องแลปเพื่อหาคำตอบว่าทำไมพืชนั้นๆจึงสามารถบำบัดโรคนั้นๆได้ผล ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ชาวอเมริกันพื้นเมืองเผ่า Chumas เรียนรู้จากประสบการณ์ส่วนตัวว่าพืชสมุนไพรชนิดใดใช้รักษาโรคอะไรบ้าง ผู้เชี่ยวชาญด้านยารักษาโรคกล่าวว่าพืชบางชนิดมีพิษ ดังนั้นผู้ใช้จำเป็นต้องมีความรู้ ตัวคุณอดัมส์ได้เรียนรู้การรักษาโรคด้วยยาสมุนไพรจากหมอแผนโบราณเป็นชนเผ่าพื้นเมือง Chumas และบางครั้งเขาจะนำตัวอย่างพืชสมุนไพรกลับไปศึกษาในห้องเเลปของเขาเพื่อค้นหาคำตอบว่าทำไมพืชเหล่านั้นจึงใช้บำบัดอาการเจ็บป่วยได้ เขากล่าวว่ายารักษาโรคแผนปัจจุบันยังมีความสำคัญในการรักษาโรคแต่มักเป็นอันตรายหากใช้มากเกินความจำเป็น คุณเจมส์ อดัมส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านยารักษาโรคจากมหาวิทยาลัย Southern California กล่าวปิดท้ายรายงานจากผู้สื่อข่าววีโอเอที่นครลอสเองเจลลีสว่าเเน่นอนว่าหากคุณป่วยก็จำเป็นใช้ยารักษาโรค แต่บ่อยครั้งที่คนเราลืมว่าควรรักษาสมดุลทางสุขภาพเป็นอันดับแรก เมื่อคุณมีสมดุลนี้ ร่างกายก็จะสามารถเยียวยาตัวเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งยาอาหารที่มีคุณค่าและการออกกำลังกายเป็นประจำก็เป็นวิธีที่ช่วยรักษาสมดุลทางสุขภาพนี้ได้