Tag: มาลาเรีย

  • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับไข้ป่า ไข้มาลาเรีย หรือไข้จับสั่น

    เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับไข้ป่า ไข้มาลาเรีย หรือไข้จับสั่น

    เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับไข้ป่า ไข้มาลาเรีย หรือไข้จับสั่น ไม่ว่าจะเป็นไข้ป่า ไข้มาลาเรียหรือไข้จับสั่น ต่างก็เป็นชื่อของโรคเดียวกันนั่นแหล่ะค่ะ เกิดจากเชื้อโปรโตซัวพลาสโมเดียม มักระบาดอยู่ตามจังหวัดชายแดน โดยเฉพาะบริเวณเขาสูง ป่าทึบและมีแหล่งน้ำ ลำธารเพราะเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ของยุงก้นปล่องซึ่งเป็นพาหะของโรคนี้ จังหวัดที่พบผู้ป่วยโรคมาลาเรียมาก ๆ นั้นส่วนใหญ่ได้แก่ ตาก แม่ฮ่องสอน ระนอง ตราด กาญจนบุรี จันทบุรี สระแก้ว ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรีและชุมพร โรคไข้มาลาเรียนั้นสามารถติดต่อได้จากการถูกยุงก้นปล่องตัวเมียที่มีเชื้อมาลาเรียกัด และหลังจากได้รับเชื้อแล้วประมาณ 1-2 อาทิตย์จะมีอาการคล้ายกับการเป็นหวัด คือ ปวดหัว มีไข้ ปวดเมื่อยตามลำตัว อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร สะบัดร้อนสะบัดหนาว บางช่วงจะมีอาการไข้สูง หนาวสั่น แล้วตามด้วยเหงื่อออก แล้วกลับไปหนาวสั่นอีก สลับไปมาอยู่อย่างนี้จึงถูกเรียกว่าไข้จับสั่น โรคนี้นั้นถ้าไปพบแพทย์จะต้องได้รับการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาเชื้อมาลาเรียเท่านั้นจึงจะวิเคราะห์ได้ สำหรับการรักษา โรคไข้มาลาเรียเป็นโรคที่สามารักษาให้หายขาดได้ หากได้รับการวินิจฉัยที่รวดเร็วถูกต้อง และได้รับยารักษาที่ตรงกับชนิดของเชื้อที่เป็นสาเหตุ ไม่ควรซื้อยามาทานเอง หรือกินยาไม่ครบถ้วน เพราะอาจทำให้มีปัญหาเชื้อดื้ยา หรือทำให้โรครุนแรงขึ้นได้ และอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ด้วย แม้จะเป็นโรครักษาให้หายได้แต่ก็ไม่ควรประมาท ควรป้องกันตนเองเมื่อต้องเข้าไปในแหล่งระบาดของมาลาเรียด้วยการป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด ดังต่อไปนี้ – สวมใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิด…

  • การระวังป้องกันและรักษาโรคติดต่อจากยุงในเบื้องต้น

    การระวังป้องกันและรักษาโรคติดต่อจากยุงในเบื้องต้น

    การระวังป้องกันและรักษาโรคติดต่อจากยุงในเบื้องต้น โรคติดต่อจากยุงที่พบมากในภูมิภาคของเรานั้นก็ได้แก่ โรคไข้เลือดออก และไข้มาลาเรีย ยิ่งในฤดูฝนต่อฤดูหนาวแล้วก็ยิ่งพบได้บ่อยด้วย โรคไข้เลือดออกนั้นจะมีอาการไข้สูงตลอดเวลา หน้าแดงตาแดง ปวดท้อง อาเจียน มีผื่นหรือมีจุดจ้ำแดงขึ้นตามตัว ส่วนไข้มาลาเรียนั้น มักจะมีอาการจับไข้หนาวสั่นเป็นบางเวลา ทุกวัน หรือวันเว้นวันก็ได้ บางครั้งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มียุงมากได้ ก็ควรป้องกันตัวเองดังต่อไปนี้ค่ะ – ไม่ควรให้ยุงกัด ไม่ว่าจะเป็นเวลาใดก็ตาม ควรนอนกางมุ้ง สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ห่มผ้าหนา ๆ ใช้กับดักยุง ทายากันยุง หรือใช้ตะไคร้หอม หรือใบกะเพราะดำคั้นน้ำมาทาตามลำตัวเพื่อไล่ยุง – ในบริเวณที่พักอาศัยและในชุมชน ควรกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยการปิดฝาภาชระใส่น้ำ คว่ำหรือทำลายภาชนะที่มีน้ำขัง โรยผงซักฟอกในภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ถาดรองกระถางต้นไม้ จานรองตู้กับข้าง ด้วยอัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำสองลิตร หรือจะปล่อยปลาหางนกยูงหรือปลากัดลงในบ่อน้ำที่ไม่ได้ใช้ดื่มกิน – กำจัดยุงโดยการผสมผงซักฟอก สบู่เหลว แชมพู หรือน้ำยาล้างจาน 1 ช้อนโต๊ะกับน้ำหนึ่งลิตร คนอย่าให้เป็นฟอง แล้วใส่กระบอกฉีดน้ำ ฉีดยุงที่เกาะตามบริเวณบ้าน การเยียวยาเบื้องต้นสำหรับผู้ที่เริ่มเป็นไข้ตัวร้อนแล้ว ก็คือไม่ควรอาบน้ำเย็น ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวแทน…

  • เที่ยวป่าหน้าฝนระวังไข้มาลาเรีย

    เที่ยวป่าหน้าฝนระวังไข้มาลาเรีย

    เที่ยวป่าหน้าฝนระวังไข้มาลาเรีย ในแต่ละปีนั้นองค์การอนามัยโลกคาดว่ามีผู้ป่วยไข้มาลาเรียถึงกว่าปีละ 500 ล้านคน และเสียชีวิตมากกว่าปีละล้านคน ระบาดสูงสุดในช่วงเดือน เม.ย. ถึง ก.ค. ผู้ที่ชอบไปท่องเที่ยวในป่า หรือแหล่งที่มียุงชุกชุมจึงมักติดเชื้อไข้มาลาเรียได้ง่ายในช่วงนี้ ไข้มาลาเรีย หรือไข้ป่านี้เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัวที่ติดต่อกันโดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะ มักระบาดตามป่าเขา และพบการโรคมาลาเรียนี้ดื้อยามากขึ้นด้วย เมื่อยุงไปกัดคนที่มาเชื้อมาลาเรียเข้าเชื้อก็จะเข้าไปแบ่งตัวในยุง เมื่อไปกัดคนอื่นก็จะถ่ายทอดเชื้อออกไป เมื่อเข้าสู่ร่างกายคนจะเจริญเติบโตในเซลล์ตับและเม็ดเลือดแดง มีระยะฟักตัวประมาณสองอาทิตย์ แล้วจะป่วยไม่สบาย ต่อมาก็จะมีไข้หนาวสั่น ปวดหัว ปวดเมื่อย คลื่นไส้อาเจียน และอาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ร้ายแรงได้ ไม่ว่าจะเป็นมาลาเรียขึ้นสมอง น้ำตาลในเลือดต่ำ เหลืองซีด ปัสสาวะสีดำ ไตวาย ปอดบวมน้ำและเสียชีวิตได้ เพราะการกินยาป้องกันมาเลเรียล่วงหน้านั้นไม่ได้ผล การที่จะเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวในป่าหรือเดินทางศึกษาธรรมชาติจึงควรระมัดระวังตนเองไม่ให้ยุงกัด ด้วยการสวมเสื้อผ้ามิดชิด ทาโลชั่นกันยุงและนอนในมุ้งที่ฉาบน้ำยา หากกลับจากไปเที่ยวแล้วป่วยควรรีบไปพบแพทย์ด่วน และควรปฏิบัติตามแพทย์สั่งและทานยาให้ครบถ้วนด้วย ผู้ที่เพิ่งกลับจากป่าเขามาอย่าเพิ่งบริจาคโลหิตจะดีกว่าเพราะงานบริการโลหิตยังไม่มีวิธีการตรวจเชื้อมาลาเรียได้ และเชื้อมาลาเรียที่ติดมากับโลหิตบริจาคจะสามารถถ่ายทอดไปยังผู้รับโลหิตได้อีกด้วย

  • เชื้อโปรโตซัวที่ทำให้เกิดไข้มาลาเรีย

    เชื้อโปรโตซัวที่ทำให้เกิดไข้มาลาเรีย

    เชื้อโปรโตซัวที่ทำให้เกิดไข้มาลาเรีย ไข้มาลาเรีย นั้นเกิดจากเชื้อโปรโตซัวพลาสโมเดียม ซึ่งทำให้เกิดโรคได้คนได้มีอยู่ 4 ชนิดดังนี้คือ – ฟัลซิปารัม – ไวแวกซ์ – มาลาเรียอี – โอวาเล่ ซึ่งเชื้อมาลาเรียที่พบบ่อยในเมืองไทยได้แก่สองชนิดแรก เชื้อฟัลซิปารัมอาจทำให้เสียชีวิตได้ ส่วน ไวแวกซ์และโอวาเล่สามารถซ่อนตัวอยู่ในตับได้นาน และกลับออกมาสู่กระแสเลือดทำให้เป็นโรคได้อีก แห่งของเชื้อไข้มาลาเรียนี้จะอยู่ตามชายแดน ภูเขาสูง ป่าทึบ แหล่งน้ำธรรมชาติ ลำธาร เพราะเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ของยุงก้นปล่อง พบมากในจังหวัด ตราด ตาก แม่ฮ่องสอน ระนอง กาญจนบุรี จันทบุรี สระแก้ว ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี ชุมพร ซึ่งติดต่อได้ด้วยยุงก้นปล่องเป็นพาหะมากัดคน อาการของผู้ป่วยไข้มาลาเรียนั้นจะปรากฏออกมาหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 1-2 อาทิตย์ โดยจะมีไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อยเนื้อตัว คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร หนาวสั่น ไข้สูงเหงื่อออก ซึ่งจะพบได้ในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น การตรวจวินิจฉัยจะทำได้โดยการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อ ไข้มาลาเรียนี้เป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ ถ้าได้รับการรักษาที่รวดเร็วและรักษาด้วยยาที่มีประสิทธิภาพตรงตามเชื้อ การป้องกันตัวเองเมื่อต้องเข้าไปในแหล่งที่มีการระบาดของไข้มาลาเรียนั้นควรป้องกันตนเองมิให้ยุงมากัด ด้วยการสวมเสื้อผ้าที่มิดชิดและควรใช้เสื้อผ้าสีอ่อน ๆ ทายากันยุง นอนในมุ้ง…

  • รู้จักกับ…โรคมาลาเรีย

    รู้จักกับ…โรคมาลาเรีย

    รู้จักกับ…โรคมาลาเรีย ในช่วงเดือน เม.ย. ถึง ก.ค. นั้นจะเป็นช่วงที่โรคมาลาเรียมีการระบาดสูงสุด ทั่วโลกจึงร่วมกันรณรงค์แก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะในแต่ละปีจะมีผู้ติดเชื้อมาลาเรียทั่วโลกถึงประมาณสามร้อนกว่าล้านคน เสียชีวิตราว 1 ล้านคน ส่วนมากกว่าร้อยละ 90 พบในทวีปแอฟริกา ส่วนในประเทศไทยนั้นมีผู้ป่วยมากที่สุดห้าอันดับแรกอยู่ในจังหวัด ตาก กาญจนบุรี แม่ฮ่องสอน ระนองและสงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่ป่า เขา สวนยางพารา แหล่งน้ำ ภูเขาสูงชันและลำธาร โดยเฉพาะบริเวณชายแดน โรคไข้มาลาเรีย ไข้ป่าหรือไข้จับสั่นนี้เกิดจากเชื้อโปรโตซัว โดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะ ไปกัดคนที่มีเชื้อมาลาเรียอยู่ เชื้อนี้จะเข้าไปเจริญแบ่งตัวในยุงแล้วก็ไปกัดคนต่อไป ปล่อยเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดเจริญเติบโตที่ตับและเม็ดเลือดแดง มีระยะฟักตัวประมาณ 14 วัน จึงเกิดอาการไข้สูง ปวดศีรษะ เมื่อยเนื้อตัว อาเจียน หนาวสั่น สะบัดร้อนสะบัดหนาว เหงื่อออก รู้สึกดีขึ้นแล้วก็กลับมาเป็นใหม่อีก บางรายอาจมีอาการแทรกซ้อนรุนแรง เช่น มาลาเรียขึ้นสมอง น้ำตาลในเลือดต่ำ เหลือง ซีด ปัสสาวะดำ ไตวาย ปอดบวมน้ำ ทำให้ถึงแก่ชีวิตได ไข้มาลาเรียไม่สามารถกินยาป้องกันล่วงหน้าได้ หากเข้าป่าควรป้องกันยุงโดยสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด ใช้ยาทาหรือยาจุดกันยุง…

  • การป้องกันระวัง…ไข้มาลาเรียหรือไข้ป่า

    การป้องกันระวัง…ไข้มาลาเรียหรือไข้ป่า

    การป้องกันระวัง…ไข้มาลาเรียหรือไข้ป่า แม้ในปัจจุบันนี้โรคไข้มาลาเรียจะพบเห็นได้น้อยลงแล้ว  แต่หากเป็นในช่วงฤดูฝนที่ฝนตกชุกอยู่ก็อาจเพิ่มการระบาดของโรคนี้ขึ้นมาได้เหมือนกัน เพราะว่าพาหะของโรคนี้คือยุงก้นปล่องที่จะวางไข่เพาะพันธุ์อยู่ตามป่าเขา และลำธาร  เมื่อมีผู้คนเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการเดินทางผ่านหรือการเข้าไปท่องเที่ยว แล้วหากถูกยุงกัดเข้าก็อาจได้รับเชื้อและกลายเป็นโรคไข้มาลาเรียขึ้นได้ ไข้มาลาเรียหรือไข้ป่านี้เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัวสี่ชนิดได้แก่ ฟัลซิปารั่ม, ไวแว็กซ์, โอวาเล่ และมาลาริอี  เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อจะมีระยะฟักตัวประมาณ 10-14 วัน แล้วจะมีอาการป่วยเกิดขึ้นคือมีไข้สูงและหนาวสั่น จึงทำให้ชาวบ้านเรียกโรคนี้ว่า ไข้จับสั่น นอกจากจะมีอาการจับไข้แล้ว จะมีภาวะแทรกซ้อนขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นมาลาเรียขึ้นสมอง น้ำตาลในเลือดต่ำ ตัวเหลืองซีด ปัสสาวะดำ ไตวาย ปอดบวมน้ำ แล้วก็อาจทำให้ผู้ที่ติดเชื้อเสียชีวิตได้ด้วย ในส่วนของการรักษาโรคมาเลเรียนั้น ก็จะแตกต่างกันไปตามเชื้อแต่ละชนิด  จึงจำเป็นต้องตรวจเลือดการเพื่อหาเชื้อแล้วจึงให้ยาทุกครั้ง  หากได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว การกินยาเพียงไม่กี่วันก็รักษาให้หายขาดได้แล้ว แต่หากรักษาช้าอาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่อันตรายได้  ที่น่าเป็นห่วงมากก็คือปัจจุบันนี้ผู้ป่วยมาเลเรียที่เชื้อดื้อยามากขึ้นเรื่อย ๆ  ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังมีเชื้ออยู่แล้วเป็นพาหะไปติดคนอื่น ๆ ได้ เมื่อป่วยแล้วจึงรักษาด้วยยาเดิมไม่ได้ผล ดังนั้นหาเป็นมาลาเรียแล้วจึงไม่ควรหายามากินเอง แต่ควรไปพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างถูกต้อง อีกทั้งยังควรทานยาให้ครบห้ามหยุดก่อน มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาเชื้อดื้อยาขึ้นได้อีกด้วย แม้จะมียาสำหรับป้องกันล่วงหน้าแต่ก็ไม่ควรกินอยู่ดี เนื่องจากยาไม่มีประสิทธิภาพมากพอแล้วยังอาจเป็นสาเหตุของเชื้อดื้อยาได้ง่ายขึ้น  ดังนั้นการป้องกันยุงกัดจึงเป็นเรื่องที่สำคัญกว่าในยามที่จำเป็นต้องเดินทางเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการไปท่องเที่ยว การเก็บของป่า การเดินทางผ่าน ฯลฯ ควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด ทายากันยุงและนอนในมุ้งที่ชุบสารเคมีจะดีที่สุดค่ะ

  • นักวิจัยค้นพบลักษณะการแพร่ของเชื้อมาลาเรียในร่างกายคน

    นักวิจัยค้นพบลักษณะการแพร่ของเชื้อมาลาเรียในร่างกายคน

    นักวิจัยค้นพบลักษณะการแพร่ของเชื้อมาลาเรียในร่างกายคน เมื่อยุงดูดเลือดจนอิ่มแล้วยุงตัวเมียที่มีเชื้อมาลาเลียจะฉีดเชื้อโรคนับพันตัวเข้าไปในกระแสเลือดของเหยื่อ  เภสัชศาสตร์กล่าวว่า ตัวเชื้อโรคจะแตกตัวอย่างรวดเร็วทันทีที่เข้าไปสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง เชื้อโรคนับพันๆตัวจะเพิ่มทวีคูณอย่างรวดเร็ว และเชื้อโรคแต่ละตัวจะแตกออกเป็น 24 ถึง 32 ตัวภายใน 48 ชั่วโมง เป็นการขยายจำนวนอย่างรวดเร็วมาก ทีมงานวิจัยค้นพบว่า ขณะอยู่ในเซลล์ในเม็ดเลือดแดง ตัวเชื้อมาลาเรียจะใช้สารโปรตีนหลายชนิดในการแตกตัว หลังจากดูดกินสารอาหารที่หล่อเลี้ยงเซลล์แล้ว ตัวเชื้อโรคที่เพิ่งแตกตัวออกมาใหม่จะทะลุทะลวงผนังเซลล์เม็ดเลือดแดงออกมาสู่กระแสเลือด เพื่อเข้าไปเเพร่เชื้อในเซลล์เม็ดเลือดแดงตัวใหม่แล้วขยายเพิ่มจำนวนเป็นล้านๆตัว หลังจากฟักตัวนานหนึ่งถึงสองสัปดาห์ ผู้ติดเชื้อมาลาเรียจะเริ่มแสดงอาการป่วย มีไข้สูง หนาวสั่นและเหงื่อออก สารโปรตีนในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่เป็นเป้าหมายของเชื้อมาลาเรียอาจนำไปสู่การบำบัดมาลาเรียด้วยยาแบบรับประทานตัวใหม่ที่เรียกว่ายาโซทราสะโตร์อิน (sotrastaurin) เมื่อเข้าสู่กระแสเลือด เชื้อมาลาเรียจะเข้าไปจับตัวกับสารโปรตีนที่เรียกว่าเอนไซม์ PKC ทำให้โครงสร้างสารโปรตีนอ่อนแอ ทำให้เซลล์ฺถูกแยกออกจากกันจนไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ ยาโซทราสะโตร์อินจะมีฤทธิ์ไปบล็อคไม่ให้เชื้อมาลาเรียเข้าไปถึงตัวเอนไซม์ PKC ได้ เป็นการตัดวงจรไม่ให้เชื้อโรคแตกตัวเพิ่มจำนวนได้ นักวิจัยจึงได้ทำการทดลองใช้ยาโซทราสะโตร์อินในการบำบัดมาลาเรียในหนูทดลองแล้วปรากฏว่าจำนวนเชื้อมาลาเรียในหนูลดลงอย่างรวดเร็ว ตัวยาโซทราสะโตร์อินกำลังอยู่ระหว่างทดลองรักษาในคนเพื่อบำบัดอาการต่อต้านการปลูกถ่ายอวัยวะในคน เนื่องจากยาตัวนี้เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อโปรตีนในเซลล์เม็ดเลือดของมนุษย์ เชื้อมาลาเรียจึงไม่สามารถพัฒนาต่อต้านต่อยาชนิดนี้ได้

  • นักวิจัยพบว่า ยาลดระดับไขมันในเลือด สามารถป้องกันการติดเชื้อมาลาเรียได้

    นักวิจัยพบว่า ยาลดระดับไขมันในเลือด สามารถป้องกันการติดเชื้อมาลาเรียได้

    นักวิจัยพบว่า ยาลดระดับไขมันในเลือด สามารถป้องกันการติดเชื้อมาลาเรียได้ ยาลดระดับไขมันในเส้นเลือด Lovastatin จัดอยู่ในกลุ่มยาที่ช่วยลดอาการอักเสบในร่างกายเมื่อได้รับเชื้อโรค อาการอักเสบเป็นผลจากการทำงานของระบบภูมิต้านทานในร่างกายเพื่อต่อต้านเชื้อโรค แต่บางครั้ง ร่างกายสร้างปฏิกริยาตอบรุนแรงต่อเชื้อโรคและไปทำลายเนื้อเยื่อในร่างกายเสียเอง ในการทดสอบกับหนูทดลอง ทีมนักวิจัยนานาชาติค้นพบว่ายาลดระดับไขมันในเส้นเลือด Lovastatin ช่วยป้องกันอาการผิดปกติในสมองที่เกิดกับเด็กในแอฟริกาทางใต้ของทะเลทรายซาฮาร่าประมาณหนึ่งแสนสองหมื่นคนที่รอดชีวิตหลังจากป่วยด้วยมาเลเรียขึ้นสมองที่ทำให้สมองและเนื้อเยื่อสันหลังอักเสบ หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่าปัญหาความผิดปกติในสมองเป็นอุปสรรคตลอดชีวิตแก่เด็กที่หายป่วยจากเชื้อมาลาเรียขึ้นสมอง จึงทำให้เมื่อเด็กที่หายป่วยไปโรงเรียนจะพยายามหาความรู้ในเรื่องที่เค้าเคยเป็นมา หัวหน้าทีมวิจัยเสนอให้แพทย์เสริมยาลดระดับไขมันในเส้นเลือด Lovastatin เข้าไปในการบำบัดผู้ป่วยโรคมาลาเรียและโรคโลหิตเป็นพิษซึ่งเป็นโรคที่ทำให้คนเจ็บป่วยและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตทั่วโลกสูงกว่าโรคมาลาเรียขึ้นสมอง และได้เรียกร้องให้หน่วยงานควบคุมยาของราชการให้เร่งขั้นตอนการพิจารณาในเรื่องนี้ แต่เขาไม่มั่นใจว่าจะสามารถไปจัดทำการทดลองใช้ยาลดระดับไขมันในเส้นเลือดร่วมในการบำบัดผู้ป่วยมาลาเรียในทวีปแอฟริกาที่มีการระบาดของโรคได้

  • นักวิทยาศาสตร์ รายงานผลการวิจัยเรื่องพันธุกรรมของปรสิต และแหล่งที่มา

    นักวิทยาศาสตร์ รายงานผลการวิจัยเรื่องพันธุกรรมของปรสิต และแหล่งที่มา

    นักวิทยาศาสตร์ รายงานผลการวิจัยเรื่องพันธุกรรมของปรสิต และแหล่งที่มา นักวิทยาศาสตร์ ค้นพบเกี่ยวกับลักษณะทางพันธุกรรมของปรสิตดื้อยาต้านมาลาเรียและระบุว่าแหล่งของปรสิตมาจากภาคตะวันตกของกัมพูชา ซึงได้แพร่ไปในส่วนอื่นของเอเชียและแอฟริกาบ้างแล้ว นักวิจัยกล่าวว่า แม้จะยังไม่สามารถอธิบายอย่างแน่ชัดว่ากระบวนการดื้อยาทำงานอย่างไรแต่พบวิธีติดตามเพื่อศึกษาเชิงลึกต่อไป ในช่วงหกทศวรรษที่ผ่านมาปรสิตในภาคตะวันตกของกัมพูชาดื้อยาต้านมาลาเรียชนิดหลักสองชนิด ชนิดแรกคือยา Chloroquine และชนิดที่สองเป็นส่วนผสมของ Sulfadoxine และ Pyrimethamine ยาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดขณะนี้คือ artemisinin ซึ่งพบการดื้อยานี้แล้วในปรสิตจากกัมพูชาเช่นกัน แต่ยังไม่แพร่ไปส่วนอื่นของโลก องค์การอนามัยโลกกล่าวว่า มีรายงายการป่วยด้วยโรคมาลาเรีย 150 ล้านรายทั่วโลกในปี ค.ศ. 2010 และมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 500,000 คน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การเสียชิวิตจากไข้มาลาเรียลดลงมากกว่า 25% ในช่วง 13 ปีที่ผ่านมา

  • นักวิจัยชี้ว่า การกำจัดลูกยุง LSM จะช่วยควบคุมโรคมาลาเรียได้

    นักวิจัยชี้ว่า การกำจัดลูกยุง LSM จะช่วยควบคุมโรคมาลาเรียได้

    นักวิจัยชี้ว่า การกำจัดลูกยุง LSM จะช่วยควบคุมโรคมาลาเรียได้ การควบคุมมาลาเรียด้วยการจัดการแหล่งตัวอ่อนยุง เป็นการกำจัดลูกยุงก่อนโตเต็มวัยกลายเป็นพาหะของโรค เป็นวิธีที่ได้ผลในการมุ่งเป้ากำจัดลูกยุงในแหล่งน้ำขัง ในขณะเดียวกันการใช้มุงเคลือบยากันยุงกับการฉีดพ่นยาฆ่ายุงเป็นวิธีที่มุ่งเป้าที่ยุงโตเต็มวัยแล้ว การควบคุมลูกยุงน่าจะใช้เป็นวิธีเสริมแก่มาตรการควบคุมมาลาเรียวิธีอื่นๆ แต่ไม่ควรใช้ทดแทนกัน เธอกล่าวว่าการควบคุมลูกยุงน่าจะเป็นวิธีควบคุมมาลาเรียที่มีประสิทธิภาพเหมาะกับสภาพเเวดล้อมในเขตเมือง ยกตัวอย่างว่าการทำลายแหล่งน้ำขังที่เป็นที่อยู่ของลูกยุงเป็นการถาวรด้วยการสูบน้ำทิ้งหรือถมดินหรือขุดลอกระบบท่อน้ำทิ้งเพื่อทำลายที่อยู่ของลูกยุง เป็นการตัดวงจรชีวิตของยุง นอกจากนี้การควบคุมลูกยุงยังสามารถทำได้ด้วยการเติมยาฆ่าลูกยุงลงไปแหล่งน้ำขัง การศึกษาเรื่องนี้หลายชิ้นพบว่าค่าใช่จ่ายในการกำจัดลูกยุงน่าจะพอๆกับค่าใช้จ่ายในการป้องกันยุงด้วยการใช้มุ้งเคลือบยากันยุงและใช้ยาฆ่ายุงพ่นภายในตัวอาคารบ้านเรือน โครงการรณรงค์ปราบปรามมาลาเรีย Roll Back Malaria รายงานว่าค่าใช้จ่ายในการต่อต้านมาลาเรียทั่วโลกอยู่ที่ราว 5 ถึง 6 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี