Tag: มะเร็งเต้านม
-
สรรพคุณมากคุณค่าของเห็ดหลากหลายชนิด
สรรพคุณมากคุณค่าของเห็ดหลากหลายชนิด ไม่มีใครที่ไม่รู้จักเห็ด พืชที่ชอบขึ้นตามขอนไม้และที่ชื้นแฉะทั้งหลาย มีหลายสายพันธุ์ที่เป็นพิษ แต่ก็มีอีกหลายชนิดที่สามารถนำมาทานได้ และสามารถเพาะพันธุ์ขายได้ด้วย มาดูกันดีกว่าค่ะว่าเห็ดแต่ละชนิดที่เรากินกันอยู่ทุกวันนี้ให้คุณค่าต่อร่างกายอย่างไรกันบ้าง – เห็ดชิตาเกะ หรือเห็ดหอม เป็นยาทางแพทย์แผนจีน รักษาโรคได้หลากหลายชนิด ป้องกันเชื้อไวรัสและการก่อกำเนิดของเซลล์มะเร็งได้ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ให้กรดอะมิโน ให้วิตามินบี 1 บี 2 และวิตามินดีสูง บำรุงกระดูก มีปริมาณของโซเดียมต่ำจึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไต ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ลดกรดในกระเพาะอาหาร บรรเทาหวัดได้ – เห็ดหลินจือ มีคุณสมบัติช่วยต้านมะเร็ง โดยประเทศญี่ปุ่นมักใช้ควบคู่กับการรักษาโรคมะเร็งและโรคชรา เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น – เห็ดหูหนู ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้เม็ดเลือดขาว เพิ่มภูมิต้านทาน รักษาโรคกระเพาะและริดสีดวง บำรุงไตและปอด – เห็ดแชมปิญอง หรือเห็ดกระดุม ช่วยป้องกันและต้านทานมะเร็งเต้านมได้ ช่วยให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลง จึงลดโอกาสการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมให้น้อยลงตามไปด้วยนั่นเอง – เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม และเห็ดเป๋าฮื้อ เป็นเห็ดในตระกูลเดียวกัน เชื่อว่าป้องกันโรคไข้หวัด ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต และบรรเทาอาการโรคกระเพาะได้ –…
-
มาเดินเร็วเพื่อสุขภาพกันเถอะ
มาเดินเร็วเพื่อสุขภาพกันเถอะ การเดินนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็นสามระยะด้วยกันก็คือ… – เดินช้า ๆ ก็คือการเดินแบบสบาย ๆ เดินช้อปปิ้ง เดินชมนกชมไม้ เดินเล่นในสวนสาธารณะ ยังสามารถพูดคุยได้ตามปกติ หรือเดินร้องเพลงได้ – เดินเร็ว จะมีอัตราการเดินของคนปกติอยู่ที่ปราว 400-700 เมตรในเวลา 6 นาที เดินเร็วจะร้องเพลงหรือผิวปาก ฮัมเพลงไม่ได้แล้ว หากยังทำได้แสดงว่าเดินช้าไป แต่ถ้าเดินเร็วมากจนพูดไม่รู้เรื่องแล้วนั่นคือเร็วเกิน – เดินแข่ง เป็นการเดินเพื่อการแข่งขัน จะเดินจนพูดไม่เป็นคำ พูดไม่รู้เรื่อง หอบเหนื่อย หายใจไม่ทัน เป็นกิจกรรมสำหรับสร้างความแข็งแรง ยืดหยุ่น ทนทานให้ร่างกาย เพื่อป้องกันหรือรักษาโรคด้วย ซึ่งการเดินที่จะแนะนำในวันนี้ก็คือแบบที่สองนั่นเองค่ะ ควรเดินให้ได้ครั้งละ 10 นาที ในหนึ่งวันรวมให้ได้ 30 นาที และสัปดาห์ละ 5 วันขึ้นไปจึงจะเห็นผล มีประโยชน์มากต่อร่างกายเพราะช่วยควบคุมน้ำหนัก ควบคุมไขมัน คอเลสเตอรอล ป้องกันและลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันกระดูกพรุนกระดูกบาง เพื่อความแข็งแกร่งทนทานของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังลดการเกิดโรคเบาหวานและอัตราการเป็นมะเร็งได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม…
-
อันตรายในห้องน้ำที่ทำให้คุณป่วยซ้ำ ๆ ป่วยบ่อย ๆ
อันตรายในห้องน้ำที่ทำให้คุณป่วยซ้ำ ๆ ป่วยบ่อย ๆ ใครที่มีอาการเจ็บป่วยบ่อย ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ บางทีลองมาสังเกตห้องน้ำของคุณบ้างนะคะ ว่ามีเชื้อโรคร้ายแฝงอยู่บ้างหรือเปล่า ลองมาเช็คดูไปพร้อม ๆ กันนะคะ 1. ยาแนวในห้องน้ำทำให้เกิดโรคภูมิแพ้และระบบทางเดินหายใจ หากสูดดมในปริมาณมาก อาจทำให้ระคายเคืองผิวหนัง ดังนั้นหลังจากการก่อสร้างบ้านหรือต่อเติมซ่อมแซมห้องน้ำ ควรเปิดประตู หรือพัดลมระบายอาการเพื่อระบายความเข้มข้นของสารเคมีจากยาแนวเหล่านี้ออกไปให้มากที่สุด 2. ความชื้นในห้องน้ำทำให้คุณป่วยได้ ไม่ควรปล่อยให้ห้องน้ำชื้น ควรเปิดพัดลมดูดอากาศและใช้ม๊อบถูกพื้น เช็คห้องน้ำให้หมาดหรือแห้งได้ก็จะยิ่งดี ป้องกันการก่อตัวของเชื้อราด้วย 3. ติดตั้งพัดลมดูดอากาศผิดตำแหน่ง เช่นติดไว้บนเพดาน ทำให้ความชื้นไม่ถูกระบายออกไป ทางที่ดีควรติดพัดลมระบายอากาศที่สามารถระบายอากาศสู่ภายนอกได้จะดีที่สุด 4. ใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์รุนแรง ยิ่งโดยเฉพาะที่มีส่วนผสมของแอมโมเนียและคลอรีน เพราะสารทั้งสองชนิดทำให้เกิดอาการระคายเคืองผิวหนัง ปอด และทำให้เกิดโรคหอบหืดได้ด้วย 5. ก๊อกน้ำไม่สะอาดหรือไม่ยอมทำความสะอาด แพร่เชื้อโรคได้มากที่สุดนะคะ เพราะก็อกน้ำเป็นส่วนที่ทุกคนในบ้านจับต้องมากที่สุดแต่มักได้รับการทำความสะอาดน้อยที่สุดด้วย 6. ม่านห้องน้ำแบบไวนิล มีสารที่ก่ออันตรายและสารก่อมะเร็งได้ ควรเปลี่ยนมาเป็นแบบโพลีเสเตอร์หรือไนลอนดีกว่า 7. น้ำยาทำความสะอาดสำเร็จรูปที่มีความสามารถในการกัดเซาะได้ดีนั้น จะทำความรุนแรงต่อผิวและกลิ่นฉุน ๆ ยังระคายเคืองทางเดินหายใจได้อีก ลองเปลี่ยนมาใช้เบกกิ้งโซดาซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์เบเกอรี่ กับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ทำความสะอาดห้องน้ำดีกว่า นำสองอย่างนี้มาผสมกันแล้วป้ายไว้บนสิ่งสกปรกประมาณครึ่งชั่วโมงแล้วขัดล้างตามปกติ จะปลอดภัยต่อสุขภาพของคุณมากกว่าค่ะ 8. ควรกรองคลอรีนออกจากน้ำด้วย…
-
ภัยจากการแพ้นมวัวในเด็กเล็ก
ภัยจากการแพ้นมวัวในเด็กเล็ก ส่วนใหญ่แล้วเด็กที่มีเด็กที่แพ้โปรตีนในนมวัวนั้น กว่าครึ่งจะแสดงอาการออกมาให้เห็นตั้งแต่อายุน้อยกว่า 1 เดือน โดยจะแสดงอาการเป็นผื่น รองลงมาเป็นอาการทางระบบทางเดินอาหาร ในจำนวนของเด็กที่กินนมวัวก่อนอายุครบหกเดือนนั้น ครึ่งหนึ่งจะแพ้นมวัว โดยจะมีอาการอย่างละเอียดดังต่อไปนี้ 1. แสดงอาการที่ระบบทางเดินอาหาร มักจะปวดท้อง ท้องอืด ท้องผูก ท้องเสีย โคลิก อาเจียน กรดไหลย้อน ถ่ายเป็นเลือดและน้ำหนักขึ้นน้อย 2. มีอาการผิวหนังอักเสบ มีผื่นคัน ชันตุ น้ำเหลืองเยิ้ม ลมพิษ ผิวแห้ง 3. มีปัญหาในระยะหายใจ ทั้งการนอนกรน คัดจมูก น้ำมูกไหล คันตาคันจมูก เลือดกำเดาไหล มีเสมหะในคอ หอบหืด กระแอมบ่อย ไซนัสอักเสบ ทอลซิลอักเสบ หูชั้นล่างอักเสบ ต่อมอดีนอยด์โต ต่อมน้ำเหลืองโต ตับและม้ามโต ภาวะหลับตายเนื่องจากแพ้โปรตีนนมวัว 4. มะเร็งในส่วนต่าง ๆ ทั้งต่อมน้ำเหลือง เต้านม รังไข่ ต่อมลูกหมาก ปอด ไต ตับ ลำไส้…
-
เฝ้าระวัง…โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
—
by
เฝ้าระวัง…โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในประเทศไทยนั้นพบผู้ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ในผู้ชายมากเป็นอันดับสาม รอบจากมะเร็งตับและมะเร็งปอด ในส่วนผู้หญิงพบเป็นอันดับที่ห้า โรคนี้นั้นยังไม่พบสาเหตุที่ชัดเจนแต่มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างได้แก่ – อายุมากกว่า 50 ปีขึ้น – มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มาก่อน – มีประวัติเคยเป็นมะเร็งรังไข่ มะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งเต้านมก่อน – ตรวจพบเคยมีติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่หรือโรคลำไส้ใหญ่อักเสบมาก่อน – มีภาวะโรคอ้วน สูบบุหรี่ – ฯลฯ ผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่โดยด่วน ได้แก่ อุจจาระมีมูกเลือดหรือเป็นสีดำ หรือสีดำแดง หรือการขับถ่ายเปลี่ยนไป เช่น ท้องผูกสลับท้องเสีย หรือท้องผูกและท้องเสีย ขนาดของอุจจาระเล็กกว่าปกติ รู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด แน่นท้อง อึดอัดท้อง ปวดท้อง อาเจียน อ่อนเพลีย น้ำหนักลดโดยไม่รู้ตัว ฯลฯ การรักษานั้นสามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็งและตำแหน่งของโรค ทั้งการผ่าตัด การใช้เคมีบำบัด การรักษาด้วยรังสี การใช้หลายวิธีร่วมกัน เป็นต้น การปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งได้แก่ การกินอาหารที่ปรุงสุกสะอาด กินผักและผลไม้มาก ๆ เพิ่มกากใยในลำไส้ เพื่ออุจจาระได้ง่าย หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด มีไขมันสูง รักษาน้ำหนักตัวให้ได้มากตรฐาน ออกกำลังกายสม่ำเสมอและงดการสูบบุหรี่…
-
วิธีง่าย ๆ ในการป้องกันและลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง
—
by
วิธีง่าย ๆ ในการป้องกันและลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง ทุกวันนี้มีการค้นพบว่ามนุษย์เราสามารถเป็นมะเร็งตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ ได้กว่าร้อยชนิดแล้วนะคะ ซึ่งแม้จะมีการตรวจค้นและการรักษาที่ดีเพียงไร แต่มะเร็งบางชนิดก็อาจรักษาได้ไม่หายขาด และอาจกลับมาเป็นใหม่ได้ทุกเมื่อ รวมไปถึงอีกส่วนที่อาจรักษาไม่ได้และต้องเสียชีวิตไป ปี ๆ หนึ่งเป็นจำนวนมาก จะดีกว่าไหมที่เราจะหันมาป้องกันและลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเสียก่อน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมา การป้องกันมะเร็งนั้น สามารถทำได้ดังนี้ – ทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็น ผัก ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง โฮลวีต โฮลเกรน เมล็ดธัญพืชชนิดต่าง ๆ ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ – กินกะหล่ำและผักในตระกูลเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี ผักกาด ผักคะค้า ฯลฯ ต่าง ๆ เหล่าช่วยป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ และระบบทางเดินหายใจ – ทานอาหารที่มีวิตามินซี ป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร – ทานอาหารที่มีวิตามินเอ และเบต้าแคโรทีน ที่พบได้ในผักผลไม้สีเหลือง สีเขียวเข้ม ป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกล่องเสียงและมะเร็งปอดได้ – รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้ไม่อ้วน…
-
หมั่นตรวจแพ็ปสเมียร์ เพื่อเฝ้าระวังมะเร็งปากมดลูก
หมั่นตรวจแพ็ปสเมียร์ เพื่อเฝ้าระวังมะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากมดลูกนั้น เป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดในหญิงไทย ซึ่งรองลงมาก็คือมะเร็งโพรงมดลูก มะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่ สาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูกนั้น เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ชนิด 16 และ 18 ผู้ที่มีความเสี่ยงก็ได้แก่ หญิงที่เปลี่ยนคู่นอนหลายคน มีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุยังน้อย มีสามีที่มีคู่นอนหลายคน จึงทำให้ได้รับเชื้อเอชพีวีจากการมีเพศสัมพันธ์ได้ รวมไปถึงผู้ที่มีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น เอดส์ เริม หนองใน ซิฟิลิส ฯลฯ นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ การมีอนามัยที่ไม่ดี ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูกอีกด้วย โดยอาการของโรคมะเร็งปากมดลูกนี้ ได้แก่ มีเลือดออกจากช่องคลอดกะปริบกระปรอย มีตกขาวปนเลือด มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ และในระยะท้าย ๆ จะมีอาการขาบวม ปวดก้นกบ ปัสสาวะ อุจจาระเป็นเลือด ซึ่งหากรอจนถึงมีอาการระยะนี้แล้วอาจมีโอกาสในการรักษาให้หายได้เพียงร้อยละ 20-30 เท่านั้น มะเร็งปากมดลูกนี้ระยะแรกจะไม่มีอาการใดเลย แต่หากตรวจพบจะสามารถรักษาให้หายได้ถึงร้อยละ 70-80 เลยทีเดียว การตรวจว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือไม่นั้น ใช้วิธีแพ็ปสเมียร์ ที่สามารถตรวจได้ง่าย รวมไปถึงการผ่าตัดที่มาพร้อมกับรักษาและวินิจฉัยระยะของโรคไปด้วยในตัว หากตรวจพบมะเร็งปากมดลูกในระยะแรกหากทำการผ่าตัดจะรักษาโรคได้ถึงร้อยละ 80 แต่หากพบว่ามีการกระจายตัวแล้วต้องใช้การฉายรังสีเพื่อรักษาด้วย…
-
ระวังไว้ก่อน กับมะเร็งที่ไต
ระวังไว้ก่อน กับมะเร็งที่ไต มะเร็งไตเป็นโรคที่คนไทยไม่ค่อยคุ้นเคยกันเหมือนมะเร็งอื่น ๆ อย่าง มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ฯลฯ มากนัก ในประเทศไทยนั้นมีผู้ชายป่วยเป็นมะเร็งไต 1.6 รายต่อแสนคน และผู้หญิง 0.8 รายต่อประชากรแสนคน พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ 50-70 ปีขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่จะมาตรวจพบมะเร็งไตเพราะมารักษาโรคอื่นๆ อาการของมะเร็งไตนั้น พบได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็น ปัสสาวะเป็นเลือด ปวดบริเวณเอว คลำพบก้อนที่เอวซีด เบื่ออาหาร มีไข้เรื้อรัง น้ำหนักลด สามารถแบ่งมะเร็งไตออกเป็น สี่ระยะได้แก่ ระยะแรกจะมีขนาดก้อนน้อยกว่าเจ็ดเซนติเมตร ยังไม่ลุกลาม และจะโตขึ้นกว่าเจ็ดเซนติเมตรแต่ยังอยู่ในไตเป็นระยะที่สอง ส่วนระยะที่สามเริ่มลุกลามไปยังหลอดเลือดดำ หรือกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือ ในระยะที่สุดจะลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียงแล้ว ได้แก่ ต่อมหมวกไต ปอด ตับ กระดูก ซึ่งแนวทางการรักษามะเร็งไต ก็ได้แก่ การผ่าตัด สำหรับมะเร็งไตระยะที่ 1-2 การฉายรังสีเพื่อเป็นการบรรเทาอาการ การใช้ยาเคมีบำบัด เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของมะเร็งไปที่อวัยวะอื่น ๆ รวมไปถึงการให้ยากระตุ้นภูมิคุ้มกัน ในกรณีที่มีการกระจายตัวไปที่อวัยวะอื่นแล้วเท่านั้น และอีกวิธีคือการรักษาแบบเฉพาะเจาะกลุ่มโดยการใช้ยา ซึ่งแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ…
-
โรคมะเร็งและแนวทางการรักษา
โรคมะเร็งและแนวทางการรักษา โรคมะเร็งในปัจจุบันนี้ พบได้มากขึ้นไปเรื่อย ๆ ทั้งในเพศชายและเพศหญิง ยิ่งโดยเฉพาะเพสหญิงด้วยแล้ว ทั้งวิถีชีวิตและการกินอาหรก็เลียนแบบไปทางตะวันตกมากขึ้น โรคมะเร็งที่พบมากในผู้หญิงจึงเปลี่ยนแปลงไปตามแนวทางผู้หญิงตะวันตกมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งอาการผิดปกติสำหรับผู้ที่เริ่มต้นเป็นมะเร็งนั้นจะได้แก่อาการอ่อนเพลีย ร่วมกับอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลงไปประมาณร้อยละ 10 ของร่างกายภายในหกเดือน (แต่ถ้าขึ้น ๆ ลง ๆ ถือว่าปกติ) แต่อาการเหล่านี้ไม่ถือว่าเป็นโรคมะเร็งอย่างเดียว อาจเกี่ยวข้องกับโรคอื่นได้ด้วย การรักษามะเร็งนั้นมีการรักษาร่วมกันหลายวิธี ทั้งการผ่าตัด การรักษาด้วยเคมี การฉายแสง ในส่วนของการผ่าตัดนั้นใช้ได้กับมะเร็งแทบทุกชนิดแต่ต้องดูความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นระยะของโรค หรืออวัยวะนั้นผ่าตัดได้หรือไม่ ส่วนมะเร็งที่เลือกผ่าตัดเป็นอันดับแรก ๆ ก็คือ มะเร็งตับ มะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งช่องปากระยะต้น มะเร็งเต้านม มดลูก ต่อมลูกหมากระยะต้น เป็นต้น สำหรับวิธีเคมีบำบัด จะใช้เพื่อลดการกระจายตัวของโรคไปที่อื่นหลังการผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ก็มีมะเร็งบางชนิดที่ทำได้แค่การให้เคมีบำบัดอย่างเดียว เช่น มะเร็งเม็ดเลือด และบางครั้งก็มีการให้ยาเคมีบำบัด ร่วมกับการฉายรังสี เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น มะเร็งศีรษะและลำคอ ในส่วนของการให้ยาเคมีบำบัดส่วนใหญ่แล้วจะเป็นยาฉีดที่ให้ทางหลอดเลือดดำ หรืออาจให้ยาเคมีบำบัดทางอุปกรณ์พิเศษที่ต่อเข้าสู่เส้นเลือดดำใหญ่ได้โดยตรง เนื่องจากการให้ยาเคมีบำบัดต้องให้หลายครั้ง ซึ่งต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ เพราะอาจมีอาการหลังจากให้ยาได้ ไม่ว่าจะเป็น คลื่นไส้…
-
ขยับเนื้อตัวเสียบ้าง ป้องกันโรคร้ายทั้งเจ็ด
—
by
ขยับเนื้อตัวเสียบ้าง ป้องกันโรคร้ายทั้งเจ็ด การขยับเขยื้อนร่างกายเพื่อให้สุขภาพดีขึ้นนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นการออกกำลังกายที่ต้องมีกฎ กติกา พื้นที่ อุปกรณ์อะไรเหล่านั้นหรอกค่ะ การขยับร่างกายซ้ำ ๆ หรือกายบริหารเบาๆ ที่สามารถทำให้ร่างกายได้ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ ก็ช่วยฟิตหรือเสริมความแข็งแรงให้กับร่างกายได้แล้ว สำหรับผู้ที่ทำงานนั่งโต๊ะทั้งวันหรือนั่ง ๆ นอน ๆ ทั้งวันไม่ได้ทำอะไร อาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ดังต่อไปนี้ – เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบและโรคหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจตาย 1.5-2 เท่า – อัมพฤกษ์ อัมพาต 1.5-2 เท่า – ความดันโลหิตสูง 1.3-1.5 เท่า – เบาหวาน 1.3-1.5 เท่า – มะเร็งลำไส้ใหญ่ 1.3-2 เท่า – มะเร็งเต้านม 1.1-1.3 เท่า – กระดูกพรุน 1.5-2 เท่า รวมไปถึงโรคอ้วน น้ำหนักเกิน และโรคอื่น ๆ อีกกว่า 20 โรคด้วย ดังนั้นในแต่ละวันเราควรหากิจกรรมทำเพื่อขยับเขยื้อนร่างกายบ้าง…