Tag: มะเร็งลำไส้ใหญ่
-
มาเดินเร็วเพื่อสุขภาพกันเถอะ
มาเดินเร็วเพื่อสุขภาพกันเถอะ การเดินนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็นสามระยะด้วยกันก็คือ… – เดินช้า ๆ ก็คือการเดินแบบสบาย ๆ เดินช้อปปิ้ง เดินชมนกชมไม้ เดินเล่นในสวนสาธารณะ ยังสามารถพูดคุยได้ตามปกติ หรือเดินร้องเพลงได้ – เดินเร็ว จะมีอัตราการเดินของคนปกติอยู่ที่ปราว 400-700 เมตรในเวลา 6 นาที เดินเร็วจะร้องเพลงหรือผิวปาก ฮัมเพลงไม่ได้แล้ว หากยังทำได้แสดงว่าเดินช้าไป แต่ถ้าเดินเร็วมากจนพูดไม่รู้เรื่องแล้วนั่นคือเร็วเกิน – เดินแข่ง เป็นการเดินเพื่อการแข่งขัน จะเดินจนพูดไม่เป็นคำ พูดไม่รู้เรื่อง หอบเหนื่อย หายใจไม่ทัน เป็นกิจกรรมสำหรับสร้างความแข็งแรง ยืดหยุ่น ทนทานให้ร่างกาย เพื่อป้องกันหรือรักษาโรคด้วย ซึ่งการเดินที่จะแนะนำในวันนี้ก็คือแบบที่สองนั่นเองค่ะ ควรเดินให้ได้ครั้งละ 10 นาที ในหนึ่งวันรวมให้ได้ 30 นาที และสัปดาห์ละ 5 วันขึ้นไปจึงจะเห็นผล มีประโยชน์มากต่อร่างกายเพราะช่วยควบคุมน้ำหนัก ควบคุมไขมัน คอเลสเตอรอล ป้องกันและลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันกระดูกพรุนกระดูกบาง เพื่อความแข็งแกร่งทนทานของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังลดการเกิดโรคเบาหวานและอัตราการเป็นมะเร็งได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม…
-
คนไทยควรหมั่นตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
คนไทยควรหมั่นตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในปัจจุบันนี้มีคนไทยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่กันมากขึ้น และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกด้วย เพราะมีความเสี่ยงหลายประการไม่ว่าจะเป็น การเป็นโรคลำไส้บางชนิด เช่น โรคเนื้องอกที่ผนังลำไส้ หรือลำไส้อักเสบเรื้อรัง การมีกรรมพันธุ์ หรือมีญาติสายตรงเป็นมะเร็งลำไส้ มักทานอาหารประเภทเนื้อแดง อาหารใส่ดินประสิว ปลาร้า ปลาส้ม แหนม ไส้กรอก อาหารรมควัน ทอดปิ้ง ย่างจนเกรียม อาหารที่ปนเปื้อนสายเคมี อาหารมีเส้นใยน้อย อีกทั้งยังพบว่ายิ่งมีอายุมากเกินกว่า 50 ปีขึ้นไปก็ยิ่งมีความเสี่ยงขึ้น รวมไปถึงผู้ดื่มเหล้าและสูบบุหรี่เป็นเวลานานอีกด้วย ซึ่งอาการของผู้ป่วยนั้นจะมีอาการถ่ายเป็นมูกเลือด ปวดทวารหนักเวลาถ่าย มีลำอุจจาระที่ลีบเล็กลง มักมีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย และหากก้อนมะเร็งโตจนอุดตันลำไส้แล้วจะปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน ไม่ถ่าย และไม่ผายลม มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักนี้หากตรวจพบตั้งแต่เริ่มแรกจะรักษาหายมากกว่าร้อยละ 95 แต่ถ้าเข้าสู่ระยะอื่น ๆ หรือแพร่กระจายแล้วจะทำให้การรักษาไม่ได้ผลเท่าที่ควร มะเร็งลำไส้ใหญ่นี้จะไม่แสดงอาการในระยะเริ่มแรก การเข้าตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ ทั้งการตรวจอุจจาระและตรวจเลือดก็จะทำให้พบกับรอยโรคก่อนเป็นมะเร็ง หรือพบกับมะเร็งระยะแรกเริ่มได้ มีประโยชน์มากเพราะยิ่งตรวจพบเร็วเท่าไรก็ยิ่งรักษาให้หายได้เร็วเท่านั้น ผู้ที่มีความเสี่ยงดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยิ่งควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ให้สม่ำเสมอ เพื่อเป็นการระวังป้องกันไว้ก่อน และรักษาได้อย่างทันท่วงทีด้วยค่ะ
-
คุณประโยชน์ของวิตามินและเส้นใยอาหารในผัก
คุณประโยชน์ของวิตามินและเส้นใยอาหารในผัก การกินผักที่เพียงพอให้ประโยชน์ต่อร่างกายของเรามากนะคะ ยิ่งโดยเฉพาะเส้นใยอาหารและวิตามินในผักแล้วเนี่ย ในแต่ละวันเราควรกินผักทั้งผักสดและผักสุกให้ได้ประมาณ 4-6 ทัพพีต่อวันจึงเข้ามาเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกค่ะ ซึ่งสารอาหารที่เราได้รับจากผักนั้น หลัก ๆ ก็ได้แก่ – ได้รับเส้นใยอาหารอาหาร เส้นใยที่ละลายน้ำได้นั้นช่วยในการดักจับคาร์โบไฮเดรตให้มีการย่อยและดูดซึมช้าลง น้ำตาลในเลือดจึงมีความคงที่ ช่วยจับคอเลสเตอรอลในเลือด ลดอัตราความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน และโรคหัวใจ ส่วนเส้นใยที่ไม่ละลายน้ำจะมีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร ช่วยให้รู้สึกอิ่มได้นานขึ้น ป้องกันและรักษาอาการท้องผูก ช่วยควบคุมน้ำหนัก ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อีกด้วย – ได้รับวิตามินเอ ช่วยรักษาสุขภาพดวงตาและการมองเห็น ทำให้ระบบสืบพันธ์ทำงานได้ตามปกติ ส่งเสริมพัฒนาการของร่างกาย ควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันโรค ทำให้เซลล์ของผนังปอด ลำไส้ ทางเดินปัสสาวะแข็งแรงด้วย ลดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ – วิตามินซี ช่วยในการสร้างคอลลาเจนทำให้กระดูก ฟัน หลอดเลือด และผิวหนังแข็งแรง รักษาบาดแผล สร้างฮอร์โมนบางชนิด เช่น ฮอร์โมนไทร็อกซินที่ช่วยควบคุมอัตราการเผาผลาญอาหารในร่างกาย ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก และเสริมภูมิคุ้มการโรคทั้งยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระป้องกันความเสื่อมถอยของร่างกายได้ – ได้รับวิตามินอี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระไม่ให้มาทำลายเซลล์ได้ ช่วยป้องกันและชะลอการเกิดโรคหัวใจหรือมะเร็ง วิตามินอีพบได้มากในผักโขม บร็อกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง การกินผักที่จะทำให้ร่างกายได้รับประโยชน์จริง ๆ นั้นควรทานผักที่ปลอดสารพิษ หรือถ้าเป็นผักที่ปลูกเองยิ่งดีใหญ่…
-
เฝ้าระวัง…โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
—
by
เฝ้าระวัง…โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในประเทศไทยนั้นพบผู้ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ในผู้ชายมากเป็นอันดับสาม รอบจากมะเร็งตับและมะเร็งปอด ในส่วนผู้หญิงพบเป็นอันดับที่ห้า โรคนี้นั้นยังไม่พบสาเหตุที่ชัดเจนแต่มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างได้แก่ – อายุมากกว่า 50 ปีขึ้น – มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มาก่อน – มีประวัติเคยเป็นมะเร็งรังไข่ มะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งเต้านมก่อน – ตรวจพบเคยมีติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่หรือโรคลำไส้ใหญ่อักเสบมาก่อน – มีภาวะโรคอ้วน สูบบุหรี่ – ฯลฯ ผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่โดยด่วน ได้แก่ อุจจาระมีมูกเลือดหรือเป็นสีดำ หรือสีดำแดง หรือการขับถ่ายเปลี่ยนไป เช่น ท้องผูกสลับท้องเสีย หรือท้องผูกและท้องเสีย ขนาดของอุจจาระเล็กกว่าปกติ รู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด แน่นท้อง อึดอัดท้อง ปวดท้อง อาเจียน อ่อนเพลีย น้ำหนักลดโดยไม่รู้ตัว ฯลฯ การรักษานั้นสามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็งและตำแหน่งของโรค ทั้งการผ่าตัด การใช้เคมีบำบัด การรักษาด้วยรังสี การใช้หลายวิธีร่วมกัน เป็นต้น การปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งได้แก่ การกินอาหารที่ปรุงสุกสะอาด กินผักและผลไม้มาก ๆ เพิ่มกากใยในลำไส้ เพื่ออุจจาระได้ง่าย หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด มีไขมันสูง รักษาน้ำหนักตัวให้ได้มากตรฐาน ออกกำลังกายสม่ำเสมอและงดการสูบบุหรี่…
-
วิธีง่าย ๆ ในการป้องกันและลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง
—
by
วิธีง่าย ๆ ในการป้องกันและลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง ทุกวันนี้มีการค้นพบว่ามนุษย์เราสามารถเป็นมะเร็งตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ ได้กว่าร้อยชนิดแล้วนะคะ ซึ่งแม้จะมีการตรวจค้นและการรักษาที่ดีเพียงไร แต่มะเร็งบางชนิดก็อาจรักษาได้ไม่หายขาด และอาจกลับมาเป็นใหม่ได้ทุกเมื่อ รวมไปถึงอีกส่วนที่อาจรักษาไม่ได้และต้องเสียชีวิตไป ปี ๆ หนึ่งเป็นจำนวนมาก จะดีกว่าไหมที่เราจะหันมาป้องกันและลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเสียก่อน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมา การป้องกันมะเร็งนั้น สามารถทำได้ดังนี้ – ทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็น ผัก ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง โฮลวีต โฮลเกรน เมล็ดธัญพืชชนิดต่าง ๆ ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ – กินกะหล่ำและผักในตระกูลเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี ผักกาด ผักคะค้า ฯลฯ ต่าง ๆ เหล่าช่วยป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ และระบบทางเดินหายใจ – ทานอาหารที่มีวิตามินซี ป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร – ทานอาหารที่มีวิตามินเอ และเบต้าแคโรทีน ที่พบได้ในผักผลไม้สีเหลือง สีเขียวเข้ม ป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกล่องเสียงและมะเร็งปอดได้ – รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้ไม่อ้วน…
-
โรคมะเร็งและแนวทางการรักษา
โรคมะเร็งและแนวทางการรักษา โรคมะเร็งในปัจจุบันนี้ พบได้มากขึ้นไปเรื่อย ๆ ทั้งในเพศชายและเพศหญิง ยิ่งโดยเฉพาะเพสหญิงด้วยแล้ว ทั้งวิถีชีวิตและการกินอาหรก็เลียนแบบไปทางตะวันตกมากขึ้น โรคมะเร็งที่พบมากในผู้หญิงจึงเปลี่ยนแปลงไปตามแนวทางผู้หญิงตะวันตกมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งอาการผิดปกติสำหรับผู้ที่เริ่มต้นเป็นมะเร็งนั้นจะได้แก่อาการอ่อนเพลีย ร่วมกับอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลงไปประมาณร้อยละ 10 ของร่างกายภายในหกเดือน (แต่ถ้าขึ้น ๆ ลง ๆ ถือว่าปกติ) แต่อาการเหล่านี้ไม่ถือว่าเป็นโรคมะเร็งอย่างเดียว อาจเกี่ยวข้องกับโรคอื่นได้ด้วย การรักษามะเร็งนั้นมีการรักษาร่วมกันหลายวิธี ทั้งการผ่าตัด การรักษาด้วยเคมี การฉายแสง ในส่วนของการผ่าตัดนั้นใช้ได้กับมะเร็งแทบทุกชนิดแต่ต้องดูความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นระยะของโรค หรืออวัยวะนั้นผ่าตัดได้หรือไม่ ส่วนมะเร็งที่เลือกผ่าตัดเป็นอันดับแรก ๆ ก็คือ มะเร็งตับ มะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งช่องปากระยะต้น มะเร็งเต้านม มดลูก ต่อมลูกหมากระยะต้น เป็นต้น สำหรับวิธีเคมีบำบัด จะใช้เพื่อลดการกระจายตัวของโรคไปที่อื่นหลังการผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่ก็มีมะเร็งบางชนิดที่ทำได้แค่การให้เคมีบำบัดอย่างเดียว เช่น มะเร็งเม็ดเลือด และบางครั้งก็มีการให้ยาเคมีบำบัด ร่วมกับการฉายรังสี เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น มะเร็งศีรษะและลำคอ ในส่วนของการให้ยาเคมีบำบัดส่วนใหญ่แล้วจะเป็นยาฉีดที่ให้ทางหลอดเลือดดำ หรืออาจให้ยาเคมีบำบัดทางอุปกรณ์พิเศษที่ต่อเข้าสู่เส้นเลือดดำใหญ่ได้โดยตรง เนื่องจากการให้ยาเคมีบำบัดต้องให้หลายครั้ง ซึ่งต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ เพราะอาจมีอาการหลังจากให้ยาได้ ไม่ว่าจะเป็น คลื่นไส้…
-
ขยับเนื้อตัวเสียบ้าง ป้องกันโรคร้ายทั้งเจ็ด
—
by
ขยับเนื้อตัวเสียบ้าง ป้องกันโรคร้ายทั้งเจ็ด การขยับเขยื้อนร่างกายเพื่อให้สุขภาพดีขึ้นนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นการออกกำลังกายที่ต้องมีกฎ กติกา พื้นที่ อุปกรณ์อะไรเหล่านั้นหรอกค่ะ การขยับร่างกายซ้ำ ๆ หรือกายบริหารเบาๆ ที่สามารถทำให้ร่างกายได้ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ ก็ช่วยฟิตหรือเสริมความแข็งแรงให้กับร่างกายได้แล้ว สำหรับผู้ที่ทำงานนั่งโต๊ะทั้งวันหรือนั่ง ๆ นอน ๆ ทั้งวันไม่ได้ทำอะไร อาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ดังต่อไปนี้ – เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบและโรคหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจตาย 1.5-2 เท่า – อัมพฤกษ์ อัมพาต 1.5-2 เท่า – ความดันโลหิตสูง 1.3-1.5 เท่า – เบาหวาน 1.3-1.5 เท่า – มะเร็งลำไส้ใหญ่ 1.3-2 เท่า – มะเร็งเต้านม 1.1-1.3 เท่า – กระดูกพรุน 1.5-2 เท่า รวมไปถึงโรคอ้วน น้ำหนักเกิน และโรคอื่น ๆ อีกกว่า 20 โรคด้วย ดังนั้นในแต่ละวันเราควรหากิจกรรมทำเพื่อขยับเขยื้อนร่างกายบ้าง…
-
วิธีเลือกทานผัก…ให้ปลอดจากสารเคมีทางการเกษตร
วิธีเลือกทานผัก…ให้ปลอดจากสารเคมีทางการเกษตร พิษจากสารเคมีทางการเกษตรนั้นทั่วทั้งโลกตระหนักดีกว่าก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บมากมายทั้งตัวของเกษตรกรผู้ผลิตเองและไล่ไปถึงผู้บริโภคด้วย ที่ว่าร้ายก็เป็นเพราะว่าสารเคมีทางการเกษตรนี้ก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งกระเพาะ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งรังไข่และมะเร็งที่ไต เป็นต้น จากการสุ่มตรวจเลือดของประชาชนโดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขนั้น ได้ดูระดับของเอนไซม์ อะเซทิล โคลิเนสเทอเรส ในเลือด ซึ่งหากลดต่ำลงหากได้รับสารในกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟตและคาบาร์เมต พบว่ามีสัสดส่วนผู้ที่มีความเสี่ยงถึงร้อยละ 54 และจากการศึกษาของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่าผู้ที่มีระดับเอนไซม์อะเซทิล โคลิเนสเทอเรสต่ำนั้นมีความสัมพันธ์กับสภาวะดีเอ็นเอถูกทำลาย จนอาจกลายพันธุ์เป็นมะเร็งได้ในอนาคต ดังนั้นทั้งเราจึงต้องร่วมมือกันในการทำให้อาหารที่บริโภคนั้นปลอดภัยมากยิ่งขึ้น นอกจากเกษตรกรผู้ปลูกจะต้องใส่ใจการผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษ ด้วยการหันมาปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ พืชผักปลอดสารพิษแล้ว ผู้บริโภคก็ต้องหันมาสนับสนุนอาหารเหล่านี้เช่นกัน ด้วยการเลือกผักมาประกอบอาหารดังต่อไปนี้ – ทานผักให้มีความหลากหลาย หมุนเวียนเปลี่ยนชนิดไปเรื่อย ๆ ยิ่งหากทานเป็นผักพื้นบ้านก็จะยิ่งปลอดภัยจากสารเคมีมากยิ่งขึ้น – เลือกอาหารหรือผักอินทรีย์จากแหล่งผลิตที่วางใจได้ – เมื่อนำมาปรุงควรลอกเปลือกชั้นนอกทิ้งไปก่อน เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาว เพราะใบชั้นนอกจะมีสารเคมีตกค้างมากกว่าใบชั้นใน – ล้างผักด้วยการแช่น้ำ เช่น เปิดน้ำจากก๊อกให้ไหลผ่านผักโดยตรง 2 นาที หรือจะใช้วิธีแช่ผักในน้ำปูนใส น้ำด่างทับทิม น้ำซาวข้าว…
-
ใส่ใจสุขภาพ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง
ใส่ใจสุขภาพ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา มีรายงานการพบมะเร็งแล้วในคนกว่าร้อยชนิด และคนไทยเองก็ตายด้วยโรคมะเร็งเป็นอันหนึ่งหนึ่งมาโดยตลอด และยังมีแนวโน้มการป่วยและตายมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งทวารหนัก โดยผู้ที่ป่วยกว่าครึ่งจะเป็นผู้สูงอายุ เนื่องจากมะเร็งเป็นโรคที่ค่อย ๆ คืบคลานอย่างช้า ๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นจึวควรดูแลตัวเองให้แข็งแรงจะช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งได้ด้วยการดูแลเอาใจใส่สุขภาพดังต่อไปนี้ 1. รักษาตัวไม่ให้อ้วนเกินมาตรฐาน ทานอาหารแต่พอดีและออกกำลังกายเป็นประจำ รักษาสภาพจิตใจให้สดใสสดชื่นทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคมากขึ้น 2. ทานอาหารให้ครบถ้วนให้ได้วิตามินและแร่ธาตุที่หลากหลาย แต่ลดอาหารที่มีไขมันสูง อาหารทอดหรือย่าง รวมไปถึงอาหารหมักดอง อาหารแปรรูปใส่ดินประสิว หรือเสี่ยงมีเชื้อรา และอาหารที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ ด้วย ควรทานอาหารสด ๆ ผักสด ผลไม้สด นอกจากจะมีสารต้านอนุมูลอิสระแล้วยังมีกากใยอาหารช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย 3. งดสูบบุหรี่ สามารถลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งปอดได้ร้อยละ 60 4. งดสุรา หากสูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงในการมะเร็งถึงเก้าเท่าและหากสูบบุหรี่ด้วยอีกจะเพิ่มความเสี่ยงสูงถึง 50 เท่า! 5. มีเพศสัมพันธ์เมื่อพร้อม เมื่อถึงวัยที่เหมาะสม ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อยและมีคู่หลายคนมีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น 6.…
-
ใส่ใจกับอาหาร ต้านมะเร็งได้ผลนะ
ใส่ใจกับอาหาร ต้านมะเร็งได้ผลนะ ในปัจจุบันมีแนวโน้มการป่วยและตายด้วยโรคมะเร็งสูงขึ้นแบบยั้งไม่หยุด ฉุดไม่อยู่ ในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดนั้นกว่าครึ่งคือผู้สูงอายุ ที่เซลล์มะเร็งค่อย ๆ ก่อตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และกว่าจะพบว่าตนเองเป็นมะเร็งก็มักจะอยู่ในระยะลุมลามที่ยากจะรักษาให้หายขาดได้แล้ว ทั้งที่โรคมะเร็งนั้นหากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มแรกมีโอกาสที่จะรักษาให้หายได้ถึงร้อย 80 เลยทีเดียว ดังนั้นเราทุกคนจึงควรตรวจสุขภาพประจำปีไว้เพื่อหาความผิดปกติของร่างกาย เพื่อป้องกันโรคร้ายไว้แต่เนิ่น ๆ รวมไปถึงการใส่ใจเลือกอาหารการกินก็สามารถต้านมะเร็งได้อีกทางหนึ่งด้วยนะ – ทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารให้มากเข้าไว้ ไม่ว่าจะเป็นผักสด ผลไม้สดต่าง ๆ รวมไปถึงข้าวกล้อง ข้าวโพด ธัญพืช โฮลเกรน ฯลฯ เหล่านี้ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ – ผักและผลไม้สีเขียว มีเบต้าแคโรทีนและวิตามินเอสูง ป้องกันมะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกล่องเสียงและมะเร็งปอดได้ รวมไปถึงผักและผลไม้รสเปรี้ยวที่มีวิตามินซีมาก ๆ ช่วยป้องกันมะเร็งหลอดอาหารและกระเพาะอาหารได้อีกทางหนึ่ง – ทานผักตระกูลกะหล่ำให้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น คะน้า กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี หัวผักกาด เหล่านี้ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งลำไส้ส่วนปลาย มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งในอวัยวะทางเดินหายใจทั้งหมด นอกจากอาหารที่ควรทานแล้วยังมีอาหารบางประเภทที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อป้องกันมะเร็งด้วยนะ – อาหารที่ขึ้นรา ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งตับ – อาหารที่มีไขมันสูง เพราะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งต่อมลูกหมาก…