Tag: มลพิษทางอากาศ
-
ผู้หญิงตั้งครรภ์ ที่สูดเอาอากาศที่มีมลพิษเข้าไป ทำให้ลูกในครรภ์ออกมาตัวเล็ก
ผู้หญิงตั้งครรภ์ ที่สูดเอาอากาศที่มีมลพิษเข้าไป ทำให้ลูกในครรภ์ออกมาตัวเล็ก การศึกษาครั้งใหญ่นี้พบว่าในเกือบทุกจุดที่เก็บข้อมูลทั้งหมด ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่หายใจเอาอากาศที่มีมลพิษมากที่สุด โดยวัดจากระดับความหนาแน่นของฝุ่นคาร์บอนมีโอกาสสูงมากที่จะคลอดลูกที่มีน้ำหนักตัวตอนคลอดต่ำกว่าสองพันห้าร้อยกรัมหรือห้าจุดห้าปอนด์ ทารกทีีมีน้ำหนักตัวต่ำตอนคลอด หากรอดชีวิต จะมีโอกาสเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพรุนแรงหลายอย่างและอาจประสบกับปัญหาการเรียนรู้ในระยะเวลาต่อมาของชีวิต การศึกษาโดยทีมงานนักวิจัยนานาชาติได้วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับเด็กทารก 3 ล้านคนโดยเป็นการเก็บข้อมูลทั้งหมดใน 14 จุดใน 9 ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ เอเชียและออสเตรเลีย โดยใช้เวลาศึกษานาน 15 ปีเริ่มตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2538 ผู้เชี่ยวชาญกล่าวสรุปว่า อาจเป็นเพราะว่ามลพิษทางอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งมีผลต่อสุขภาพของทารกที่กำลังพัฒนาในครรภ์ หรืออาจเป็นเพราะว่าฝุ่นผงขนาดเล็กในอากาศสามารถเข้าไปถึงปอดและสารพิษจากฝุ่นควันพิษสามารถเข้าไปสู่กระแสเลือดและส่งต่อไปยังตัวทารกทำให้เกิดผลกระทบต่อการพัฒนาของเด็กทารกได้
-
บำบัดปอดด้วยความร้อน ช่วยลดอาการกำเริบของโรคหอบหืดได้
บำบัดปอดด้วยความร้อน ช่วยลดอาการกำเริบของโรคหอบหืดได้ โดยปกติแพทย์จะแนะนำผู้ป่วยโรคหอบหืดในผู้ใหญ่ ให้พ่นยาขยายหลอดลมวันละครั้งหรือสองครั้ง เพื่อขยายหลอดลมและช่วยลดปริมาณของเสมหะ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยนั้นหายใจได้ง่ายขึ้น ซึ่งวิธีนี้จะใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์แบบพ่น และยังเป็นวิธีที่แพทย์ทั่วโลกแนะนำให้ใช้กัน และยังเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด ถึงแม้อาการยังไม่กำเริบก็ตาม อาการหอบหืดกำเริบเกิดจากหลอดลมในปอดอักเสบและบวม มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดอาการอักเสบนี้ บางอย่างเป็นปัจจัยทางพันธุกรรม บางอย่างเกิดจากสิ่งเเวดล้อม ฝุ่น มลพิษทางอากาศหรือแม้แต่ควันไฟอาจทำให้อาการหอบหืดกำเริบได้ ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง และในช่วงเปลี่ยนฤดูกาลต่างๆ อาจมีปริมาณฝุ่นผงกระจายในอากาศเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยหอบหืดอาจมีอาการกำเริบได้ แต่ปัจจุบันแพทย์ได้คิดค้นวิธีการบำบัด ให้ผู้ป่วยในผู้ใหญ่ใช้ยาพ่นได้น้อยลง โดยการที่ควบคุมขนาดยา และดูความเหมาะสมต่อการใช้ยา กับแต่ละบุคลที่เป็นนั้นๆ จากการสำรวจโดยวิธีการต่างๆ แพทย์ก็ได้พบว่า ผู้ป่วยกลุ่มที่ใช้ยาพ่นเฉพาะตอนอาการหอบหืดกำเริบ ได้ผลในการรักษาดีเท่าๆกับผู้ป่วยกลุ่มอื่น แต่กลับใช้ยาสเตียรอยด์น้อยกว่าถึงครึ่งหนึ่ง ในขณะเดียวกัน การทดลองรักษาผู้ป่วยหอบหืดวิธีใหม่ที่ไม่ใช้ยา เรียกว่าการใช้ความร้อนในกล้ามเนื้อปอด ได้ผลน่าพอใจและสร้างความหวังใหม่แก่ผู้ป่วย การรักษานี้เป็นการบำบัดด้วยความร้อนบริเวณผนังปอดและหลอดลมในปอดเพื่อลดความหนาของกล้ามเนื้อรอบๆหลอดลม ระหว่างการบำบัดหลอดลมด้วยความร้อนนี้ แพทย์จะสอดท่อเข้าไปในหลอดลมผู้ป่วยเพื่อเป็นตัวกระจายความร้อนเข้าไปในกล้ามเนื้อรอบๆหลอดลม ผู้ป่วยต้องพบแพทย์ทั้งหมดสามครั้งและแต่ละครั้งแพทย์จะบำบัดปอดในส่วนที่แตกต่างกันออกไป ผู้ป่วยหลายรายอาการดีขึ้นมากภายหลังพบแพทย์ครั้งที่สอง แต่ด็อกเตอร์คาทรีกล่าวว่านั่นไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยจะหายจากโรค แต่พบว่าอาการกำเริบรุนแรงน้อยลงและระยะเวลากำเริบจะสั้นลงด้วย
-
นักวิจัย พบว่า มลพิษทางอากาศ เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดอุดตัน และสมองขาดเลือดได้
นักวิจัย พบว่า มลพิษทางอากาศ เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดอุดตัน และสมองขาดเลือดได้ นักวิจัยเปิดเผยว่า ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองจะหายใจเอามลพิษเข้าไปในระดับสูง ทำให้มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดอุดตันเร็วขึ้นกว่าเดิม เพิ่มความเสี่ยงต่ออาการสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง เมื่อเทียบกับคนที่อาศัยในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศน้อยว่า โรคหลอดเลือดอุดตันเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตหลักทั่วโลก เป็นเหตุให้เกิดอาการสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงหากหลอดเลือดเกิดอุดตันหรือชิ้นส่วนของก้อนที่อุดตันเส้นเลือดเกิดแตกออกเป็นชิ้นๆแล้วเข้าไปในสมองและทำให้เส้นเลือดในสมองอุดตัน การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคหลอดเลือดอุดตันกับมลพิษทางอากาศในกลุ่มคนจากหลากหลายเชื้อสาย หรือเรียกสั้นๆว่า MESA (the Multi-Ethnic Study of Atherosclerosis and Air Pollution) ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าจากการวิเคราะห์ผลการตรวจอัลตราซาวด์ ทีมนักวิจัยพบว่าผนังหลอดเลือดของคนที่อาศัยในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูงเริ่มหนาขึ้นมากกว่าคนที่อาศัยในพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศน้อยกว่า อากาศที่มีฝุ่นผงคาร์บอนดำขนาดเล็กมากปะปนอยู่ปริมาณสูง เป็นฝุ่นผงดำจากควันเสียรถบัสและควันเสียต่างๆในพื้นที่เขตเมืองทั่วโลกทำให้เกิดอาการอักเสบนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจ ปกติผู้คนจะได้รับคำแนะนะให้อยู่ในบ้านไม่ออกไปไหนมาไหนในวันที่มีปริมาณมลพิษในอากาศสูง แต่เธอเห็นว่าแพทย์ควรพุดคุยเรื่องมลพิษทางอากาศกับผู้ป่วยของตนเหมือนกับคำถามเกี่ยวกับการสูบบุหรี่และลักษณะนิสัยทางโภชนาการของผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคอ้วน