Tag: ภาวะไตวายเรื้อรัง
-
ภาวะไตวาย
ภาวะไตวาย ภาวะไตวาย คือการสูญเสียการทำงานของไต สามารถแบ่งออกได้เป็นสองชนิดได้แก่ 1. ไตวายแบบเฉียบพลัน เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากกินเวลาแค่เป็นชั่วโมงหรือเป็นวันเท่านั้น เกิดจากการคั่งของของเสียที่ทำให้เกลือแร่ กรด ด่าง และการควบคุมปริมาณน้ำในร่างกายผิดปกติ ผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนใหญ่จะปัสสาวะน้อยกว่าวันละ 400 ซีซี เกิดจากจากหลายสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของระบบการไหลเวียนเลือดในร่างกาย เช่น ผู้ป่วยติดเชื้อ หรือเสียเลือดมาก หรือขาดน้ำรุนแรง ผู้ป่วยอาจอาจกลับมาเป็นปกติได้หากได้รับการรักษาทันท่วงที 2. ภาวะไตวายเรื้อรัง จะเกิดการสูญเสียการทำงานของไตไปอย่างช้า ๆ กินเวลาตั้งแต่ 1-2 ปี จนถึง 10 ปี จนกระทั่งเข้าสู่ภาวะไตวาย ซึ่งต้องได้รับการรักษาแบบทดแทน เช่น การฟอกเลือด หรือเปลี่ยนไต จึงจะทำให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ สัญญาณเตือนและอาการที่บอกว่าเป็นโรคไต 1. ปัสสาวะเป็นเลือด หรือมีสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ 2. มีโปรตีนหรือไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ อาจทำให้ปัสสาวะมีฟองมากแกละไม่สลายตัวไปง่าย ๆ 3. บวมรอบ ๆ ตาและข้อเท้า 4. ปวดหลังบริเวณบั้นเอว บางครั้งก็ร้าวไปที่ขาหนีบและลูกอัณฑะ หากปวดบริเวณเหนือกระดูกหัวเหน่าแสดงว่าอาจมีการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ ถ้าเจ็บปวดและมีไข้หนาวสั่น อาจมีการติดเชื้อทางเดินปันสาวะส่วนบนคือท่อไตและกรวยไต…
-
ไตวาย ไม่ตายไว ถ้ากินได้แบบนี้
ไตวาย ไม่ตายไว ถ้ากินได้แบบนี้ ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะไตวายเรื้อรังนั้น สามารถมีสุขภาพที่แข็งแรงและอายุที่ยาวนานขึ้นได้ด้วยการทำความเข้าใจกับสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บของตนเอง และบทความในวันนี้จะขอนำเอาเคล็ดลับที่อ่านเข้าใจง่ายของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังรายหนึ่งที่ดูแลสุขภาพของตนเองมาได้ถึง 22 ปี ทั้ง ๆ ที่อยู่ในภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายมานานแล้ว เธอมีอายุ 62 ปี และดูแลการกินอาหารของตนเองดังต่อไปนี้ค่ะ – หลีกเลี่ยงอาหารที่มีความเค็มด้วยการทำอาหารทานเองที่บ้าน ไม่ใส่เกลือ น้ำปลา เครื่องปรุงรสอื่น ๆ – กินอาหารนอกบ้านจะไม่เติมเครื่องปรุง ถ้ากินก๊วยเตี๋ยวจะสั่งเป็นแห้ง และไม่เติมผลชูรส – กินโปรตีนแต่พอดี ๆ เพราะกินมากจะมีของเสียผ่านไตมาก ไตจะทำงานหนัก และไม่น้อยเกินไปเพราะอาจทำให้ขาดสารอาหารและกล้ามเนื้อลีบได้ – ระวังการกินถั่ว และน้ำเต้าหู้ต่าง ๆ ด้วย ถ้าอยากกิน กินได้แค่คำหรือสองคำเท่านั้น รวมไปถึงเต้าหู้และโปรตีนเกษตรด้วย เพราะในธัญพืชมีฟอสฟอรัสมาก จะเปลี่ยนเป็นฟอสเฟตในเลือดที่จะไปดึงแคลเซียมออกมาจากกระดูกทำให้กระดูกบาง – ไขมันกินมาก ๆ จะอ้วน และไขมันสูงทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แต่ก็งดไม่ได้เพราะจำเป็นต่อการดูดซึมวิตามิน ADEK แต่จะเลือกกินเป็นไขมันไม่อิ่มตัว พวกน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกคำฝอย รำข้าวและงา –…
-
ระวังและป้องกัน…โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในผู้หญิง
ระวังและป้องกัน…โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในผู้หญิง โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบนี้ เรียกได้ว่าผู้หญิงแทบทุกคนทุกช่วงวัยต้องเคยเป็นมากันทั้งนั้น เป็นโรคที่รักษาไม่ยากแต่หากไม่รักษาแต่ปล่อยไว้จะลุกลามจนอาจกลายเป็นโรคกรวยไตอักเสบเรื้อรังก็อาจทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังซึ่งยากต่อการรักษาได้ โรคนี้นั้นเกิดจากเชื้อแบคทีเรียซึ่งมักปะปนอยู่ในอุจจาระของคนเรา มักจะแปดเปื้อนอยู่รอบ ๆ ทวารหนัก หากทำความสะอาดไม่สมบูรณ์ เชื้อโรคก็อาจแปดเปื้อนเข้าสู่ท่อปัสสาวะ เข้าไปภายในกระเพาะปัสสาวะได้ ยิ่งโดยเฉพาะเพศหญิงนั้นจะมีท่อปัสสาวะสั้นจึงง่ายต่อการติดเชื้อมากกว่าผู้ชายที่มีท่อปัสสาวะยาวและอยู่ห่างจากทวารหนักมาก เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะแล้วหากมีการถ่ายปัสสาวะออกทุกครั้งที่ปวดก็จะสามารถขับเชื้อโรคออกมาได้ ไม่เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ แต่ถ้าอั้นไว้ก็จะทำให้เชื้อมีเวลาที่จะแบ่งตัวเจริญแพร่พันธุ์ได้เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ เกิดอาการขัดเบาขึ้น โรคนี้จึงมักพบได้ในผู้หญิงที่ทำความสะอาดหลังอุจจาระไม่ดีและชอบอั้นปัสสาวะไว้ รวมไปถึงบางคนที่ยังเป็นกลุ่มเสี่ยงด้วย ได้แก่คนที่เป็นเบาหวาน หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีภาวะอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยที่มีการสวนปัสสาวะหรือมีการคาสายสวนปัสสาวะไว้ หรือมีการใช้เครื่องมือแพทย์สอดใส่ท่อปัสสาวะ อาการของโรคนี้ก็คือ ผู้ป่วยมักจะมีอาการถ่ายกะปริบกะปรอย ออกทีละน้อยปวดขัดหรือแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ เข้าห้องน้ำทุกชั่วโมงหรือชั่วโมงละหลายครั้ง รู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด บางรายอาจปวดท้องน้อย ปัสสาวะมักจะใส ๆ บางคนก็ขุ่นหรือมีเลือดปน มักไม่มีไข้ยกเว้นมีกรวยไตอักเสบด้วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น ปัสสาวะขุ่น ปวดเอวด้วย ในเด็กเล็กจะมีอาการปัสสาวะรดที่นอนและมีไข้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน มักมีอาการหลังจากอั้นปัสสาวะนาน ๆ หรือมีการสวนปัสสาวะ เมื่อมีอาการขัดเบาซึ่งสงสัยว่าอาจเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบความปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้ – ดื่มน้ำให้มาก ๆ วันละ สามลิตรขึ้นไป หรือดื่มน้ำเฉลี่ยชั่วโมงละ 1 แก้ว ถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่ปวด น้ำจะช่วยขับเอาเชื้อโรคออกมาและลดอาการปวดแสบปวดร้อนเวลาปัสสาวะได้ –…