Tag: ภาวะหัวใจล้มเหลว
-
กินปลาแบบไหนดีต่อสุขภาพ
กินปลาแบบไหนดีต่อสุขภาพ ความจริงแล้ว ปลา เป็นอาหารที่ทานกันมาแต่โบราณ นำมาปรุงอาหารได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นต้ม นึ่ง ย่าง ซึ่งทำให้ร่างกายได้ประโยชน์จากเนื้อปลาได้มากกว่าการนำเอามาทอดน้ำมันแบบอาหารสมัยนี้ แม้แต่ในอเมริกาเองก็เคยมีการศึกษาเรื่องของการกินปลา พบว่าหญิงชาวอเมริกันอายุ 50-79 ปี กว่าแปดหมื่นคน โดยติดตามเป็นเวลาถึง 10 ปี พบว่าการกินปลาอบหรือปลาต้มเป็นอาหารหลักมากกว่าหรือเท่ากับ 5 มื้อต่ออาทิตย์ จะช่วยลดโอกาสการเป็นภาวะหัวใจล้มเหลวตามมาถึงร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับการกินน้อยกว่า 1 มื้อต่อเดือน แต่ในด้านผู้หญิงที่กินปลาทอดเป็นอาหารหลักมากกว่าหรือเท่ากับ 1 มื้อต่ออาทิตย์ กลับจะเป็นการเพิ่มโอกาสการมีภาวะหัวใจล้มเหลวถึงร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับการกินน้อยกว่า 1 มื้อต่อเดือน ดังนั้นการกินปลานั้นเป็นเรื่องที่ดีต่อสุขภาพแน่นอน ยิ่งกินมากก็ยิ่งลดโอกาสภาวะหัวใจหัวเหลวได้ แต่ต้องเป็นปลาที่ปรุงให้สุกด้วยการต้ม นึ่ง ปิ้ง ไม่ใช่ปลาทอดที่อาจทำให้ร่างกายได้รับไขมันมากเกินไปจนเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคต่าง ๆ มากมายได้ การกินปลาให้ได้สุขภาพดีจึงควรหันไปกินแบบโบราณ ก็คือการปรุงปลาให้สุกโดยไม่ใช่น้ำมัน กินแนมกับน้ำพริก หรือผักต้ม ผักสดก็ได้ สัปดาห์ละ 2-3 มื้อก็เพียงพอแล้ว ไม่ว่าจะเป็นปลาทะลหรือปลาน้ำจืดก็มีประโยชน์เหมือนกันทั้งสิ้นค่ะ
-
หลักการใช้ชีวิตที่ดี เพื่อดูแลความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน
หลักการใช้ชีวิตที่ดี เพื่อดูแลความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน เพราะการใช้ชีวิตในรูปแบบปัจจุบัน ทั้งโภชนาการที่ล้นเกิน และอบายมุขทั้งหลาย ทำให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้นทุกปีกว่าปีละเกือบล้านคน โรคนี้ทำให้เส้นเลือดแข็งตัว มีความยืดหยุ่นน้อยลง ความเร็วของการไหลเวียนโลหิต ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หลอดเลือดสมองแตกหรือหลอดเลือดสมองตีบ และอาจมีโอกาสเป็นโรคไตวายได้ โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่อาจทำลายชีวิตคนได้ตลอดเวลา เราจึงควรดูแลร่างกายตัวเองแต่เนิ่น ๆ ดังนี้ หลักข้อแรก ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน ควรรักษาค่าดัชนีมวลกายไว้อยู่ระหว่าง 18.5-22.9 กิโลกรัม/ตารางเมตร หลักข้อที่สอง ทานอาหารและเลือกทานเฉพาะที่ดีต่อสุขภาพ ได้แก่การกินอาหารที่มีปริมาณสัดส่วนสารอาหารที่พอเพียงต่อร่างกาย ลดอาการที่มีรสชาติหวาน ทานแป้งและน้ำตาลแต่พอดี ลดอาหารที่มีไขมันสูง เพิ่มสัดส่วนของผักและผลไม้ที่มีรสหวานให้น้อยลง ทานธัญพืชให้เป็นประจำ รวมไปถึงการกินอาหารที่รสเค็มอาหารที่ปรุงด้วยเกลือ ซีอิ๊วน้ำปลา กะปิ ปลาร้า ให้น้อยลง และไม่ควรปรุงอาหารเพิ่มเองด้วย หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป ไม่ว่าจะเป็นอาหารกระป๋อง ขนมกรุบกรอบ ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ ไก่ทอด แฮม เบคอน หากต้องการปรุงรสอาหารเพิ่มแนะนำให้เติมมะนาว พริก น้ำส้มสายชูหมัก เครื่องเทศหรือสมุนไพร แทนเครื่องปรุงรสเค็มทั้งหลาย และลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่และไม่ควรอยู่ในที่ที่มีแต่ควันบุหรี่ด้วย หลักข้อที่สาม ขยับเขยื้อนเนื้อตัวอยู่ตลอดเวลา หันมาเดินให้มากขึ้น…