Tag: ภาวะสมองเสื่อม

  • การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ

    การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ

    การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ ผู้สูงอายุนั้นจะเกิดความเจ็บไข้ได้ป่วยจากสาเหตุสี่ประการได้แก่ 1. ความเสื่อมโทรมลงของอวัยวะซึ่งเป็นไปตามวัย 2. พฤติกรรมและการดูแลสุขภาพเท่าที่ผ่านมา 3. การเปลี่ยนแปลงไปของเซลล์ภายในร่างกาย 4. ปัจจัยที่ถ่ายทอดกันมากทางพันธุกรรม หลายโรคนั้นสามารถป้องกันได้ ด้วยการดูแลรักษาสุขภาพไว้ให้ดี ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องอาหารการกินที่ควรกินให้ครบหมู่ แต่ให้เน้นผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หวานหรือเค็มจัด ดื่มน้ำมาก ๆ และหมั่นออกกำลังกายในแบบที่ชอบ เพื่อลดภาวะอ้วนน้ำหนักเกินอันเป็นต้นเหตุของโรคเรื้อรังได้อีกหลายโรคไม่ว่าจะเป็น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและข้อเข่าเสื่อม ทั้งยังเป็นสาเหตุของมะเร็งบางชนิดได้อีกด้วย การพยายามรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐานจึงเป็นมาตรการดูแลรักษาสุขภาพที่ดีอีกอย่างหนึ่งด้วย ในผู้สูงอายุนั้นควรมีการดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้เป็นพิเศษ เช่น สังเกตว่ามีแผลเรื้อรังไม่หายบ้างหรือเปล่า มีปัญหาการกลืนหรือย่อยอาหารหรือไม่ รู้สึกเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ไอเรื้อรัง ไข้เรื้อรัง เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก ท้องเสีย ท้องผูกเรื้อรังบ้างหรือเปล่า ฯลฯ เหล่านี้จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายให้ละเอียดต่อไป โรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุนั้นสามารถป้องกันและดูแลตนเองเพื่อลดความรุนแรงได้ อย่างเช่น – โรคไขข้อเสื่อม ควรดูแลไม่ให้น้ำหนักมากเกินจนไปส่งผลให้ข้อเข่ารับน้ำหนักตัวเกิน หมั่นบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อให้แข็งแรง ทนุถนอมข้อเข่าให้มาก ๆ อย่างเคลื่อนไหวร่างกายหรือบิดข้อมากเกินไป ควรนั่งบนเก้าอี้ที่สบาย หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ ขัดสมาธิ หรือคุกเข่าเพื่อลดการแรงกระทำต่อข้อ ป้องกันการหกล้มด้วยการฝึกเดินหรือใช้เครื่องพยุงร่างกาย ปรับสภาพแวดล้อในบ้านด้วยการทำพื้นไม่ให้ลื่น…

  • ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงวัย

    ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงวัย

    ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงวัย ในผู้สูงวัยนั้นมักจะมีระบบความจำที่บกพร่องไป ซึ่งสามารถเกิดขึ้นไปใน สามารถบรรเทาอาการขี้ลืมนี้ได้เพียงการตั้งใจจดจำหรือจดบันทึกให้มากขึ้น แต่หากอาการหลงลืมนี้ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันแล้ว อาการหลงลืมนั้นอาจเกิดจากภาวะสมองเสื่อมได้ ซึ่งนอกจากจะต้องเกิดขึ้นอย่างน้อยหกเดือนแล้ว แพทย์จะวินิจฉัยอาการของคนไข้ด้วยว่ามีอาการดังต่อไปนี้ 1. เกิดความบกพร่องในการทำงานของสมองใหญ่ ได้แก่ การบกพร่องในการเรียนรับรู้หรือเรียนรู้ การทำกิจกรรมที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน ความบกพร่องในการตัดสินใจ หลงทาง ความบกพร่องในการใช้ภาษาและการทำกิจกรรมที่เคยทำมาได้ก่อนแล้ว 2. การประกอบกิจวัตรประจำวันบกพร่องไป ไม่ว่าจะเป็น ไม่อาบน้ำแต่งตัว กลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะไม่อยู่ ทานอาหารมูมมาม หกเรี่ยราดทั้งที่เคยเป็นคนเรียบร้อยมาก่อน ขึ้นบันไดเองไม่ได้ หรือลุกนั่งหรือเดินแล้วหกล้ม มีท่าทางการเดินเปลี่ยนแปลงไป แต่งตัวหรือเลือกเสื้อผ้ารองเท้า ไม่ถูกกาลเทศะ เคยขึ้นรถโดยสารคนเดียวได้ก็ทำไม่ได้แล้ว ฯลฯ 3. มีพฤติกรรมและบุคลิกแปลก ๆ หรือเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็น จากคนร่าเริงกลายเป็นคนเฉยเมย เฉื่อยชา ไม่กระตือรือร้น ฉุนเฉียวโมโหง่าย หลีกเลี่ยงการออกไปพบปะเพื่อนฝูงผู้คนที่เคยไปมาหาสู่สม่ำเสมอ เดินไปเดินมาอย่างไร้จุดหมาย ทำอะไรซ้ำซาก เช่น รื้อหาสิ่งของ เปิดตู้ลิ้นชักค้นหาของตลอดเวลา อาจมีอาการคล้ายจิตเภท เช่น เห็นภาพหลอน มีความเชื่อความคิดที่หลงผิด เป็นต้น โดยอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปก็ได้ หรือเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วก็ได้ ขอให้ครอบครัวที่มีผู้สูงอายุช่วยกันสังเกตบางก็จะทราบได้ว่าท่านมีภาวะสมองเสื่อมหรือไม่ ควรรีบพามาพบแพทย์เพื่อการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพสมองไว้ให้ได้นานที่สุดค่ะ

  • การปรับตัวเข้าหา ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

    การปรับตัวเข้าหา ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

    การปรับตัวเข้าหา ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ไม่ง่ายเลย.. สำหรับการดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ในครอบครัว เพราะโรคนี้จะทำให้เขาเหล่านั้นมีอาการหลงลืม สูญเสียความรับรู้และความรู้สึกนึกคิดไป รวมทั้งการตัดสินใจและการไขปัญหาต่าง ๆ ทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรต่าง ๆ ได้ตามปกติ ผู้ป่วยจึงต้องได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด เมื่อนานไปก็อาจทำให้ผู้ดูแลป่วยจนกลายเป็นโรคเครียดตามไปอีกคน หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่จำเป็นต้องดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์แบบนี้ ก็ลองนำเอาวิธีการปรับตัวดังกล่าวต่อไปนี้ไปปรับดูนะคะ – ทำความเข้าใจและยอมรับว่าสิ่งที่ผู้ป่วยเป็นหรือทำนั้น ไม่ได้แกล้งหรือเรียกร้องความสนใจ แต่เป็นความผิดปกติทางสมอง – ไม่ควรโกรธตอบผู้ป่วย เพราะเขาทำไปเพราะอาการป่วยไม่ได้ตั้งใจ – ในเวลาที่เหน็ดเหนื่อยลองหาเวลาพักผ่อน แล้วหาคนมาสับเปลี่ยนดูแลบ้าง อธิบายการดูแลให้คนที่ดูแลแทนคุณเข้าใจ เขาจะได้เข้าใจเห็นใจและเต็มใจมาช่วยเหลือคุณบ้าง – ลองหากำลังใจด้วยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ที่ดูแลผู้ป่วยด้วยกัน จะได้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว และจะได้นำเอาประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนกัน แถมยังได้กำลังใจมาช่วยเหลือกันและกันอีกด้วย – หางานอดิเรกมาทำคลายเครียด หรือออกกำลังกาย โยคะ ทำสมาธิ หรือฟังเพลงคลายเครียด เพื่อผ่อนใจจิตใจด้วยตัวเอง – หากมีความเครียดมาก หรือพยายามรักษาอาการเครียดแล้วไม่ดีขึ้น จนกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันแล้วก็ควรขอรับการรักษาจากจิตแพทย์เถอะนะคะ ความเครียดนั้นเป็นเรื่องปกติ แต่ไม่ควรมีมามากหรือนานเกินไป ควรดูแลตัวเองให้มีความผ่อนคลาย เพื่อจะได้นำกำลังกายไปดูแลผู้ป่วยให้มีอาการที่ดีขึ้นต่อไปได้ค่ะ    

  • คู่มือการดูแล ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองเสื่อม

    คู่มือการดูแล ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองเสื่อม

    คู่มือการดูแล ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองเสื่อม สำหรับในครอบครัวที่มีผู้สูงอายุเป็นโรคอัลไซเมอร์หรือโรคสมองเสื่อมนั้น จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากผู้อยู่ใกล้ชิดเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงควรรู้จักวิธีการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมที่ถูกต้อง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งของผู้ป่วยเองและผู้ดูแลกันเถอะค่ะ 1. ผู้ที่ดูแลใกล้ชิดทุกคนคนทำความรู้จักและศึกษาโรคสมองเสื่อมนี้ให้มาก เพื่อจะได้สามารถแก้ปัญหาบางประการได้เหมาะสมและทันท่วงที 2. ผู้ป่วยสมองเสื่อมมักมีปัญหาหลายอย่างพร้อมกัน ควรแก้ไขปัญหาที่สำคัญที่สุดก่อน จะทำให้การดูแลทำได้ง่ายขึ้น 3. หากผู้ป่วยยังอยู่ในภาวะป่วยเริ่มแรก ยังมีอาการไม่มาก ควรพูดคุยให้ยอมรับฟังและเข้าใจเหตุผล รวมทั้งอธิบายข้อจำกัดของผู้ป่วยที่มีการเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งบอกความรู้สึกของผู้ดูแลให้ผู้ป่วยเข้าใจ 4. ควรมีความยืดหยุ่นและใช้สัญชาติญาติรวมทั้งจินตนาการในการดูแลให้มาก อย่ายึดติดอะไรมากนัก เช่น หากคนไข้อยากสวมหมวกนอน ซึ่งก็ไม่ได้เป็นอันตรายอะไร ก็ไม่ควรห้าม 5. ปรับทัศนคติการมองว่าการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเป็นเรื่องไม่เคร่งเครียด จะทำให้อารมณ์ดีขึ้น 6. ผู้ดูแลควรผ่อนคลายความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอและปล่อยวางบ้าง เพราะการดูแลผู้ป่วยโรคนี้จะทำให้เครียด หงุดหงิด และเหนื่อยง่าย และอาจส่งผลต่อสุขภาพได้ในระยะยาว 7. มีการพูดคุยสื่อสารกับคนป่วย เกี่ยวกับขั้นตอนการทำกิจกรรมอย่างละเอียด สั้น ๆ ง่าย ๆ เช่น การอาบน้ำ ซึ่งแม้จะดูเหมือนง่ายแต่สำหรับผู้ป่วยแล้วเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ผู้ดูแลควรมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดด้วย 8. พยายามจัดรูปแบบการดูแลผู้ป่วยให้เหมือนกันทุกวัน อย่าสับเปลี่ยนไปมาเพื่อให้เกิดความเคยชิน ผู้ป่วยจะได้เรียนรู้และช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ก็อาจต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง 9. อย่าวิพากษ์วิจารณ์ผู้ป่วยผู้ป่วยต่อหน้า…

  • ลองสังเกตดูว่า….ผู้สูงอายุเป็นโรคสมองเสื่อมหรือเปล่า?

    ลองสังเกตดูว่า….ผู้สูงอายุเป็นโรคสมองเสื่อมหรือเปล่า?

    ลองสังเกตดูว่า….ผู้สูงอายุเป็นโรคสมองเสื่อมหรือเปล่า? โดยทั่วไปผู้ที่มีวัยเข้าสู่วัยชราแล้วมักจะมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ เล็กน้อยบ้างไปตามวัย บางทีก็แค่ลืมของว่าวางไว้ไหน แต่หากเป็นการลืมที่ไม่น่าเป็นไปได้อย่างการลืมทางกลับบ้าน หรือเอาเตารีดไปใส่ไว้ในตู้เย็น อะไรแบบนี้อาจเป็นไปได้ว่าผู้ชราท่านนั้นอาจมีอาการของโรคสมองเสื่อมแล้ว วันนี้จึงขอเอาข้อสังเกตของการเป็นโรคสมองเสื่อมมาฝากกันค่ะ ภาวะสมองเสื่อม คือความเสื่อมของสมองโดยรวมทั้งหมด ทำให้เกิดความบกพร่องในการประกอบกิจวัตรประจำวัน เปลี่ยนแปลงทั้งพฤติกรรมและบุคลิกภาพอย่างชัดเจน มักพบได้ในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป แต่หากมีอายุถึง 85 ปีก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมได้ถึงร้อยละ 20 เลยทีเดียว ส่วนใหญ่พบได้ในผู้ที่เป็นโรคสมอง หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง คนที่เคยได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง โดยอาการที่จะบ่งชี้ว่าผู้สูงอายุท่านนั้นมีภาวะสมองเสื่อมหรือไม่ก็ให้สังเกตดังนี้ค่ะ 1. มักจำเหตุการณ์ใหม่ ๆ ไม่ได้ แต่กลับจำเรื่องราวเก่า ๆ ในดีตได้ มักถามซ้ำเรื่องเดิมบ่อย ๆ 2. เรียนรู้หรือรับรู้สิ่งใหม่ได้ไม่ จำปัจจุบันไม่ได้ เช่น จำไม่ได้ว่าทานข้าวแล้ว หรือจำคำพูดขณะที่สนทนาไม่ได้ มักถามกลับซ้ำ ๆ 3. การแก้ไขปัญหาบกพร่องไป เช่น ยืนดูน้ำล้มอ่างเฉย ๆ ไม่รู้จะทำอย่างไรดี 4. การประกอบกิจกรรมต่าง…