Tag: ภาวะซึมเศร้า
-
ปัจจัยที่อาจทำให้คนเสี่ยงฆ่าตัวตาย
ปัจจัยที่อาจทำให้คนเสี่ยงฆ่าตัวตาย แต่ละปีนั้น ทั่วโลกมีผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าหนึ่งล้านราย แม้แต่ในประเทศไทยเองก็มีอัตราการฆ่าตัวตายเฉลี่ยถึงหกรายต่อประชากรหนึ่งแสนคน สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจและส่งผลกระทบต่อจิตใจของคนใกล้ตัวอย่างมากด้วย ซึ่งผู้ชายนั้นจะมีการฆ่าตัวตายมากกว่าผู้หญิง นับเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและมีสาเหตุได้มากมาย ซึ่งมีปัจจัยนำที่จะทำให้คนเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายดังต่อไปนี้ – มีปัญหาสุขภาพจิต โรคจิต อารมณ์แปรปรวน ภาวะซึมเศร้า – มีประวัติทำร้ายตนเองมาก่อน – มีปัญหาสุขภาพจิตและใช้ยาเสพติดร่วมด้วย – ในครอบครัวเคยมีคนฆ่าตัวตาย – มีความโดดเดี่ยวสิ้นหวัง ถูกตัดขาดจากสังคมและผู้คน – เกิดความสูญเสียด้านความสัมพันธ์ การเงิน การงาน สังคม – เจ็บป่วย – มีบุคลิกภาพแบบก้าวร้าว หุนหันพลันแล่น – ไม่มีโอกาส หรือมีอุปสรรคในการเข้ารับการรักษาทางจิตเวช – อับอายในปัญหาสุขภาพจิตและการใช้ยาเสพติด จึงไม่เต็มใจรับการช่วยเหลือหรือรักษา – มีประสบการณ์หรืออิทธิพลจากการฆ่าตัวตายของคนรัก ทั้งคนในครอบครัว เพื่อนสนิท ดาราหรือคนดังที่ตนชื่นชอบ ทั้งประสบการณ์ตรงหรือได้รับจากสื่อต่าง ๆ – ศาสนาและลัทธิความเชื่อบางอย่าง ที่เชื่อว่าการฆ่าตัวตายเป็นการแก้ปัญหาที่น่ายกย่อง – มีความสามารถใช้การเข้าถึงอาวุธหรือเครื่องมือทำร้ายตนเองได้ง่าย เช่น มีด ปืน ฯลฯ ดังนั้นหากคนในครอบครัวมีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย…
-
ภาวะซึมเศร้า ทำให้โรคทรุดลง
ภาวะซึมเศร้า ทำให้โรคทรุดลง ภาวะซึมเศร้านั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงและตัวพยากรณ์โรคที่สำคัญของโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมไปถึงโรคอื่น ๆ ด้วย เช่น ภาวะซึมเศร้าจะทำให้เพิ่มโอกาสในอ้วนขึ้นร้อนละ 58 และในทางตรงข้างความอ้วนก็เพิ่มโอกาสซึมเศร้าด้วยร้อนละ 27-55 ภาวะซึมเศร้าเพิ่มโอกาสกล้ามเนื้อตายได้มากกว่าครึ่ง และผู้ที่ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย หากมีอาการซึมเศร้าด้วยจะเพิ่มโอกาสเสียชีวิตได้มากกว่าสองเท่าเลยทีเดียว เมื่อเทียบกับผู้ป้วยที่ไม่เป็นโรคซึมเศร้า การใช้จิตบำบัดจึงช่วยลดความซึมเศร้าได้ดีกว่าการใช้ยาอยู่บ้าง การทำจิตบำบัดง่าย ๆ สำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องนอนอยู่บ้านจนเกิดความรู้สึกหมดหวังแล้วนั้น ลองพูดคุย ชวนคนอื่น ๆ มาเยี่ยมเยียนบ่อย ๆ และสนับสนุนให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเอง ช่วยเหลือผู้อื่นบ้าง หรือหาอะไรให้เขาทำแก้เซ็งแบบที่เขาชอบ บางรายก็ใช้วิธีการนวดกดจุดเพื่อลดปวด และใช้การทำสมาธิบำบัดเข้ามาช่วยด้วย การทำสมาธิบำบัดนั้นจะช่วยลดอการปวดได้ ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวได้ดีขึ้น การทำจิตบำบัดด้วยการทำสมาธิเป็นการเยียวยาตนเอง ทำให้ร่างกายหลังเอนโดรฟีนส์ ทำให้มีความสุขใจมากขึ้น เบิกบาน สดชื่นและมองโลกในแง่ดี อาการซึมเศร้าจะลดลง ความทุกข์ทรมานจะลดลงและเพิ่มภูมิคุ้มกันอีกด้วย ซึ่งการทำสมาธิบำบัดนี้สามารถประยุกต์ใช้ในคนไข้โรคเรื้องรังอื่น ๆ ได้อีกหลายโรค เพียงการหายใจเข้าออก ลึก ๆ ยาว ๆ อย่างน้อยหนึ่งร้อยครั้งในแต่ละวัน ก็ช่วยได้มากแล้ว ยิ่งหากฝึกไปเรื่อย ๆ จะพบว่าจิตใจมีความสบาย ร่างกายมีความเจ็บปวดน้อยลงไปเองจริง ๆ
-
ปัญหาท้องผูกในคนไทย
ปัญหาท้องผูกในคนไทย ภาวะท้องผูกเป็นภาวะที่พบได้มากถึงราวร้อยละ 15 ของประชากรในประเทศไทยเลยทีเดียว ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ทำให้ปวดแน่นท้อง หงุดหงิดไม่สบายตัว นอนไม่หลับ เสียสมาธิการทำงาน ในผู้ใหญ่ยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทั้งทางด้านกาย ใจ และสังคมอย่างชัดเจน ทำให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด โกรธง่าย ผู้ที่ท้องผูกเรื้อรังนาน ๆ ยังทำให้คุณภาพชีวิตลดลงไปเรื่อย ๆ พอๆ กับโรคร้ายอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น เบาหวาน เข่าเสื่อมเรื้อรัง โรคข้อรูมาตอยด์ ฯลฯ โรคท้องผูกจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรได้รับการแก้ไขทั้งในเด็กและผู้ใหญ่เลยทีเดียว จากการศึกษาพบว่าท้องผูกนั้นมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ โรคอ้วน ร่างกายขาดความกระฉับกระเฉงเพราะไม่ได้ออกกำลังกายอีกด้วย และในตลาดยานั้นพบว่ายาแก้อาการท้องผูกเป็นยาอีกชนิดที่ขายดีติดอันดับ อาการท้องผูกจึงเป็นอาการที่พบได้มากในคนไทยโรคหนึ่งเลยทีเดียวค่ะ อาการท้องผูกนี้ยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งมีโอกาสท้องผูกมากขึ้น และตามมาด้วยอาการเบาหวาน คอเลสเตอรอลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ภาวะซึมเศร้า ฯลฯ แล้วจะทำอย่างไรดีหากมีอาการท้องผูกเรื้อรัง – หากเป็นคนที่ทานอาหารที่มีกากใยน้อย ควรทานผักสดอย่างน้อยประมาณสองฝ่ามือต่อวัน – ทานผลไม้ 15 คำต่อวัน และควรหาธัญพืชชนิดต่าง ๆ มาทานด้วย ไม่ว่าจะเป็น ลูกเดือย ถั่วชนิดต่าง ๆ ข้าวกล้อง…