Tag: ฟันน้ำนม
-
เชื้อราแคนดิดา อัลไบแคนส์ และ แบคทีเรียกสเตรปโทค็อกคัซ มูแทนส์ ตัวการก่อฟันผุ
เชื้อราแคนดิดา อัลไบแคนส์ และ แบคทีเรียกสเตรปโทค็อกคัซ มูแทนส์ ตัวการก่อฟันผุ เชื้อราแคนดิดา อัลไบแคนส์ และ แบคทีเรีย สเตรปโทค็อกคัซ มูแทนส์ ตัวการก่อฟันผุ มีผลการศึกษาถึงความเชื่อมโยงระหว่าง เชื้อแบคทีเรียสเตรปโทค็อกคัซ มูแทนส์ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดคราบเพลก, คราบจุลินทรีย์ และไบโอฟิล์ม ที่นำเป็นต้นเหตุของฟันผุ กับเชื้อราแคนติดา อัลไบแคนส์ เชื้อหาที่จะสะสมบริเวณลิ้นและกระพุ้งแก้มหากมีการติดเชื้อ พบว่า ในกรณีที่ผู้ป่วยมีประวัติฟันดุแต่เด็ก จะพบแบคทีเรียสเตรปโทค็อกคัซ และเชื้อรา แคนดิดาเกาะอยู่กับคราบเพลกบนฟัน ที่สเตรปโทค็อกคัซ ใช้กระบวนการย่อยสลายเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรต และน้ำตาล เป็นสารเหนียวเคลือบฟัน ทั้งยังเพิ่มความเสียหายต่อการสลายแร่ธาตุซึ่งเป็นโครงสร้างของฟัน จึงทำให้ฟันผุได้ง่ายกว่าการตรวจพบแต่เชื้อแบคทีเรียกสเตปโทค็อกคัซ เพียงตัวเดียว อีกทั้งผู้เชี่ยวชาญยังแนะนำอีกว่า แม้ฟันผุในวัยเด็กจะเป็นฟันน้ำนม แต่ความเคยตัวในการกินแต่อาหารหวานและน้ำอัดลม รวมไปถึงการละเลยไม่ทำความสะอาดฟัน เป็นปัจจัยเสี่ยงของฟันผุร้ายแรงได้เมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่
-
สิ่งที่ควรทำเมื่อฟันน้ำนม.. ไปก่อนเวลา
สิ่งที่ควรทำเมื่อฟันน้ำนม.. ไปก่อนเวลา หากเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้ฟันน้ำนมของลูกต้องหลุดก่อนเวลาอันควร หรือหลุดออกไปก่อนที่จะโยกและหลุดเองตามธรรมชาติ หากเกิดจากการกระแทกหรืออุบัติเหตุ เหงือกอาจฉีกขาด ดังนั้นสิ่งแรกที่ควรทำก็คือควรห้ามเลือดก่อน เพราะบริเวณเหงือนั้นมีเส้นเลือดอยู่มาก หากคุณแม่โวยวายตกใจ ลูกก็จะยิ่งตกใจกับปริมาณเลือดด้วยค่ะ การห้ามเลือดให้ทำดังต่อไปนี้ – ใช้สำลีสะอาดหรือผ้าสะอาดชุบน้ำเย็น ๆ วางประคบบนเหงือก แล้วใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งกดบีบเหงือกเอาไว้ ให้ลูกน้อยอมน้ำแข็งให้เส้นเลือดหดตัวลงลดอาการบวมลงได้ แต่ยังคงต้องห้ามเลือดต่อไปเพราะ การอมน้ำแข็งไม่ได้ช่วยห้ามเลือด – ต่อมาให้ดูที่ฟันน้ำนมว่าหักหรือหลุดหรือไม่ ถ้าโยกเล็กน้อยให้นำผ้าซับเลือดให้หยุด แล้วเลี่ยงการใช้ฟันซี่นั่นเป็นเวลาหนึ่งอาทิตย์ โดยให้กินแต่อาหารอ่อน ๆ ให้แปรงฟันได้แต่ให้แปรงเบา ๆ และควรพาไปพบทันตแพทย์เพื่อเอกซเรย์ว่ารากฟันไม่ได้หัก – หากฟันไม่ได้หลุดออกมา หลังจากหายดีแล้ว จะเห็นว่าฟันอาจมีสีคล้ำขึ้น เพราะเลือดที่ออกก่อนหน้านี้ แต่หากลูกไม่รู้สึกปวดก็ไม่มีอันตรายใด ๆ – แต่หากตรวจพบว่าฟันน้ำนม หัก บิ่น หรืออาจยุบหายเข้าไปในกระดูกขากรรไกร ซึ่งอาจทำให้มีปัญหาต่อฟันแท้ ควรพาลูกไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจทันทีค่ะ