Tag: พิการทางสมอง

  • ภาวะเด็กพิการทางสมอง

    ภาวะเด็กพิการทางสมอง

    ภาวะเด็กพิการทางสมอง ในบรรดาความผิดปกติทางสมองของเด็กนั้น อาการพิการทางสมองดูน่าจะเป็นอาการที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วง อาการพิการทางสมอง ที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า CP (Cerebral Palsy) จะมีการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ผิดปกติทั้งการขยับแขนขา ลำตัว ใบหน้าลิ้น และการทรงตัวด้วย แต่เด็ก CP ส่วนใหญ่จะมีสติปัญญาที่ดี ไม่มีอาการปัญญาอ่อน ประมาณร้อยละ 80 ของเด็กที่มีภาวะพิการทางสมองนี้จะมีไอคิวมากกว่า 70 ขึ้นไป รวมไปถึงบางรายอาจมีความรับรู้ความรู้สึกที่ผิดปกติด้วยแต่จะมีความมากน้อยที่แตกต่างกันไป เด็กพิการทางสมองนี้จะมีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความผิดปกติของเนื้อสมองที่เกิดความเสียหายว่าเกิดขึ้นบริเวณใด การจะทราบว่าพิการทางสมองแบบไหนก็ขึ้นอยู่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญตรวจวินิจฉัย โดยเด็กที่มีอาการนี้จะมีปัญหาในการยืน เดิน หรือนั่ง มีพัฒนาการช้าไม่ว่าจะเป็น ตั้งไข่ ยืนหรือเดนก็ช้า บางรายที่เป็นมากอาจเดินหรือนั่งก็ยังไม่ได้ จะเอนกายล้มลงอย่างเดียว มีอาการแขนขาและคอเกร็ง บางรายก็พูดไม่ได้หรือพูดไม่ชัด ควบคุมน้ำลายไม่ได้ หากคุณผู้ปกครองพบว่าลูกของท่านมีพัฒนาการช้ากว่าปกติ ควรรีบพาไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุด ภาวะเด็กพิการทางสมองนี้ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อรับการบำบัดและพัฒนาการเรียนรู้ให้เร็วที่สุด ยิ่งพบได้เร็วเท่าไรก็ยิ่งเพิ่มโอกาสในการพัฒนาเด็กมากขึ้นเท่านั้น มีการบำบัดเด็ก ๆ ได้หลายวิธีเลยทีเดียว อีกทั้งวิทยาการทุกวันนี้ก็ยังนำเอาดนตรีและศิลปะมาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเด็กด้วย สองวิธีนี้คุณพ่อและคุณแม่สามารถช่วยพัฒนาเด็ก ๆ ที่บ้านร่วมด้วยก็ได้ คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาเรียนรู้แนวคิดและกระบวนการเหล่านี้เพื่อมาพัฒนาสมองของเด็ก ๆ ก็จะช่วยให้น้องมีอาการดีขึ้นได้ค่ะ

  • ดนตรีและศิลปะช่วยพัฒนาเด็กพิเศษได้อย่างไร ?

    ดนตรีและศิลปะช่วยพัฒนาเด็กพิเศษได้อย่างไร ?

    ดนตรีและศิลปะช่วยพัฒนาเด็กพิเศษได้อย่างไร ? เด็กพิเศษที่เราพูดกันถึงในวันนี้ได้แก่ เด็กที่มีปัญหาดังต่อไปนี้ เด็กที่มีปัญหาทางร่างกาย, เด็กสมาธิสั้น, ดาวน์ซินโดรม, เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้, ออทิสติก, พิการทางสมอง, เด็กพิการซ้ำซ้อน และเด็กปัญญาเลิศ แต่เด็กพิเศษในกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนานั้นจะหมายถึงเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ โดยแต่ละกลุ่มก็มีความต้องการดูแลแตกต่างกันไป ยิ่งค้นพบได้เร็วเท่าไรก็มีโอกาสในการพัฒนาและรักษาให้ดีขึ้นไปเท่านั้น การพัฒนาเด็กพิเศษมีหลายวิธี แต่วิธีที่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจมากก็เห็นจะเป็นการนำเอาศิลปะและดนตรีมาเป็นเครื่องมือในการบำบัดนั่นเองค่ะ ในส่วนของการบำบัดด้วยดนตรี จะช่วยให้เด็กได้เกิดการรับรู้ กระตุ้นสมองให้เกิดการทำงาน พัฒนาประสาทสัมผัสร่วมกันของส่วนต่าง ๆ เช่น ตากับนิ้วมือ มือซ้ายและมือขวา แม้แต่การเต้นรำก็มีส่วนช่วยในการพัฒนาการทำงานร่วมกันของอวัยวะต่าง ๆ ได้ ดนตรีทำให้เด็กรู้จักจังหวะรอคอยเป็น ทำในสิ่งต่าง ๆ ได้สำเร็จ ดนตรีเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตัวเอง มีข้อดีก็คือมีเครื่องดนตรีหลายชนิดให้เลือกเล่นตามความชอบ บางคนสามารถนั่งฟังเครื่องดนตรีบางชนิดได้เป็นเวลานาน ทำให้มีสมาธิมากขึ้น พลอยทำให้อยากทำกิจกรรมอื่น ๆ เกี่ยวกับดนตรีได้สำเร็จอีกด้วย สำหรับงานศิลปะเพื่อการพัฒนาเด็กพิเศษนั้นจะช่วยให้เด็กรู้จักฝึกการใช้สายตาแยกแยะเส้นและสี มีความสุขกับการใช้มือจับพู่กันวาดภาพบนกระดาษ พัฒนาการวาดด้วยเทคนิคต่าง ๆ เปิดโอกาสให้เด็กได้สร้างผลงานตามที่ตนเองชอบ ศิลปะทำให้เด็กมีจิตใจอ่อนโยน แต่ก็มีความกล้าหาญขึ้นด้วย สร้างสมาธิ ทำให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะสร้างชิ้นงานให้เสร็จ อาจได้เปิดเผยความสามารถที่ซ่อนอยู่ในตัวเด็กออกมาด้วย จึงเป็นทางช่วยให้สังคมภายนอกและคนอื่น ๆ ยอมรับความสามารถของเด็กได้อีกทางหนึ่ง ความจริงแล้วทั้งดนตรีและศิลปะต่าง ๆ ล้วนเหมาะกับเด็กทุกประเภท…

  • รู้จักกับไข้หวัดใหญ่ H3N2 หรือไข้หวัดใหญ่ไอโอวา

    รู้จักกับไข้หวัดใหญ่ H3N2 หรือไข้หวัดใหญ่ไอโอวา

    รู้จักกับไข้หวัดใหญ่ H3N2 หรือไข้หวัดใหญ่ไอโอวา ไข้หวัดใหญ่ H3N2 หรือไข้หวัดใหญ่ไอโอวา นั้นเป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่มียีนมาจากไข้หวัดใหญ่ 2009 ในสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยแล้วจำนวนสามรายเมื่อช่วงปลายปี 2554 อาการของทุกรายนั้นจะไม่รุนแรง และทุกรายก็สามารถหายได้อย่างเด็ดขาด โดยอาการทั่วไปจะมีลักษณะเหมือนกับไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ได้แก่ การมีไข้ขึ้นแบบทันทีทันใด ปวดหัว ปวดเมื่อเนื้อตัว อ่อนเพลียมาก เจ็บคอ ไอ น้ำมูกไหล และอาการจะหายไปเองในหนึ่งอิทตย์ แต่อาจทำอันตรายกับกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ได้ ได้แก่ผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุ อายุ 65 ปีขึ้นไป, เด็กอายุน้อยกว่าสองขวบ, ผู้ที่เจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคไต โรคหัวใจ โรคปอด หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง ฯลฯ, เด็กที่ได้รับยาแอสไพรินเป็นเวลานาน, หญิงตั้งครรภ์ระยะที่ 2 หรือ 3 ในฤดูกาลที่มีไข้หวัดใหญ่สูง, ผู้ที่ป่วยเป็นโรคอ้วน รวมไปถึงผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ การติดต่อนั้นก็เหมือนกับโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วไป คือติดต่อทางลมหายใจ การไอ การจาม การสัมผัสสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ ระยะฟักตัวจะอยู่ในช่วงประมาณ 1-3 วัน ระยะแพร่เชื้อจะอยู่ในช่วงตั้งแต่ 1 วันก่อนมีอาการ…

  • แพทย์ชี้ โฟลิคเอซิดช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคออติสซึ่มได้

    แพทย์ชี้ โฟลิคเอซิดช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคออติสซึ่มได้

    แพทย์ชี้ โฟลิคเอซิดช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคออติสซึ่มได้ แพทย์ชี้ ว่าโฟลิคเอซิดช่วยป้องกันความพิการทางสมองของทารกในครรภ์รวมทั้งออติสซึ่มได้หากผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์รับประทานวิตามินชนิดนี้เสริมตั้งแต่ก่อนตั้งท้องจนถึงช่วงสองเดือนแรกของการตั้งครรภ์ ด็อกเตอร์พอล สุเรน แห่งสถาบันสุขภาพประเทศนอร์เวย์ แนะนำว่า ผักใบเขียว ผลไม้และถั่วชนิดต่างๆมีสารโฟลิคเอซิดซึ่งเป็นวิตามินบีอยู่แล้วตามธรรมชาติ มีคุณสมบัติช่วยให้ร่างกายสร้างเซลล์ใหม่ๆที่เเข็งแรง การรับประทานวิตามินต่างๆก่อนตั้งภรรค์ รวมทั้งกรดที่โฟลิคเอซิด จะช่วยให้ทารกในครรภ์สร้างหลอดประสาทได้อย่างสมบูรณ์ หลอดประสาทของตัวอ่อนทารกในครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นของสมองมนุษย์และจะปิดในช่วงต้นๆของพัฒนาการของตัวอ่อนและหากหลอดประสาทปิดไม่สนิทจะทำให้เกิดความบกพร่องใน หลอดประสาทที่ก่อให้เกิดความผิดปกติในกระดูกสันหลังที่เรียกว่า Spina bifida ทีมวิจัยทำการค้นคว้าข้อมูลที่มีอยู่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในช่วงต้นของผู้หญิงสองกลุ่ม โดยแม่กลุ่มแรกรับประทานโฟลิคเอซิดตั้งเเต่เริ่มตั้งครรภ์ แต่อีกกลุ่มหนึ่งเริ่มกินโฟลิคเอซิดในช่วงหลังตั้งครรภ์สามเดือนแรก ผลปรากฏว่าหญิงที่รับประทานโฟลิคเอซิดเสริมตั้งแต่ช่วงต้นของการตั้งท้อง ทารกในครรภ์จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคออติสซึ่มลดลงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ แต่สำหรับหญิงที่เริ่มรับประทานโฟลิคเอซิดล่าช้าคือเริ่มในระยะหลังสามเดือนเเรกของตั้งครรภ์ ความเสี่ยงที่ทารกจะเป็นโรคออติสซึ่มจะไม่ลดลงเลย การเริ่มต้นรับประทานโฟลิคเอซิดเสริมกับระยะของการตั้งครรภ์มีความเกี่ยวพันกันมากหากต้องการลดโอกาสเสี่ยงต่อโรคออติสซึ่ม ผู้หญิงควรเริ่มกินโฟลิคเอซิดเสริมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ไปจนกระทั่งหลังตั้งครรภ์ได้สองเดือน ผลการสำรวจโดย The March of Dimes หน่วยงานส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กภาคเอกชนในสหรัฐ เปิดเผยว่า ผู้หญิงชาวสหรัฐน้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์รู้ว่าโฟลิคเอซิดช่วยลดความพิการของทารกตั้งแต่ในครรภ์