Tag: พาราไทรอยด์
-
แพทย์ติง ดื่มนมมากเกิน อาจย่อยสลายมวลกระดูกได้
แพทย์ติง ดื่มนมมากเกิน อาจย่อยสลายมวลกระดูกได้ การดื่มนมนั้นจำเป็นต้องดื่มแต่พอดีเพื่อให้ร่างกายได้รับแคลเซียมแต่พอที่ร่างกายที่ต้องการ เพราะแคลเซียมที่อยู่ในนมนั้นมาพร้อมกับฟอสฟอรัส ซึ่งมีคุณสมบัติในการย่อยสลายมวลกระดูกได้ จึงทำให้เกิดภาวะโรคกระดูกพรุน ทำให้กระดูกหักและเปราะได้ง่าย ซึ่งโรคกระดูกพรุนนี้ มักคุกคามผู้สูงวัยอย่างเงียบ ๆ แต่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นในผู้สูงวัยชาวไทย อีกทั้งการรับรู้ข่าวสารที่ไม่สมบูรณ์มากพอ ทั้งนี้การดื่มนมนั้นสามารถป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้ แคลเซียมในนั้นนั้นมีคุณสมบัติในการยับยั้งการผุกร่อนของกระดูก และการสลายตัวของมวลกระดูก แต่ต้องดื่มในปริมาณที่เหมาะสม โดยแคลเซียมที่ควรได้รับมาจากนมน้ำไม่ควรเกิน 500 ซีซีต่อวัน จะทำให้ได้รับแคลเซียมประมาณ 500 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ในน้ำนมนั้นจะประกอบไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัสในอัตรา 3 ต่อ 2 ส่วน หากเราดื่มนมมากกว่าครึ่งลิตรต่อวัน ก็อาจทำให้ร่างกายได้รับฟอสฟอรัสมากเกินความต้องการของร่างกาย ซึ่งจะไปกระตุ้นการทำงานของต่อมพาราไทรอยด์ให้หลั่งฮอร์โมนออกมาจนสลายกระดูกจนเป็นเหตุให้กระดูกพรุน กระดูกเปราะ เพราะเนื้อหรือมวลกระดูกบางลงนั่นเอง ในแต่ละช่วงอายุนั้นร่างกายมีความต้องการแคลเซียมที่แตกต่างกันไป – วัยเด็ก ควรได้รับแคลเซียม 600 มิลลิกรัมต่อวัน – วัยรุ่น ควรได้รับแคลเซียม 1,000-1,500 มิลลิกรัมต่อวัน – ผู้ใหญ่ ควรได้รับแคลเซียม 800-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน – หญิงตั้งครรภ์ ควรได้รับแคลเซียม 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน – ผู้สูงอายุหรือวัยทอง…