Tag: พันธุกรรม
-
เฝ้าระวังมะเร็งเต้านม สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
เฝ้าระวังมะเร็งเต้านม สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ นายแพทย์ กฤษณ์ จาฏามระ ที่ปรึกษากิตติม ศักดิ์ ของโรงพยาบาล บีเอ็นเอช ได้อธิบายว่าโรคมะเร็งเต้านมนั้น หนึ่งในหลายสาเหตุของโรคอาจเกิดจากพันธุกรรมที่ถ่ายทอดกันมาในครอบครัวได้ ซึ่งผู้ป่วยอาจเป็นญาติสายตรง เป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน เช่น แม่ ป้า หรือพี่สาว ดังนั้นความเสี่ยงที่คนในครอบครัวจะเป็นมะเร็งเต้านมก็สูงกว่าในครอบครัวของผู้ที่ไม่มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านม แต่แม้จะมีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในครอบครัวหลายคนก็ไม่ได้หมายความว่าคนในครอบครัวจะต้องเป็นมะเร็งเต้านมอย่างแน่นอนทุกคน เพียงแต่มีความเสี่ยงมากกว่าเท่านั้นเอง จึงมิควรที่จะต้องกังวลว่าตนเองจะต้องเป็นแน่ ๆ ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดก็คือการตรวจคัดกรองการเป็นมะเร็งเต้านม ด้วยการตรวจอัลตราซาวน์ หรือการตรวจแมมโมแกรม 3 มิติ ที่ให้ผลอย่างแม่นยำ รวมทั้งการตรวจเอ็มอาร์ไอสำหรับการคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเฉพาะได้ สำหรับผู้ที่ตรวจพบว่าตนเองเป็นมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นแล้ว ก็อย่าเพิ่งกังวลใจ เพราะมะเร็งระยะแรกนั้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นหากกังวลเพราะมีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งกันหลายคน การหมั่นตรวจสุขภาพด้วยการคัดกรองมะเร็งเต้านม จึงเป็นการดูแลตัวเองและป้องกันได้อย่างดีที่สุด เพื่อที่เมื่อตรวจพบแล้วจะสามารถรักษาได้ทันท่วงที
-
บำบัดปอดด้วยความร้อน ช่วยลดอาการกำเริบของโรคหอบหืดได้
บำบัดปอดด้วยความร้อน ช่วยลดอาการกำเริบของโรคหอบหืดได้ โดยปกติแพทย์จะแนะนำผู้ป่วยโรคหอบหืดในผู้ใหญ่ ให้พ่นยาขยายหลอดลมวันละครั้งหรือสองครั้ง เพื่อขยายหลอดลมและช่วยลดปริมาณของเสมหะ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยนั้นหายใจได้ง่ายขึ้น ซึ่งวิธีนี้จะใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์แบบพ่น และยังเป็นวิธีที่แพทย์ทั่วโลกแนะนำให้ใช้กัน และยังเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด ถึงแม้อาการยังไม่กำเริบก็ตาม อาการหอบหืดกำเริบเกิดจากหลอดลมในปอดอักเสบและบวม มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดอาการอักเสบนี้ บางอย่างเป็นปัจจัยทางพันธุกรรม บางอย่างเกิดจากสิ่งเเวดล้อม ฝุ่น มลพิษทางอากาศหรือแม้แต่ควันไฟอาจทำให้อาการหอบหืดกำเริบได้ ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง และในช่วงเปลี่ยนฤดูกาลต่างๆ อาจมีปริมาณฝุ่นผงกระจายในอากาศเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยหอบหืดอาจมีอาการกำเริบได้ แต่ปัจจุบันแพทย์ได้คิดค้นวิธีการบำบัด ให้ผู้ป่วยในผู้ใหญ่ใช้ยาพ่นได้น้อยลง โดยการที่ควบคุมขนาดยา และดูความเหมาะสมต่อการใช้ยา กับแต่ละบุคลที่เป็นนั้นๆ จากการสำรวจโดยวิธีการต่างๆ แพทย์ก็ได้พบว่า ผู้ป่วยกลุ่มที่ใช้ยาพ่นเฉพาะตอนอาการหอบหืดกำเริบ ได้ผลในการรักษาดีเท่าๆกับผู้ป่วยกลุ่มอื่น แต่กลับใช้ยาสเตียรอยด์น้อยกว่าถึงครึ่งหนึ่ง ในขณะเดียวกัน การทดลองรักษาผู้ป่วยหอบหืดวิธีใหม่ที่ไม่ใช้ยา เรียกว่าการใช้ความร้อนในกล้ามเนื้อปอด ได้ผลน่าพอใจและสร้างความหวังใหม่แก่ผู้ป่วย การรักษานี้เป็นการบำบัดด้วยความร้อนบริเวณผนังปอดและหลอดลมในปอดเพื่อลดความหนาของกล้ามเนื้อรอบๆหลอดลม ระหว่างการบำบัดหลอดลมด้วยความร้อนนี้ แพทย์จะสอดท่อเข้าไปในหลอดลมผู้ป่วยเพื่อเป็นตัวกระจายความร้อนเข้าไปในกล้ามเนื้อรอบๆหลอดลม ผู้ป่วยต้องพบแพทย์ทั้งหมดสามครั้งและแต่ละครั้งแพทย์จะบำบัดปอดในส่วนที่แตกต่างกันออกไป ผู้ป่วยหลายรายอาการดีขึ้นมากภายหลังพบแพทย์ครั้งที่สอง แต่ด็อกเตอร์คาทรีกล่าวว่านั่นไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยจะหายจากโรค แต่พบว่าอาการกำเริบรุนแรงน้อยลงและระยะเวลากำเริบจะสั้นลงด้วย
-
นักวิทยาศาสตร์ ระบบพันธุกรรม สาเหตุของโรค Alzheimer
นักวิทยาศาสตร์ ระบบพันธุกรรม สาเหตุของโรค Alzheimer นักวิทยาศาสตร์สหรัฐสามารถระบุหน่วยพันธุกรรมที่เป็นสาเหตุหนึ่งของโรค Alzheimer ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนายาในอนาคต การค้นพบชิ้นนี้เป็นผลงานของทีมนักวิจัยจาก Washington University เมือง St. Louis รัฐ Missouri ทีมวิจัยกล่าวว่า ชนิดของพันธุกรรมที่ควบคุมระดับของโปรตีนที่มีชื่อว่า Protein Tau ซึ่งจะอยู่ในระดับสูงสำหรับผู้ป่วย Alzheimer ขณะนี้วงการแพทย์เชื่อว่า โรค Alzheimer เริ่มทำลายสมองก่อนที่ผู้ป่วยและคนรอบข้างจะรู้ตัว ซึ่งอาจารย์ Goate กล่าวว่า ความรู้ใหม่นี้อาจช่วยผู้ผลิตยาให้สามารถคิดค้นยาที่ความคุมการทำงานของพันธุกรรม ที่เป็นตัวกำหนดระดับของ Protein Tau ดังนั้นการคิดค้นยาต้าน Alzheimer อาจอาศัยรูปแบบการทำงานของยาควบคุมระดับ Cholesterol เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ งานวิจัยชิ้นนี้ถูกตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ที่ชื่อว่า Neuron
-
นักวิจัยเผย เซลล์ตกแต่งพันธุกรรม อาจเป็นแนวทางบำบัดโรคแบบใหม่ในอนาคต
นักวิจัยเผย เซลล์ตกแต่งพันธุกรรม อาจเป็นแนวทางบำบัดโรคแบบใหม่ในอนาคต ทีมนักวิจัยที่มหาวิทยาลัย University of California ในซานฟรานซิสโกชี้ว่าการบำบัดโรคด้วยเซลล์เป็นแนวทางการรักษาโรคแบบใหม่ที่มีศักยภาพในการบำบัดโรคร้ายแรงหลายๆโรค รวมทั้งเบาหวาน มะเร็ง และโรคที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หัวหน้าทีมวิจัยและผู้อำนวยการศูนย์ Systems and Synthetic Biology ที่มหาวิยาลัยกล่าาว่าเราสามารถกระตุ้นให้ระบบการต่อต้านเชื้อโรคตามธรรมชาติในร่างกายคนเราทำงานได้มากกว่าที่ทำอยู่ ร่างกายคนเราสร้างขึ้นจากเซลล์และภายในร่างกายคนเรา มีเซลล์หลายประเภท อาทิ เซลล์ภูมิต้านทานที่ปกป้องร่างกายจากเชื้อโรค ร่างกายคนเรามีระบบบำบัดที่ซับซ้อนหลายอย่างอยู่ในตัว เพียงแต่เรายังไม่รู้ว่าจะใช้เซลล์เหล่านี้ให้ทำหน้าที่เหมือนยาที่สามารถบำบัดโรคได้ในตัวได้อย่างไร ทีมวิจัยได้เริ่มต้นพัฒนายุทธวิธีบำบัดโรคด้วยเซลล์ที่ซับซ้อนโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานการทำงานของพันธุกรรมในการกำหนดพัฒนาการและการทำงานของเซลล์ต่างๆในร่างกาย เขายกตัวอย่างว่าเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายตามธรรมชาติที่ต่อสู่กับการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งมักจะอ่อนแอ ทีมนักวิทยาศาสตร์กำลังทำการตกแต่งพันธุกรรมเซลล์ภูมิต้านทานให้เพิ่มจำนวนขึ้นและยังกำหนดให้ทำหน้าที่กำจัดโมเลกุลที่พบในเซลล์มะเร็งเป็นการเฉพาะ เขากล่าวว่าจาการทดลองบำบัดด้วยเซลล์ตกแต่งพันธุกรรม ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นอย่างน่าพอใจ อย่างไรก็ดี ก่อนจะสามารถนำไปใช้บำบัดผู้ป่วยได้ทั่วไป การบำบัดโรคด้วยเซลล์ภูมิต้านทานตกแต่งพันธุกรรมนี้จะต้องผ่านการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยอีกมากมายหลายครั้งโดยทีมนักวิจัยเอกเทศและโดยหน่วยงานควบคุมของรัฐบาลเสียก่อน การทดสอบความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการบำบัดโรคด้วยเซลล์ตกแต่งพันธุกรรมมีเป้าหมายเพื่อปกป้องผู้ที่จะนำวิธีบำบัดโรคแบบนี้ไปใช้และยังจะมีบทบาทช่วยในการพัฒนาให้การบำบัดแนวใหม่นี้ดีขึ้น สุดท้ายนักวิจัยกล่าวว่ายารักษาโรคมากมายที่เราใช้บำบัดอาการเจ็บป่วยล้วนเริ่มต้นมาจากสารธรรมชาติในพืชหรือในต้นไม้ ที่เรานำมากลั่นกรองจนมีความบริสุทธิ์และเพิ่มประสิทธิิผลในการรักษา ตลอดจนลดความเป็นพิษ การบำบัดด้วยเซลล์ตกแต่งพันธุกรรมก็จะต้องผ่านขั้นตอนเดียวกันนี้เพื่อให้แน่ใจว่ามีประสิทธิภาพและปลอดภัย
-
นักวิจัยอเมริกัน เร่งพัฒนายาฆ่าเชื้อไวรัสแบบครอบจักรวาล
นักวิจัยอเมริกัน เร่งพัฒนายาฆ่าเชื้อไวรัสแบบครอบจักรวาล เชื้อไวรัสมีลักษณะประหลาดอย่างหนึ่ง แม้ว่าจะตายไปแล้ว เชื้อไวรัสมีโครงสร้างทั่วไปทางพันธุกรรมที่ช่วยให้มันก่อให้เกิดโรคได้ แต่เชื้อไวรัสไม่มีความสามารถแพร่พันธุ์ได้ในตัว เหมือนกับเชื้อเเบคทีเรีย ที่แตกตัวเพิ่มจำนวนขึ้นจากดีเอ็นเอของตัวมันเองหลังจากเข้าไปในร่างกายของคน นักวิจัยอเมริกันค้นพบสารเคมีกลุ่มหนึ่งที่หยุดยั้งเชื้อไวรัสที่เข้าไปในเซลล์ของผู้ติดเชื้อไม่ให้แตกตัวเพิ่มรวมทั้งเชื้อไวรัสมาร์บวก (Marburg) เชื้อไวรัสอีโบล่า (Ebola) ที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกชนิดหนึ่งและเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า โรคหัดและคางทูม แต่นักวิจัยพบว่าสารเคมีที่ค้นพบไม่สามารถสกัดกั้นการแพร่ตัวของเชื้อไวรัสได้ทุกชนิดและใช้ไม่ได้ผลกับเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคเอดส์เนื่องจากเชื้อไวรัสเอดส์เข้าไปในตัวเซลล์และแทรกแซงการทำงานของเซลล์แตกต่างไปจากเชื้อไวรัสตัวอื่นๆ นักวิจัยหวังว่าผลการศึกษานี้อาจจะนำไปสู่การพัฒนายาต้านไวรัสแบบครอบจักรวาลเพื่อบำบัดการติดเชื้อไวรัสที่ยังรักษาไม่ได้ในปัจจุบัน คล้ายๆกับยาปฏิชีวนะที่ใช้บำบัดการติดเชื้อเเบคทีเรีย ทีมงานต้องการค้นหาตัวยาที่มีประสิทธิภาพในการสกัดกั้นระบบการแตกตัวของเชื้อไวรัสในเซลล์ร่างกายผู้ติดเชื้อเพื่อไม่ให้เกิดโรค หากทำได้ ก็จะเป็นหนทางนำไปสู่การพัฒนายาตัวใหม่ขึ้นมาบำบัดการติดเชื้อไวรัสเหล่านี้ได้ในอนาคต
-
ทีมนักวิจัยอเมริกัน สามารถสร้างเนื้อเยื่อปอดได้สำเร็จ จากการปลูก stem cell
ทีมนักวิจัยอเมริกัน สามารถสร้างเนื้อเยื่อปอดได้สำเร็จ จากการปลูก stem cell นักวิจัยอเมริกันสามารถสร้างเนื่อเยื่อปอดจากการปลูกเซลล์ตั้งต้นในห้องทดลองได้สำเร็จและถือเป็นความก้าวหน้าอีกขั้นหนึ่งของวงการแพทย์ในความพยายามพัฒนาวิธีบำบัดโรคปอดชนิดต่างๆที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ในขณะนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียในมหานครนิวยอร์คได้ประยุกต์เทคโนโลยี stem cells ในการปลูกเซลล์ปอดในจานเพาะเชื้อ ซึ่งพวกเขาหวังว่าจะเป็นกระบวนการที่จะนำไปสู่การพัฒนายารักษาโรคปอดและการปลูกถ่ายเซลล์เพื่อรักษาโรคร้ายแรงต่างๆ ศาสตราจารย์ Snoeck กล่าวว่าเซลล์ในท่อทางเดินหายใจที่ปลูกขึ้นในห้องทดลอง ตัวนี้สามารถสร้างสารในปอดชนิดนี้ขึ้นมา นำสารชนิดนี้หมุนเวียนกลับไปใช้ได้อีก และปล่อยสารตัวเดิมกลับออกมาอีกครั้ง แสดงว่าเซลล์เทียมที่ปลูกขึ้นสามารถทำงานได้ตามหน้าที่ เขากล่าวว่าเซลล์ในท่อทางเดินหายใจเหล่านี้มีความสำคัญเพราะเกี่ยวข้องกับโรคปอดหลายชนิด ในการทดลองหลายครั้ง ทีมนักวิจัยได้แสดงวิธีการกระตุ้นให้เซลล์เริ่มต้นหรือ stem cells เซลล์ให้เติบโตพัฒนาเป็นเนื้อเยื่อที่พบในปอด โดยเติมตัวโปรตีนต่างๆเข้าไปเพื่อควบคุมเซลล์ให้เติบโตพัฒนาเป็นเนื้อเยื่อปอดตามต้องการ การทดลองทั้งหมดที่จัดทำขึ้นในห้องทดลองได้ผลตามที่ทีมงานตั้งไว้ โดยสามารถสร้างเนื้อเยื่อปอดมนุษย์ขึ้นมา หลังจากนั้น ทีมนักวิจัยได้ใช้เนื้อเยื่อปอดที่ปลูกขึ้นได้ ฉีดเข้าไปในไตของหนูทดลอง ศาสตราจารย์ Snoeck กล่าวว่าเซลล์ที่ปลูกถ่ายในหนูทดลองเติบโตได้ดีและทำงานได้เช่นเดียวกับปอดทั่วไป เขากล่าวว่าทีมนักวิจัยจะสามารถนำเซลล์เทียมที่ปลูกขึ้นเป็นโมเดลในการค้นคว้าหาทางรักษาความผิดปกติในปอดร้ายแรงหลายประเภท รวมทั้งโรคปอด Cystic Fibrosis ที่สืบทอดทางพันธุกรรม ศาสตราจารย์ Snoeck อธิบายว่าการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายปอด มักไม่ได้ผลดีเสมอไป เขากล่าวว่าในอนาคตนักวิทยาศาสตร์การแพทย์หวังว่าจะสามารถนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในการสร้างปอดที่ปลอดภัยในการปลูกถ่ายแก่ผู้ป่วยเนื่องจากจะใช้เซลล์ตั้งต้นจากตัวผู้ป่วยเอง าอาจจะต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะประสบความสำเร็จแต่เขาเชื่อว่่าการสร้างปอดด้วยวิธีนี้จะปลอดภัยเเก่ตัวผู้รับบริจาคปอดเพราะร่างกายของผู้ป่วยจะไม่ต่อต้านต่อปอดใหม่เพราะเป็นปอดที่ปลูกขึ้นจากเซลล์ตั้งต้นที่ได้ร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคนเอง