Tag: พยาธิวิทยา

  • การป้องกันอันตรายจากโรคไวรัสเอชพีวี

    การป้องกันอันตรายจากโรคไวรัสเอชพีวี

    การป้องกันอันตรายจากโรคไวรัสเอชพีวี ไวรัสเอชพีวีนั้น เป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปากมดลูก หูดหงอนไก่ มะเร็งองคชาต และมะเร็งทวารหนักอีกด้วย  และจากการลงสนามเก็บตัวอย่างสิ่งแวดล้อมของหน่วยไวรัสวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีนั้น พบว่าสถานที่ที่สามารถตรวจพบเชื้อไวรัสเอชพีวีได้ มักเป็นที่เย็น ชื้น และไม่มีแสงแดดส่องเข้าถึง  อีกทั้งเป็นสถานที่ที่เป็นสถานบันเทิง ที่มีกลุ่มวัยรุ่น ผู้ใหญ่ตอนต้น ที่ยังอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งมีการติดต่อและแพร่เชื้อไวรัสเอชพีวีได้สูงสุด ด้วย ซึ่งการระวังและป้องกันเบื้องต้นก็คือการล้างมือให้สะอาด ทั้งก่อนและหลังการเข้าห้องน้ำทุกครั้ง เพื่อลดปริมาณเชื้อที่อาจติดมาโดยไม่รู้ตัว  นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้โดยลดพฤติกรรมเสี่ยงตรวจคัดกรองเพื่อตรวจหาความผิดปกติที่ปากมดลูกเพื่อให้การรักษาก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็งปากมดลูก หรือใช้วิธีฉีดวัคซีนป้องกันร่วงด้วย  โดยปัจจุบันนี้มีวัคซีนเอชพีวีที่ควรให้เด็กผู้หญิงวัยก่อนมีเพศสัมพันธ์ช่วงอายุ 11-12 ปีฉีดจำนวนสามเข็ม  เมื่อฉีดแล้วจะป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีได้อย่างน้อย 30 ปีโดยไม่ต้องฉีดกระตุ้น  อีกทั้งในบางประเทศยังฉีดให้เด็กผู้ชายด้วย ในส่วนของคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลาย ก็ควรสอนลูก ๆ ให้ป้องกันและระวังตัวด้วยการสอนให้ล้างมือให้สะอาดเมื่อเข้าไปในสถานที่สาธารณะต่าง ๆ อีกทั้งยังควรพาลูก ๆ ไปฉีดวัคซีนให้ครบเมื่อถึงอายุกำหนดด้วยก็จะเป็นการป้องกันไว้ก่อนได้  

  • แพทย์โรคหัวใจมช.’สกว.’หนุนคว้ารางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ที่สหรัฐ

    แพทย์โรคหัวใจมช.’สกว.’หนุนคว้ารางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ที่สหรัฐ

    แพทย์โรคหัวใจมช.’สกว.’หนุนคว้ารางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ที่สหรัฐ 5เม.ย.2557 ดร. นพ.เกริกวิชช์ ศิลปวิทยาทร อาจารย์ประจำศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสาขาโรคทางไฟฟ้าของหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คว้ารางวัลรองชนะเลิศในการแข่งขันชิงรางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ ของสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา ในสาขาสรีรวิทยา พยาธิวิทยา และเภสัชวิทยา ประจำปี พ.ศ. 2557 ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเวทีระดับโลกที่คัดเลือกผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือดจากทั่วโลกให้เหลือเพียง 5 เรื่อง เพื่อเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยในงานประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมฯ โดยมีคู่แข่งจากโรงเรียนแพทย์ที่มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ อาทิ มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอพกินส์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และมหาวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน ทั้งนี้นับเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 63 ปี ที่มีผลงานที่ทำในประเทศไทยตลอดทั้งโครงการถูกคัดเลือกให้เข้าร่วมนำเสนอในเวทีแห่งนี้ ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกว. กล่าวว่า รู้สึกยินดีและภาคภูมิใจที่นักวิจัยผู้รับทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ของ สกว. ได้รับรางวัลอันทรงคุณค่าดังกล่าว งานวิจัยนี้นับเป็นการค้นพบใหม่ที่สำคัญของโลก แต่ในขณะนี้อยู่ในระยะการวิจัยในสัตว์ทดลอง จึงจะต้องดำเนินวิจัยในมนุษย์เพิ่มเติมก่อนจะนำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยต่อไป ทั้งนี้ขอแสดงความชื่นชมนักวิจัยและ ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ) ดร. นพ.นิพนธ์ ฉัตรทิพากร เมธีวิจัยอาวุโส สกว.…