Tag: ผู้สูงอายุ
-
ในฤดูหนาว ผู้สูงวัยควรระวังสุขภาพให้มาก
ในฤดูหนาว ผู้สูงวัยควรระวังสุขภาพให้มาก แม้จะเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี แต่ในช่วงหน้าหนาวที่อากาศเปลี่ยนแปลงก็ไม่ควรประมาท แต่ควรรักษาร่างกายให้อบอุ่นไว้ตลอดเวลายิ่งหากไปท่องเที่ยวในที่เย็น ๆ ด้วยแล้ว ควรเตรียมอุปกรณ์กันหนาวให้ครอบครัน และปรึกษาแพทย์ก่อนไปด้วยนะคะ ระหว่างฤดูหนาวนี้ควรดื่มน้ำให้ได้วันละสองลิตรเพื่อป้องกันผิวแห้ง และนอนหลับให้เพียงพอ ทานอาหารร้อน ๆ รักษาความอบอุ่นของร่างกายไว้ด้วย โรคภัยและความเจ็บป่วยที่ผู้สูงวันต้องระวังเป็นพิเศษได้แก่ 1. โรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคติดต่อทางเดินหายใจทั้งหลาย ที่อาจลุกลามไปสู่อาการปอดอักเสบ หรือหลอดลมอักเสบได้ จึงไม่ควรอยู่ในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่านและอับชื้น ล้างมือบ่อย ๆ เพื่อลดการรับเชื้อ ควรงดสูบบุหรี่ไปเลยเพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเดินหายใจได้ ไม่ควรคลุกคลีกับเด็กหรือผู้ป่วยคนอื่น ๆ ยิ่งหากเป็นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ควรฉีดวัคซีนป้องกันไว้ก่อนจะดีกว่าค่ะ 2. เนื่องจากผู้สูงวัยจะมีไขมันใต้ผิวหนังน้อย ผิวจึงแป้ง เป็นผื่นอักเสบและลอกคันได้ง่าย ยิ่งเป็นฤดูหนาวที่อากาศแห้ง ผิวจะยิ่งสูญเสียความชุ่มชื้นได้ง่าย ไม่ควรอาบน้ำอุ่นจัดเพราะจะยิ่งชะล้างไขมันออกไปมากขึ้น ควรรักษาความอบอุ่นร่างกายไว้ สวมเสื้อผ้าหนา ๆ ไม่ควรอาบน้ำนานเกินไป ทาผิวด้วยโลชั่นหรือน้ำมันบำรุงผิวหลังอาบน้ำทุกครั้ง เพื่อรักษาความชุ่มชื้น และควรเลือกผลิตภัณฑ์ทาผิวที่มีความอ่อนโยนด้วย ควรทาบ่อย ๆ หากรู้สึกว่าผิวแห้ง เพื่อป้องกันผิวหนัง และทาลิปมันบำรุงผิวริมฝีปากไว้ด้วย ทาบ่อยได้ตามต้องการค่ะ 3. ในช่วงหน้าหนาว หากผู้สูงวัยไม่ค่อยออกกำลังกาย การกินอาหารที่ไขมันสูงเข้าไป หัวใจจะทำงานหนักมากยิ่งขึ้นในช่วงฤดูหนาว…
-
ดูแลผู้สูงอายุด้วยความรัก
ดูแลผู้สูงอายุด้วยความรัก สำหรับวัยชราแล้ว อาหารทางใจ สำคัญกว่าอาหารใด ๆ ในโลก เพราะร่างกายที่ดีก็จะต้องมาพร้อมจิตใจที่ดี หากทำให้ผู้สูงอายุในบ้านมีความสุข รู้สึกดี สบาย สุขภาพก็จะพลอยดีไปด้วย ดังนั้นการดูแลผู้สูงอายุในบ้านจึงควรประกอบด้วยเคล็ดลับสามข้อต่อไปนี้ค่ะ 1. ให้ความใส่ใจ ลูกหลานที่ดูแลใกล้ชิดควรพูดคุย ให้ความสนใจ รับฟังและให้เกียติความคิดเห็นของท่าน เพราะบ่อยครั้งที่เราทำอะไรลงไปมักไม่ค่อยได้ถามหรือปรึกษาท่านเลย ทำให้ท่านรู้สึกสูญเสียความสำคัญในตัวเองลงไป จิตใจก็ห่อเหี่ยวลง ดังนั้นจึงควรหันมาให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของท่านให้เหมือนเดิมจะช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้นและร่างกายก็แข็งแรงด้วย นอกจากนี้ยังควรใส่ใจในเรื่องของอนามัยส่วนตัว การออกกำลังกายและอาหารที่เหมาะสมด้วย ควรเลือกอาหารที่ย่อยได้ง่ายให้ทานแต่มีโปรตีนสูง อาจจะเป็นเนื้อปลา เนื้อไก่ ไม่ติดมัน มีไขมันต่ำ จัดผักและผลไม้ไม่หวานให้ทานบ้าง พากันไปออกกำลังกายยืดเส้นยืดสายตามกำลังกาย จะช่วยให้ข้อต่อและกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น รวมทั้งควรพาไปพบแพทย์ตามนัดและตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่องด้วย 2. รู้ใจว่าท่านต้องการอะไร ชอบหรือไม่ชอบอะไร บางเรื่องก็ไม่จำเป็นต้องถามแล้ว เพราะเป็นคนใกล้ชิดกันก็น่าจะจำกัดได้ รู้นิสัยกันมากกว่าใคร ควรหาของอร่อยแบบที่ท่านชอบ หรือพากันไปเที่ยวบ้างจะได้สดใสขึ้น เรื่องไหนที่ท่านไม่ชอบก็หลีกเลี่ยงไม่ทำ หรือไม่ชวนกันคุย จิตใจจะได้ไม่ขุ่นมัวจนทำให้เสียสุขภาพได้ 3. เข้าใจว่าเมื่อสังขารเสื่อมไป จากที่เคยทำอะไร ๆ เองได้ก็ต้องหันมาพึ่งลูกหลาย ซึ่งในอนาคตทุกคนก็ต้องเป็นเช่นนั้น ดังนั้นเราจึงควรเข้าใจท่าน ไม่ควรไปบั่นทอนความรู้สึกให้แย่ลง และควรพูดจาดี ๆ ปฏิบัติต่อท่านด้วยความเคารพและให้เกียติเสมอด้วย และนอกจากนี้ลูกหลานก็ควรหมั่นสังเกตอาการ…
-
ผู้สูงอายุทำอย่างไรไม่ป่วย อายุยืนยาว
ผู้สูงอายุทำอย่างไรไม่ป่วย อายุยืนยาว ผู้สูงอายุทำอย่างไรไม่ป่วย อายุยืนยาว!!! วันนี้จะนำเอาเคล็ดลับอายุยืนไม่เจ็บป่วย ไม่ต้องกินยาบำรุงหรืออาหารเสริมใด ๆ เลยของคุณหมอเฉกมาฝากกันนะคะ ลำดับแรกเลยก็คือ ต้องหมั่นออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็นการว่ายน้ำ เดิน วิ่ง ขี่จักรยาน โยคะ ทำต่อเนื่องกันมาตั้งแต่เกษียณ ซึ่งบางคนที่อายุมากอาจไม่เคยออกกำลังกายเลยก็สามารถเริ่มต้นเลือกกีฬาอย่างที่ชอบได้ โดยให้เหมาะสมกับกำลังร่างกายของตัวเอง ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละสามวัน ทำให้ร่างกายแข็งแรงได้รับออกซิเจนมากขึ้น มีพลังชีวิตไม่เหนื่อยง่าย กล้ามเนื้อหัวใจดีขึ้นแข็งแรงขึ้น รวมไปถึงเซลล์สมองด้วย ในส่วนของการทานอาหาร คุณหมอเฉกจะเน้นการทานผลไม้ไทยเท่านั้น เพราะสดและมีวิตตามินแร่ธาตุ เน้นทานอาหารให้ครบห้าหมู่ ในระหว่างการทานอาหารจะไม่ดื่มน้ำเลย เพราะน้ำจะเข้าไปทำให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารเจือจางลง หลังทานอาหารแล้วควรรอสักพักแล้วค่อยดื่มน้ำสะอาดดีกว่า และระหว่างวันควรดื่มให้มากด้วยเพื่อล้างพิษในร่างกาย ในด้านของอาหารโปรตีนก็ควรเลือกทาน ไข่ ปลาทู เป็นโปรตีนที่หาได้ง่ายและมีไขมันต่ำ ช่วยให้น้ำหนักตัวสมดุลกับส่วนสูง ไม่อ้วนเกินไป นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญก็คือต้องรักษาจิตให้นิ่ง รักษาศีลห้าให้ครบ ไม่ว่าจะอายุเท่าไรก็ควรปฏิบัติธรรม ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ต่อสังคม ต่อประเทศและต่อโลก เท่านี้ก็จะช่วยให้คุณแข็งแรงไปตลอดและมีอายุยืนยาวได้แล้ว
-
ผู้สูงอายุควรดูแลตนเองให้มากขึ้น
ผู้สูงอายุควรดูแลตนเองให้มากขึ้น ด้วยความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข ทำให้อัตราการเกิดใหม่ของเด็กไทยน้อยลงและผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวขึ้น คาดว่าในอีกประมาณ20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยน่าจะเป็นสังคมสูงวัยเป็นอันดับหนึ่งของอาเซียน ดังนั้นท่านใดที่จะก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุควรเตรียมพร้อมที่จะพึ่งพาตนเองให้มากกว่าเดิม เพราะลูกหลานมักจะไปทำงานต่างถิ่น ผู้สูงอายุจึงต้องอยู่บ้านโดยลำพัง ควรปรับตัวปรับใจให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ให้มากขึ้นก็จะสามารถดำเนินชีวิตในบั้นปลายได้อย่างมีความสุข ซึ่งการดูแลตนเองนั้นควรยึดหลักสามข้อดังต่อไปนี้ 1. ดูและอารมณ์และสุขภาพจิตให้ดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอด้วยเพื่อให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น และเครียดน้อยลง สุขภาพจิตก็จะดี กล้ามเนื้อแข็งแรง ทำให้ไม่อ้วน การเล่นกีฬาสามารถเลือกที่ตนเองชอบได้ แต่ต้องไม่หักโหมจนเกิดอุบัติเหตุ ควรให้เวลาสำหรับการเล่นกีฬาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง วันละ 30 นาทีขึ้นไปค่ะ 2. อยู่ในที่ที่มีสิ่งแวดล้อมและอากาศที่ดี สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก มีลมพัดตามธรรมชาติจะช่วยให้ระบบหายใจปลอดโปร่งขึ้น ร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างเต็มที่ ผู้สูงอายุหากได้ไปหาโอกาสพักผ่อนหรืออยู่ตามชนบท ภูเขา ชายทะเลบ่อย ๆ จะดีไม่น้อย 3. หางานอดิเรกทำ อย่าปล่อยให้ตัวเองว่าย ควรมีกิจกรรมที่ชอบมาทำบ้าง ไปพบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูง อาจเป็นงานที่มีรายได้หรือไม่ก็ได้ทั้งสิ้น แต่ควรสร้างความเพลิดเพลินสุขใจ หรืออาจจะเลือกเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อสังคมก็ได้ จะทำให้รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าต่อผู้อื่น บรรดาลูกหลานทั้งหลายก็เช่นกัน ควรดูแลคนเฒ่าคนแก่ที่บ้านด้วย เพราะหากยิ่งมีสุขภาพที่ไม่แข็งแรงด้วยแล้วย ความห่างเหินกันก็จะยิ่งทำให้สุขภาพจิตใจย่ำแย่ลง โรคภัยต่าง ๆ ที่รุมเร้าอยู่แล้วก็ยิ่งกำเริบมากขึ้น…
-
หลักการใช้ยาอย่างพอเพียงในผู้สูงอายุ
หลักการใช้ยาอย่างพอเพียงในผู้สูงอายุ ยิ่งอายุมากขึ้น โรคภัยก็เพิ่มมากขึ้น ระบบการทำงานของร่างกายก็เปลี่ยนแปลงไป ร่างกายเสื่อมลง ประสิทธิภาพก็เริ่มถดถอยลง ยาต่าง ๆ เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพื่อประคองร่างกายและรักษาสภาพไว้ให้ดีที่สุด บางคนมีโรคเรื้อรังหลายโรค หาหลายหมอ กินหลายยา ในยาเหล่านี้แม้จะมีคุณอนันต์แต่ก็มีโทษมหันต์ได้ เมื่อกินหลายชนิดรวมกัน บางทีก็ยังทำให้เกิดโรคที่เรียกว่าโรคยาทำได้อีกด้วย การกินยาจึงจำเป็นต้องเลือกกินแต่พอเพียง โดยมีหลักการดังต่อไปนี้ค่ะ 1. กินยาให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น รวมไปถึงจำนวนชนิดของยาและระยะเวลาการใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรผู้สั่งจ่ายด้วยว่า ยาแต่ละชนิดมีข้อบ่งใช้อย่างไร แล้วควรใช้ยาได้นานขนาดไหน อีกทั้งยาบางชนิดนั้นถ้าไม่มีอาการก็ไม่ควรใช้ด้วยค่ะ 2. นำเอายาทั้งหมดที่ผู้ป่วยใช้อยู่ไปให้แพทย์ได้รับรู้ด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายยาซ้ำซ้อน ลดผลเสียของยาและยาตีกัน รวมไปถึงสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อาจส่งผลต่อยาและความรุนแรงของโรคที่เป็นอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไปหาหมอหลาย ๆ คนจะมีโอกาสได้ยาซ้ำซ้อนจนเกินขนาดและเกิดอันตรายได้ 3. การรับยาควรตรวจเช็คยาทุกครั้งทันที เช่น ชื่อผู้ป่วย ชนิดของยา วิธีใช้และข้อควระวังโดยเฉพาะอย่างยิ่งยาใหม่ ๆ ที่ไม่เคยใช้มาก่อน 4. จัดเตรียมทานยาให้พร้อมและให้เป็นเวลาเช่น หักครึ่งเม็ดเอาไว้ หรือกดยาจากเม็ดฟอยด์เตรียมไว้ จัดยาใส่กล่องไว้ตามเวลาเป็นต้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้ทานยาได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน ยาจะได้มีประสิทธิภาพในการรักษาที่ครบถ้วน ในผู้สูงอายุนั้นการใช้ยาจะเป็นการเสี่ยงอันตรายมากกว่าผู้ป่วยในวัยอื่น ๆ จึงควรใช้ยาให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น และควรทำความเข้าใจถึงข้อบ่งใช้ของยา วิธีใช้ที่ถูกต้อง เตรียมความสะดวกต่อใช้กับ รวมไปถึงการให้กำลังใจกับผู้สูงอายุเพื่อการรักษาและคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นสำคัญ…
-
วิธีการพยุงร่างกายผู้สูงอายุ
วิธีการพยุงร่างกายผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้น ผู้สูงอายุจำเป็นต้องอาศัยเรี่ยวแรงของลูกหลานในการลุกนั่งหรือเดินมากขึ้น แล้วเราจะพยุงท่านอย่างไรจึงจะปลอดภัยทั้งสองฝ่าย การดูแลการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุนั้นควรคำนึงถึงสองประเด็นดังต่อไปนี้ – ระวังการหกล้ม เพราะจะมีโอกาสกระดูกหักได้ง่าย หรือหลอดเลือดในสมองมีปัญหาได้มาก ดังนั้นสิ่งที่ต้องดูแลเป็นพิเศษได้แก่ ในส่วนรองเท้านั้น แม้จะอยู่ในบ้านก็ควรสวมรองเท้าที่สภาพดี ๆ พื้นไม่ลื่นจะได้ทรงตัวได้ดี จัดข้าวของในบ้านอย่าให้รก และเกะกะ ระวังพื้นลื่น ๆ ในห้องน้ำ ยิ่งหากพื้นเป็นขั้น ๆ ยิ่งอันตรายมาก หากผู้สูงอายุต้องการเดินไปห้องน้ำ หรือไปออกกำลังกายก็ตาม คนช่วยพยุงด้วย และคนที่พยุงควรมีความแข็งแรงกว่าผู้สูงอายุด้วย แต่หากผู้สูงอายุยังพอมีแรงบ้าง จะหาเครื่องช่วยบ้างว่าจะเป็นไม้เท้า ก็จะช่วยให้เดินได้มั่นคงขึ้น ให้ท่านสวมเข็มขัดเส้นใหญ่ ๆ เอาไว้เราก็จะได้จับยึดประคองได้ถนัดมากขึ้น – การเดินเหิน ระวังจะเป็นลมหรือเหนื่อยมากเกินไป ค่อย ๆ เปลี่ยนอิริยาบถ จากท่านอนไปนั่ง แล้วค่อย ๆ ยืน มิฉะนั้นเลือดอาจไปเลี้ยงสมองไม่ทัน หน้ามืดเป็นลมได้ แต่ละวันควรให้ออกกำลังกายเบา ๆ บ้างวันละประมาณ 15-20 นาทีจะมีประโยชน์กับร่างกาย สิ่งที่ผู้พยุงร่างกายคนสูงอายุควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ได้แก่ 1. ผู้พยุงต้องประเมินกำลังของตนเองให้ดี เพราะการพยุงผู้สูงอายุก็เหมือนยกของหนัก ถ้ามากเกินกำลังก็อาจทำให้ผู้พยุงบาดเจ็บได้เช่นกัน 2.…
-
สังเกตดู.. ตัวคุณเริ่มสมองเสื่อมหรือยัง?
สังเกตดู.. ตัวคุณเริ่มสมองเสื่อมหรือยัง? อาการสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่วัยทำงานด้วย วันนี้ลองมาสังเกตอาการของตัวเองกันว่าเริ่มเข้าข่ายสมองเสื่อมหรือยังจาก 10 สัญญาณเตือนต่อไปนี้ 1. ความจำเสื่อม 2. ไม่สามารถทำกิจกรรมที่คุ้นเคยได้ 3. มีปัญหาเรื่องการใช้ภาษาทั้งการพูดและการเขียน 4. หลงลืมเวลา 5. อารมณ์แปรปรวน 6. คิดเรื่องซับซ้อนไม่ได้ 7. วิจารณญาณไม่ดี เกิดการกระทำที่บกพร่อง 8. คิดสิ่งใหม่ ๆ ไม่ได้ 9. บุคลิกเปลี่ยนไปในทางตรงข้าม (จากที่เคยเป็น) 10. วางของไม่ถูกที่ถูกทาง
-
ฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริม ช่วยป้องกันโรคท่อปัสสาวะอักเสบได้
ฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริม ช่วยป้องกันโรคท่อปัสสาวะอักเสบได้ บรรดาผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าราว 60 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงทั้งหมดจะเป็นโรคท่อปัสสาวะอักเสบจากเชื้อเเบคทีเรียในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของชีวิตและอย่างน้อย 20 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงกลุ่มนี้จะเกิดอาการอักเสบซ้ำหลายครั้ง และอาการอักเสบที่เกิดซ้ำหลายครั้งมักเกิดขึ้นในบรรดาผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน นักวิจัยศึกษาค้นพบได้ว่า มีจำนวนเชื้อเเบคทีเรียจำนวนมากภายในเนื้อเยื่อบุผนังถุงน้ำปัสสาวะและเชื้อเเบคทีเรียเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว คุณเบราเน่อร์ชี้ว่าเชื้อเเบคทีเรียเหล่านี้ยังสามารถหลบหลีกจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผู้ป่วยได้ด้วย โดยธรรมชาติ ร่างกายคนเราจะผลิตสารต่อต้านเชื้อโรคหากมีเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแต่เนื่องจากเชื้อเเบคทีเรียสามารถแอบซ่อนตัวอยู่ลึกในเนื่อเยื่อบุผนังถุงน้ำปัสสาวะ ระบบต่อต้านเชื้อโรคตามธรรมชาติของร่างกายจึงทำงานไม่ได้ผลเท่าที่ควร ฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริมที่ให้แก่ผู้ป่วยหญิงวัยหมดประจำเดือนผ่านทางช่องคลอดได้ผลดีในการช่วยกระตุ้นเนื้อเยื่อผนังถุงน้ำปัสสาวะซ่อมเเซมตัวเองให้เเข็งเเรงขึ้น ทำให้ติดเชื้อเเบคทีเรียยากขึ้น คุณเบราเน่อร์กล่าวว่าผลการทดลองบำบัดด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริมในหนูทดลองก็ได้ผลดีเช่นกัน ทีมนักวิจัยเชื่อว่าการบำบัดผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ป่วยด้วยอาการท่อปัสสาวะอักเสบซ้ำๆด้วยการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนเสริมเป็นวิธีที่ได้ผลในการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อเเบคทีเรียซ้ำแล้วซ้ำอีก