Tag: ผู้สูงวัย

  • ในฤดูหนาว ผู้สูงวัยควรระวังสุขภาพให้มาก

    ในฤดูหนาว ผู้สูงวัยควรระวังสุขภาพให้มาก

    ในฤดูหนาว ผู้สูงวัยควรระวังสุขภาพให้มาก แม้จะเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี แต่ในช่วงหน้าหนาวที่อากาศเปลี่ยนแปลงก็ไม่ควรประมาท แต่ควรรักษาร่างกายให้อบอุ่นไว้ตลอดเวลายิ่งหากไปท่องเที่ยวในที่เย็น ๆ ด้วยแล้ว ควรเตรียมอุปกรณ์กันหนาวให้ครอบครัน และปรึกษาแพทย์ก่อนไปด้วยนะคะ ระหว่างฤดูหนาวนี้ควรดื่มน้ำให้ได้วันละสองลิตรเพื่อป้องกันผิวแห้ง และนอนหลับให้เพียงพอ ทานอาหารร้อน ๆ รักษาความอบอุ่นของร่างกายไว้ด้วย โรคภัยและความเจ็บป่วยที่ผู้สูงวันต้องระวังเป็นพิเศษได้แก่ 1. โรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคติดต่อทางเดินหายใจทั้งหลาย ที่อาจลุกลามไปสู่อาการปอดอักเสบ หรือหลอดลมอักเสบได้ จึงไม่ควรอยู่ในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่านและอับชื้น ล้างมือบ่อย ๆ เพื่อลดการรับเชื้อ ควรงดสูบบุหรี่ไปเลยเพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเดินหายใจได้ ไม่ควรคลุกคลีกับเด็กหรือผู้ป่วยคนอื่น ๆ ยิ่งหากเป็นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ควรฉีดวัคซีนป้องกันไว้ก่อนจะดีกว่าค่ะ 2. เนื่องจากผู้สูงวัยจะมีไขมันใต้ผิวหนังน้อย ผิวจึงแป้ง เป็นผื่นอักเสบและลอกคันได้ง่าย ยิ่งเป็นฤดูหนาวที่อากาศแห้ง ผิวจะยิ่งสูญเสียความชุ่มชื้นได้ง่าย ไม่ควรอาบน้ำอุ่นจัดเพราะจะยิ่งชะล้างไขมันออกไปมากขึ้น ควรรักษาความอบอุ่นร่างกายไว้ สวมเสื้อผ้าหนา ๆ ไม่ควรอาบน้ำนานเกินไป ทาผิวด้วยโลชั่นหรือน้ำมันบำรุงผิวหลังอาบน้ำทุกครั้ง เพื่อรักษาความชุ่มชื้น และควรเลือกผลิตภัณฑ์ทาผิวที่มีความอ่อนโยนด้วย ควรทาบ่อย ๆ หากรู้สึกว่าผิวแห้ง เพื่อป้องกันผิวหนัง และทาลิปมันบำรุงผิวริมฝีปากไว้ด้วย ทาบ่อยได้ตามต้องการค่ะ 3. ในช่วงหน้าหนาว หากผู้สูงวัยไม่ค่อยออกกำลังกาย การกินอาหารที่ไขมันสูงเข้าไป หัวใจจะทำงานหนักมากยิ่งขึ้นในช่วงฤดูหนาว…

  • หลักการใช้ยาอย่างพอเพียงในผู้สูงอายุ

    หลักการใช้ยาอย่างพอเพียงในผู้สูงอายุ

    หลักการใช้ยาอย่างพอเพียงในผู้สูงอายุ ยิ่งอายุมากขึ้น โรคภัยก็เพิ่มมากขึ้น ระบบการทำงานของร่างกายก็เปลี่ยนแปลงไป ร่างกายเสื่อมลง ประสิทธิภาพก็เริ่มถดถอยลง ยาต่าง ๆ เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพื่อประคองร่างกายและรักษาสภาพไว้ให้ดีที่สุด บางคนมีโรคเรื้อรังหลายโรค หาหลายหมอ กินหลายยา ในยาเหล่านี้แม้จะมีคุณอนันต์แต่ก็มีโทษมหันต์ได้ เมื่อกินหลายชนิดรวมกัน บางทีก็ยังทำให้เกิดโรคที่เรียกว่าโรคยาทำได้อีกด้วย การกินยาจึงจำเป็นต้องเลือกกินแต่พอเพียง โดยมีหลักการดังต่อไปนี้ค่ะ 1. กินยาให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น รวมไปถึงจำนวนชนิดของยาและระยะเวลาการใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรผู้สั่งจ่ายด้วยว่า ยาแต่ละชนิดมีข้อบ่งใช้อย่างไร แล้วควรใช้ยาได้นานขนาดไหน อีกทั้งยาบางชนิดนั้นถ้าไม่มีอาการก็ไม่ควรใช้ด้วยค่ะ 2. นำเอายาทั้งหมดที่ผู้ป่วยใช้อยู่ไปให้แพทย์ได้รับรู้ด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายยาซ้ำซ้อน ลดผลเสียของยาและยาตีกัน รวมไปถึงสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อาจส่งผลต่อยาและความรุนแรงของโรคที่เป็นอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไปหาหมอหลาย ๆ คนจะมีโอกาสได้ยาซ้ำซ้อนจนเกินขนาดและเกิดอันตรายได้ 3. การรับยาควรตรวจเช็คยาทุกครั้งทันที เช่น ชื่อผู้ป่วย ชนิดของยา วิธีใช้และข้อควระวังโดยเฉพาะอย่างยิ่งยาใหม่ ๆ ที่ไม่เคยใช้มาก่อน 4. จัดเตรียมทานยาให้พร้อมและให้เป็นเวลาเช่น หักครึ่งเม็ดเอาไว้ หรือกดยาจากเม็ดฟอยด์เตรียมไว้ จัดยาใส่กล่องไว้ตามเวลาเป็นต้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้ทานยาได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน ยาจะได้มีประสิทธิภาพในการรักษาที่ครบถ้วน ในผู้สูงอายุนั้นการใช้ยาจะเป็นการเสี่ยงอันตรายมากกว่าผู้ป่วยในวัยอื่น ๆ จึงควรใช้ยาให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น และควรทำความเข้าใจถึงข้อบ่งใช้ของยา วิธีใช้ที่ถูกต้อง เตรียมความสะดวกต่อใช้กับ รวมไปถึงการให้กำลังใจกับผู้สูงอายุเพื่อการรักษาและคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นสำคัญ…

  • วิธีการพยุงร่างกายผู้สูงอายุ

    วิธีการพยุงร่างกายผู้สูงอายุ

    วิธีการพยุงร่างกายผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้น ผู้สูงอายุจำเป็นต้องอาศัยเรี่ยวแรงของลูกหลานในการลุกนั่งหรือเดินมากขึ้น แล้วเราจะพยุงท่านอย่างไรจึงจะปลอดภัยทั้งสองฝ่าย การดูแลการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุนั้นควรคำนึงถึงสองประเด็นดังต่อไปนี้ – ระวังการหกล้ม เพราะจะมีโอกาสกระดูกหักได้ง่าย หรือหลอดเลือดในสมองมีปัญหาได้มาก ดังนั้นสิ่งที่ต้องดูแลเป็นพิเศษได้แก่ ในส่วนรองเท้านั้น แม้จะอยู่ในบ้านก็ควรสวมรองเท้าที่สภาพดี ๆ พื้นไม่ลื่นจะได้ทรงตัวได้ดี จัดข้าวของในบ้านอย่าให้รก และเกะกะ ระวังพื้นลื่น ๆ ในห้องน้ำ ยิ่งหากพื้นเป็นขั้น ๆ ยิ่งอันตรายมาก หากผู้สูงอายุต้องการเดินไปห้องน้ำ หรือไปออกกำลังกายก็ตาม คนช่วยพยุงด้วย และคนที่พยุงควรมีความแข็งแรงกว่าผู้สูงอายุด้วย แต่หากผู้สูงอายุยังพอมีแรงบ้าง จะหาเครื่องช่วยบ้างว่าจะเป็นไม้เท้า ก็จะช่วยให้เดินได้มั่นคงขึ้น ให้ท่านสวมเข็มขัดเส้นใหญ่ ๆ เอาไว้เราก็จะได้จับยึดประคองได้ถนัดมากขึ้น – การเดินเหิน ระวังจะเป็นลมหรือเหนื่อยมากเกินไป ค่อย ๆ เปลี่ยนอิริยาบถ จากท่านอนไปนั่ง แล้วค่อย ๆ ยืน มิฉะนั้นเลือดอาจไปเลี้ยงสมองไม่ทัน หน้ามืดเป็นลมได้ แต่ละวันควรให้ออกกำลังกายเบา ๆ บ้างวันละประมาณ 15-20 นาทีจะมีประโยชน์กับร่างกาย สิ่งที่ผู้พยุงร่างกายคนสูงอายุควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ได้แก่ 1. ผู้พยุงต้องประเมินกำลังของตนเองให้ดี เพราะการพยุงผู้สูงอายุก็เหมือนยกของหนัก ถ้ามากเกินกำลังก็อาจทำให้ผู้พยุงบาดเจ็บได้เช่นกัน 2.…

  • สารสื่อประสาทที่มีประโยชน์ต่อความจำในผู้สูงวัย

    สารสื่อประสาทที่มีประโยชน์ต่อความจำในผู้สูงวัย

    สารสื่อประสาทที่มีประโยชน์ต่อความจำในผู้สูงวัย สมองของผู้สูงวัยนั้น นอกจากจะต้องการการออกกำลังกาย การใช้ความคิด หัดใช้สมองอยู่ตลอดเวลา รวมไปถึงการกินอาหารที่มีประโยชน์แล้ว ยังต้องการสารสื่อประสาทเพื่อช่วยให้สมองสั่งการ รับรู้ เคลื่อนไหว จดจำ และรู้สึก ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์สมองและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายด้วย สารสื่อประสาทเหล่านี้มีมากกว่าหกสิบชนิด เช่น – เอนดอร์ฟิน ทำให้สมองรู้สึกปลอดโปร่งโล่งสบาย – ซีโรโทนิน ทำให้นอนหลับได้ดี ลดความกังวลใจ – โพรแอนโทรไซยานิดินส์ ช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองและรับออกซิเจนได้มากขึ้น ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ประสาท พบได้มากในดาร์คช็อกโกแลต ที่มีส่วนผสมของโกโก้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 – อะเซทิลโคลีน รักษาความจำ ลดความขี้ลืม ซึมเศร้า มีลักษณะคล้ายไขมัน หากขาดสารนี้จะมีปัญหาเกี่ยวกับความจำ หากร่างกายได้รับโคลีนมากขึ้นจะช่วยให้ความจำดีขึ้น โคลีนนี้พบได้มากในไข่แดง เครื่องใน ตับวัว นมสด ถั่วลิสง ข้าวกล้อง ธัญพืช มันฝรั่ง กะหล่ำปลี กล้วย ฯลฯ นอกจากการมีสารสื่อประสาทในสมองแล้ว ร่างกายของผู้สูงวัยยังต้องการอาหารดี ๆ และการบำรุงสุขภาพอีกด้วย โดยควรดูแลสุขภาพและปฏิบัติตัวได้แก่ ทานอาหารให้มีความพอเพียงกับความต้องการของร่างกาย…