Tag: ผู้ป่วยไข้มาลาเรีย

  • เที่ยวป่าหน้าฝนระวังไข้มาลาเรีย

    เที่ยวป่าหน้าฝนระวังไข้มาลาเรีย

    เที่ยวป่าหน้าฝนระวังไข้มาลาเรีย ในแต่ละปีนั้นองค์การอนามัยโลกคาดว่ามีผู้ป่วยไข้มาลาเรียถึงกว่าปีละ 500 ล้านคน และเสียชีวิตมากกว่าปีละล้านคน ระบาดสูงสุดในช่วงเดือน เม.ย. ถึง ก.ค. ผู้ที่ชอบไปท่องเที่ยวในป่า หรือแหล่งที่มียุงชุกชุมจึงมักติดเชื้อไข้มาลาเรียได้ง่ายในช่วงนี้ ไข้มาลาเรีย หรือไข้ป่านี้เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัวที่ติดต่อกันโดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะ มักระบาดตามป่าเขา และพบการโรคมาลาเรียนี้ดื้อยามากขึ้นด้วย เมื่อยุงไปกัดคนที่มาเชื้อมาลาเรียเข้าเชื้อก็จะเข้าไปแบ่งตัวในยุง เมื่อไปกัดคนอื่นก็จะถ่ายทอดเชื้อออกไป เมื่อเข้าสู่ร่างกายคนจะเจริญเติบโตในเซลล์ตับและเม็ดเลือดแดง มีระยะฟักตัวประมาณสองอาทิตย์ แล้วจะป่วยไม่สบาย ต่อมาก็จะมีไข้หนาวสั่น ปวดหัว ปวดเมื่อย คลื่นไส้อาเจียน และอาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ร้ายแรงได้ ไม่ว่าจะเป็นมาลาเรียขึ้นสมอง น้ำตาลในเลือดต่ำ เหลืองซีด ปัสสาวะสีดำ ไตวาย ปอดบวมน้ำและเสียชีวิตได้ เพราะการกินยาป้องกันมาเลเรียล่วงหน้านั้นไม่ได้ผล การที่จะเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวในป่าหรือเดินทางศึกษาธรรมชาติจึงควรระมัดระวังตนเองไม่ให้ยุงกัด ด้วยการสวมเสื้อผ้ามิดชิด ทาโลชั่นกันยุงและนอนในมุ้งที่ฉาบน้ำยา หากกลับจากไปเที่ยวแล้วป่วยควรรีบไปพบแพทย์ด่วน และควรปฏิบัติตามแพทย์สั่งและทานยาให้ครบถ้วนด้วย ผู้ที่เพิ่งกลับจากป่าเขามาอย่าเพิ่งบริจาคโลหิตจะดีกว่าเพราะงานบริการโลหิตยังไม่มีวิธีการตรวจเชื้อมาลาเรียได้ และเชื้อมาลาเรียที่ติดมากับโลหิตบริจาคจะสามารถถ่ายทอดไปยังผู้รับโลหิตได้อีกด้วย

  • เชื้อโปรโตซัวที่ทำให้เกิดไข้มาลาเรีย

    เชื้อโปรโตซัวที่ทำให้เกิดไข้มาลาเรีย

    เชื้อโปรโตซัวที่ทำให้เกิดไข้มาลาเรีย ไข้มาลาเรีย นั้นเกิดจากเชื้อโปรโตซัวพลาสโมเดียม ซึ่งทำให้เกิดโรคได้คนได้มีอยู่ 4 ชนิดดังนี้คือ – ฟัลซิปารัม – ไวแวกซ์ – มาลาเรียอี – โอวาเล่ ซึ่งเชื้อมาลาเรียที่พบบ่อยในเมืองไทยได้แก่สองชนิดแรก เชื้อฟัลซิปารัมอาจทำให้เสียชีวิตได้ ส่วน ไวแวกซ์และโอวาเล่สามารถซ่อนตัวอยู่ในตับได้นาน และกลับออกมาสู่กระแสเลือดทำให้เป็นโรคได้อีก แห่งของเชื้อไข้มาลาเรียนี้จะอยู่ตามชายแดน ภูเขาสูง ป่าทึบ แหล่งน้ำธรรมชาติ ลำธาร เพราะเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ของยุงก้นปล่อง พบมากในจังหวัด ตราด ตาก แม่ฮ่องสอน ระนอง กาญจนบุรี จันทบุรี สระแก้ว ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี ชุมพร ซึ่งติดต่อได้ด้วยยุงก้นปล่องเป็นพาหะมากัดคน อาการของผู้ป่วยไข้มาลาเรียนั้นจะปรากฏออกมาหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 1-2 อาทิตย์ โดยจะมีไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อยเนื้อตัว คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร หนาวสั่น ไข้สูงเหงื่อออก ซึ่งจะพบได้ในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น การตรวจวินิจฉัยจะทำได้โดยการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อ ไข้มาลาเรียนี้เป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ ถ้าได้รับการรักษาที่รวดเร็วและรักษาด้วยยาที่มีประสิทธิภาพตรงตามเชื้อ การป้องกันตัวเองเมื่อต้องเข้าไปในแหล่งที่มีการระบาดของไข้มาลาเรียนั้นควรป้องกันตนเองมิให้ยุงมากัด ด้วยการสวมเสื้อผ้าที่มิดชิดและควรใช้เสื้อผ้าสีอ่อน ๆ ทายากันยุง นอนในมุ้ง…