Tag: ผู้ป่วยโรคเรื้อน

  • ปรับทัศนคติที่มีต่อโรคเรื้อนกันเถอะ!

    ปรับทัศนคติที่มีต่อโรคเรื้อนกันเถอะ!

    ปรับทัศนคติที่มีต่อโรคเรื้อนกันเถอะ! แม้ว่าในประเทศไทยนี้จะเกิดโรคเรื้อนลดลงมาจนไม่เป็นปัญหาระบบสาธารณะสุขอีกต่อไปแล้วก็ตาม แต่ก็ยังพบผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่มากขึ้นทุกปีแ ละกว่าร้อยละ 10 ของผู้ป่วยรายใหม่ยังมีความพิการในระดับสอง คือมีความพิการที่มองเห็นได้ แสดงว่าผู้ป่วยรายนี้ได้รับการรักษาล่าช้าเกินไป ทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วยและครอบครัวทั้งทางเศรษฐกิจและชุมชน การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อนนั้น ไม่ได้เกิดจากความผิดของผู้ป่วยแต่อย่างใด แต่เกิดจากการติดเชื้อโรคเรื้อนจากคนในชุมชน รวมทั้งผู้ป่วยนั้นไม่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคเรื้อนด้วย ซึ่งกลุ่มนี้จะมีเพียงร้อยละ 3 ของผู้รับเชื้อทั้งหมดเท่านั้น แต่ในสายตาของผู้อื่นในสังคมแล้ว มักมองคนเป็นโรคเรื้อนในแง่ร้าย และมองอย่างรังเกียจเพราะความเชื่อที่ปลูกฝังกันมาแบบผิด ๆ ทำให้ผู้ป่วยได้รับความทุกข์ทรมานทั้งทางกายและทางใจ ถูกมองอย่างดูถูก ไม่ให้รับการเข้าสังคม โดยรังเกียจเดียจฉันท์ จนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ แม้บางทีผู้ป่วยจะได้รับการรักษาจนหายแล้ว แต่ผู้ที่รู้ว่าเคยเป็นก็ยังแสดงความรังเกียจอยู่ดี ความจริงแล้วการรักษาโรคเรื้อนนั้น สามารถรักษาให้หายสนิทได้ และใช้เวลาในการรักษาเพียง 6 เดือนถึง 2 ปี และแม้จะเข้าขั้นพิการแล้วก็ยังรักษาให้หายได้ด้วย เมื่อได้รับการรักษาแล้วก็ยังไม่แพร่เชื้อโรคไปให้ผ็อื่น จึงไม่จำเป็นต้องกังวลหรือกลัวต่อร่างกายที่พิการของผู้ป่วยโรคเรื้อนแต่อย่างใด สำหรับผู้ป่วยรายใหม่ที่เริ่มต้นมีอาการ ได้แก่ มีผิวหนังเป็นวงด่างสีขาวหรือแดง มีอาการชา และเป็นผื่นวงแดง เป็นตุ่มไม่คัน ให้รีบไปรับการตรวจรักษาที่สถานพยาบาลโดยด่วน ผู้ป่วยก็ไม่มีความพิการ หรือแม้จะพิการไปแล้วก็รักษาอาการไม่ให้พิการมากขึ้นไปได้ ซึ่งในระหว่างการรักษาผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตในครอบครัวหรือชุมชนได้ตามปกติ สำหรับโรคนี้สังคมควรมีความเข้าใจ และไม่แสดงความรังเกียจทั้งผู้ป่วยและครอบครัว ก็จะช่วยลดความทุกข์ทรมานใจจากโรคลงได้มากและยังมีกำลังใจในการรักษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการดูแลตนเองตามคำแนะนำของแพทย์จนหายสนิท ไม่ทำให้ครอบครัวและสังคมได้รับผลกระทบอีกต่อไป

  • โรคเรื้อน…อยู่ร่วมกันสังคมได้ ไม่น่ากลัว

    โรคเรื้อน…อยู่ร่วมกันสังคมได้ ไม่น่ากลัว

    โรคเรื้อน…อยู่ร่วมกันสังคมได้ ไม่น่ากลัว ตั้งแต่โบราณมา ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อนหรือถูกสงสัยว่าจะเป็นนั้นมักจะได้รับความรังเกียจจากคนในชุมชนหรือคนใกล้ชิดเพราะความเชื่อผิด ๆ ทำให้ผู้ป่วยโรคเรื้อนได้รับความทุกข์ ความทรมานจากความกลัว ความรังเกียจของผู้อื่น ทั้งที่ความจริงโรคนี้ไม่ได้ติดต่อกันได้ง่ายสักเท่าไรเลย อีกทั้งทุกวันนี้คนที่เป็นโรคเรื้อนแม้จะยังมีอยู่ แต่ก็น้อยลง และเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ อยู่ร่วมในสังคมได้ไม่น่ากลัวด้วย ด้วยความที่โรคนี้มีผู้ป่วยน้อยลงไปมากแล้ว จึงมักไม่ค่อยมีผู้ที่รู้ตัวเท่าไรว่ากำลังติดเชื้อแบคทีเรียทีทำให้เกิดโรคเรื้อน วิธีการสังเกตก็คือ ผิวหนังจะเป็นวงด่างสีขาวหรือสีเข้มกว่าผิวปกติ มีอาการชา หรือเป็นผื่น แผ่นนูน เป็นตุ่มหรือวงขอบแดง ไม่มีอาการคัน แต่หากพบแล้วควรรีบเข้ารับการรักษามิเช่นนั้นอาจทำให้พิการได้ ผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคเรื้อนก็คือ ผู้ที่เข้าไปสัมผัสกับผู้ป่วยโรคเรื้อนระยะติดต่อ ที่ไม่ได้รักษาตัว โดยทุกคนมีโอกาสในการรับเชื้อทั้งสิ้น แต่มีโอกาสเกิดเป็นโรคได้เพียงร้อยละสามเท่านั้น ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่อโรคเรื้อผิดปกติจึงจะเป็นโรคนี้ได้ สรุปก็คือ โรคนี้ไม่ได้เป็นโรคที่จะติดต่อกันได้ง่าย ๆ และโรคนี้ไม่ได้ติดต่อทางกรรมพันธุ์ ไม่ติดต่อทางน้ำหรืออาหารแต่อย่างใดเลย โรคเรื้อนเป็นโรคที่รักษาได้หาย โดยผู้ป่วยควรเข้ารับรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก โดยจะใช้เวลาประมาณหกเดือน หากมีอาการมากอาจใช้เวลาการรักษาสองปี ผู้ป่วยสามารถอยู่อาศัยภายในครอบครัวได้ตามปกติ เพียงทานยารักษาโรคผ่านไปได้ในระยะสัปดาห์แรกเท่านั้นก็จะไม่แพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นแล้ว การรักษาก็สามารถเข้ารับบริการได้ตามโรงพยาบาล สถานีอนามัย ทั่วไป โรคนี้ไม่ได้ติดเชื้อกันได้ง่าย ๆ อย่างที่คิด จึงไม่ควรรังเกียจผู้ป่วยโรคนี้ ผู้ป่วยโรคนี้ที่อยู่ในระหว่างการรักษา และผู้ที่รักษาหายแล้ว สามารถกินข้าว พูดคุย อยู่บ้านอยู่ร่วมกันกับคนในครอบครัวและผู้อื่นได้ตามปกติ อีกทั้งครอบครัวและสังคมยังควรเป็นกำลังใจให้กับผู้ป่วย ไม่ควรแสดงความรังเกียจ มิเช่นนั้นอาจทำให้ผู้ป่วยหมดกำลังใจที่จะเข้ารับการรักษา…