Tag: ผู้ป่วยโรคหัวใจ
-
อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ที่หลีกเลี่ยงโซเดียม (เกลือ)
อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ที่หลีกเลี่ยงโซเดียม (เกลือ) มีผู้ป่วยอยู่หลายโรคที่จำเป็นต้องจำกัดปริมาณของโซเดียม หรือเกลือในอาหาร ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยโรคไต เพราะโซเดียมนี้จะทำให้เกิดอาการบวม ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ การเลือกทานอาหารจึงจำเป็นต้องระวังอาหารที่มีปริมาณของโซเดียมให้ดี โดยรายการอาหารด้านล่างนี้จะรายชื่อและปริมาณของโซเดียมต่อหน่วย มก. ในอาหารที่มีน้ำหนัก 100 กรัม 1. ผักทั่วไป (ส่วนใหญ่มีโซเดียม 1 – 20 มิลลิกรัมม) ถั่ว (1- 6) และผลไม้ (1 – 15) ดังนั้นหากเป็นผักต้มหรือข้าวโพดต้มจึงไม่ควรเติมเกลือเพิ่ม 2. อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว เผือก มัน ข้าวโพด (มีโซเดียม 2 – 7 มก. / 100 กรัม) แต่หากแปรรูปแล้วจะทำให้มีโซเดียมเพิ่มขึ้นได้ เช่น ซีเรียลคอร์นเฟลค (1,158) มันฝรั่งแผ่น (997) ขนมปังแครกเกอร์ (613) ขนมปังขาว ขนมปังโฮลวีต (541)…
-
นักวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจ จะกินยาสม่ำเสมอ ถ้าเป็นยาเพียงเม็ดเดียว
นักวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคหัวใจ จะกินยาสม่ำเสมอ ถ้าเป็นยาเพียงเม็ดเดียว นักวิจัย ได้วิจัยงานชิ้นนี้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ พบว่าผู้ป่วยโรคหัวใจมักจะกินยาไม่สม่ำเสมอ เพราะปกติผู้ป่วยโรคหัวใจ มักจะต้องรับประทานยาครั้งนึงหลายเม็ด จึงส่งผลให้คนไข้ไม่อยากรับประทาน และหยุดการทานยาไปหลังจากเริ่มทานยามาเพียง 3 เดือน แต่นักวิจัยก็ค้นพบแล้วว่า ถ้าหากยาที่รักษาโรคหัวใจ เป็นยาเพียงเม็ดเดียว จะสามารถทำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจ อยากรับประทานยามากขึ้น และจะทำให้ผู้ป่วยรับประทานยาได้นานขึ้นกว่าเดิม
-
หากผู้ป่วยโรคหัวใจ ได้รับประทานยาเพียงมื้อละเม็ด พวกเค้าจะทานยานี้ต่อไปตามที่หมอสั่ง
หากผู้ป่วยโรคหัวใจ ได้รับประทานยาเพียงมื้อละเม็ด พวกเค้าจะทานยานี้ต่อไปตามที่หมอสั่ง ผู้ป่วยหลายคนที่เป็นโรคหัวใจหรือป่วยด้วยอาการสมองขาดเลือดหล่อเลี้ยงเพราะเส้นเลือดอุดตันจากคอเลสเตอรอล มักไม่รับประทานยาเป็นประจำตามคำสั่งแพทย์โดยผู้ป่วยจำนวนมากเลิกรับประทานยาภายในเวลาสามเดือนหลังจากล้มป่วยเนื่องจากต้องรับประทานยาครั้งละหลายเม็ด ผู้ป่วยหลายคนที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจหรือเสี่ยงที่จะเกิดอาการสมองขาดเลือดหล่อเลี้ยงอาจต้องรับประทานยามื้อละหลายเม็ด ยาเเต่ละเม็ดมีคุณสมบัติต่างกันไป อาทิ เพื่อลดความดันโลหิต บางเม็ดช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และบางคนอาจต้องรับประทานยาช่วยป้องกันหัวใจวายร่วมด้วย ด็อกเตอร์ทอมเป็นหัวหน้าการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ในกลุ่มผู้ป่วยมากกว่าสองพันคน เกือบ 90 % ของผู้ป่วยในการวิจัยล้มป่วยด้วยอาการสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงหรือเข้ารับการผ่าตัดหัวใจ อีกสิบเปอร์เซ็นต์มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะล้มป่วยด้วยอาการทั้งสองอย่างดังกล่าว ครึ่งหนึ่ีงของผู้เข้าร่วมการวิจัยได้รับยาเเบบเม็ดเดียวเรียกว่า โพลีพิล (Polypill) ในการลดระดับคอเลสเตอรอล ลดความดันโลหิตสูงและป้องกันอาการหัวใจวาย ในขณะที่ผู้เข้าร่วมการวิจัยที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งต้องรับประทานยาแบบหลายเม็ดต่อไป ด็อกเตอร์ทอม กล่าวว่าผลการวิจัยที่ได้แสดงให้เห็นผลดีของยารักษาแบบเม็ดเดียวหรือโพลีพิล การทดลองใช้ยาบำบัดเเบบโพลีพิลมีผลดีโดยเฉพาะต่อผู้ป่วยโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดที่ไม่รับประทานยาตามกำหนด ด็อกเตอร์ทอม กล่าวปิดท้ายว่า ยาโพลีพิลจะมีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาผู้ป่วยไม่รับประทานยาตามคำสั่งแพทย์และช่วยให้การบำบัดโรคมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะในการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่ได้ประโยชน์จากยาขนานนี้มากที่สุดคือผู้ป่วยที่มักไม่รับประทานยาแบบหลายเม็ดตามคำสั่งแพทย์ตั้งแต่ในช่วงต้นๆของการทดลองรักษา