Tag: ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
-
ใส่ใจสุขภาพ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง
ใส่ใจสุขภาพ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา มีรายงานการพบมะเร็งแล้วในคนกว่าร้อยชนิด และคนไทยเองก็ตายด้วยโรคมะเร็งเป็นอันหนึ่งหนึ่งมาโดยตลอด และยังมีแนวโน้มการป่วยและตายมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งทวารหนัก โดยผู้ที่ป่วยกว่าครึ่งจะเป็นผู้สูงอายุ เนื่องจากมะเร็งเป็นโรคที่ค่อย ๆ คืบคลานอย่างช้า ๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นจึวควรดูแลตัวเองให้แข็งแรงจะช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งได้ด้วยการดูแลเอาใจใส่สุขภาพดังต่อไปนี้ 1. รักษาตัวไม่ให้อ้วนเกินมาตรฐาน ทานอาหารแต่พอดีและออกกำลังกายเป็นประจำ รักษาสภาพจิตใจให้สดใสสดชื่นทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคมากขึ้น 2. ทานอาหารให้ครบถ้วนให้ได้วิตามินและแร่ธาตุที่หลากหลาย แต่ลดอาหารที่มีไขมันสูง อาหารทอดหรือย่าง รวมไปถึงอาหารหมักดอง อาหารแปรรูปใส่ดินประสิว หรือเสี่ยงมีเชื้อรา และอาหารที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ ด้วย ควรทานอาหารสด ๆ ผักสด ผลไม้สด นอกจากจะมีสารต้านอนุมูลอิสระแล้วยังมีกากใยอาหารช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย 3. งดสูบบุหรี่ สามารถลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งปอดได้ร้อยละ 60 4. งดสุรา หากสูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงในการมะเร็งถึงเก้าเท่าและหากสูบบุหรี่ด้วยอีกจะเพิ่มความเสี่ยงสูงถึง 50 เท่า! 5. มีเพศสัมพันธ์เมื่อพร้อม เมื่อถึงวัยที่เหมาะสม ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อยและมีคู่หลายคนมีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น 6.…
-
ดูแลตัวเองทั้งผู้ป่วยมะเร็งและผู้เฝ้าไข้
ดูแลตัวเองทั้งผู้ป่วยมะเร็งและผู้เฝ้าไข้ โรคร้ายแรงอย่างโรคมะเร็งนี่ หากมีใครในบ้านที่เกิดเป็นขึ้นมาแล้ว ความรุนแรงของโรคมักจะกระทบกระเทือนทั้งจิตใจและร่างกายของผู้ป่วยและผู้ที่อยู่ใกล้ชิดได้ไม่แตกต่างกันเลยนะคะ บางคนใกล้ชิดดูออกจะหมดกำลังใจมากกว่าผู้ป่วยเองเสียอีก ในส่วนของผู้ป่วยนั้นบางคนที่รับรู้มาว่าตัวเองป่วยด้วยโรคร้ายอย่างมะเร็งแล้วก็มักจะแสดงอาการตกใจจนช็อก ไม่ยอมพูดยอมจา นิ่งไปเสียก็มีอยู่มาก และที่โวยวายปฏิเสธไม่ยอมรับความจริง จนต้องเปลี่ยนหมอ เปลี่ยนโรงพยาบาล จนวุ่นวายกว่าจะได้เริ่มต้นรักษาก็มีไม่ใช่น้อย โดยทั่วไปนั้นกลไกลการปรับตัวของผู้ป่วยโรคร้ายจะมีอยู่หกระยะได้แก่ ระยะช็อก ระยะปฏิเสธ ระยะโกรธ ระยะต่อรอง ระยะซึมเศร้า จนไปสุดที่ระยะยอมรับความจริง ผู้ป่วยบางคนอาจมีครบทั้งหกระยะ บางรายก็เริ่มที่ข้อใดข้อหนึ่ง แล้วไปจบไม่ครบหกระยะก็ได้ด้วย ดังนั้นผู้ที่ดูแลก็จำเป็นต้องเข้าใจจิตใจและอารมณ์ของผู้ป่วย ที่มักจะขึ้น ๆ ลง ๆ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อีกประการก็คือหากยิ่งผู้ป่วยยอมรับอาการป่วยของตนเองได้เร็วเท่าไรก็ยิ่งเข้ารับการรักษาได้เร็วเท่านั้น ทั้งยังมีสิทธิที่จะหายป่วยได้มากขึ้นอีกด้วย ผู้เฝ้าไข้เองก็จำเป็นต้องดูแลทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจของตนเองด้วย เพราะตนเองนั้นเป็นเสาหลักที่ไม่ควรล้ม ต้องมีสติให้มากกว่าผู้ป่วยเสมอ คุณอาจจำเป็นต้องสละเวลาส่วนตัวในการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย เป็นไปได้ก็คือควรมีผู้ช่วยหรือมีมือสำรองในการผลัดเปลี่ยนกันดูแล อย่าให้ความรับผิดชอบตกอยู่กับใครคนใดคนหนึ่งมากเกินไป หากมีพี่น้องหลายคนก็คนผลัดกันมาดูแลช่วยเหลือด้วย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องเวลา กำลังกาย กำลังใจ เงินทอง และการไปรับไปส่งตามหมอนัด เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาและฟื้นตัวให้เร็วที่สุดได้นั่นเอง การดูแลผู้ป่วยโรคร้ายหรือโรคมะเร็งนั้น จะดีที่สุดก็คือเมื่อผู้เฝ้าไข้เองได้เรียนรู้และหันมาดูแลตัวเอง ป้องกันตนเองและคนที่ใกล้ชิดไม่ให้เป็นมะเร็ง และร่วมกันหาวิธิที่จะทำให้ผู้ป่วยได้อยู่กับโรคมะเร็งที่เขากำลังเผชิญอยู่ใกล้มีความสุขให้ได้ให้มากที่สุด