Tag: ผู้ป่วยเบาหวาน

  • การดูแลผิวหนังสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

    การดูแลผิวหนังสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

    การดูแลผิวหนังสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน กว่าร้อยละสามสิบของผู้ป่วยเบาหวานมักเกิดปัญหาผิวหนัง ได้แก่ อาการคัน ผิวหนังอักเสบ การติดเชื้อ ฝีหนอง แผลหายยาก ดังนั้นผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงควรดูแลผิวหนังของตนเองอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ – ทำความสะอาดผิวหนังและซับให้แห้งไว้เสมอ – บริเวณขาหนีบหรือรักแร้หลังอาบน้ำให้ซับให้แห้งและโรยแป้งฝุ่นไว้ ไม่ควรปล่อยให้อับชื้น โดยเฉพาะคนที่อ้วนเพราะอาจทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย – หากเป็นคนที่มีผิวแห้ง ควรทาโลชั่นหรือครีมเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหนัง หากมีเหงื่อออกมาสามารถทาแป้งฝุ่นบาง ๆ ให้สบายตัวขึ้นได้ – หากจำเป็นต้องออกแดด ควรทาครีมกันแดดทุกครั้ง – หลีกเลี่ยงการเกาหรือขีดข่วนอื่น ๆ – สำรวจผิวหนังตนเองสม่ำเสมอว่ามีตุ่ม ผื่น ก้อนหรือบาดแผลหรือไม่ – หากต้องฉีดอินซูลินควรดูว่าบริเวณที่ฉีดมีแผลหรือการอักเสบหรือเปล่า – ไม่ควรอาบน้ำร้อนเกินไป หรือแช่ฟองสบู่เพราะผิวจะยิ่งแห้ง ไม่ควรฟอกสบู่ยาหรือสบู่ที่มีฤทธิ์ทำให้ผิวแห้ง และหลังอาบน้ำควรทาครีมบำรุงผิวให้ความชุ่มชื้นด้วย ยกเว้นบริเวณซอกนิ้วเพราะอาจทำให้เกิดเชื้อราได้ – หากมีบาดแผลควรทำแผลให้ถูกวิธี สำหรับแผลสดให้ใช้น้ำเกลือทำแผล ห้ามใช้แอลกอฮอล์ ยาแดง หรือไอโอดีนเพราะจะระคายเคือง และควรปิดบาดแผลด้วยผ้าทำแผลที่สะอาด – ในช่วงฤดูหนาว หรืออากาศแห้งและเย็น ให้ใช้เครื่องทำความชื้นในบ้าน เพราะบาดแผลบนผิวหนังของผู้ป่วยโรคเบาหวานจะหายยาก ดังนั้นควรรักษาสุขภาพผิวหนังไว้ก่อนจะดีกว่าค่ะ

  • การรักษาเบาหวานด้วยการปลูกถ่ายตับอ่อน

    การรักษาเบาหวานด้วยการปลูกถ่ายตับอ่อน

    การรักษาเบาหวานด้วยการปลูกถ่ายตับอ่อน ปัจจุบันนี้การปลูกถ่ายอวัยวะเป็นการผ่าตัดที่แพทย์ไทยเรามีความชำนาญมากขึ้น จึงถูกนำมาใช้ในการรักษามากขึ้นด้วย แต่ปัญหากลับกลายเป็นว่ามีผู้บริจาคอวัยวะจำนวนน้อยลง ผู้ป่วยหลายรายจึงอาจต้องรอคอยนานบางท่านก็อาจต้องรอคอยทั้งชีวิต ผู้ป่วยรายใดได้รับบริจาคอวัยวะถือว่าเป็นความโชคดีเหมือนได้ชีวิตใหม่ สำหรับการปลูกถ่ายตับอ่อนนี้ก็เป็นวิธีการรักษาเบาหวานอีกวิธีหนึ่งเช่นกัน เพื่อการรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องพึ่งอินซูลินหรือเบาหวานประเภทที่หนึ่ง เพราะเซลล์ที่ผลิตอินซูลินในตับอ่อนโดนทำลาย จึงต้องฉีดอินซูนลินวันละหลายครั้งทุกวัน เคยมีผู้ปลูกถ่ายตับอ่อนสำเร็จมาแล้ว โดยผู้ป่วยรายนี้เป็นเบาหวานชนิดที่หนึ่งเรื้อรัง มีภาวะไตวายด้วย จึงต้องเปลี่ยนไตไปด้วย โดยมีการปลูกถ่ายไตก่อน เพราะผู้ป่วยรายนี้ต้องมาฟอกเลือดด้วยไตเทียมอาทิตย์ละสองครั้งมาตลอด การปลูกถ่ายไตได้ผลดีแต่ก็ยังคงต้องฉีดอินซูลินทุกวันเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล ต่อมาไม่นานเป็นเรื่องโชคดีมากที่มีผู้บริจาคตับอ่อนให้ จึงทำการปลูกถ่ายตับอ่อนบริเวณอุ้งเชิงกรานด้านซ้ายแล้วต่อหลอดเลือดเข้ากับหลอดเลือดไปเลี้ยงขา และต่อท่อตับอ่อนเข้ากับลำไส้เล็ก ใช้เวลาผ่าตัดเพียงสามชั่วโมง หลังการผ่าตัดได้รับยากดภูมิเป็นเวลา 18 วันโดยไม่เกิดภาะแทรกซ้อน ตับอ่อนที่ปลูกถ่ายทำงานได้ดี สามารถผลิตอินซูลินได้ทันทีหลังจากการผ่าตัดเพียงวันเดียว มีระดับน้ำตาลในเลือดเป็นปกติ ไม่ต้องฉีดอินซูลินและไม่ต้องกินยาลดระดับน้ำตาลในเลือด การผ่าตัดปลูกถ่ายตับอ่อนหนนี้จึงเป็นความสำเร็จที่ช่วยรักษาชีวิตผู้ป่วยเบาหวานเอาไว้ได้ ต้องเรียกว่าเป็นความโชคดีซ้ำซ้อนที่ผู้ป่วยได้รับการบริจาคอวัยวะถึงสองชิ้น แล้วยังประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายทั้งสองครั้งด้วย คุณภาพชีวิตจึงดีกว่าเดิมมาก หากในประเทศไทยมีผู้ป่วยโชคดีมาก ๆ เช่นนี้ก็คงดี ซึ่งก็คงต้องสนับสนุนโครงการบริจาคอวัยวะให้เป็นที่ยอมรับให้มากกว่านี้ให้ได้ก่อนน่ะค่ะ

  • เลือกทานอาหารช่วยลดน้ำตาลและไขมันในเลือด

    เลือกทานอาหารช่วยลดน้ำตาลและไขมันในเลือด

    เลือกทานอาหารช่วยลดน้ำตาลและไขมันในเลือด ในแต่ละปีนั้นประเทศไทยพบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ปีละกว่าสามแสนคน และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ปีละแปดแสนคนเลยทีเดียว เพราะมีสาเหตุมาจากการกินอาหารที่ไขมันสูง มีเกลือมากและรสชาติหวานมากเกินไป ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงเน้นการป้องกัน ควบคุมและเฝ้าระวังเพื่อลดปัญหาความเจ็บป่วยนี้ให้ลดน้อยลง ให้คนไทยมีสุขภาพที่แข็งแรง ลดการทานยา และมีจำนวนผู้ป่วยลดน้อยลงให้ได้ อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานนั้น จึงควรควบคุมระดับน้ำตาลให้พอดีด้วยการกินแป้งที่ไม่ขัดข้าว พวกข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง มัน เผือก เท่าที่พออิ่ม อาหารเหล่านี้มีเส้นใยอยู่ด้วยจึงช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลได้ อาหารอีกชนิดได้แก่ผักใบ ช่วยลดน้ำตาล ควบคุมน้ำหนักตัว และเส้นใยอาหารทำให้ดูดซึมน้ำตาลได้ช้าลง ลดระดับคอเลสเตอรอลได้ดี อีกประการก็คือควรลดน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน จะรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี รวมไปถึงระดับไขมันและความดันโลหิตด้วย หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกคอเลสเตอรอลและไขมันอิ่มตัว ไม่ว่าจะเป็น เนื้อแดง ไขมันสัตว์ กะทิ เนย นมไขมันสูง เพราะจะกระตุ้นให้ระดับคอเลสเตอรอลและไตรกรีเซอไรด์ในเลือดเพิ่มขึ้น รวมไปถึงไขมันทรานส์ที่พบได้มากในอาหารทอดน้ำมัน เบเกอรี่ เนย นมข้น ก็ยังเพิ่มระดับของ LDL ขึ้นและลดไขมันตัวดี HDL ลง เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นผนังหลอดเลือดแข็งตัว และเกิดโรคหลอดเลือดได้ ไม่ว่าจะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากเส้นเลือดหัวใจตีบ เสี่ยงต่อการไตวาย ซึ่งจะพบได้มากในผู้ป่วยเบาหวานประเภทสอง ผู้ป่วยเบาหวานและไขมันในเส้นเลือดสูงนั้น ก็สามารถมีสุขภาพที่ดีได้ หากมีความตั้งใจที่จะปรับพฤติกรรมตนเองด้วยการกินอาหารที่ดี รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ…

  • ภาวะต้อกระจกและการรักษา

    ภาวะต้อกระจกและการรักษา

    ภาวะต้อกระจกและการรักษา ต้อกระจก นี้เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และยังเป็นสาเหตุอับดับต้น ๆ ของภาวะสายตาพิการในคนชราด้วย โดยอาการของต้อกระจกจะเป็นภาวะที่แก้วตาหรือเลนสด์ตามีลักษณะขุ่นขาว มัวลง ทึบแทบ ไม่ยอมให้แสงผ่านเข้าสู่ลูกตาไปกระทบจอตา จึงทำให้สายตาฝ้าฟางและมองไม่เห็นได้ในที่สุด สาเหตุของโรคนี้นั้นส่วนใหญ่เกิดจากความเสื่อมสภาพตามวัย ส่วนใหญ่ผู้ที่อายุเกิด 60 ปีแล้วก็มักจะเป็นทุกราย แต่มีบางรายซึ่งเป็นส่วนใหญ่ที่เป็นมาแต่กำเนิดพบได้ในทารกที่เป็นหัดเยอรมันแต่กำเนิด หรือการได้รับบาดเจ็บหรือกระทบกระเทือนที่ตาอยางรุนแรง มีความผิดปกติของตา หรือเกิดจากการใช้ยาหยอดตาที่มีสเตียรอยด์ หรือกินสเตียรอยด์เข้าไปนาน ๆ การกินยาลดความอ้วนบางชนิด เกิดจากการถูกรังสีที่ตาเป็นเวลานาน รวมไปถึงการถูกแสงแดดหรือแสงยูวีก็ทำให้เกิดต้อกระจกได้ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ที่มีภาวะขาดอาหาร สูบบุหรี่ ดื่มเหล้าจัด ก็ทำให้เกิดต้อกระจกได้เร็วกว่าคนทั่วไป อาการของต้อกระจกนี้ ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าตาค่อย ๆ มัวลง แรก ๆ จะเหมือนหมอกบัง มองที่มืดชัดกว่าที่สว่าง หรือถูกแสงสว่างตาจะพร่ามัว สู้แสงไม่ไหว เห็นภาพซ้อน ไม่เจ็บปวดหรือตาแดงแต่อย่างใด อาการตามัวจะแสดงอาการหนักขึ้นเรื่อย ๆ กินเวลาเป็นแรมเดือนแรมปี จนแก้วตาขุ่นขาวหมด (ต้มสุก) ก็จะมองไม่เห็น ต้อกระจกนี้คนชรามักจะมีอาการทั้งสองข้าง แต่จะสุกไม่พร้อมกัน ระยะแรกแก้วตาจะขุ่นบริเวณตรงกลาง มองในมืดรูม่านตาจะขยายเปิดทางใหแสงผ่านเข้าแก้วตาส่วนรอบนอกที่ยังใสจึงทำให้เห็นภาพได้ชัด แต่เมื่อมองในที่สว่างรูม่านตาจะหดเล็กลง แสงจะผ่อนเฉพาะแก้วตาส่วนกลางจึงทำให้ภาพพร่ามัว การรักษาโรคนี้ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนแก้วตา หรือใช้วิธีสลายต้อด้วยคลื่นความถี่สูง…

  • ดูแลบาดแผลเล็กๆ น้อยๆ ด้วยตนเอง

    ดูแลบาดแผลเล็กๆ น้อยๆ ด้วยตนเอง

    ดูแลบาดแผลเล็กๆ น้อยๆ ด้วยตนเอง คำว่าบาดแผลเล็กน้อย นั้นหมายถึงบาดแผลที่เกิดจากของมีคมบาง อาจเป็นแผลหนังเปิดเล็กน้อย แผลถลอก มีเลือดออกไม่มาก สามารถห้ามเลือดได้เองโดยการใช้มือกดไว้หรือใช้ผ้าก๊อซพันไว้ เลือดก็หยุดไหลได้เองโดยไม่ต้องใช้ยา หรือการเย็บแผล แผลแบบนี้สามารถเกิดได้ทุกคน ตามมือ แขน เท้า นิ้วมือ ฯลฯ ไม่ต้องดูแลเป็นพิเศษแต่อย่างใด แล้วแผลก็สามารถหายได้เอง แต่บางคนก็ไม่เป็นเช่นนั้น แผลอาจไม่หาย มีหนองอักเสบ นั่นก็เป็นเพราะการขาดการดูแลของเจ้าของแผลเอง ผู้ที่มักมีบาดแผลอักเสบ ไม่หายไปง่าย ๆ นั้นมักจะเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งควารดูแลการเกิดแผลอักเสบมากกว่าคนปกติธรรมดา ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานนั้นจะมีอาการชาตามปลายมือปลายเท้า มีความรู้สึกน้อยกว่าคนปกติทั่วไป ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรระวังการติดเชื้ออักเสบและการลุกลามของแผลเป็นพิเศษ หมั่นล้างมือล้างเท้าให้สะอาด สังเกตว่ามีแผลถลอมเกิดขึ้นบ้างหรือไม่ เพราะอาการชาอาจทำให้ไม่รู้สึกตัว หมั่นตัดเล็บ หรือถ้าให้คนอื่นตัดให้ก็บอกให้เราระวังเป็นพิเศษ ข้อปฏิบัติง่าย ๆ สำหรับผู้ป่วยเบาหวานและคนทั่วไปในการดูแลบาดแผล มีดังต่อไปนี้ – เมื่อเกิดบาดแผลขึ้นให้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดและสบู่ ใช้ผ้าซับแผลให้แห้ง แล้วทาด้วยโพรวิโดน ไอโอดีน (เบตาดีน, ไอโปดีน หรือ โพวาดีน สำหรับใส่แผลถลอก แผลสดขนาดเล็ก) ทาบาง ๆ ครั้งเดียว แต่หากแผลเกิดอักเสบ…

  • การออกกำลังกายที่พอเหมาะ…สำหรับคนเป็นเบาหวาน

    การออกกำลังกายที่พอเหมาะ…สำหรับคนเป็นเบาหวาน

    การออกกำลังกายที่พอเหมาะ…สำหรับคนเป็นเบาหวาน การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นเรื่องที่สำคัญในการควบคุมโรคด้วยเช่นกัน ทำให้ระดับของน้ำตาลในกระแสเลือดลดลง แต่จะลดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาที่ออกกำลังกาย ความหนัก และระดับน้ำตาลก่อนการออกกำลังกาย รวมทั้งการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอด้วย ซึ่งการออกกำลังกายของผู้ป่วยเบาหวานทั้งสองชนิด นั้นมีวิธีการที่แตกต่างกัน เพราะเป็นผลมาจากการนำพลังงานไปใช้และเผาผลาญพลังงานที่แตกต่างกันนั่นเอง การออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 หรือชนิดที่พึ่งอินซูลิน หากมีสุขภาพทั่วไปดีอยู่ ให้ออกกำลังกายวันละ 20 นาทีถึงหนึ่งชั่วโมง แต่ต้องควบคุมโรคและใช้ยาอินซูลินให้ดีก่อนออกกำลังกาย ผู้ป่วยควรสามารถวัดระดับน้ำตาลในเลือดของตนเองได้หากต้องการออกกำลังกายหนัก ๆ และเข้าใจการปรับเปลี่ยนการใช้หรืออินซูลินของตนเองด้วย ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ควรออกกำลังกายในช่วงเวลา บ่ายสามถึงห้าโมงเย็น หลังทานอาหารว่างแล้วประมาณครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง วันเว้นวัน และไม่ควรออกกำลังกายขณะที่อินซูลินออกฤทธิ์สูงสุด หากออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องแล้วแพทย์อาจแนะนำให้ลดการการใช้อินซูลินลง ส่วนการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ชนิดที่ยังต้องพึ่งอินซูลิน ควรออกกำลังกายแบบเหนื่อยปานกลางอย่างต่อเนื่องประมาณครึ่งชั่วโมงต่อวัน เช่น การเดินเร็ว การว่ายน้ำ การเดินในน้ำ โยคะ รำมวยจีน หรือปั่นจักรยานอยู่กับที่ เพื่อให้ชีพจรเร็วขึ้น ควรอบอุ่นร่างกายก่อนเสมออย่างน้อย 5-10 นาที แล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มการออกกำลังกายขึ้นแต่ไม่ควรหักโหมเกินไป เมื่อต้องการหยุดออกกำลังกายให้ค่อย ๆ ผ่อนลงเรื่อย ๆ เรียกว่าคูลดาวน์ ประมาณ 5-10…

  • วิธีทานผลไม้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพ

    วิธีทานผลไม้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพ

    วิธีทานผลไม้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพ วิธีทานผลไม้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพ ในประเทศไทยนั้นเป็นประเทศในแถบเมืองร้อนที่มีผลหมากรากไม้ที่มีรสชาติอร่อยมากมาย ยิ่งในฤดูร้อนที่ผลไม้หลายชนิดพากันตกลูกแล้ว วัน ๆ เราก็คงอยากแต่จะทานผลไม้เหล่านี้กันให้อิ่มหนำไปเลย แต่ผลไม้หลายชนิดในหน้าร้อน ไม่ว่าจะเป็น ทุเรียน ลำไย เงาะ ลองกอง มะม่วงสุก เหล่านี้มีน้ำตาลสูงมาก อาจทำให้อ้วนได้ อีกทั้งยังมีการใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลงระหว่างการปลูกอยู่มาก ดังนั้นเราจึงควรเรียนรู้วิธีการทานผลไม้อย่างถูกต้องเพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์สูงสุดจากผลไม้โดยไม่เป็นอันตราย ดังต่อไปนี้ค่ะ 1. เมื่อซื้อผลไม้มาแล้วให้ทำการล้างให้สะอาดมาก ๆ หลาย ๆ น้ำ โดยเฉพาะผลไม้ที่ทานได้ทั้งเปลือกยิ่งต้องใส่ใจเป็นพิเศษ อาจแช่น้ำทิ้งไว้สักครึ่งชั่วโมงแล้วล้างทิ้งเพื่อความปลอดภัย 2. ซื้อผลไม้มาทานแค่พอกินเท่านั้น อย่าซื้อมาตุนไว้เยอะ ๆ เพราะวิตามินและแร่ธาตุที่เต็มเปี่ยมจะอยู่ในผลไม้สด ๆ ยิ่งทิ้งไว้นานเท่าไรคุณค่าทางโภชนาการก็จะยิ่งลดลงไปเรื่อย ๆ อีกทั้งควรกินให้มีความหลากหลาย เปลี่ยนชนิดหมุนเวียนไปเรื่อย ๆ ตามฤดูกาลเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่หลากหลาย 3. สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวาน หรือผู้ที่เป็นโรคอ้วน ควรระมัดระวังผลไม้ที่หวานจัด โดยทานผลไม้หวานจัดเหล่านี้แค่ 1 ส่วนต่อวันเท่านั้น ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 5-6 คำ ผลไม้หวาน ๆ เหล่านี้ได้แก่ ขนุน มะม่วงสุก กล้วย…

  • ชนะเบาหวานใน 6 เดือนด้วยการล้างพิษตับอ่อน สูตรที่ได้ผลจริง

    ชนะเบาหวานใน 6 เดือนด้วยการล้างพิษตับอ่อน สูตรที่ได้ผลจริง

    ชนะเบาหวานใน 6 เดือนด้วยการล้างพิษตับอ่อน สูตรที่ได้ผลจริง ต่อไปนี้เป็นเรื่องจริงที่อาจต้องใส่นามสมมุติไว้เพื่อความเป็นส่วนตัวของคนไข้นะคะ  เป็นเรื่องจริงที่เกิดผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดลงได้จนสามารถเอาชนะโรคเบาหวานได้ในเวลาเพียงแค่ 6 เดือน ที่เพียงแค่ควบคุมอาหารและกินให้ถูกต้องเท่านั้นเอง ชายหนุ่มคนนี้มีนามสมมุติว่า พิรุณ  อายุ 38 ปี ชอบเล่นฟุตบอล พอหลังแล่นเหนื่อย ๆก็ชอบดื่มน้ำอัดลมขวดใหญ่  ในเวลาหนึ่งปี น้ำหนักเขาทะยานขึ้นจาก 65 กก. เป็น  75 ก.ก. แต่จะมีคนเตือนว่าเขาไม่ควรกินน้ำอัดลม และควรดูแลสุขภาพให้มากกว่านี้ ไม่ใช่แค่ออกกำลังกายแล้วกินไม่เลือกเลย  เขาจึงหันมาสนใจสุขภาพมากขึ้น  เขารู้ว่าการกินผักผลไม้ต้องดีกว่ากินน้ำหวานหรือน้ำอัดนมแน่ ๆ   แต่ครั้นจะกินแต่ผักอย่างเดียวก็ไม่อร่อย  เขาเลยเลือกหันมากินแตงโมแทนการน้ำอัดลมหลังการเล่นฟุตบอล  เขากินได้ถึง 2 ลูกในบางวัน กินแทนอาหารเย็นด้วยซ้ำ  ผลก็คือน้ำหนักตัวของเขาลดลงจาก 75 เหลือ 65 กก. ภายในระยะเวลา 6 เดือนเท่านั้น เขาหลงเข้าใจว่าตัวเองสุขภาพแข็งแรงขึ้นแล้ว  แต่กลับกลายเป็นว่าเขารู้สึกอ่อนเพลียอย่าไม่เคยเป็นมาก่อน แล้วยังปัสสาวะบ่อยมาก กลางคืนต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะถึง 2-3 หน  ซึ่งสุดท้ายทำให้เขาเล่นฟุตบอลกับเพื่อน ๆ ไม่ไหวอีกต่อไป ภรรยาจึงพาไปพบแพทย์  ผลการตรวจเลือดทำให้เขาแทบล้มทั้งยืนพบว่า…

  • ยา aleglitazar ที่ใช้ลดระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานนั้น ไม่ได้ช่วยลดความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ

    ยา aleglitazar ที่ใช้ลดระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานนั้น ไม่ได้ช่วยลดความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ

    ยา aleglitazar ที่ใช้ลดระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานนั้น ไม่ได้ช่วยลดความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ นักวิจัยได้ศึกษาเรื่องตัวยา aleglitazar ซึ่งเป็นยาที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในร่างกายนั้น ไม่ได้ส่งผลให้ช่วยลดความผิดปกติของหัวใจ โรคหัวใจล้มเหลว หรือการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองในกลุ่มคนไข้โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และผู้ที่เพิ่งมีอาการหัวใจล้มเหลว หรืออาการปวดเค้นหัวใจอยู่เรื่อยๆได้ ปัจจุบัน โรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจนั้นยังคงเป็นสาเหตุหลักของการตายในกลุ่มคนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อยู่ ซึ่งไม่มีการรักษาด้วยยาที่ส่งผลต่อเบาหวาน หรือการควบคุมระดับกลูโคสอย่างเข้มงวดใดที่แสดงให้เห็นว่าจะสามารถลดความยุ่งยากของหัวใจหรือหลอดเลือดของหัวใจในกลุ่มคนไข้ดังกล่าวได้เลย โดยในการลดลองระยะที่ 2 นั้น aleglitazar สามารถลดระดับกลูโคสในเลือด ไตรกลีเซอไรด์ LCL และเพิ่มระดับของ HDL ให้สูงขึ้นได้ แพทย์และนักวิทยาศาสต์ก็ได้มีการทดลองเรื่องนี้กับผู้ป่วยเบาหวาน ด้วยการสุ่มให้ยา aleglitazar และการให้ยาหลอก โดยใช้เวลาประมาณ 104 สัปดาห์ พบว่า ไม่ได้ผล นักวิทยาศาสตร์พบว่าถึงแม้ aleglitazar นั้นจะลดระดับกลูโคสในเลือดและทำให้ระดับของ HDC และไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้นก็ตาม ตัวยาดังกล่าวนั้นไม่ได้ลดเวลาของการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ อาการหัวใจล้มเหลว หรือการที่เส้นเลือดไปเลี้ยงสมองอุดตันแต่อย่างใด ซึ่งเหตุดังกล่าวได้เกิดขึ้นในคนไข้จำนวนที่ได้รับยา aleglitazar 344 ราย (9.5%)  และ 360 ราย (10%) ในกลุ่มคนไข้ที่ได้รับยาหลอก และตัวยา aleglitazar นั้นได้ถูกเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่จะมีความผิดปกติของไต…