Tag: ผู้ป่วยอัลไซเมอร์

  • ดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์อย่างไร ไม่เครียดเองเสียก่อน

    ดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์อย่างไร ไม่เครียดเองเสียก่อน

    ดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์อย่างไร ไม่เครียดเองเสียก่อน ญาติ ๆ และผู้ดูแลคนป่วยโรคอัลไซเมอร์นั้น มักจะมีความเครียดกับการดูแลผู้ป่วยอยู่เสมอ ก่อนที่สุขภาพจิตจะแย่ไปกว่านี้ลองมาดูแนวทางการบรรเทาความเครียด และสร้างกำลังใจกันดูหน่อยดีไหมคะ 1. ทำใจยอมรับและทำความเข้าใจว่าผู้ป่วยไม่ได้แกล้งทำหรือเรียกร้องความสนใจแต่อย่างใด เพราะเป็นโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากสมองฝ่อลง จึงทำให้ผู่ป่วยแสดงพฤติกรรมออกมาเช่นนั้น โดยที่ผู้ป่วยเองก็ไม่ได้ตั้งใจด้วย 2. อย่าไปโกรธตอบผู้ป่วย อย่างที่บอกไปข้อแรกแล้ว ว่าเขาไม่ได้ตั้งใจจะแสดงออกมาเช่นนั้น จะโกรธหรือหงุดหงิดไปเพื่ออะไร 3. หากเหนื่อยกายเหนื่อยใจนักก็หาคนมาสับเปลี่ยนบ้าง หากญาติ ๆ คนอื่นไม่ยอมเข้าใจก็ลองเอาคำแนะนำเกี่ยวกับคนไข้โรคอัลไซเมอร์ส่งให้เข้าอ่านทำความเข้าใจ ยิ่งหากเป็นบุพการีเคยเลี้ยงดูมาก่อน เขาก็น่าจะมาช่วยเหลือและตอบแทนบุญคุณบ้าง 4. ลองไปพบปะแลกเปลี่ยนกับผู้ดูแลอัลไซเมอร์คนอื่น ๆ เพื่อหากำลังใจและสร้างจิตใจที่เข้มแข็งให้กับตัวเอง การให้กำลังใจกันและกันลงความเครียดไปได้ แล้วยังได้เทคนิคการดูแลผู้ป่วยมาแลกเปลี่ยนกันไปด้วย 5. ผ่อนคลายความเครียดบ้าง ด้วยการเล่นกีฬา ทำงานอดิเรก ฝึกการหายใจ เล่นโยคะ หรือมวยจีนและทำสมาธิด้วย ก็จะช่วยได้มาก 6. หากทำทุกอย่างแล้วความเครียดก็ยังไม่หายไป หรือยิ่งมีอาการเครียดมากขึ้น รวมไปถึงมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย จนส่งผลให้การใช้ชีวิตและการทำงานเสียลงไป ควรรีบไปขอความช่วยเหลือหรือขอรับการปรึกษาจากจิตแพทย์ ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ทุกคนนะคะ ^__^  

  • คู่มือการดูแล ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองเสื่อม

    คู่มือการดูแล ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองเสื่อม

    คู่มือการดูแล ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองเสื่อม สำหรับในครอบครัวที่มีผู้สูงอายุเป็นโรคอัลไซเมอร์หรือโรคสมองเสื่อมนั้น จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากผู้อยู่ใกล้ชิดเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงควรรู้จักวิธีการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมที่ถูกต้อง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งของผู้ป่วยเองและผู้ดูแลกันเถอะค่ะ 1. ผู้ที่ดูแลใกล้ชิดทุกคนคนทำความรู้จักและศึกษาโรคสมองเสื่อมนี้ให้มาก เพื่อจะได้สามารถแก้ปัญหาบางประการได้เหมาะสมและทันท่วงที 2. ผู้ป่วยสมองเสื่อมมักมีปัญหาหลายอย่างพร้อมกัน ควรแก้ไขปัญหาที่สำคัญที่สุดก่อน จะทำให้การดูแลทำได้ง่ายขึ้น 3. หากผู้ป่วยยังอยู่ในภาวะป่วยเริ่มแรก ยังมีอาการไม่มาก ควรพูดคุยให้ยอมรับฟังและเข้าใจเหตุผล รวมทั้งอธิบายข้อจำกัดของผู้ป่วยที่มีการเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งบอกความรู้สึกของผู้ดูแลให้ผู้ป่วยเข้าใจ 4. ควรมีความยืดหยุ่นและใช้สัญชาติญาติรวมทั้งจินตนาการในการดูแลให้มาก อย่ายึดติดอะไรมากนัก เช่น หากคนไข้อยากสวมหมวกนอน ซึ่งก็ไม่ได้เป็นอันตรายอะไร ก็ไม่ควรห้าม 5. ปรับทัศนคติการมองว่าการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเป็นเรื่องไม่เคร่งเครียด จะทำให้อารมณ์ดีขึ้น 6. ผู้ดูแลควรผ่อนคลายความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอและปล่อยวางบ้าง เพราะการดูแลผู้ป่วยโรคนี้จะทำให้เครียด หงุดหงิด และเหนื่อยง่าย และอาจส่งผลต่อสุขภาพได้ในระยะยาว 7. มีการพูดคุยสื่อสารกับคนป่วย เกี่ยวกับขั้นตอนการทำกิจกรรมอย่างละเอียด สั้น ๆ ง่าย ๆ เช่น การอาบน้ำ ซึ่งแม้จะดูเหมือนง่ายแต่สำหรับผู้ป่วยแล้วเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ผู้ดูแลควรมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดด้วย 8. พยายามจัดรูปแบบการดูแลผู้ป่วยให้เหมือนกันทุกวัน อย่าสับเปลี่ยนไปมาเพื่อให้เกิดความเคยชิน ผู้ป่วยจะได้เรียนรู้และช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ก็อาจต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง 9. อย่าวิพากษ์วิจารณ์ผู้ป่วยผู้ป่วยต่อหน้า…