Tag: ผิวหนังอักเสบ
-
การดูแลผิวหนังสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
การดูแลผิวหนังสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน กว่าร้อยละสามสิบของผู้ป่วยเบาหวานมักเกิดปัญหาผิวหนัง ได้แก่ อาการคัน ผิวหนังอักเสบ การติดเชื้อ ฝีหนอง แผลหายยาก ดังนั้นผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงควรดูแลผิวหนังของตนเองอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ – ทำความสะอาดผิวหนังและซับให้แห้งไว้เสมอ – บริเวณขาหนีบหรือรักแร้หลังอาบน้ำให้ซับให้แห้งและโรยแป้งฝุ่นไว้ ไม่ควรปล่อยให้อับชื้น โดยเฉพาะคนที่อ้วนเพราะอาจทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย – หากเป็นคนที่มีผิวแห้ง ควรทาโลชั่นหรือครีมเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหนัง หากมีเหงื่อออกมาสามารถทาแป้งฝุ่นบาง ๆ ให้สบายตัวขึ้นได้ – หากจำเป็นต้องออกแดด ควรทาครีมกันแดดทุกครั้ง – หลีกเลี่ยงการเกาหรือขีดข่วนอื่น ๆ – สำรวจผิวหนังตนเองสม่ำเสมอว่ามีตุ่ม ผื่น ก้อนหรือบาดแผลหรือไม่ – หากต้องฉีดอินซูลินควรดูว่าบริเวณที่ฉีดมีแผลหรือการอักเสบหรือเปล่า – ไม่ควรอาบน้ำร้อนเกินไป หรือแช่ฟองสบู่เพราะผิวจะยิ่งแห้ง ไม่ควรฟอกสบู่ยาหรือสบู่ที่มีฤทธิ์ทำให้ผิวแห้ง และหลังอาบน้ำควรทาครีมบำรุงผิวให้ความชุ่มชื้นด้วย ยกเว้นบริเวณซอกนิ้วเพราะอาจทำให้เกิดเชื้อราได้ – หากมีบาดแผลควรทำแผลให้ถูกวิธี สำหรับแผลสดให้ใช้น้ำเกลือทำแผล ห้ามใช้แอลกอฮอล์ ยาแดง หรือไอโอดีนเพราะจะระคายเคือง และควรปิดบาดแผลด้วยผ้าทำแผลที่สะอาด – ในช่วงฤดูหนาว หรืออากาศแห้งและเย็น ให้ใช้เครื่องทำความชื้นในบ้าน เพราะบาดแผลบนผิวหนังของผู้ป่วยโรคเบาหวานจะหายยาก ดังนั้นควรรักษาสุขภาพผิวหนังไว้ก่อนจะดีกว่าค่ะ
-
สังเกตตัวเองดูว่า มีอาการหน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน หรือเปล่า?
สังเกตตัวเองดูว่า มีอาการหน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน หรือเปล่า? “หน่วยไต” เป็นหน่วยเล็ก ๆ ที่กระจายอยู่ในเนื้อไต มีปริมาณข้างละหนึ่งล้านหน่วย ทำใหน้าที่กรองน้ำและของเสียออกมาเป็นปัสสาวะ หากมีการอักเสบก็จะขับปัสสาวะออกมาได้น้อย มีของเสียคั่งอยู่ในเลือด มีเม็ดเลือดแดงและไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ ทำให้บวมทั้งตัวและปัสสาวะเป็นสีแดง พบมากในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5-10 ปี มักพบหลังเป็นทอนซิลอักเสบหรือแผลพุงพอง แต่หากได้รับการรักษาก็มักจะหายเป็นส่วนใหญ่ มีสาเหตมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย บีตาฮีโมไลติกสเตรปโตค็อกคัส กลุ่มที่ทำให้เกิดโรค ทอนซิลอักเสบ แผลพุงพอง ผิวหนังอักเสบ ฯลฯ เมื่อติดเชื้อร่างกายก็จะสร้างภูมิต้านทาน ซึ่งนอกจากทำลายเชื้อโรคแล้วยังมีปฏิกิริยาต่อหน่วยไตทำให้หน่วยไตอักเสบ พบได้หลังจากติดเชื้อในคอ 1-2 อาทิตย์ หลังติดเชื้อที่ผิวหนัง 3-4 อาทิตย์ พบได้ราวร้อยละ 10-15 ในเด็กที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง นอกจากนี้อาการหน่วยไตอักเสบยังพบร่วมกับโรคอื่น ๆ อย่างเช่น เอสแอลอี ซิฟิลิส และการแพ้สารเคมีได้อีกด้วย อาการของหน่วยไตอักเสบ จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการไข้ขึ้นสูง ปวดหัว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาเจียนคลื่นไส้ บวมทั้งตัว และปัสสาวะสีแดงเหมือนน้ำหมากหรือน้ำล้างเนื้อ เรื่อยไปจนถึงหากมีอาการรุนแรงอาจปัสสาวะออกไดน้อย หอบเหนื่อยหรือชักได้ อาจมีประวัติทอนซิลอักเสบหรือเป็นแผลพุพอง หรือผิวหนังอักเสบมาก่อน 1-4…
-
อาหารต้องห้ามของ 10 โรค
—
by
in ข่าวสุขภาพ, ความดันโลหิตสูง, ตับ, ท้องผูก, ริดสีดวงทวารหนัก, สิว, หอบหืด, หัวใจ, เบาหวาน, ไข้หวัด, ไตอาหารต้องห้ามของ 10 โรค อาหารต้องห้ามหรือของแสลง ก็คืออาหารท่านเข้าไปแล้วทำให้อาการกำเริบหรือโรคที่เป็นอยู่หายช้าลง มีพื้นฐานมาจากภูมิปัญญาทางการแพทย์พื้นบ้าน รู้ไว้จะดีกว่านะคะ ..หากเป็นโรคกระเพาะ หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกกาแฟ ชาแก่ ๆ ของทอด อาหารรสเผ็ด หรือมีไขมันสูง อาจทำให้โรคหายยากขึ้น ควรทานอาหารให้ตรงเวลาและเลือกอาหารที่ย่อยง่ายดีกว่า .. หากเป็นไข้ หรือเป็นไข้หวัด เลี่ยงอาหารที่มีความเย็น ของทอด ของมัน ที่ย่อยยาก จะยิ่งทำให้ตัวร้อนขึ้น .. หากเป็นโรคความดันโลหิตสูง หลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมัน และคอเลสเตอรอลสูง เช่น โกโก้ ไข่ปลา ไขกระดูก หมูสามชั้น สุรา แอลกอฮอล์ต่าง ๆ รวมทั้งหลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัดและผลไม้ที่มีความหวานอย่างขนุน ทุเรียน ลำไย ด้วย .. หากเป็นโรคตับหรือถุงน้ำดี เลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอลด์ อาหารติดมัน เนื้อสัตว์ติดมัน เครื่องใน ของทอด ของหวานจั เพราะอาจทำให้ประสิทธิภาพของการย่อยอาหารลดลง เพิ่มภาระให้กับตับและถุงน้ำดี ..หากเป็นโรคหัวใจและโรคไต เลี่ยงอาหารที่มีความเค็ม เพราะจะทำให้การไหลเวียนของเลือดช้าลง หัวใจทำงานหนักขึ้น ไตเองก็ต้องขับเกลือมากขึ้น…