Tag: ผักพื้นบ้าน
-
ผักปลัง ผักพื้นบ้านมากประโยชน์
ผักปลัง ผักพื้นบ้านมากประโยชน์ ผักปลัง หรือ ผักปั๋งในภาษาท้องถิ่นนั้น เป็นผักพื้นบ้านของไทยขึ้นอยู่ตามที่ชื้นทั่วไป มีอยู่สองชนิดก็คือ ผักปลังขาว และผักปลังแดง มีถิ่นกำเนิดทั้งในเอเชียและแอฟริกา ขึ้นได้ง่ายในที่ชุ่มชื้นกับดินทุกประเภท มีลักษณะเป็นไม้เลื้อย ลำต้นกลมเป็นสีเขียวหรือสีม่วงแดง อวบน้ำ แตกกิ่งก้านสาขาได้มาก ใบมีลักษณะมัน รูปร่างกลมหรือรูปไข่เรียงสลับกัน แผ่นใบอวบน้ำ กว้างประมาณ 2-6 เซนติเมตรและยาว 2.5-7.5 เซนติเมตร ส่วนดอกนั้นจะมีสีขาวหรือชมพูม่วง ไม่มีก้านดอก ออกดอกเป็นช่อ ตรงปลายแยกเป็นแฉก ๆ คุณค่าทางอาหารของผักปลัง ผักปลังให้แร่ธาตุและวิตามินมากมายโดยเฉพาะเบต้าแคโรทีน ช่วยบำรุงสายตาและช่วยป้องกันมะเร็งได้ การทานก็จะนำเอายอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อน ซึ่งมีรสจืดเย็นมากินเป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือนำมาแกงแบบต่าง ๆ ทั้งแกงส้ม แกงแค แกงปลา นำมาผัดกับแหนมหรือใส่แกงอ่อมหอย ก็ได้ ฯลฯ ส่วนประโยชน์ทางยาของผักปลังนั้น สามารถนำเอาก้านมาแก้พิษฝี ท้องผูก ลดไข้ได้ ใบนำมาขับปัสสาวะ แก้อาการอักเสบ กลาก น้ำคั้นจากใบใช้บรรเทาอาการผื่นคัน นำดอกมาแก้เกลื้อนได้ ส่วนราก นำมารักษาอาการเท้าด่าง รังแค…
-
วิธีเลือกทานผัก…ให้ปลอดจากสารเคมีทางการเกษตร
วิธีเลือกทานผัก…ให้ปลอดจากสารเคมีทางการเกษตร พิษจากสารเคมีทางการเกษตรนั้นทั่วทั้งโลกตระหนักดีกว่าก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บมากมายทั้งตัวของเกษตรกรผู้ผลิตเองและไล่ไปถึงผู้บริโภคด้วย ที่ว่าร้ายก็เป็นเพราะว่าสารเคมีทางการเกษตรนี้ก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งกระเพาะ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งรังไข่และมะเร็งที่ไต เป็นต้น จากการสุ่มตรวจเลือดของประชาชนโดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขนั้น ได้ดูระดับของเอนไซม์ อะเซทิล โคลิเนสเทอเรส ในเลือด ซึ่งหากลดต่ำลงหากได้รับสารในกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟตและคาบาร์เมต พบว่ามีสัสดส่วนผู้ที่มีความเสี่ยงถึงร้อยละ 54 และจากการศึกษาของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่าผู้ที่มีระดับเอนไซม์อะเซทิล โคลิเนสเทอเรสต่ำนั้นมีความสัมพันธ์กับสภาวะดีเอ็นเอถูกทำลาย จนอาจกลายพันธุ์เป็นมะเร็งได้ในอนาคต ดังนั้นทั้งเราจึงต้องร่วมมือกันในการทำให้อาหารที่บริโภคนั้นปลอดภัยมากยิ่งขึ้น นอกจากเกษตรกรผู้ปลูกจะต้องใส่ใจการผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษ ด้วยการหันมาปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ พืชผักปลอดสารพิษแล้ว ผู้บริโภคก็ต้องหันมาสนับสนุนอาหารเหล่านี้เช่นกัน ด้วยการเลือกผักมาประกอบอาหารดังต่อไปนี้ – ทานผักให้มีความหลากหลาย หมุนเวียนเปลี่ยนชนิดไปเรื่อย ๆ ยิ่งหากทานเป็นผักพื้นบ้านก็จะยิ่งปลอดภัยจากสารเคมีมากยิ่งขึ้น – เลือกอาหารหรือผักอินทรีย์จากแหล่งผลิตที่วางใจได้ – เมื่อนำมาปรุงควรลอกเปลือกชั้นนอกทิ้งไปก่อน เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาว เพราะใบชั้นนอกจะมีสารเคมีตกค้างมากกว่าใบชั้นใน – ล้างผักด้วยการแช่น้ำ เช่น เปิดน้ำจากก๊อกให้ไหลผ่านผักโดยตรง 2 นาที หรือจะใช้วิธีแช่ผักในน้ำปูนใส น้ำด่างทับทิม น้ำซาวข้าว…