Tag: ผักปลอดสารพิษ

  • เลือกทานผักให้ดี อย่าเลือกชนิดที่อาบสารพิษ

    เลือกทานผักให้ดี อย่าเลือกชนิดที่อาบสารพิษ

    เลือกทานผักให้ดี อย่าเลือกชนิดที่อาบสารพิษ ผักสด ๆ สวย ๆ ที่เห็นขายกันตามตลาดหรือซูปเปอร์สโตร์ก็ตามนั้น หลายชนิดพบว่าเมื่อนำมาพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วก็พบว่าเป็นผักที่อุดมไปด้วยสารพิษจำนวนมาก เป็นสารพิษตกค้างที่เกิดขึ้นระหว่างการปลูกและการขนส่งด้วย ดังนั้นการซื้อหาผักมารับประทานก็คงต้องเลือกให้ดี และจำเป็นต้องรู้ที่มาของผักและวิธีการปลูกผักนั้น ๆ ด้วย เพื่อความปลอดภัยของเรา และถ้าเป็นไปได้ คุณอาจลองปลูกผักทานเองก็จะได้ผักที่ปลอดสารพิษจริง ๆ ทำให้สุขภาพดีและแน่นอนว่าไม่มีสารพิษตกค้างให้หวาดระแวง คุณอาจปลูกลงกระถางไว้ที่ระเบียงหรือในสวนหลังบ้านก็ได้ ไม่จำเป็นต้องปลูกขึ้นรั้วบ้านหรือปลูกลงดินให้ลำบากแต่อย่างใด แต่แน่นอนว่าหากคุณไม่สะดวกในการปลูกผัก หรือต้องการกินผักให้หลากหลายขึ้นก็ยังจำเป็นต้องมีการซื้อหาจากตลาด การเลือกผักที่จะทำให้ทานได้ปลอดภัยกว่า ก็น่าจะเลือกผักที่ขึ้นตามฤดูกาล เลือกซื้อชนิดที่มีพอมีรูพรุนจากแมลงบ้าง เลือกทานผักพื้นบ้านก็จะปลอดภัยขึ้น การเลือกทานผักที่ขึ้นนอกฤดูกาลนั้นเป็นการบอกว่าผักเหล่านั้นต้องใช้สารเคมีเร่งโตมาอย่างแน่นอนค่ะ และเพื่อความปลอดภัยให้มากขึ้นเมื่อซื้อผัก ผลไม้ต่าง ๆ มาแล้วก็ควรล้างให้สะอาดด้วยด่างทับทิม ให้ละลายด่างทับทิมลงในกะละมังแช่ผักแล้วนำผักลงไปแช่ไว้อย่างน้อยครึ่งชั่วโมง หลังจากนั้นนำมาล้างให้สะอาด ๆ หลาย ๆ น้ำ ผักก็จะปลอดสารพิษกว่า 90% ได้แล้ว หรือหากไม่มีด่างทับทิม ก็สามารถล้างด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านแล้วเอามือช่วยถู ๆ ผัก เปิดให้ไหลผ่านผักสัก 2 นาทีก็จะช่วยให้ปลอดสารพิษได้ราว 70-80% เลยนะคะ  

  • วิธีเลือกทานผัก…ให้ปลอดจากสารเคมีทางการเกษตร

    วิธีเลือกทานผัก…ให้ปลอดจากสารเคมีทางการเกษตร

    วิธีเลือกทานผัก…ให้ปลอดจากสารเคมีทางการเกษตร พิษจากสารเคมีทางการเกษตรนั้นทั่วทั้งโลกตระหนักดีกว่าก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บมากมายทั้งตัวของเกษตรกรผู้ผลิตเองและไล่ไปถึงผู้บริโภคด้วย ที่ว่าร้ายก็เป็นเพราะว่าสารเคมีทางการเกษตรนี้ก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งกระเพาะ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งรังไข่และมะเร็งที่ไต เป็นต้น จากการสุ่มตรวจเลือดของประชาชนโดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขนั้น ได้ดูระดับของเอนไซม์ อะเซทิล โคลิเนสเทอเรส ในเลือด ซึ่งหากลดต่ำลงหากได้รับสารในกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟตและคาบาร์เมต พบว่ามีสัสดส่วนผู้ที่มีความเสี่ยงถึงร้อยละ 54 และจากการศึกษาของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่าผู้ที่มีระดับเอนไซม์อะเซทิล โคลิเนสเทอเรสต่ำนั้นมีความสัมพันธ์กับสภาวะดีเอ็นเอถูกทำลาย จนอาจกลายพันธุ์เป็นมะเร็งได้ในอนาคต ดังนั้นทั้งเราจึงต้องร่วมมือกันในการทำให้อาหารที่บริโภคนั้นปลอดภัยมากยิ่งขึ้น นอกจากเกษตรกรผู้ปลูกจะต้องใส่ใจการผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษ ด้วยการหันมาปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ พืชผักปลอดสารพิษแล้ว ผู้บริโภคก็ต้องหันมาสนับสนุนอาหารเหล่านี้เช่นกัน ด้วยการเลือกผักมาประกอบอาหารดังต่อไปนี้ – ทานผักให้มีความหลากหลาย หมุนเวียนเปลี่ยนชนิดไปเรื่อย ๆ ยิ่งหากทานเป็นผักพื้นบ้านก็จะยิ่งปลอดภัยจากสารเคมีมากยิ่งขึ้น – เลือกอาหารหรือผักอินทรีย์จากแหล่งผลิตที่วางใจได้ – เมื่อนำมาปรุงควรลอกเปลือกชั้นนอกทิ้งไปก่อน เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาว เพราะใบชั้นนอกจะมีสารเคมีตกค้างมากกว่าใบชั้นใน – ล้างผักด้วยการแช่น้ำ เช่น เปิดน้ำจากก๊อกให้ไหลผ่านผักโดยตรง 2 นาที หรือจะใช้วิธีแช่ผักในน้ำปูนใส น้ำด่างทับทิม น้ำซาวข้าว…