Tag: ป้องกันไข้เลือดออก

  • ใครที่ควรช่วยกันป้องกันโรคไข้เลือดออก

    ใครที่ควรช่วยกันป้องกันโรคไข้เลือดออก

    ใครที่ควรช่วยกันป้องกันโรคไข้เลือดออก  ไข้เลือดออกนั้น ทุกวันนี้ก็ยังไม่มียาใดที่รักษาได้ หรือแม้แต่วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกก็ยังไม่มีเช่นกัน ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดก็คือต้องกำจัดการแพร่พันธุ์ของยุง และคนที่ควรช่วยกันป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ดีที่สุดก็คือตัวเราเองและคนในชุมชนทุกคน ด้วยการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมมิให้เหมาะสมกับการขยายพันธุ์ของยุงต่อไป – จัดการภาชนะที่มีน้ำขังต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกะละมัง บ่อ แทงค์น้ำถังน้ำ ที่อาจจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงได้ ให้จัดการปิดฝาและหมั่นตรวจสอบลูกน้ำยุงลายสม่ำเสมอ – ตรวจสอบรอยรั่วของท่อน้ำ แท่งน้ำเหล่านี้ด้วยว่ามีน้ำรั่วบ้างหรือไม่โดยเฉพาะในหน้าฝน – ขารองโต๊ะ ขารองตู้ทั้งหลาย น้ำในแจกัน ควรเปลี่ยนทุกอาทิตย์ หรืออาจจะผสมทราย เกลือ ลงไปเพื่อป้องกันลูกน้ำ – ตรวจสอบถาดรองน้ำตู้เย็น แอร์ เครื่องทำน้ำเย็น ที่อาจมีน้ำขังอยู่ – ตรวจสอบบริเวณรอบบ้านของตนเองว่ามีแหล่งน้ำขังหรือไม่ แม้แต่ในท่อระบายน้ำบนหลังคาด้วย – ในส่วนของขวดน้ำ กระป๋อง ภาชนะที่เก็บกักน้ำได้อื่น ๆ หากไม่ใช้แล้วให้ใส่ถุงทิ้ง หรือฝังดินไม่ให้น้ำขัง รวมไปถึงยางเก่า ๆ ก็เช่นกันเพราะเป็นแหล่งที่ขังน้ำได้ – รั้วไม้ ต้นไม้ที่มีรูกลวง ให้นำคอนกรีตเทปิดรู ต้นไผ่ต้องตัดตรงข้อพอดี – ควรเลี้ยงปลาในอ่างที่ปลูกต้นไม้ หรือตามแหล่งน้ำธรรมชาติ – ควรสวมเสื้อผ้าที่หนาและมีสีอ่อน ๆ…

  • 7 มาตรการเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกจากยุงลาย

    7 มาตรการเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกจากยุงลาย

    7 มาตรการ เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกจากยุงลาย ในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี เป็นช่วงที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกสูงมากกว่าในช่วงอื่น เพราะเป็นช่วงฤดูฝนที่เมื่อฝนตกลงมาแล้วมีน้ำขังเฉอะแฉะ ยุงลายจึงบินมาวางไข่ได้มากขึ้น ยิ่งหากมีใครสักคนในชุมชนป่วยเป็นไข้เลือดออกขึ้นแล้ว ก็ยากจะคาดเดาจำนวนผู้ป่วยที่จะเกิดขึ้นตามมาได้ หากในครอบครัวมีผู้ป่วยเกิดเป็นไข้ เมื่อยเนื้อตัวควรใช้ยาลดไข้พาราเซตามอลเท่านั้น หากใช้ยาลดไข้ตัวอื่น และหากผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออก อาจกระตุ้นให้เลือดออกในร่างกายมากขึ้นจนช็อกและอันตรายได้ นอกจากนี้แล้วก็ให้ดูแลเหมือนผู้ป่วยเป็นไข้ทั่วไป แต่หากมีอาการซึม อ่อนเพลีย ปวดท้อง อาเจียนมาก ตัวเย็นผิดปกติ ก็ควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล สิ่งที่สำคัญมากสำหรับการป้องกันโรคไข้เลือดออก ก็คือการดูแลสภาพแวดล้อมมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย โดยการร่วมมือกันระหว่างคนในชุมชน หมู่บ้าน ด้วยมาตรการ 7 ป. ดังต่อไปนี้ 1. ปิดฝาภาชนะที่เก็บน้ำได้ทุกชนิด หากไม่มีฝาก็ให้หาแผ่นไม้หรือวัสดุอื่นใดก็ได้ที่ทนน้ำมาปิดไว้เพื่อป้องกันยุงลายวางไข่ 2. ปล่อยปลากินลูกตามแหล่งน้ำขังเพื่อตัดวงจรยุงลาย เช่น ปลาหางนกยูงเป็นต้น 3. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในหมู่บ้าน ทั้งในบ้านและนอกบ้านไม่ให้มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์เก่า กระป๋อง กระบอกน้ำเก่า ถัง โอ่งเก่า ฯลฯ ควรคว่ำไว้ให้หมด 4. ปรับสภาพของน้ำ เพื่อไม่ให้ยุงมาวางไข่โดยการใส่ทรายอะเบท น้ำส้มสายชู หรือเกลือแกงลงไปในน้ำ 5. เปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้…

  • ป้องกันไข้เลือดออกอย่างมั่นใจ ต้องใช้ 4ป.

    ป้องกันไข้เลือดออกอย่างมั่นใจ ต้องใช้ 4ป.

    ป้องกันไข้เลือดออกอย่างมั่นใจ ต้องใช้ 4ป. เพื่อสภาวะอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป จึงทำให้วงจรของยุงลายซึ่งเป็นพาหะสำคัญของโรคไข้เลือดออก มีระยะที่สั้นลง นั้นจึงทำให้แพร่พันธุ์ได้เร็วมากขึ้น โอกาสในการแพร่เชื้อของยุงก็มากขึ้นไปด้วย จะเห็นได้ว่าเมื่อไรที่ประเทศไทยเข้าสู่หน้าฝน ไข้เลือดออกก็ระบาดอย่างหนัก หากผู้ติดเชื้อเป็นเด็กอายุ 5-14 ปีแล้วล่ะก็ มีความเสี่ยงมากที่จะเสียชีวิต จะเห็นได้ว่าปีหลัง ๆ ที่ผ่านมามีผู้ป่วยเป็นแสนคน และเสียชีวิตกันเป็นหลักพัน และขยายความเสี่ยงออกมาสู่เด็กโตและวัยผู้ใหญ่ก็ป่วยด้วยไข้เลือดออกกันมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งการจัดการกับต้นกำเนิดของยุงลายพาหะของโรคไข้เลือดออกนั้น จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนในชุมชน ให้ลงมือช่วยกันอย่างเอาจริงเอาจังและมีความต่อเนื่อง จึงจะสามารถควบคุมการระบาดได้ โดยอาศัยมาตรการ 4 ป. ดังต่อไปนี้ 1. ปิด คือการใช้ฝาไปปิดภาชนะเก็บน้ำต่าง ๆ ให้หมด ไม่ว่าจะเป็นกระถางต้นไม้ อ่างน้ำ โอ่ง แทงค์เก็บน้ำ ฯลฯ 2. เปลี่ยน คือการหมั่นเปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้ หรือจานรองขาตู้กับข้าว โดยการหมั่นเปลี่ยนทุกอาทิตย์ หรือหยอดเกลือหรือผสมน้ำส้มสายชูลงในน้ำดังกล่าว ป้องกันการวางไข่ของยุงลายได้ 3. ปล่อย ก็คือการปล่อยปลาหางนกยูง ปลาสอด ลงไปในอ่างบัว บ่อน้ำ โอ่งน้ำเพื่อกินลูกน้ำเป็นอาหาร ถือเป็นการตัดตอนการแพร่พันธุ์ของยุงลายไปได้ 4. ปรับปรุง บ้านทุกหลังในหมู่บ้านหรือชุมชน…