Tag: ปอดอักเสบ

  • ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน

    ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน

    ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่มักเป็นตลอดชีวิต หากปล่อยปละละเลยหรือขาดการดูแล ก็อาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงจนรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ รวมไปถึงอาจเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่จะค่อย ๆ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเสื่อมสภาพลงจนเกิดโรคแทรกซ้อนได้ทุกระบบ ซึ่งได้แก่ – หลอดเลือดแดงทั้งเล็กและใหญ่ทั่วร่างกายแข็งและตีบ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เกิดความเสื่อมได้ เช่น จอประสาทตาเสื่อม ตามัว ตาบอด ไตวายเรื้อรัง ประสาทเสื้อ ทำให้มีอาการชาปลายมือปลายเท้า ท้องเดินหรือท้องผูก – โรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง – หน้าซีดเป็นลมเวลาลุกขึ้นยืน – องคชาตไม่แข็งตัว – หลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้หัวใจวายเสียชีวิตได้ – อัมพาต – ความจำเสื่อม – ติดเชื้อได้ง่าย เพราะเบาหวานทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง และอาจติดเชื้อซ้ำซาก เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ช่องคลอดอักเสบ โรคเชื้อราที่ผิวหนัง ฝี พุพอง – การติดเชื้อรุนแรง เช่น กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน ปอดอักเสบ วัณโรค –…

  • ลบความเข้าใจผิดเดิม ๆ เกี่ยวกับโรคอีสุกอีใส

    ลบความเข้าใจผิดเดิม ๆ เกี่ยวกับโรคอีสุกอีใส

    ลบความเข้าใจผิดเดิม ๆ เกี่ยวกับโรคอีสุกอีใส อีสุกอีใสมักจะระบาดกันมาในช่วงอากาศเย็น ๆ หรือฤดูหนาวนะคะ โรคอาจทำให้ใครหลายคนรู้สึกธรรมดา แต่ว่าความจริงแล้วโรคนี้อาจทำให้เสียชีวิตจากอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นตับอักเสบ ปอดอักเสบ แล้วที่เคยเข้าใจว่าหากตอนเด็ก ๆ เคยเป็นแล้วจะไม่กลับมาเป็นอีก เห็นทีต้องบอกว่าเข้าใจผิดแล้วล่ะค่ะ ยังสามารถกลับมาเป็นได้อีกและร้ายแรงกว่าเดิมด้วย .. ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคอีสุกอีใสอีกหลายข้อเลยทีเดียวค่ะ วันนี้เราจะมาแก้ความเข้าใจผิดนี้กันใหม่นะคะ – อีสุกอีใส มีแต่เด็กเป็น โตแล้วไม่เป็นไรหรอก … ไม่จริงค่ะ เป็นได้อีกทุกเพศ ทุกวัน ตั้งแต่เด็กยันแก่เลยค่ะ – อีสุกอีใส เป็นแล้วไม่เป็นซ้ำ… นี่ก็ผิดอีกเหมือนกัน เพราะปัจจุบันมีอีสุกอีใสสายทีเกิดจากเชื้อสายพันธุ์ใหม่อีก หากติดเชื้อคนละตัวกันก็สามารถเป็นซ้ำได้ แถมบางคนอาการหนักกว่าตอนเด็ก ๆ หรือมีแผลเป็นด้วยนะ – เป็นแล้วหายเอง ไม่ต้องฉีดวัคซีน.. จริงอยู่ว่าคนส่วนใหญ่จะหายได้เองใน 1-3 สัปดาห์แต่บางคนก็อาจติดเชื้อเพิ่มจากโรคแทรกซ้อนได้ ดังนั้นหากผู้ป่วยมีอาการปวดหู ไอ หายไจเหนื่อย เจ็บหน้าอก ตาหลือง ตัวเหลือง ปวดศีรษะมาก ซึม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่า ให้รีบไปพบแพทย์ก่อนติดเชื้อแทรกซ้อนที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ –…

  • ในฤดูหนาว ผู้สูงวัยควรระวังสุขภาพให้มาก

    ในฤดูหนาว ผู้สูงวัยควรระวังสุขภาพให้มาก

    ในฤดูหนาว ผู้สูงวัยควรระวังสุขภาพให้มาก แม้จะเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี แต่ในช่วงหน้าหนาวที่อากาศเปลี่ยนแปลงก็ไม่ควรประมาท แต่ควรรักษาร่างกายให้อบอุ่นไว้ตลอดเวลายิ่งหากไปท่องเที่ยวในที่เย็น ๆ ด้วยแล้ว ควรเตรียมอุปกรณ์กันหนาวให้ครอบครัน และปรึกษาแพทย์ก่อนไปด้วยนะคะ ระหว่างฤดูหนาวนี้ควรดื่มน้ำให้ได้วันละสองลิตรเพื่อป้องกันผิวแห้ง และนอนหลับให้เพียงพอ ทานอาหารร้อน ๆ รักษาความอบอุ่นของร่างกายไว้ด้วย โรคภัยและความเจ็บป่วยที่ผู้สูงวันต้องระวังเป็นพิเศษได้แก่ 1. โรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคติดต่อทางเดินหายใจทั้งหลาย ที่อาจลุกลามไปสู่อาการปอดอักเสบ หรือหลอดลมอักเสบได้ จึงไม่ควรอยู่ในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่านและอับชื้น ล้างมือบ่อย ๆ เพื่อลดการรับเชื้อ ควรงดสูบบุหรี่ไปเลยเพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเดินหายใจได้ ไม่ควรคลุกคลีกับเด็กหรือผู้ป่วยคนอื่น ๆ ยิ่งหากเป็นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ควรฉีดวัคซีนป้องกันไว้ก่อนจะดีกว่าค่ะ 2. เนื่องจากผู้สูงวัยจะมีไขมันใต้ผิวหนังน้อย ผิวจึงแป้ง เป็นผื่นอักเสบและลอกคันได้ง่าย ยิ่งเป็นฤดูหนาวที่อากาศแห้ง ผิวจะยิ่งสูญเสียความชุ่มชื้นได้ง่าย ไม่ควรอาบน้ำอุ่นจัดเพราะจะยิ่งชะล้างไขมันออกไปมากขึ้น ควรรักษาความอบอุ่นร่างกายไว้ สวมเสื้อผ้าหนา ๆ ไม่ควรอาบน้ำนานเกินไป ทาผิวด้วยโลชั่นหรือน้ำมันบำรุงผิวหลังอาบน้ำทุกครั้ง เพื่อรักษาความชุ่มชื้น และควรเลือกผลิตภัณฑ์ทาผิวที่มีความอ่อนโยนด้วย ควรทาบ่อย ๆ หากรู้สึกว่าผิวแห้ง เพื่อป้องกันผิวหนัง และทาลิปมันบำรุงผิวริมฝีปากไว้ด้วย ทาบ่อยได้ตามต้องการค่ะ 3. ในช่วงหน้าหนาว หากผู้สูงวัยไม่ค่อยออกกำลังกาย การกินอาหารที่ไขมันสูงเข้าไป หัวใจจะทำงานหนักมากยิ่งขึ้นในช่วงฤดูหนาว…

  • ไข้หูดับ เกิดจากเนื้อหมู

    ไข้หูดับ เกิดจากเนื้อหมู

    ไข้หูดับ เกิดจากเนื้อหมู โรคไข้หูดับ เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตปโตคอกคัส ซูอิส ซึ่งพบได้มากในเนื้อหมูดิบ ๆ โดยปกติเชื้อนี้จะอยู่ในโพรงจมูกของหมู เมื่อหมูอ่อนแอจากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม เชื้อก็จะเพิ่มจำนวนขึ้นไปตามกระแสเลือด หากนำหมูเหล่านี้มาบริโภคแบบดิบ ๆ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ แล้วเชื้อก็จะเข้าสู่ร่างกายของผุ้บริโภค หรืออาจเข้าทางผิวหนัง จากบาดแผล รอยถลอด เยื่อบุตา หรือเยื่อบุอ่อนอื่น ๆ ใช้เวลาฟักตัวไม่กี่ชั่วโมงจนถึงสามวัน และเมื่อเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด จะทำให้อวัยวะภายในต่าง ๆ เกิดการอักเสบและมีปัญหา ทำให้มีอาการไข้ ปวดหัว คอแข็ง ประสาทการทรงตัวเสียไป บางรายก็ทำให้เยื่อบุหัวใจและปอดอักเสบ ตาพร่ามัว มีโอกาสหูหนวกถาวร และบางรายที่รุนแรงก็อาจตายได้ ดังนั้นการนำเนื้อหมูมาบริโภค ต้องปรุงให้สุกจริง ๆ ยิ่งโดยเฉพาะคนที่กินอาหารปิ้งย่าง จำพวกหมูกระทะ หมูย่าง แหนม ลาบ หลู้ต่าง ๆ จะมีโอกาสติดเชื้อได้มาก รวมไปถึงผู้เลี้ยง ผู้ชำแหล่ะ ผู้ขาย ก็ควรสวมถุงมือและหน้ากากป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายด้วย หากมีบาดแผลอยู่แล้วต้องปิดแผลให้มิดชิด และอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายด้วยสบู่ทุกครั้งหลังเสร็จงาน หากมีอาการไข้สูง ปวดหัวหลังกินหมู…

  • ข้าวโพดคั่ว อันตรายที่คุณอาจไม่รู้มาก่อน!

    ข้าวโพดคั่ว อันตรายที่คุณอาจไม่รู้มาก่อน!

    ข้าวโพดคั่ว อันตรายที่คุณอาจไม่รู้มาก่อน! ข้าวโพดคั่วสำเร็จรูปที่มีกลิ่นเนยหอมกรุ่นนั้นอาจเป็นภัยร้ายที่เราต้องระวัง เพราะขณะนี้ผู้ผลิตข้าวโพดคั่วสำเร็จรูปรายใหญ่ของสหรัฐ 4 แห่งได้ประกาศเลิกใช้สารไดอะซิทิลแล้ว ซึ่งสารนี้เป็นสารแต่งกลิ่นและรสเนย หลังจากที่สารดังกล่าวทำให้คนงานในโรงงานต้องป่วยเป็นโรคปอด และจะเลิกใช้สารนี้กับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตทั้งหมดด้วย โดยปกตินั้นสารไดอะซิทิลนี้จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในอาหารประเภท เนย ชีสและผลไม้ ซึ่งทำให้ อย.ของสหรัฐอเมริกาหรือ FDA อนุญาตให้ใช้เป็นสารแต่งกลิ่นและรสได้ ผู้ที่ได้รับสารนี้จากการสูดนมกลิ่นข้าวโพดคั่วที่เพิ่มอบเข้าใหม่ๆ จากไมโครเวฟ อาจทำให้เกิดปัญหาปอดอักเสบ และเกิดการหายติดขัดที่รุนแรง เมื่อเร็ว ๆนี้ก็ได้พบผู้ป่วยจากศูนย์การแพทย์ชาวยิวแห่งชาติเมืองเดนเวอร์ โคโลราโด ที่มีอาการโรคปอดเพราะสูดกลิ่นเนยของป็อบคอร์น ชายคนนี้กินป๊อปคอร์นวันละ 2 ถุง และชอบสูดหายใจเอากลิ่นเนยเข้าไปเต็มปอดทุกครั้งหลังจากแกะถุงข้าวโพดคั่วที่อบสุกใหม่ๆ เขาทำแบบนี้มาตลอด 10 ปี สำหรับคนที่ชอบทานข้าวโพดคั่วหอม ๆ นั้น ควรระวังไว้ก็จะดีนะคะ  

  • อันตรายในห้องน้ำที่ทำให้คุณป่วยซ้ำ ๆ ป่วยบ่อย ๆ

    อันตรายในห้องน้ำที่ทำให้คุณป่วยซ้ำ ๆ ป่วยบ่อย ๆ

    อันตรายในห้องน้ำที่ทำให้คุณป่วยซ้ำ ๆ ป่วยบ่อย ๆ ใครที่มีอาการเจ็บป่วยบ่อย ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ บางทีลองมาสังเกตห้องน้ำของคุณบ้างนะคะ ว่ามีเชื้อโรคร้ายแฝงอยู่บ้างหรือเปล่า ลองมาเช็คดูไปพร้อม ๆ กันนะคะ 1. ยาแนวในห้องน้ำทำให้เกิดโรคภูมิแพ้และระบบทางเดินหายใจ หากสูดดมในปริมาณมาก อาจทำให้ระคายเคืองผิวหนัง ดังนั้นหลังจากการก่อสร้างบ้านหรือต่อเติมซ่อมแซมห้องน้ำ ควรเปิดประตู หรือพัดลมระบายอาการเพื่อระบายความเข้มข้นของสารเคมีจากยาแนวเหล่านี้ออกไปให้มากที่สุด 2. ความชื้นในห้องน้ำทำให้คุณป่วยได้ ไม่ควรปล่อยให้ห้องน้ำชื้น ควรเปิดพัดลมดูดอากาศและใช้ม๊อบถูกพื้น เช็คห้องน้ำให้หมาดหรือแห้งได้ก็จะยิ่งดี ป้องกันการก่อตัวของเชื้อราด้วย 3. ติดตั้งพัดลมดูดอากาศผิดตำแหน่ง เช่นติดไว้บนเพดาน ทำให้ความชื้นไม่ถูกระบายออกไป ทางที่ดีควรติดพัดลมระบายอากาศที่สามารถระบายอากาศสู่ภายนอกได้จะดีที่สุด 4. ใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์รุนแรง ยิ่งโดยเฉพาะที่มีส่วนผสมของแอมโมเนียและคลอรีน เพราะสารทั้งสองชนิดทำให้เกิดอาการระคายเคืองผิวหนัง ปอด และทำให้เกิดโรคหอบหืดได้ด้วย 5. ก๊อกน้ำไม่สะอาดหรือไม่ยอมทำความสะอาด แพร่เชื้อโรคได้มากที่สุดนะคะ เพราะก็อกน้ำเป็นส่วนที่ทุกคนในบ้านจับต้องมากที่สุดแต่มักได้รับการทำความสะอาดน้อยที่สุดด้วย 6. ม่านห้องน้ำแบบไวนิล มีสารที่ก่ออันตรายและสารก่อมะเร็งได้ ควรเปลี่ยนมาเป็นแบบโพลีเสเตอร์หรือไนลอนดีกว่า 7. น้ำยาทำความสะอาดสำเร็จรูปที่มีความสามารถในการกัดเซาะได้ดีนั้น จะทำความรุนแรงต่อผิวและกลิ่นฉุน ๆ ยังระคายเคืองทางเดินหายใจได้อีก ลองเปลี่ยนมาใช้เบกกิ้งโซดาซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์เบเกอรี่ กับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ทำความสะอาดห้องน้ำดีกว่า นำสองอย่างนี้มาผสมกันแล้วป้ายไว้บนสิ่งสกปรกประมาณครึ่งชั่วโมงแล้วขัดล้างตามปกติ จะปลอดภัยต่อสุขภาพของคุณมากกว่าค่ะ 8. ควรกรองคลอรีนออกจากน้ำด้วย…

  • อีสุกอีใส มักระบาดในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน

    อีสุกอีใส มักระบาดในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน

    อีสุกอีใส มักระบาดในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน อีสุกอีกใส เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคงูสวัด คือไวรัสวาริเซลลา หรือฮิวแมน เฮอร์ปีไวรัส ชนิดที่สาม โรคนี้สามารถเป็นได้ตลอดปีแต่จะระบาดมากที่สุดในช่วงต้นปี ส่วนมากมักเกิดขึ้นกับเด็กที่อายุน้อยกว่า 10 ขวบ อาการจะไม่รุนแรงนักผู้ที่เป็นแล้วจะมีภูมิคุ้มกันโรคไปตลอด อาจเป็นซ้ำบ้างแต่จะไม่รุนแรงเท่าครั้งแรก บางคนเชื้ออาจแฝงตัวตามปมประสาท ทำให้เมื่อแก่ตัวขึ้นหรือภูมิต้านทานต่ำลงจะปรากฎออกมาเป็นโรคงูสวัดได้ อีสุกอีใส ติดต่อกันได้เหมือนหวัดก็คือการสูดเอาละลองของน้ำมูก น้ำลาย เสมหะของผู้ป่วย เข้าไป หรือไปสัมผัสกับตุ่มน้ำโดยตรงจากผู้ป่วย หรือสัมผัสผ่านทางสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้วประมาณ 10-20 วันจะมีอาการไข้ขึ้น ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว ปวดหัว เบื่ออาหาร มีผื่นแดงขึ้นตามตัว อาจขึ้นตั้งแต่วันแรก ๆ ที่มีไข้เลยก็ได้ โดยจะทยอยขึ้นจนเต็มตัวภายใน 3-4 วัน ตุ่มจะมีขนาดและลักษณะที่แตกต่งกัน บางแห่งก็เป็นผื่นราบ บางแห่งก็เป็นตุ่มน้ำ ตุ่มหนอง แล้วจึงตกสะเก็ด การรักษาอีสุกอีใสนั้นควรไปพบแพทย์ เพื่อรับยา โรคนี้โดยทั่วไปจะหายได้เองภายใน 1-3 อาทิตย์ ผู้ป่วยควรพักผ่อนให้มาก รักษาร่างกายให้อบอุ่น ดื่มน้ำให้มาก ๆ หากมีไข้ใช้ยาลดไข้พาราเซตตามอลห้ามใช้แอสไพรินเพราะตับอาจอักเสบได้ ควรตัดเล็บให้สั้น อย่างเกาหรือแกะตุ่มน้ำเพราะจะทำให้ติดเชื้อและเกิดแผลได้ ควรอาบน้ำฟอกสบู่ให้สะอาด…

  • หลากหลายวิธีป้องกันตนเองจากโรคทางเดินหายใจ

    หลากหลายวิธีป้องกันตนเองจากโรคทางเดินหายใจ

    หลากหลายวิธีป้องกันตนเองจากโรคทางเดินหายใจ อาการโรคทางเดินหายใจมีหลายโรคค่ะ ไม่ว่าจะเป็น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ฯลฯ เราสามารถหลีกเลี่ยงโรคเหล่านี้ได้ด้วยการดูแลตนเองดังต่อไปนี้ 1. รักษาร่างกายให้อบอุ่นเสมอ ไม่ควรเล่นน้ำหรือแช่น้ำนาน ๆ สวมใส่เสื้อผ้าที่แห้งสนิท ไม่เปียกชื้อ หากเข้าหน้าหนาวควรสวมเสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น 2. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยไข้หวัด หรือผู้ที่ป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ ปิดปากและจมูกด้วยกระดาษทิชชูหรือผ้าปิดปากหากต้องคลุกคลีหรือเข้าใจผู้เป็นโรคชนิดนี้อยู่ และไม่ควรใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกัน 3. ในช่วงที่มีโรคทางเดินหายใจระบาด ควรหมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์เช็ดมือ 4. ในเด็ก ผู้ที่มีโรคประจำตัวและผู้ที่อายุมากว่า 65 ปี รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์ เป็นโรคหัวใจ โรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง เอดส์ โรคอ้วน ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ไว้ด้วย ในส่วนของการรักษาตัวเบื้องต้นหากติดเชื้อโรคทางเดินหายใจเช่นไข้หวัดมาแล้ว ก็คือควรอยู่ห่างจากการอยู่ในที่ชุมชน อย่าคลุกคลีกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดการแพร่เชื้อ แยกเตียงนอนกับลูกหรือสามีภรรรยา ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก หรือหน้ากากอนามัย ไม่ควรไอจามใส่ผู้อื่น ล้างมือให้สะอาดบ่อย ๆ ควรอาบน้ำอุ่น ๆ หรือเช็ดตัวแทน แล้วดื่มน้ำมาก ๆ กินแต่อาหารที่ย่อยง่าย ดื่มน้ำ…

  • พิษภัยจากโรคถุงลมปอดโป่งพอง

    พิษภัยจากโรคถุงลมปอดโป่งพอง

    พิษภัยจากโรคถุงลมปอดโป่งพอง บุหรี่เป็นพิษต่อร่างกาย ทำให้เกิดโรคจากปอดที่เรียกว่า “โรคถุงลมปอดโป่งพอง” ได้ง่าย พบมากในผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 45-65 ปีขึ้นไป มักสูบบุหรี่กันมานานกว่า 10 ปี จนในที่สุดปอดก็พิการ ทำให้เกิดอาการเหนื่อยหอบง่าย ติดเชื้อที่ปอดซ้ำซาก นอกจากบุหรี่แล้ว ก็ยังมีสาเหตุอื่นด้วยได้แก่ มลพิษในอากาศ ควันไฟหุงต้มอาหารที่ก่อไฟในที่ขาดอาการถ่ายเท เป็นต้น อาการของโรคถุงลมปอดโป่งพอง ก็คือ ระยะแรกจะมีอาการหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ไอหนัก ไอมีเสมหะเป็นแรมเดือนแรมปี ไอหรือขาดเสมหะในคอหลังจากตื่นนอนตอนเช้า และไอถี่ขึ้นเป็นตลอดทั้งวัน เสมหะช่วงแรงจะมีสีขาวและกลายเป็นเหลืองหรือเขียว มีไข้หรือหอบเหนื่อยเป็นครั้งคราว หากผู้ป่วยยังไม่เลิกสูบบุหรี่ ก็จะยิ่งมีอาการเหนื่อยง่ายมากขึ้น แม้เวลาเดิน พูด หรือทำกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ และหากเป็นเช่นนี้ต่อไป จะรุนแรงขึ้นจนแม้อยู่เฉย ๆ ก็เหนื่อยหอบ เพราะถุงลมปอดพิการอย่างรุนแรง ไม่สามารถแลกเปลี่ยนอากาศนำออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้แล้ว ในระยะสุดท้ายผู้ป่วยจะเบื่ออาหาร จนน้ำหนักลด หอบตลอดเวลา และทุกข์ทรมานมาก การรักษาโรคถุงลมปอดโป่งพองนั้น แพทย์จะรักษาตามความรุนแรงของโรค โดยทั่วไปจะให้ยาขยายหลอดลมเพื่อสูดพ่น ต่อมาก็อาจจ่ายเป็นยาสเตียรอยด์ชนิดสูดพ่นด้วย หากมีการติดเชื้อก็จะให้ยาปฏิชีวนะ สำหรับรายที่หอบรุนแรง ปอดอักเสบแพทย์ก็จะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาลเพราะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ต้องให้ออกซิเจน โรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง…

  • การดูแลตนเองในที่ที่มีควันไฟ

    การดูแลตนเองในที่ที่มีควันไฟ

    การดูแลตนเองในที่ที่มีควันไฟ แม้ในเมืองจะไม่ค่อยเห็นการเผาขยะหรือเผาฟาง เผาหญ้าแห้งกันมากนัก แต่ตามต่างจังหวัดหรือชนบทยังมีการเผาไหม้ที่เกิดจากคนเผามากอยู่ดี การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์เหล่านี้ทำให้เกิดเขม่าควัน ฝุ่นละออง และก๊าซพิษต่าง ๆ ซึ่งสามารถเข้าสู่ปอดทำให้ปอดอักเสบ นานเข้าก็อาจทำให้เกิดโรคหอบหืด ถุงลมโป่งพองหรือมะเร็งปอดได้ นอกจากการเผาขยะแล้ว การหุงข้างด้วยฟืน การก่อไฟผิง การสูบบุหรี่หรือแม้กระทั่งการจุดธูป จึงเป็นการก่อมลพิษโดยตรงที่ส่งผลต่อสุขภาพของคนในครอบครัวและชุมชนใกล้เคียงอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง ทำให้ผู้ที่เข้าปะทะกับควันเหล่านี้มีอาการแสบตา ตาแดง น้ำตาไหล น้ำมูกไหล หากเป็นโรคทางเดินหายใจอยู่ก่อนแล้ว ก็อาจทำให้โรคกำเริบได้ กลุ่มที่เสี่ยงมากที่สุดก็เห็นจะเป็นกลุ่มเด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ ฯลฯ มีข้อแนะนำในการดูแลสุขภาพเมื่อประสบกับควันไฟอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ดังต่อไปนี้ค่ะ – ควรสวมหน้ากากอนามัยที่ทำจากผ้าฝ้ายหรือผ้าลินินหลาย ๆ ชั้น หากทำให้เปียกด้วยก็จะยิ่งช่วยกรองฝุ่นควันได้ดีขึ้น และเมื่อเริ่มอึดอัดหายใจไม่สะดวกหรือสกปรกแล้วก็ควรเปลี่ยนผืนใหม่ด้วย – ปิดประตูหน้าต่างไม่ให้ควันไฟลอยเข้าภายในบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย หากมีแอร์คอนดิชั่นหรือเครื่องกรองอากาศควรทำความสะอาดระบบกรองเป็นประจำ – ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงไว้เสมอ หากภายในครอบครัวมีกลุ่มผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยควรสังเกตอาการ และหากมีสิ่งผิดปกติควรรับส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาโดยเร็ว เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราทุกคนในสังคมควรร่วมมือกัน หลีกเลี่ยงการก่อควันไฟซึ่งทำให้เป็นอันตรายและก่อมลพิษ หากทำได้ทุกคนก็จะทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้นไปด้วยค่ะ