Tag: ปอดบวม
-
วัคซีนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรฉีด
วัคซีนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรฉีด เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และเด็กในครรภ์ คุณผู้หญิงทุกคนที่กำลังตั้งครรภ์ควรได้รับวัคซีนตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ แต่ก็มีบางรายที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนการตั้งครรภ์ หรือได้รับไม่ครบทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคระหว่างการตั้งครรภ์ได้ วัคซีนที่แนะนำให้ฉีดไว้เพื่อป้องกันสุขภาพได้แก่ – วัคซีนป้องกันไอกรน คอตีบ บาดทะยัก แม้ว่าหญิงตั้งครรภ์ผู้นั้นจะเคยได้รับวัคซีนมาก่อนก็ยังต้องฉีดไว้อยู่ดี ซึ่งช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการฉีดเพื่อให้ภูมิคุ้มกันนี้ไปสู่ลูกด้วยก็คือ ในช่วงอายุครรภ์ 27-36 สัปดาห์ เป็นวัคซีนที่มีอยู่ครบในเข็มเดียว สาเหตุที่ต้องฉีดเป็นเพราะว่าขณะนี้โรคคอตีบอาจกลับมาระบาดได้อีก โรคไอกรนเด็กมักจะติดเชื้อมาจากแม่ และบาดทะยักก็ยังเป็นการป้องกันการติดเชื้อระหว่างการตั้งครรภ์และคลอดด้วย – วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เพราะเป็นโรคที่ทำอันตรายกับคนท้องได้มากกว่าคนธรรมดา หากติดเชื้อขึ้นมาจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมากกว่าปกติได้ ทั้งเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ปอดบวม หัวใจวาย 1 เข็มจะป้องกันได้ 1 ปี – วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี เป็นวัคซีนสำคัญที่จำเป็นต้องฉีด หากไม่เคยได้รับวัคซีนเลยหรือเจาะเลือดแล้วไม่มีภูมิต้านทานเลย หญิงตั้งครรภ์จะมีโอกาสเสี่ยงได้ง่าย เช่น ได้รับจากสามีที่เป็นพาหะของโรคไวรัสตับอักเสบบี – หากในบ้านเลี้ยงสัตว์ไว้ ไม่ว่าจะเป็น สุนัข แมว หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ถ้าไม่แน่ใจว่ามีเชื้อพิษสุนัขบ้าหรือไม่ก็ให้ฉีดวัคซีนได้ทันที นอกจากนี้แล้วยังมีวัคซีนอีกหลายชนิดที่อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ได้แก่ วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ไข้สมองอักเสบ หัด คางทูม หัดเยอรมัน โปลิโอ วัณโรค ฯลฯ…
-
ปลายฝนต้นหนาว ระวังเด็ก ๆ เป็นปอดบวม
ปลายฝนต้นหนาว ระวังเด็ก ๆ เป็นปอดบวม โรคปอดบวมนั้น หากเกิดขึ้นในผู้ใหญ่แล้วก็ยังไม่ค่อยน่ากังวลเท่าไรนัก เพราะร่างกายผู้ใหญ่มีความแข็งแรงและมีภูมิต้านทานโรคมากกว่า แต่หากเป็นเด็กแล้วก็มีอัตราการป่วยหนักและเสียชีวิตสูงอยู่มาก ดังนั้นในช่วงปลายฝนต้นหนาว ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม จึงเป็นช่วงที่ต้องเฝ้าระวังมิให้ลูก ๆ หลานติดเชื้อปอดบวมเข้าได้ โรคปอดบวมนั้น สามารถติดเชื้อได้ด้วยการหายใจเอาเชื้อที่ล่องลอยในอากาศเข้าสู่ปอด, ติดเชื้อได้จากการไอจามรดกัน หรือการคลุกคลีใกล้ชิดผู้ป่วย อาการเริ่มต้นจะมีไข้หวัดมาก่อนประมาณ 2-3 วัน แล้วจะมีไข้สูงขึ้น ไอหนัก หายใจหายและถี่ หากเป็นมากจะหายใจจะชายโครงบุ๋ม ในเด็กทารกจะซึม ไม่กินนม บางรายไข้สูงมากอาจจะชักได้ บางรายก็มีเสียงหายใจดังวี๊ด ๆ ปากเขียว เล็บเขียว กระสับกระส่าย ดังนั้นหากเด็กป่วยขึ้นมาในระยะปลายฝนต้นหนาว คุณพ่อคุณแม่จึงต้องดูแลหรือพาไปพบแพทย์โดยเร็ว หากมิเช่นนั้นแล้วอาจลุกลามรุนแรงขึ้นไปเป็นโรคอื่น ๆ เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด หรือหูอักเสบได้ นำไปสู่การเสียชีวิตได้เลยทีเดียว ในส่วนของการรักษาแพทย์จะจ่ายยาแล้วให้กลับไปดูแลที่บ้านแล้วจึงนัดมาดูอาการอีกครั้ง ซึ่งการดูแลเด็กที่ป่วยเป็นโรคปอดบวมที่บ้าน ก็ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ – กินยาตามขนาดและเวลาให้เคร่งครัด ด้วยความที่ยามีหลายขนาน จึงต้องอ่านฉลากยาให้ละเอียดก่อนใช้ ห้ามซื้อยามาให้ผู้ผ่วยกินเอง แม้แต่ยาแก้ไอก็ตาม เพราะอาจเกิดอาการแทรกซ้อนเป็นอันตรายได้ – หากเด็กมีไข้สูง ควรให้ยาลดไข้ตามขนาดที่กำหนดมีระยะเวลาห่างกันอย่างน้อย…
-
5 กลุ่มโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน
5 กลุ่มโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน เพราะในหน้าฝนมีอุณหภูมิที่เริ่มเย็นลง กับมีความชื้นในอากาศที่สูงขึ้น ด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเช่นนี้ ทำให้มีหลายโรคที่ระบาดขึ้นได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งโรคดังกล่าวก็ได้แก่ 5 กลุ่มโรคต่อไปนี้ทำควรป้องกันการติดต่อมากเป็นพิเศษ 1. กลุ่มโรคทางเดินอาหาร ทั้งท้องร่วง ไทรอยด์ บิด อาหารเป็นพิษ เกิดจากการทานอาหารที่มีเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำ อาจมีไข้และปวดบิดในท้อง หากติดเชื้อบิดก็อาจถ่ายเป็นมูกหรือมีเลือดปนออกมากับอุจจาระได้ จึงควรระวังการทานอาหารมากเป็นพิเศษ ควรทานอาหารที่สุกใหม่ ๆ และใช้ช้อนกลางด้วย 2. กลุ่มโรคติดเชื้อทางเยื่อบุผิวหนังหรือบาดแผล ที่พบได้บ่อยก็โรคฉี่หนู อาการจะมีไข้สูง ปวดหัวมาก มักปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่องและโคนขาอย่างรนแรง ตาแดง มักเกิดในที่น้ำท่วม ผู้ที่บ้านมีหนูมาก ชาวไร่ชาวสวน ผู้ที่ทำงานกับการแช่น้ำ ในที่เฉอะแฉะ หรือผู้ที่ทำงานลอกท่อระบายน้ำ ทำงานเหมืองแร่ โรงฆ่าสัตว์ คนงานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ ฯลฯ 3. กลุ่มโรคทางเดินหายใจ ได้แก่ หวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม รวมไปถึงโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีแหล่งแพร่ระบาดจากสัตว์ปีก ซึ่งเชื้ออาจข้ามสายพันธุ์กับเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในหน้าฝนได้ 4.…
-
โรคปอดบวม ติดต่อกันได้ง่ายในฤดูหนาว โดยเฉพาะเด็กเล็ก
โรคปอดบวม ติดต่อกันได้ง่ายในฤดูหนาว โดยเฉพาะเด็กเล็ก ปอดบวม เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่รุนแรงและเฉียบพลัน อาจทำให้เด็กเล็กถึงกับเสียชีวิตได้หากรักษาไม่ทันการณ์ ซึ่งแต่ละปีนั้นองค์การอนามัยโลกระบุว่ามีเด็กเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวมมากเป็นอันดับหนึ่ง คือโดยเฉลี่ยเด็กจะเสียชีวิตทุก ๆ 20 นาทีเลยทีเดียว เรียกว่าน่ากลัวไม่น้อยเลย สาเหตุของโรคนี้เกิดได้ทั้งจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส ผู้มีเจ็บป่วยอยู่แล้ว มีภูมิต้านทานต่ำ คนชรา และเด็กทารก มักจะติดเชื้อได้ง่าย หากคลุกคลีอยู่กับผู้ป่วย หรืออยู่ในที่ที่แออัดจนสูดหายใจเอาเชื้อที่ฟุ้งในอากาศเข้าไป อาการของโรคก็คือมีไข้สูง ไอหนัก หายใจลำบากหรือหายใจเร็ว ถ้าเป็นมากขึ้นจะหายใจหอบ มีเสียงวี๊ด ๆ หรือหายใจหอบแรงจนซี่โครงบุ๋ม เล็บมือเล็บเท้า และปากซีดคล้ำขียว ซึมหรือกระสับกระส่าย หากไม่ได้รับการรักษาจากแพทย์อาจเป็นอันตรายเสียชีวิตได้ การป้องกันโรคนี้ก็คือควรดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรงและมีภูมิต้านทานโรคเข้าไว้ ไม่ควรเข้าไปคลุกคลีกับคนไข้หรือเข้าไปอยู่ในชุมชนหรือสถานที่แออัด ที่อาจติดเชื้อได้ รักษาความอบอุ่นของร่างกายไว้ตลอดเวลาในฤดูหนาว หากเป็นเด็กทารกควรเลี้ยงดูด้วยนมแม่จะได้รับภูมิต้านทานผ่านทางนมแม่มาด้วย ในส่วนของเด็กเล็กที่เริ่มเป็นหวัด ผู้ปกครองควรเอาใจใส่บุตรหลานและสังเกตอาการ โดยปกติหวัดทั่วไปเด็กจะหายดีภายในหนึ่งอาทิตย์ โดยให้เด็กกินอาหารอ่อน ๆ ย่อยง่าย จิบน้ำอุ่นบ่อย ๆ เพื่อมิให้ขาดน้ำ เสมหะจะได้อ่อนตัวขับออกง่ายด้วย หากมีไข้สูงให้ยาลดไข้และเช็ดตัวบ่อย ๆ ให้เด็กพักผ่อนนอนหลับมาก ๆ สอนเด็กให้ปิดปากปิดจมูกทุกครั้งเวลาไอหรือจาม และสอนให้ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่บ่อย ๆ…
-
เที่ยวป่าหน้าฝนระวังไข้มาลาเรีย
เที่ยวป่าหน้าฝนระวังไข้มาลาเรีย ในแต่ละปีนั้นองค์การอนามัยโลกคาดว่ามีผู้ป่วยไข้มาลาเรียถึงกว่าปีละ 500 ล้านคน และเสียชีวิตมากกว่าปีละล้านคน ระบาดสูงสุดในช่วงเดือน เม.ย. ถึง ก.ค. ผู้ที่ชอบไปท่องเที่ยวในป่า หรือแหล่งที่มียุงชุกชุมจึงมักติดเชื้อไข้มาลาเรียได้ง่ายในช่วงนี้ ไข้มาลาเรีย หรือไข้ป่านี้เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัวที่ติดต่อกันโดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะ มักระบาดตามป่าเขา และพบการโรคมาลาเรียนี้ดื้อยามากขึ้นด้วย เมื่อยุงไปกัดคนที่มาเชื้อมาลาเรียเข้าเชื้อก็จะเข้าไปแบ่งตัวในยุง เมื่อไปกัดคนอื่นก็จะถ่ายทอดเชื้อออกไป เมื่อเข้าสู่ร่างกายคนจะเจริญเติบโตในเซลล์ตับและเม็ดเลือดแดง มีระยะฟักตัวประมาณสองอาทิตย์ แล้วจะป่วยไม่สบาย ต่อมาก็จะมีไข้หนาวสั่น ปวดหัว ปวดเมื่อย คลื่นไส้อาเจียน และอาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ร้ายแรงได้ ไม่ว่าจะเป็นมาลาเรียขึ้นสมอง น้ำตาลในเลือดต่ำ เหลืองซีด ปัสสาวะสีดำ ไตวาย ปอดบวมน้ำและเสียชีวิตได้ เพราะการกินยาป้องกันมาเลเรียล่วงหน้านั้นไม่ได้ผล การที่จะเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวในป่าหรือเดินทางศึกษาธรรมชาติจึงควรระมัดระวังตนเองไม่ให้ยุงกัด ด้วยการสวมเสื้อผ้ามิดชิด ทาโลชั่นกันยุงและนอนในมุ้งที่ฉาบน้ำยา หากกลับจากไปเที่ยวแล้วป่วยควรรีบไปพบแพทย์ด่วน และควรปฏิบัติตามแพทย์สั่งและทานยาให้ครบถ้วนด้วย ผู้ที่เพิ่งกลับจากป่าเขามาอย่าเพิ่งบริจาคโลหิตจะดีกว่าเพราะงานบริการโลหิตยังไม่มีวิธีการตรวจเชื้อมาลาเรียได้ และเชื้อมาลาเรียที่ติดมากับโลหิตบริจาคจะสามารถถ่ายทอดไปยังผู้รับโลหิตได้อีกด้วย
-
การป้องกัน…ไข้หวัดในเด็กเล็ก
การป้องกัน…ไข้หวัดในเด็กเล็ก โรคหวัดเป็นโรคติดเชื้อที่เด็ก ๆ เป็นกันมากที่สุด ยิ่งอยู่ในวัยที่ต้องเข้าไปอยู่ในเนอสเซอรี่ โรงเรียนอนุบาลทั้งหลายแล้ว ยิ่งติดต่อกันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เด็กบางคนเป็นหวัดแทบทุกเดือน เพราะเชื้อไวรัสที่ทำให้เป็นหวัดได้นั้นมีมากกว่าสองร้อยชนิด อาการของเด็กที่เป็นหวัดนั้น โดยมากจะมีอาการ คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ ไอ มีไข้ ปวดศีรษะ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเด็ก ๆ อย่างใกล้ชิดด้วยการให้เด็กจิบน้ำอุ่นบ่อย ๆ กินอาหารเหลวหรืออาหารที่ย่อยง่าย หากยังกินนมแม่อยู่ก็ให้ดูดนมบ่อยขึ้น ดูแลน้ำมูกให้จมูกโล่ง ให้เด็กได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ให้เด็กปิดปากเวลาไอหรือจาม และแยกเด็กออกจากเด็กปกติเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อด้วย รวมไปถึงต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นหูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ หรือแม้กระทั่งปอดบวม ซึ่งหากเกิดความผิดปกติได้แก่ มีไข้สูงเกินกว่าสองวัน เด็กร้องกวนโยเย เจ็บหู ไอมากหรือไอเสียงก้อง หายใจแรงจนซี่โครงบุ๋ม หรือหายใจถี่เร็ว ควรรีบพบแพทย์ เพื่อป้องกันอันตราย ในระยะนี้คุณพ่อคุณแม่ควรพาเด็กมาหาหมอตามนัดและให้ลูกทานยาให้ครบ อย่าหยุดยาเองโดยพละการ ไม่ใช่เห็นว่าอาการทุเลาแล้วจึงหยุดยาเอง ทำแบบนี้เป็นอันตรายมากเพราะจะทำให้ติดเชื้อแทรกซ้อนอื่นได้ง่าย และทำให้ดื้อยาด้วย และที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือการป้องกันเด็กมิให้เป็นไข้หวัดเสียตั้งแต่แรก ได้แก่การดูสุขภาพของเด็กให้แข็งแรง โดย – ทานอาหารให้ครบหมู่และเหมาะสมตามวัยของเด็ก – ปล่อยให้เด็กได้วิ่งเล่นกลางแจ้งเพื่อเป็นการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ – ให้เด็กได้เข้านอนแต่หัวค่ำและนอนหลับอย่างพอเพียงทุกวัน…
-
ระวัง…โรคปอดบวมในช่วงที่อากาศเย็นชื้น
ระวัง…โรคปอดบวมในช่วงที่อากาศเย็นชื้น ระยะปลายฝนต้นหนาวที่ยังมีสายฝนชุ่มฉ่ำ กับอากาศที่เริ่ม ๆ จะเย็นลงนั้น ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ เด็ก คนชรา หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่ ควรรักษาและระมัดระวังสุขภาพให้มาก เพราะช่วงเวลาที่อากาศชื้นและเย็นเช่นนั้นอาจมีโอกาสเสี่ยงให้คุณติดเชื้อโรคปอดบวมและโรคในระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ ได้ง่าย โดยโรคปอดบวมนี้มีความอันตรายร้ายแรงมาก และยังเป็นโรคที่คร่าชีวิตเด็กเล็กเป็นอันดับหนึ่งของโลกมากว่าห้าปี ซึ่งเกือบทั้งหมดเกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส ซึ่งปัจจัยความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับ – อาการของโรคว่าเป็นแบบเฉียบพลัน หรือค่อยเป็นค่อยไป – อายุของผู้ป่วย หากเป็นเด็กหรือคนชราและมีร่างกายอ่อนแอก็อาจเป็นอันตรายรุนแรงขึ้น – ชนิดของเชื้อ หากพบว่าเป็นเชื้อนิวโมคอกคัสก็จะยิ่งมีความรุนแรง – สภาวะของผู้ป่วย หากเป็นโรคเรื้อรังหรือมีความอ่อนแอก็อาจอันตรายถึงชีวิตได้ โดยอาการในเบื้องต้นของผู้ป่วยนั้นจะมีไข้สูง หอบ ไอลึก หายใจเร็วและลำบาก หากเป็นเด็กเล็กยิ่งต้องดูแลใกล้ชิด ด้วยการเปิดเสื้อสังเกตหน้าอกว่าหายใจแรงจนชายโครงบุ๋มหรือหายใจมีเสียงวี๊ดหรือยัง ถ้าพบว่ามีอาการดังกล่าวรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน ในด้านของการรักษาโรคปอดบวมนั้นขึ้นอยู่ชนิดของเชื้อโรค หากเกิดจากเชื้อไวรัสจะรักษาตามอาการจนกว่าร่างกายจะกำจัดเชื้อได้เอง และต้องระมัดระวังมิให้ไปติดเชื้อโรคอื่นเพราะช่วงนี้ร่างกายจะอ่อนแอ แต่หากเป็นเชื้อนิวโมคอกคัสที่อยู่ในโพรงจมูกและลำคอ ที่เป็นสาเหตุของโรคไซนัสอักเสบ หูน้ำหนวก หากเชื้อนี้เล็ดลอดเข้าสู่กระแสเลือด จะทำให้ตับวาย ไตวาย หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ เกิดการชัก เกร็ง สมองทำงานผิดปกติ ทำให้ปอดหรือหัวใจหยุดทำงานจนกระทั่งเสียชีวิตได้ หากในครอบครัวมีเด็กเล็กหรือคนที่อ่อนแอกำลังไม่สบาย ควรดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิด หากพบสิ่งผิดปกติควรพาไปพบแพทย์โดยด่วน โรคปอดบวมนั้นระยะแรกหรืออาหารไม่รุนแรงแพทย์อาจสั่งยาให้แล้วกลับมาพักผ่อนที่บ้าน และนัดไปดูอาการภายหลัง…
-
ป้องกันโรคปอดบวมในเด็ก…ในช่วงหน้าฝน
ป้องกันโรคปอดบวมในเด็ก…ในช่วงหน้าฝน โรคปอดบวมเป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงเฉียบพลัน ที่รุนแรงและมีอันตรายถึงตายได้เลยในเด็กเล็ก ๆ โรคนี้นั้นโดยประมาณแล้วองค์การอนามัยโลกระบุว่า ทุก ๆ นาทีจะมีเด็กอายุต่ำกว่าห้าขวบเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวมอย่างน้อยหนึ่งคน จึงทำให้เด็กเล็กทั่วโลกเสียชีวิตด้วยโรคนี้เฉลี่ยปีละประมาณสองล้านคนแลยทีเดียว โรคปอดบวมนี้เกิดจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียค่ะ มักจะพบในผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ มีภูมิต้านทานโรคต่ำ ไม่ว่าจะเป็น เด็กเล็กอายุน้อยกว่าห้าขวบ, ทารกแรกเกิดไม่แข็งแรง, ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี, ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ รวมไปถึงผู้สูงอายุด้วย โดยระยะที่ระบาดมากที่สุดก็คือช่วงหน้าฝนตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายนของทุกปี โรคนี้ติดต่อกันได้ด้วยการหายใจเอาเชื้อที่ฟุ้งอยู่ในอากาศเข้าสู่ปอด, การไอหรือจามรดกัน, การคลุกคลีกับผู้ป่วยโรคนี้อยู่แล้ว, การสำลักสิ่งแปลกปลอมที่มีเชื้อโรคเข้าไปในจมูกและลำคอ เช่น เด็กที่สำลักน้ำขณะเล่นน้ำก็สามารถเป็นโรคปอดบวมได้ด้วย อาการของโรคนี้จะมีไข้สูง ไอหนัก ไอมาก หายใจเร็ว หรือหายใจลำมาก และถ้าอาการหนักจะหอบถี่ หายใจลำบากหรือมีเสียงดังวี๊ด ๆ หรือหายใจแรงหอบจนซี่โครงบุ๋มตัว เล็บมือเล็บเท้า ริมฝีปากเขียวคล้ำ ซึมหรือกระสับกระส่าย หากมีอาการเช่นนี้แล้วควรรีบน้ำผู้ป่วยไปพบแพทย์โดยด่วนเพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ สำหรับโรคนี้ที่มีความอันตรายมากสามารถป้องกันได้โดย – รักษาสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนนอนหลับอย่างสม่ำเสมอ – กินอาหารที่ประโยชน์ และออกกำลังกายบ่อย ๆ – ไม่ควรพาเด็กไปในที่แออัดหรือมีคนมาก รวมทั้งไม่ควรให้เด็กอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย – สำหรับเด็กที่เลี้ยงในห้องแอร์ควรสวมเสื้อผ้าให้อบอุ่นไว้มาก ๆ – เด็กเล็กควรดื่มน้ำนมแม่เพื่อให้ได้รับภูมิต้านทานให้เต็มที่…
-
ดูแลลูก ๆ ให้ห่างไกลจากโรคหูอักเสบในฤดูฝนนี้
ดูแลลูก ๆ ให้ห่างไกลจากโรคหูอักเสบในฤดูฝนนี้ ในช่วงหน้าฝนจะเป็นฤดูที่เด็ก ๆ มักมีความเสี่ยงเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบมากกว่าฤดูอื่นของประเทศไทย ซึ่งมักมาพร้อมกับโรคหวัดในหน้าฝน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจทำให้ลุกลามจนกลายเป็นโรคหูหนวกได้ในอนาคต กลุ่มที่น่าเป็นห่วงก็คือเด็กที่อายุน้อยกว่า 3 ขวบ จากสถิติแล้วกว่าร้อยละ 80 นั้นเคยเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต ซึ่งสาเหตุของโรคหูชั้นกลางอักเสบนี้เกิดจากการติดเชื้ไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย แล้วเกิดการอักเสบและบวมแดงของแก้วหู จนเกิดเป็นน้ำหรือหนองในเยื่อแก้วหู บางรายที่รุนแรงก็ทำให้เยื่อแก้วหูฉีกขาดได้ เด็กที่มีความเสี่ยงมากนอกจากจะเป็นเด็กที่อายุน้อยกว่า 3 ขวบแล้ว ยังเป็นเด็กที่อยู่ในโรงเรียนอนุบาล หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก รวมไปถึงเด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้ ไม่แข็งแรง ป่วยง่าย ติดเชื้อโรคหวัด คออักเสบ หรือโพรงจมูกอักเสบมาจากเพื่อน ๆ ช่วงที่ติดต่อกันได้ง่ายก็คือหน้าฝน ที่ทำให้เยื่อบุในท่อยูสเตเชี่ยนที่เชื่อมต่อระหว่างูไปยังคอและโพรงจมูกเกิดการบวมและคั่งน้ำ ทำให้เกิดแรงดันในหูมากขึ้น จนเชื้อแพร่กระจายเข้าสู่หูชั้นกลางได้ง่ายขึ้นนั่นเอง ส่วนมากอาการเหล่านี้จะดีขึ้นในระยะไม่เกิน 5 วัน แต่ในรายที่รุนแรงเชื้ออาจเข้าไปยังสมองทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือฝีในสมอง ซึ่งนอกจากนี้หากเชื้อพลัดหลงเข้าไปในกระแสเลือดยังทำให้เกิดโรคติดเชื้อในกระแสเลือดได้อีก หากลุกลามไปยังปอดก็ทำให้ปอดอักเสบรุนแรงได้ ซึ่งการรักษาจะยิ่งยุ่งยากมากขึ้นและเด็กบางรายก็มีโอกาสเสียชีวิตด้วย การป้องการเชื้อเหล่านี้เป็นเรื่องที่ผู้ปกครองและคุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจให้มาก การป้องกันตั้งแต่ทารกก็คือให้ลูกกินนมแม่เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ทานอาหารที่เหมาะสมกับภัย และเสริมภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีนให้ครบ รวมไปถึงวัคซีนไอพีดีพลัสปอด-หูอักเสบ ซึ่งช่วยป้องกันโรครุนแรงอันกได้แก่ โรคไอพีดี ปอดบวม โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคติดเชื้อในกระแสเลือดแล้วยังช่วยป้องกันการเกิดโรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็กเล็กด้วย สำหรับในฤดูฝนนี้คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเด็ก…
-
สังเกตโรคร้ายให้ดี คุณอาจเป็น “ปอดบวม”
สังเกตโรคร้ายให้ดี คุณอาจเป็น “ปอดบวม” โรคที่มักเกิดขึ้นในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง และมีฝนตกหนักก็คือ โรคปอดบวมนั้นเอง ซึ่งกรมควบคุมโรคได้เปิดเผยว่าโรคปอดบวมนี้ คร่าชีวิคคนไทยเป็นอันดับหนึ่งถึงร้อยละ 78 เลยทีเดียว ซึ่งวิธีการสังเกตว่าตนเองหรือคนที่รักเป็นโรคปอดบวมแล้วหรือยัง ให้สังเกตอากาศดังต่อไปนี้ค่ะ 1. เป็นไข้ตัวร้อน และเมื่อเป็นแล้วมักจะไม่ค่อยลด 2. ไอมาก ไอหนัก ไอถี่ขึ้นเรื่อย ๆ 3. หายใจหอบหนัก หายใจไม่ทั่วท้อง หายใจไม่ทัน 4. ลักษณะของน้ำมูกจะเปลี่ยนสีไปจากเดิม คือจากใส ๆ เป็นสีขุ่นข้นและสีเขียว ยิ่งโดยเฉพาะหากเป็นลูกเล็ก ๆ ที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ ให้สังเกตว่าหากเด็กมีอาการไข้สูง ซึม ไม่กินน้ำหรือกินนม รวมทั้งไอมีเสมหะ หายใจหอบเร็ว หรือหายใจมีเสียงวี๊ด หรือหายใจจนกระทั่งชายโครงบุ๋มลง ขอให้รีบนำเด็กไปพบแพทย์ทันที เพื่อรักษาแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่อาการจะทรุดตัวลงอย่างรวดเร็ว และอาจทำให้เสียชีวิตได้