Tag: ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

  • ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ…เพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

    ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ…เพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

    ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ…เพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แม้เดี๋ยวนี้คนเราจะทำงานนั่งโต๊ะกันมากขึ้น แต่ก็ใช่ว่าอาการเมื่อยล้าหรือปวดเมื่อยจะน้อยลง แต่ตรงกันข้ามกลับเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม เพราะคนสมัยนี้กล้ามเนื้อและร่างกายอ่อนแอกว่าคนทำงานสมัยก่อน หรือผู้ใช้แรงงานมากนัก การที่กล้ามเนื้อขาดความแข็งแรงนั้น เมื่อต้องออกแรงอย่างหนักหรือการอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ หรือการเกร็งกล้ามเนื้อนาน ๆ ทำให้เกิดการบีบหรือกดหลอดเลือดที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณนั้น ออกซิเจนมาช่วยเผาผลาญอาหารทำไม่ได้เต็มที่ ร่างกายจึงต้องเปลี่ยนไปใช้กระบวนการที่ไม่ใช้ออกซิเจน จึงทำให้เกิดการคั่งของกรดแลกติกในกล้ามเนื้อชุดนั้น อาการปวดและล้ากล้ามเนื้อจึงตามมา ยกตัวอย่างอิริยาบถที่สร้างความเมื่อยล้าได้มาก ได้แก่ อาการปวดกล้ามเนื้อบ่าจากการเกร็งกล้ามเนื้อไว้เพื่อสะพายกระเป๋าไม่ให้หลุด หรือการสวมรองเท้าส้นสูงที่ต้องเขย่งเท้าไว้นานๆ ทำให้ปวดเมื่อยน่องได้ ฯลฯ ซึ่งอาการเหล่านี้หากไม่ได้รับการปรับแก้ไขให้เหมาะสมจะทำให้อาการปวดนั้นเรื้อรัง รักษายากได้ ทุกวันเมื่อมีอาการปวดเมื่อยล้าขึ้น ให้พักผ่อนกล้ามเนื้อชุดนั้นแล้วออกกำลังกายด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การทำเช่นนี้จะช่วยป้องกันและบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ลดการตึงตัว เพิ่มการไหลเวียนของเลือด และเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อได้ เพียงคุณค่อย ๆ ยืดกล้ามเนื้อชุดนั้นออกช้า ๆ จนตึงแล้วค้างไว้ 10 วินาทีแล้วปล่อยออกเท่านั้น หากต้องการป้องการอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อก็ทำได้โดย ไม่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ เช่น ก้มหน้าอ่านหนังสือหรือนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นานเกินไป ควรหมั่นขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบถบ้าง มิให้กล้ามเนื้อคอต้องเกร็งค้างตลอดเวลา ไม่ควรสะพายกระเป๋าหนักเกินไป ควรสลับบ่าหรือใช้มือมาหิ้วบ้าง ไม่ควรสวมรองเท้าส้นสูงนาน ๆ หรือนั่งทับขาข้างใดข้างหนึ่งนานเกินไปด้วย ฯลฯ รวมไปถึงอวัยวะต่าง ๆ ที่คุณใช้งานประจำด้วย เครื่องจักรเครื่องยนต์ต่าง ๆ…

  • อาการปวดเมื่อยหลากหลายรูปแบบในผู้สูงวัย

    อาการปวดเมื่อยหลากหลายรูปแบบในผู้สูงวัย

    อาการปวดเมื่อยหลากหลายรูปแบบในผู้สูงวัย ผู้สูงวัยนั้นมักมีอาการปวดกล้ามเนื้อในรูปแบบและตำแหน่งที่แตกต่างกันไป โดยมากมักพบบริเวณ หลัง เอว คอ ขา น่อง และตามข้อต่อต่าง ๆ โดยอาการปวดเมื่อยเหล่านี้แบ่งออกตามสาเหตุคือ.. 1. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั่วไป ซึ่งมักเจาะจงตำแหน่งได้ไม่ชัดเจน 2. ปวดจากเส้นเอ็น และจะปวดมากขึ้นหากมีการถูกกดทับหรือเคลื่อนไหว พบมากบริเวณ หัวไหล่ มือ ส้นเท้า และเอ็นร้อยหวาย 3. ปวดจากเส้นประสาทที่กดทับ มักจะปวดแสบร้อนไปตามเส้นประสาท หากมีอาการกดทับที่เส้นประสาทหลังจะปวดร้าวลงไปถึงน่องและปลายเท้า แต่หากเป็นเส้นประสาทที่คอถูกกดทับจะปวดร้าวลงไปที่แขนและมือ 4. ปวดเมื่อจากเส้นเลือดขอดบริเวณขา มักเป็นเวลาที่ต้องยืนนาน ๆ 5. ปวดเมื่อตามข้อต่อต่าง ๆ เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า ยิ่งลงน้ำหนักมากก็ยิ่งปวด เดินก็ปวด พับหรืองอไว้ก็ปวด และมักปวดในเวลาที่เปลี่ยนท่าหรือปวดในเวลากลางคืน และเวลาที่อากาศเปลี่ยนแปลง ซึ่งสาเหตุของการปวดเหล่านี้ก็คือเกิดการอักเสบขึ้นบริเวณรอบ ๆ ข้อ, ยกของหนัก, อิริยาบถไม่เหมาะสม, อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป, ยืน เดิน นั่ง แล้วศีรษะงุ้มไปด้านหน้า, เกิดจากอุบัติเหตุ หกล้มหรือกระแทก รวมไปถึงเกิดจากโรคบางโรค…

  • หน้าฝนระวังโรคฉี่หนู

    หน้าฝนระวังโรคฉี่หนู

    หน้าฝนระวังโรคฉี่หนู ในระยะเวลาที่ฝนกำลังตกพรำไม่เว้นแต่ละวันในระยะนี้ ทำให้ผู้ที่ไม่ค่อยดูแลรักษาตัวเองเท่าไรอาจป่วยเป็นโรคฉี่หนูได้  ซึ่งโรคฉี่หนูนี้เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากสัตว์ประเภทสัตว์กัดแทะขนาดเล็ก เช่น หนู กะรอก และยังสามารถพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นได้ไม่ว่าจะเป็น หมา แมว วัว ควาย ฯลฯ  ซึ่งหนูนั้นเป็นตัวการแพร่เชื้อที่สำคัญมาก  โดยเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคเลปโตสไปโรซิสหรือฉี่หนูนี้จะถูกขับออกมาจากปัสสาวะของหนู แล้วปนเปื้อนอยู่ตามแหล่งน้ำสกปรก ท่อน้ำขัง ที่เฉอะแฉะ พื้นดินแฉะ ๆ  ผู้ที่เข้าไปเดินย่ำหรือสัมผัสกับแหล่งน้ำเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นชาวไรชาวสวน  ผู้ที่ทำปศุสัตว์ ผู้ที่ขุดลอกคูคลอง ผู้ทำประมง หาปลา ปู หรือเด็ก ๆ ที่เล่นน้ำ เมื่อสัมผัสกับน้ำที่มีเชื้อแบคทีเรียนี้เข้าไป จะทำให้เชื้อโรคแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลเล็ก ๆ หรือเยื่อบุบอบบาง ไม่ว่าจะเป็น จมูก ตา ปาก ก็จะทำให้เกิดโรคได้  นอกจากนี้การทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อก็สามารถติดโรคได้ด้วย อาการของโรคฉี่หนูนี้   มีหลายระดับ ซึ่งอาจแสดงอาการเพียงเล็กน้อยหรือแสดงอาการรุนแรงจนเสียชีวิตได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกายผู้ติดเชื้อ ภูมิคุ้มกันและปริมาณของเชื้อด้วย  ซึ่งระยะแสดงอาการจะอยู่ที่ราว 2-3 สัปดาห์  อาการนั้นจะแสดงออกมาเป็น การมีไข้สูง มักปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมากยิ่งโดยเฉพาะบริเวณน่อง ปรากฏรอยจ้ำเลือดหรือรอยช้ำเขียวตามผิวหนัง  เยื่อบุตาอักเสบและมีเลือดออกในลูกตา  หากมีอาการที่รุนแรงแล้วไม่ยอมรับการรักษาอาจเสียชีวิตจากตับวายหรือไตวาย และเยื่อหุ้นสมองอักเสบได้…

  • การเมืองทำคนเครียดป่วย “โรคเครียดการเมือง” ล้นประเทศ

    การเมืองทำคนเครียดป่วย “โรคเครียดการเมือง” ล้นประเทศ

    การเมืองทำคนเครียดป่วย “โรคเครียดการเมือง” ล้นประเทศ กรมสุขภาพจิตห่วงคนไทยหวั่นเกิดโรคเครียดสะสมจากการเมืองจนกลายเป็นโรคชนิดใหม่.. โรคเครียดการเมือง หรือ Political Stress Syndrome (PSS) ซึ่งมีอาการดังต่อไปนี้ อาการทางร่างกาย 1. ปวดหัว 2. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 3. มีอาการตึงบริเวณต้นคอ ขมับ หรือแขนขา 4. นอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิท หลับ ๆ ตื่น ๆ หรือตื่นแล้วนอนต่อไม่ได้ 5. ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ทั้ง ๆ ที่อยู่ในสภาพปกติ 6. หายใจไม่อิ่ม 7. แน่นท้อง ปวดท้อง อึดอัดในช่องท้อง 8. ชาตามร่างกาย อาการทางจิตใจ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งผู้ชุมนุม นักการเมือง ผู้ติดตามข่าวสารและผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต 1. มีความวิตกกังวล ครุ่นคิดตลอด 2. หงุดหงิดฉุนเฉียวได้ง่าย 3. มีความก้าวร้าว 4. รู้สึกสิ้นหวัง เบื่อหน่าย…

  • สรรพคุณของน้ำยาอุทัยทิพย์ ที่ได้จากสมุนไพรและเกสรดอกไม้ทั้งห้าชนิด

    สรรพคุณของน้ำยาอุทัยทิพย์ ที่ได้จากสมุนไพรและเกสรดอกไม้ทั้งห้าชนิด

    สรรพคุณของน้ำยาอุทัยทิพย์ ที่ได้จากสมุนไพรและเกสรดอกไม้ทั้งห้าชนิด น้ำยาอุทัย คือสารสกัดจากธรรมชาติที่เมื่อนำมาหยดน้ำดื่มแล้ว แสนสดชื่นเย็นรื่นในอกนะคะ วันนี้ลองมาดูสรรพคุณของเกสรดอกไม้ที่ผสมอยู่ในน้ำยาอุทัยทิพย์กันบ้างดีกว่าว่ามีสรรพคุณอะไรกันบ้าง – ฝาง สีแดง ๆ น้ำยาอุทัยฯ มาจากเนื้อไม้ฝาก ช่วยบำรุงหัวใจ และบำรุงเลือด – ดอกพิกุล ช่วยแก้ไข บำรุงหัวใจ แก้เจ็บคอและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ – ดอกมะลิ ให้รสเย็น ช่วยบำรุงหัวใจและเป็นยาชูกำลังชั้นดี – หญ้าฝรั่น ช่วยบำรุงโลหิต บำรุงกำลังและแก้ไขได้ – ดอกสารภี เป็นยาหอมบำรุงหัวใจ ชูกำลัง แก้โลหิตพิการ ช่วยให้เจริญอาหาร – ดอกบุนนาค บำรุงธาตุ ขับลม บำรุงเลือด หัวใจ แก้ไข้ แก้ลมหาวเรอ แก้ตามัว – ดอกคำฝอย บำรุงหัวใจและระบบประสาท ป้องกันการอุดตันของไขมันในเส้นเลือด – ดอกเก๊กฮวย แก้ร้อนใน บำรุงหัวใจ – เกสรบัวหลวง ช่วยให้สดชื่นขึ้น แก้หน้ามืด – อบเชย…