Tag: ปวดหลัง

  • ปรับไลฟ์สไตล์ ป้องกันกระดูกพรุนแต่เนิ่น ๆ

    ปรับไลฟ์สไตล์ ป้องกันกระดูกพรุนแต่เนิ่น ๆ

    ปรับไลฟ์สไตล์ ป้องกันกระดูกพรุนแต่เนิ่น ๆ สำหรับสตรีแล้วมีความเสี่ยงในการกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนได้ถึงร้อยละ 30-40 เลยทีเดียว การกระดูกหักในช่วงวัยชรานั้นเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตที่ทุกข์ทรมานอีกสาเหตุหนึ่งเลยทีเดียว โดยผู้ที่มีอาการของกระดูกพรุนนั้น ก็คือมักจะกระดูกหักเพราะอุบัติเหตุเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ส่วนที่มักจะหักก็คือข้อต่อสะโพก กระดูกสันหลัง และกระดูกข้อมือ และส่งผลต่อเนื่องให้เกิดการยุบตัวของกระดูกสันหลังทำให้ปวดหลัง หรือมีอาการปวดหลังเรื้อรัง , หลงดูโก่งขึ้น หรือกระดูกแตกหักง่าย ซึ่งเป็นอันตรายมาก ควรรับรับการรักษาทันที และป้องกันไว้ก่อนที่จะลุกลามไปมากกว่านี้ 1. ทานอาหารให้ครบถ้วยทุกหมวดหมู่ โดยเฉพาะอาหารตามธรรมชาติที่ผ่านกระบวนการต่าง ๆ ให้น้อยที่สุด เพื่อให้ร่างกายรับสารอาหารอย่างเต็มที่ ควรทานอาหารให้หลากหลายเพื่อรับวิตามินและแร่ธาตุให้ครบถ้วนตามที่ต้องการ 2. ทานอาหารที่มีแคลซียมทั้งหลาย เช่น นมไขมันต่ำ เต้าหู ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง กุ้งฝอย ผักใบเขียวและธัญพืช ฯลฯ 3. หลีกเลี่ยงการดื่มเหล้า น้ำอัดลม และอาหารที่ไขมันสูง ที่อาจทำให้เกิดการสลายแคลเซียมจากกระดูก รวมไปถึงลดการบริโภคเนื้อสัตว์ ธัญพืชที่ผ่านกระบวนการมากเกินไป และน้ำตาลด้วย เพราะอาหารเหล่านี้ทำให้เลือดมีภาวะเป็นกรด ส่งผลให้มีการสลายแร่ธาตุบางอย่างรวมถึงแคลเซียมด้วย 4. ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ไม่ว่าจะเป็น ชา กาแฟ…

  • เร่งสร้างและสะสมมวลกระดูก…ป้องกันโรคกระดูกพรุนกันเถอะ

    เร่งสร้างและสะสมมวลกระดูก…ป้องกันโรคกระดูกพรุนกันเถอะ

    เร่งสร้างและสะสมมวลกระดูก…ป้องกันโรคกระดูกพรุนกันเถอะ ผู้หญิงที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปแล้ว พบว่ากว่า 1 ใน 3 นั้นมีภาวะกระดูกพรุน ซึ่งก็คือภาวะที่กระดูกความเปราะบางและแตกหักได้ง่าย ส่งผลกระทบที่เลวร้ายต่อการดำเนินชีวิตมาก อาจประสบความทุกข์ทรมานและบางกรณีอาจทำให้เสียชีวิตได้ โรคนี้จึงถือเป็นโรคที่มีความร้ายแรงโรคหนึ่งที่เราจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อป้องกันตนเอง โดยธรรมชาตินั้นร่างกายคนเราจะมีการสร้างสิ่งที่สูญเสียหรือสึกหรอขึ้นมาทดแทนเสมอ แต่หญิงที่สูงอายุ วัยทองที่หมดประจำเดือน ผู้ที่ขาดสารอาหาร ดื่มเหล้าสูบบุหรี่จัด ไม่ออกกำลังกาย หรือใช้ยาสเตียรอยด์เป็นประจำ คนเหล่านี้จะมีสูญเสียมวลกระดูกเร็วกว่าการสร้างขึ้นใหม่ และในที่สุดก็ทำให้กระดูกเปราะบางลงและหักแตกได้ง่ายแม้ได้รับแรงกระแทกเพียงเล็กน้อย สัญญาณเตือนของภาวะกระดูกพรุนอาจสังเกตได้จากร่างกายที่เตี้ยลง ปวดหลังเรื้อรัง หลังค่อม แต่ก็ไม่ทุกราย บางรายไม่มีสัญญาณเตือนเลยจนกระทั่งกระดูกเกิดหักขึ้นมา หากเป็นกระดูกข้อใหญ่หรือสำคัญอย่างกระดูกสะโพก กระดูกสันหลังจะทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน และอาจทำให้ผู้สูงอายุเสียชีวิตได้กว่าร้อยละ 20 หลังจากสะโพกหักได้หนึ่งปี พบว่าผู้ที่ดื่มน้ำอัดลมนั้นมีโอกาสกระดูกพรุนมากกว่าผู้ที่ไม่ดื่มถึงห้าเท่า เพราะในน้ำอัดลมมีทั้งคาเฟอีน กรดฟอสฟอรัส น้ำตาล และโซดาทั้งหลาย เป็นตัวการสำคัญที่เข้าไปขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม กลไกร่างกายต้องดึงแร่ธาตุจำนวนมากออกจากกระดูก น้ำอัดลมจึงเป็นอีกสาเหตุสำคัญของภาวะกระดูกพรุน ในปัจจุบันนี้ยังมีวิธีรักษา ได้แต่เพียงยับยั้งการสูญเสียมวลกระดูกและรักษาไปตามอาการเท่านั้น ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดก็คือควรเร่งสร้างและสะสมมวลกระดูกไว้ตั้งแต่วัยเด็ก ด้วยการดูแลร่างกายดังนี้ 1. ดื่มนมและอาหารที่มีแคลเซียม 2. ออกกำลังกายเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูกไว้เสมอ 3. งดการสูบบุหรี่ 4. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ 5. หมั่นออกไปรับแสงแดดอ่อนตอนเช้าและตอนเย็น เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินดี…

  • ป้องกันอาการปวดหลังเสียแต่เนิ่น ๆ

    ป้องกันอาการปวดหลังเสียแต่เนิ่น ๆ

    ป้องกันอาการปวดหลังเสียแต่เนิ่น ๆ ในประชากรวัยผู้ใหญ่กว่าร้อยหละแปดสิบ หรือแปดในสิบคนนั้น มักจะมีอาการ ปวดหลัง ซึ่งนับเป็นการเสื่อมถอยของร่างกายประเภทหนึ่ง โดยอาการปวดจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงและการดูแลตัวเองด้วย ผู้ที่มีอาการปวดหลังนี้ กว่าครึ่งจะหายได้เองในสองสัปดาห์ ร้อยละ 90 จะหายได้ในสามเดือน แต่ยังมีอยู่บ้างเหมือนกันราวร้อยละ 5 ที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังและอาการลุกลามมากขึ้น เนื่องจากการอักเสบนั้นก้าวข้ามไปถึงขั้นเส้นประสาทถูกทำลาย ซึ่งจะแสดงอาการออกมาเป็นการกลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะไม่อยู่และแขนขาอ่อนแรง ในกรณีนี้ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนค่ะ ซึ่งวิธีการป้องกันโรคปวดหลังได้ดีที่สุดก็คือการออกกำลังกาย และป้องกันตนเองมิให้เกิดอุบัติเหตุ ซึ่งการบริหารกล้ามเนื้อหลังจะต้องค่อย ๆ สร้างความแข็งแรงทั้งกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังไปด้วยกัน และต้องบริหารข้อต่อให้เคลื่อนไหวได้สะดวกด้วย ซึ่งอาจทำได้ด้วยการเดิน การปั่นจักรยาน การว่ายน้ำ ล้วนทำให้หลังแข็งแรงขึ้นได้ทั้งสิ้น ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญอีกอย่างที่จะไม่ทำให้ปวดหลังก็คืออย่าปล่อยตัวให้อ้วนลงพุง ทานอาหารที่มีคุณค่า รวมไปถึงออกกำลังกายให้มีความสม่ำเสมอด้วย นอกจากนี้การปรับอิริยาบถให้ถูกต้องก็เป็นเรื่องสำคัญไม่น้อย.. การยืนนั้นต้องหลังตรง แขม่วท้องไว้นิด ๆ ยืนให้ตัวตรงไม่โก่งหรือคด ให้แนวติ่งหูหรือข้อสะโพกเป็นแนวเดียวกัน ไม่ควรยืนนานเกินไป ไม่ควรสวมรองเท้าส้นสูงมาเกินไป ภายในรองเท้าควรหาแผ่นรองเท้าอุ้งเท้าไว้เพื่อซับน้ำหนัก และหากจำเป็นต้องยืนนาน ๆ ควรหาที่พักเพื่อพักเท้า หรือมีเก้าอี้หรือโต๊ะตัวเล็กไว้ช่วยวางเท้าข้างหนึ่งด้วย ทำให้เป็นนิสัยไว้ตลอดไปจะป้องกันอาการปวดหลังพร้อมทั้งอาการข้อเสื่อมต่าง ๆ ได้ การนั่ง ควรเลือกเก้าอี้ที่มีพนักพิงบริเวณเอว เลือกใช้ที่นั่งที่สบายและหมุนได้ ป้องกันการบิดของเอวและที่พักแขน ขณะที่นั่งพักหัวเข่าควรอยู่สูงกว่าระดับข้อสะโพกเล็กน้อย และควรมีเบาะรองเท้าหรือหมอนเล็ก ๆ…

  • อาการปวดเมื่อยหลากหลายรูปแบบในผู้สูงวัย

    อาการปวดเมื่อยหลากหลายรูปแบบในผู้สูงวัย

    อาการปวดเมื่อยหลากหลายรูปแบบในผู้สูงวัย ผู้สูงวัยนั้นมักมีอาการปวดกล้ามเนื้อในรูปแบบและตำแหน่งที่แตกต่างกันไป โดยมากมักพบบริเวณ หลัง เอว คอ ขา น่อง และตามข้อต่อต่าง ๆ โดยอาการปวดเมื่อยเหล่านี้แบ่งออกตามสาเหตุคือ.. 1. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั่วไป ซึ่งมักเจาะจงตำแหน่งได้ไม่ชัดเจน 2. ปวดจากเส้นเอ็น และจะปวดมากขึ้นหากมีการถูกกดทับหรือเคลื่อนไหว พบมากบริเวณ หัวไหล่ มือ ส้นเท้า และเอ็นร้อยหวาย 3. ปวดจากเส้นประสาทที่กดทับ มักจะปวดแสบร้อนไปตามเส้นประสาท หากมีอาการกดทับที่เส้นประสาทหลังจะปวดร้าวลงไปถึงน่องและปลายเท้า แต่หากเป็นเส้นประสาทที่คอถูกกดทับจะปวดร้าวลงไปที่แขนและมือ 4. ปวดเมื่อจากเส้นเลือดขอดบริเวณขา มักเป็นเวลาที่ต้องยืนนาน ๆ 5. ปวดเมื่อตามข้อต่อต่าง ๆ เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า ยิ่งลงน้ำหนักมากก็ยิ่งปวด เดินก็ปวด พับหรืองอไว้ก็ปวด และมักปวดในเวลาที่เปลี่ยนท่าหรือปวดในเวลากลางคืน และเวลาที่อากาศเปลี่ยนแปลง ซึ่งสาเหตุของการปวดเหล่านี้ก็คือเกิดการอักเสบขึ้นบริเวณรอบ ๆ ข้อ, ยกของหนัก, อิริยาบถไม่เหมาะสม, อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป, ยืน เดิน นั่ง แล้วศีรษะงุ้มไปด้านหน้า, เกิดจากอุบัติเหตุ หกล้มหรือกระแทก รวมไปถึงเกิดจากโรคบางโรค…

  • ตะแคงข้างไหน นอนหลับได้ดีที่สุด

    ตะแคงข้างไหน นอนหลับได้ดีที่สุด

    ตะแคงข้างไหน นอนหลับได้ดีที่สุด การนอนที่เราทำอยู่ทุกคืนวันเนี่ย แต่ละคนก็มีท่าทางในการนอนที่ช่วยให้นอนหลับได้สบายแตกต่างกันออกไป บ้างก็นอนหงาย บ้างก็นอนคว่ำ บ้างก็ชอบนอนซุกหมอน บางคนก็นอนตะแคง แต่รู้ไหมคะว่าแต่ละท่าที่เรานอนกันถึงวันละ 8 ชั่วโมงนั้นส่งผลต่อสุขภาพของเราได้เลยนะคะ ว่าแล้วมาเลือกท่าทางการนอนที่ดีต่อสุขภาพกันดีกว่า แล้วเราจะนอนตะแคงข้างไหนกันดี.. มาดูกันค่ะ 1. ท่านอนหงาย เป็นท่ามาตรฐานสำหรับการนอนเลยทีเดียว แต่ก็อาจสร้างปัญหาให้กับคนที่มีอาการปวดหลังได้ เพราะจะทำให้ปวดมากขึ้น หากถนัดนอนท่านี้ควรใช้หมอนหนุนรองใต้โคนขา จะดีกว่า รวมไปถึงควรบริหารกล้ามเนื้อหลังเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นและลดการเกร็งตัวจะเป็นการบรรเทาอาการปวดหลังได้ดีกว่า 2. ท่านอนตะแคง ข้างที่ควรตะแคงคือตะแตงขวา หัวใจจะได้ทำงานได้สะดวก อาหารจากกระเพาะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดีกว่า ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้ การนอนตะแคงจะช่วยลดการกรนได้ดี 3. ท่านอนคว่ำ การนอนคว่ำจะทำให้หายใจไม่ค่อยสะดวกนัก ยิ่งโดยเฉพาะผู้ที่มีเต้านมใหญ่ สำหรับผู้ชาย หากนอนคว่ำจะทำให้อวัยวะเพศถูกกดทับ ทำให้เกิดอาการชาได้หากต้องการนอนคว่ำ ควรหาหมอนมาหนุนใต้ทรวงอกให้สูงไว้จะสบายมากขึ้นค่ะ อย่าเห็นว่าเป็นเพียงการนอนนะคะ เพราะการนอนเป็นกิจวัตรที่เราใช้เวลาถึง 1 ใน 3 ของวันเลยทีเดียว ดังนั้นท่าทางการนอนจึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราได้มากไม่ต่างจากกิจกรรมอื่น ๆ เลยค่ะ

  • ระวัง! 6 โรคยอดฮิตมนุษย์ออฟฟิศบ้าพลัง

    ระวัง! 6 โรคยอดฮิตมนุษย์ออฟฟิศบ้าพลัง

    ระวัง! 6 โรคยอดฮิตมนุษย์ออฟฟิศบ้าพลัง สำหรับหนุ่มสาวออฟฟิศที่ทำงานกันหามรุ่งหามค่ำ แม้ตอนนี้จะยังมีร่างกายแข็งแรงอยู่ แต่ก็ใช่ว่าการทำงานใช้ร่างกายอย่างหนักหน่วงนั้นจะไม่สร้างปัญหาให้กับร่างกายนะคะ เพราะจากการวิจัยและสำรวจมาหลายสิบปีในวงการแพทย์ พบว่าเหล่ามนุษย์ออฟฟิศทั้งหลายนั้นมีอัตราความเจ็บป่วยจากการทำงานในปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปีอย่างน่ากลัว นั่นเป็นเพราะชาวออฟฟิศทั้งหลายมักปล่อยให้ปีศาจร้ายทำลายสุขภาพอย่าง โรคเครียด, การทำงานนานเกินไป, พฤติกรรมกินอาหารไม่ตรงเวลา และไม่ยอมออกกำลังกาย เหล่านี้มาเป็นตัวการร้ายทำลายสุขภาพ ซึ่งโรคร้ายที่ทำลายสุขภาพชาวออฟฟิศมากที่สุด 6 โรค ก็คือ 1. ต้อหิน และตาพร่า ทำให้มองภาพได้ไม่ชัด ตาสู้แสงไม่ได้ และอาจลุกลามทำให้ตาบอดไ 2. ไมเกรน ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ คลื่นไส้อ่อนเพลีย และเสียสมรรถภาพในการทำงาน 3. อาการนิ้วล็อค ทำให้นิ้วกระดิกไม่ได้ ตึง และรู้สึกเจ็บ กล้ามเนื้ออักเสบ 4. ปวดหลังเรื้อรัง รวมไปถึงอาการปวดไหล่ ต้นคอ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เป็นอัมพาตได้ 5. โรคอ้วน มีความเสี่ยงทำให้เป็นโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ ตลอดจนความดันโลหิตสูง 6. โรคกรดไหลย้อน เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งหลอดอาหาร สำหรับหนุ่มสาวออฟฟิศทั้งหลายที่เริ่มมีอาการนี้แล้ว หรือยังไม่มีก็ควรหันมาดูแลสุขภาพของตัวเองด้วยเคล็ดลับดังต่อไปนี้ – อย่าเพ่งจ้องจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป ควรพักผ่อนสายตาบ้าง…

  • หน้าอกใหญ่เกินไป.. ทำไงดีล่ะเนี่ย?

    หน้าอกใหญ่เกินไป.. ทำไงดีล่ะเนี่ย?

    หน้าอกใหญ่เกินไป.. ทำไงดีล่ะเนี่ย? ปัญหาแน่นอกของสาว ๆ ไม่ได้เกิดขึ้นกับคนที่มีหน้าอกเล็กเท่านั้นนะคะ แต่คนที่มีหน้าอกใหญ่ก็เป็นปัญหาเช่นเดียวกัน ทั้งการหาเสื้อผ้าใส่ยาก ทั้งอาการปวดหลังและปวดไหล่ และเมื่อน้ำหนักตัวมากขึ้นยังทำให้ขนาดหน้าอกใหญ่ขึ้นไปอีกด้วย หาชุดว่ายน้ำใส่ก็ยาก ฯลฯ สารพัดปัญหามากกว่าสาวอกไข่ดาวเสียอีก ซึ่งปัญหาทางสุขภาพของสาวหน้าอกใหญ่นั้นก็คือ จะทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดไหล่ เพราะกระดูกสันหลังทำงานหนักในการแบกรับน้ำหนักที่มากเกินพอดี ทำให้หน้าอกหย่อนคล้อยก่อนวัยอันควร เพราะเส้นยึดเต้านมที่ต้องแบกรับน้ำหนักที่มากเกินพอดี ทำให้เกิดการหย่อนคล้อยลงตามแนวโน้มถ่วงได้ วิธีการลดขนาดหน้าอกให้กระชับขึ้นก็ทำได้หลายวิธีค่ะ 1. ออกกำลังกายและใช้ท่ากายบริหารที่ช่วยกระชับกล้ามเนื้อหน้าอก ซึ่งควรออกกำลังกายควบคู่กันไปทั้งการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ และเวทเทรนนิ่ง 2. ลดปริมาณอาหารที่มีไข้มันสูง ๆ เช่น อาหารทอด เบเกอรี่ ที่มีนมเนยต่าง ๆ ทีทำให้ไขมันมาสะสมบริเวณหน้าอกเพิ่มขึ้น 3. การนวดเพื่อลดขนาดหน้าอก ให้มีความกระชับและได้รูปสวยมากขึ้น ควรทำไปพร้อมกับใช้ครีมนวดหน้าอกสำหรับสาวอกใหญ่โดยเฉพาะ ซึ่งวิธีการนวดสามารถสอบถามได้โดยตรงจากผู้ที่จัดจำหน่ายครีม 4. การผ่าตัดลดขนาดหน้า เป็นการผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหาหน้าอกโตผิดปกติ โดยการผ่าตัดจะตัดต่อมท่อน้ำนมและเนื้อเยื่อด้านข้างเคียงออก และผิวหนังส่วนเกินออก กำหนดตำแหน่งหัวนมใหม่ แล้วเย็บกลับคืน ก็จะทำให้หน้าอกเล็กลง แต่จะทิ้งรอยแผลเป็นไว้ได้ คุณผู้อ่านที่มีปัญหาหน้าอกใหญ่เกินไป อย่างไรก็ลองนำเอาคำแนะนำข้างต้นไปใช้นะคะ  

  • ระวังนะ นั่งเก้าอี้รถเมล์นาน ๆ โรคจะถามหา

    ระวังนะ นั่งเก้าอี้รถเมล์นาน ๆ โรคจะถามหา

    ระวังนะ นั่งเก้าอี้รถเมล์นาน ๆ โรคจะถามหา คนที่ต้องโดยสารรถเมล์เป็นประจำเนี่ย แต่ละวันหากได้ขึ้นไปแล้วเจอเก้าอี้ได้นั่งบ้างก็บุญแล้ว แต่เบาะที่อุตส่าห์ได้นั่งก็ช่างแตกต่างกันเหลือเกินในรถแต่ละคน บางคนก็นั่งสบายดี บางคันก็เบาะชันหรือเอนมากจนปวดหลังเหลือเกิน ทั้งยังบางคันที่เบาะแข็งยังกับไม้อีก ปวดทั้งหลังปวดทั้งก้นไปหมด หากนั่งนาน ๆ เข้าเจ้าเบาะแผ่นเล็ก ๆ นี่ก็สร้างปัญหาให้กับร่างกายได้เหมือนกันนะคะ มาลองไล่กันดูค่ะ 1. ปัญหาต่อกล้ามเนื้อและโรคกระดูก การนั่งอยู่บนเบาะที่ไม่พอดีกับแนวกระดูกสันหลังในท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ ทำให้ต้องเกร็งหลังตั้งฉากให้พอดีกับเบาะตลอดเวลา หากนั่งท่านี้สัก 1 ชม.ก็พอได้อยู่ แต่หากใครบ้านไกลเกินชั่วโมงแล้ว อาการกล้ามเนื้ออักเสบถามหาแน่นอน ยิ่งถ้าหากนั่งติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ หลาย ๆ เดือนหรือหลายปีก็อาจทำให้กล้ามเนื้อผิดปกติ และมีอาการปวดหลังตามมาอีกได้แน่ๆ และหากสะสมมากขึ้นก็อาจทำให้เกิดแนวกระดูกผิดปกติ กระดูกคดหรือเคลื่อนได้เลยทีเดียว และหากเป็นผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ก็อาจทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมด้วย น่ากลัวไม่ใช่เล่นเลย 2. โรคทางเดินอาหาร การนั่งท่าเดิมนาน ๆ 2 ชั่วโมงขึ้นไปมากกว่า 1 สัปดาห์จะทำให้กระเพาะอาหาร ลำไส้ บีบตัวน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการท้องผูก ท้องอืดตามมาได้ 3. สมรรถภาพทางเพศถดถอย เพราะบ้านเรามีอากาศร้อนอบอ้าว…

  • ไม่ใช่แค่วัยทำงานหรือวัยชราเท่านั้น  เด็กนักเรียนนักศึกษาก็ปวดหลังได้!!

    ไม่ใช่แค่วัยทำงานหรือวัยชราเท่านั้น เด็กนักเรียนนักศึกษาก็ปวดหลังได้!!

    ไม่ใช่แค่วัยทำงานหรือวัยชราเท่านั้น  เด็กนักเรียนนักศึกษาก็ปวดหลังได้!! เป็นการเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่า ต้องเป็นผู้ใหญ่ วัยชรา หรือวัยผู้ใหญ่เท่านั้นที่เกิดอาการปวดหลังจากการนั่งนาน ๆ  ทำงานนาน ๆ หรือไปยกของที่มีน้ำหนักมากมา ความจริงแล้วเด็กวัยรุ่นวัยใสที่กำลังอยู่ในวัยเรียนทั้งหลาย ก็สามารถมีอาการปวดหลังจากกการนั่งอ่านหนังสือ หรือทำกิจกรรมเดิม ๆ นาน ๆ ได้เช่นกัน  แม้จะยังมีร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ ที่ยังแข็งแรงอยู่ แต่หากน้อง ๆ ทั้งหลายใช้ร่างกายหักโหมมากเกินไปก็อาจสร้างปัญหาให้กับตนเองทั้งในตอนนี้และอนาคตได้ ดังนั้นขณะอ่านหนังสือหรือทำกิจกรรมอะไรที่ต้องนั่งนาน ๆ แนะนำว่าควรลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสายทุกชั่วโมง อย่างน้อยชั่วโมงละห้านาทีก็ยังดี  ทำให้ร่างกายได้ปรับเปลี่ยนท่าทาง ไม่เกร็งตัวอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป  นอกจากนี้แล้วการรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในมาตรฐาน ไม่ปล่อยอ้วนจนพุงหลาม และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็เป็นอีกหนทางที่จะช่วยลดอาการปวดหลังที่เกิดจากการนั่งนาน ๆ ได้อีกด้วยค่ะ